
Sign up to save your podcasts
Or
ทีมวิจัย ม.โอเชี่ยนแห่งชาติไต้หวันประสบความสำเร็จคัดเลือกยีนปลานิลทนหนาวในอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียสได้
วันนี้มีเรื่องของทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเชี่ยนแห่งชาติไต้หวันเพาะพันธุ์ปลานิลทนหนาวที่ตีพิมพ์ลงวารสารนานาชาติ(Animals)มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งที่ผ่านมา ทั้งนี้ คณะกรรมการการเกษตรไต้หวันให้เงินอุดหนุนประกันภัยสัตว์น้ำโดยกำหนดอุณหภูมิเป็นเครื่องชี้วัด หากอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสและนานติดต่อกัน 10 ชั่วโมงขึ้นไป ก็จะจ่ายเงินประกันภัยหนาวให้เกษตรกรที่เลี้ยงปลา โดยสัตว์น้ำเหล่านี้ประกอบด้วยปลา 4 ชนิด ได้แก่ ปลาเก๋า ปลานวลจันทร์ ปลากะพง และปลานิล กล่าวได้ว่า ปลานิลที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ก็เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่ไม่ทนความหนาว
ลูกปลานิลที่มียีนทนหนาวในอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียสได้
ทีมวิจัยประกอบด้วย รองศต.หวงจางเหวิน(黃章文) คณะวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต(Science for Life) สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นำทีมร่วมมือกับสถาบันวิทยาศาสตร์สารสนเทศ และคณะวิศวกรรมไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย เพาะเลี้ยงปลานิลที่สามารถทนต่อความหนาวได้ รองศต.หวงจางเหวิน บอกว่า การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติ แต่ขาดคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP) ที่เป็นขั้นหรือกระบวนกาทางวิทยาศาสตร์ ขณะนี้ ทีมคณะวิจัยจัดตั้งวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวบรวมข้อมูลและคัดเลือกยีนที่มีคุณภาพของปลาเป็นหมวดหมู่ เมื่อมีการตั้งเป้าเพาะเลี้ยงปลานิลที่ทนต่ออากาศหนาว ขอเพียงถอดรหัสพันธุกรรมที่มีความยืดหยุ่น(resilience)ก็สามารถร่นเวลาการเพาะเลี้ยงได้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ทางทีมต้องใช้เวลานาน 5 ปี จึงประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลานิลที่ทนหนาวได้
ทีมวิจัย ม.โอเชี่ยนแห่งชาติไต้หวันเพาะพันธุ์ปลานิลทนหนาวได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารนานาชาติ
แม้ปลานิลจะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและใครๆ ก็เลี้ยงได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปลานิลจะเริ่มกินอาหารน้อยลง แต่ถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงไปอีกจนถึง 12 องศาเซลเซียส ก็จะต้องมีที่หลบหนาวจึงจะรอดตายได้ แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำจนถึง 10 องศาเซลเซียส อัตราการรอดชีวิตจะมีไม่มากแล้ว การจำลองสภาพแวดล้อมให้มีอุณหภูมิต่ำในห้องทดลอง ปลานิลสายพันธุ์ที่ทนหนาวจะยังคงรอดชีวิตแม้อุณหภูมิของน้ำลดลงถึง 7 องศาเซลเซียสก็ตาม นอกจากนี้ ยังคงอุณหภูมิของน้ำที่ 10 องศาเซลเซียสติดต่อกันนาน 48 ชั่วโมง อัตราการรอดชีวิตก็ยังคงสูงกว่า 90% รองศต.หวงจางเหวินบอกว่า ถ้าปลาที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำแล้วไม่ตาย ก็จะช่วยลดความเสียหายจากการเลี้ยงได้ นอกจากนี้ ปลานิลที่ทนต่อความหนาว ถ้าเลี้ยงในช่วงฤดูหนาวก็จะลดความเสียหายได้ 20-30% ด้วย
