
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันปลูกข้าวมากเพียงพอต่อการบริโภค ไม่ส่งเสริมการขายต่างประเทศ มีเพียงขายข้าวคุณภาพดีไปญี่ปุ่นไม่มาก แต่วัฒนธรรมการบริโภคแบบตะวันตกที่แพร่หลาย ทำให้คนไต้หวันทานข้าวลดลง เพื่อยกระดับการบริโภคข้าวและระบายข้าวที่ล้นคลัง รัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้มีการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้น ล่าสุด ผู้ประกอบการไอศกรีมช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร พัฒนาไอศกรีมรสชาติอร่อย ให้สิทธิ์สูตรเมนูสำหรับผู้ที่สนใจ ใช้ข้าวสุกที่เหลือจากการทาน ทำเป็นไอศกรีมที่บ้านได้ ซึ่งองค์ประกอบหลักของไอศกรีมทั่วไป คือ เนยไขมัน อากาศและน้ำตาล แซ่เมิ่งอวี๋(謝孟宇) ผู้จัดการร้านไอศกรีมสไตล์อิตาลี Baxter Gelato บอกว่า ไอศกรีมต้องมีความข้นหนืด นอกจากเติมสารเพิ่มความข้นแล้ว บางสูตรยังเติมสารเพิ่มความหวาน สารปรุงแต่งกลิ่นรส แต่ไอศกรีมจากข้าว แป้งข้าวสามารถห่อหุ้มกับอากาศ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมข้าวจึงนำมาผลิตเป็นไอศกรีมได้ ส่วนคุณเกาจื้อเจี้ยน(高誌鍵) ผู้รับผิดชอบร้านเบเกอรี่ Vegetables Fruits Baking บอกว่า ข้าวถือเป็นสารเพิ่มความข้นที่เป็นธรรมชาติอย่างดี
ไอศกรีมข้าว หอมละมุนกลิ่นข้าวหอม(photo:News & Market)
ไต้หวันปลูกข้าวได้หลากหลายสายพันธุ์ คุณภาพดี มีข้าวหอมหลายสายพันธุ์ เช่น ข้าวเถาหยวนเบอร์ 3 ข้าวเกาสงเบอร์ 147 ข้าวไถหนงเบอร์ 71 ล้วนมีความหอมอ่อนๆ ของเผือก หากเอาข้าวหอมทำไอศกรีม ความหอมของกลิ่นเผือกและข้าวจะหลอมรวมกัน เมื่อตักเข้าปากจะหอมละมุนยิ่งนัก หรืออาจเติมแป้งรำข้าวผัดร้อนเข้าไปด้วย จะทำให้ไอศกรีมที่ได้มีความเข้มข้นเหมือนความหอมของป๊อปไรซ์(Pop Rice) นอกจากความหอมจากข้าวที่อยู่ในไอศกรีมแล้ว ไอศกรีมข้าวยังเป็นมิตรต่อสุขภาพมากกว่าไอศกรีมทั่วไป ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย อิ่มท้อง ข้าวใช้แทนไขมันเนยได้ จึงให้พลังงานน้อยกว่า 1 ใน 3 ของไอศกรีมทั่วไป
ไอศกรีมข้าว หอมละมุนกลิ่นข้าวหอม(photo:News & Market)
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการข้าว ขายข้าวให้ร้านทำไอศกรีมไม่กี่เจ้า เช่น ข้าวตัวลี่ฉือซั่งที่พัฒนาไอศกรีมร่วมกับร้านBaxter Gelato เมืองซินจู๋ มีเรื่องราวการทำไอศกรีมที่น่าสนใจไม่น้อย ขณะนี้ตกทอดถึงรุ่นที่ 4 สวีเอว่หลวน(徐月鑾) ซึ่งเป็นเถ้าแก่เนี๊ยรุ่นที่ 3 บอกว่า คนไต้หวันเริ่มคุ้นเคยกับอาหารตะวันตก ทานข้าวน้อยลงเรื่อยๆ ช่วงที่สามีสืบทอดกิจการ รับรู้วิกฤตและแนวโน้มการบริโภคข้าวของคนไต้หวัน นอกจากจะเร่งผลักดันตราข้าวของฉือซั่งแล้ว ยังเสาะหาช่องทางการนำข้าวผลิตเป็นอาหารที่มีความหลากหลายขึ้น รวมทั้งไอศกรีมจากข้าว ส่วนร้านไอศกรีมสไตล์อิตาลี Baxter Gelato ที่ตั้งอยู่ในตำบลจู๋ตง เมืองซินจู๋ ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจเช่นกัน ทางร้านเปิดกิจการนาน 17 ปีแล้ว ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทำไอศกรีมต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มรายได้และระบายข้าวให้กับชาวนา
ไต้หวันปลูกข้าวหอมได้หลายพันธุ์ นิยมนำมาแปรรูปอาหาร หนึ่งในจำนวนนี้คือ ไอศกรีมข้าว
สูตรไอศกรีมข้าวโดยคุณเกาจื้อเจี้ยน : ข้าวเมล็ดสั้นไถเกิงเบอร์ 9 ที่ตรวจสอบแหล่งปลูกจำนวน 35 กรัม นมสดฟูลครีม 350 กรัม น้ำตาล 30 กรัม น้ำผึ้งหรือน้ำตาลแดง 10 กรัม (ช่วยเพิ่มกลิ่นหอม หากไม่มีให้เพิ่มน้ำตาลเป็น 40 กรัม) วิธีทำคือ เอาส่วนผสมได้แก่ แป้งข้าว 35 กรัม นมสด 200 กรัม น้ำตาลทราย 30 กรัม ผสมเข้าด้วยกัน เทลงในหม้อ เพิ่มความร้อนด้วยไฟขนาดกลางหรืออ่อน คนตลอดเพื่อไม่ให้ไหม้ เมื่อต้มจนข้น เดือดเป็นฟองแล้วให้ปิดไฟ(ต้องต้มให้เดือด ไอศกรีมจึงจะมีกลิ่นหอมของข้าว) จากนั้นเทนมสดที่เหลืออีก 150 กรัมลงหม้อ ต้มเคี่ยวและคนไม่ขาดสายเพื่อให้หนืดข้น เติมน้ำผึ้งลงไปกวนให้เข้ากัน เทไอศกรีมข้นลงภาชนะ หากให้เนื้อเนียนขึ้น นำไปกรอง แล้วนำไปแช่แข็