ปลานิลที่มียีนทนหนาวในอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียสได้
จากการทดลองยังพบว่า ปลานิลสายพันธุ์ทนหนาวนี้ถ้าเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิปกติ อัตราการเจริญเติบโตจะไม่ต่างจากสายพันธุ์ปลานิลที่ขายในท้องตลาด แต่ถ้าเลี้ยงในอุณหภูมิต่ำ จะทนความหนาวได้มากกว่า ผลงานวิจัยมากมายระบุ ปลาที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ กรดไขมันที่จำเป็นในกลุ่มโอเมกา 3 (DHA) รวมทั้งอีพีเอ(EPA) หลังจากที่ทีมวิจัยพัฒนาปลานิลสายพันธุ์ที่ทนหนาวได้แล้ว ในอนาคต จะพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีศักยภาพในการรักษาที่แม่นยำสำหรับวงการแพทย์ด้วย นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังเปิดเผยว่า ปลานิลชนิดต่อไปที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติคือสายพันธุ์ที่ทนต่อความเค็ม เพราะว่าโดยปกติถ้าเลี้ยงปลานิลในน้ำทะเลจะทำให้เนื้อปลามีรสหวานขึ้น แต่ว่าทางทีมวิจัยพัฒนาปลานิลสายพันธุ์ที่ทนต่อความเค็มนี้ จะเพิ่มปริมาณของกรดอาร์จินินและซิสตีอีน ล้วนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโต รวมทั้งผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านเมตาบอลิซึมและการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ และยังทำให้รสชาติของเนื้อปลานิลเหมือนปลานิลที่เลี้ยงในน้ำทะเลด้วย แต่ว่าเนื้อปลาจะแน่นนุ่มกว่าปลานิลที่ขายในท้องตลาดปัจจุบัน แน่นอนว่าราคาของปลานิลต้องสูงกว่า ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับปลานิล ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวประมงที่เพาะเลี้ยงด้วย
ทีมวิจัย ม.โอเชี่ยนแห่งชาติไต้หวันประสบความสำเร็จคัดเลือกยีนปลานิลทนหนาวในอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียสได้
วันนี้มีเรื่องของทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเชี่ยนแห่งชาติไต้หวันเพาะพันธุ์ปลานิลทนหนาวที่ตีพิมพ์ลงวารสารนานาชาติ(Animals)มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งที่ผ่านมา ทั้งนี้ คณะกรรมการการเกษตรไต้หวันให้เงินอุดหนุนประกันภัยสัตว์น้ำโดยกำหนดอุณหภูมิเป็นเครื่องชี้วัด หากอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสและนานติดต่อกัน 10 ชั่วโมงขึ้นไป ก็จะจ่ายเงินประกันภัยหนาวให้เกษตรกรที่เลี้ยงปลา โดยสัตว์น้ำเหล่านี้ประกอบด้วยปลา 4 ชนิด ได้แก่ ปลาเก๋า ปลานวลจันทร์ ปลากะพง และปลานิล กล่าวได้ว่า ปลานิลที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ก็เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่ไม่ทนความหนาว
ลูกปลานิลที่มียีนทนหนาวในอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียสได้
ทีมวิจัยประกอบด้วย รองศต.หวงจางเหวิน(黃章文) คณะวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต(Science for Life) สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นำทีมร่วมมือกับสถาบันวิทยาศาสตร์สารสนเทศ และคณะวิศวกรรมไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย เพาะเลี้ยงปลานิลที่สามารถทนต่อความหนาวได้ รองศต.หวงจางเหวิน บอกว่า การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติ แต่ขาดคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP) ที่เป็นขั้นหรือกระบวนกาทางวิทยาศาสตร์ ขณะนี้ ทีมคณะวิจัยจัดตั้งวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวบรวมข้อมูลและคัดเลือกยีนที่มีคุณภาพของปลาเป็นหมวดหมู่ เมื่อมีการตั้งเป้าเพาะเลี้ยงปลานิลที่ทนต่ออากาศหนาว ขอเพียงถอดรหัสพันธุกรรมที่มีความยืดหยุ่น(resilience)ก็สามารถร่นเวลาการเพาะเลี้ยงได้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ทางทีมต้องใช้เวลานาน 5 ปี จึงประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลานิลที่ทนหนาวได้
ทีมวิจัย ม.โอเชี่ยนแห่งชาติไต้หวันเพาะพันธุ์ปลานิลทนหนาวได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารนานาชาติ
แม้ปลานิลจะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและใครๆ ก็เลี้ยงได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปลานิลจะเริ่มกินอาหารน้อยลง แต่ถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงไปอีกจนถึง 12 องศาเซลเซียส ก็จะต้องมีที่หลบหนาวจึงจะรอดตายได้ แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำจนถึง 10 องศาเซลเซียส อัตราการรอดชีวิตจะมีไม่มากแล้ว การจำลองสภาพแวดล้อมให้มีอุณหภูมิต่ำในห้องทดลอง ปลานิลสายพันธุ์ที่ทนหนาวจะยังคงรอดชีวิตแม้อุณหภูมิของน้ำลดลงถึง 7 องศาเซลเซียสก็ตาม นอกจากนี้ ยังคงอุณหภูมิของน้ำที่ 10 องศาเซลเซียสติดต่อกันนาน 48 ชั่วโมง อัตราการรอดชีวิตก็ยังคงสูงกว่า 90% รองศต.หวงจางเหวินบอกว่า ถ้าปลาที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำแล้วไม่ตาย ก็จะช่วยลดความเสียหายจากการเลี้ยงได้ นอกจากนี้ ปลานิลที่ทนต่อความหนาว ถ้าเลี้ยงในช่วงฤดูหนาวก็จะลดความเสียหายได้ 20-30% ด้วย
ปลานิลที่มียีนทนหนาวในอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียสได้
จากการทดลองยังพบว่า ปลานิลสายพันธุ์ทนหนาวนี้ถ้าเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิปกติ อัตราการเจริญเติบโตจะไม่ต่างจากสายพันธุ์ปลานิลที่ขายในท้องตลาด แต่ถ้าเลี้ยงในอุณหภูมิต่ำ จะทนความหนาวได้มากกว่า ผลงานวิจัยมากมายระบุ ปลาที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ กรดไขมันที่จำเป็นในกลุ่มโอเมกา 3 (DHA) รวมทั้งอีพีเอ(EPA) หลังจากที่ทีมวิจัยพัฒนาปลานิลสายพันธุ์ที่ทนหนาวได้แล้ว ในอนาคต จะพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีศักยภาพในการรักษาที่แม่นยำสำหรับวงการแพทย์ด้วย นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังเปิดเผยว่า ปลานิลชนิดต่อไปที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติคือสายพันธุ์ที่ทนต่อความเค็ม เพราะว่าโดยปกติถ้าเลี้ยงปลานิลในน้ำทะเลจะทำให้เนื้อปลามีรสหวานขึ้น แต่ว่าทางทีมวิจัยพัฒนาปลานิลสายพันธุ์ที่ทนต่อความเค็มนี้ จะเพิ่มปริมาณของกรดอาร์จินินและซิสตีอีน ล้วนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโต รวมทั้งผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านเมตาบอลิซึมและการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ และยังทำให้รสชาติของเนื้อปลานิลเหมือนปลานิลที่เลี้ยงในน้ำทะเลด้วย แต่ว่าเนื้อปลาจะแน่นนุ่มกว่าปลานิลที่ขายในท้องตลาดปัจจุบัน แน่นอนว่าราคาของปลานิลต้องสูงกว่า ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับปลานิล ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวประมงที่เพาะเลี้ยงด้วย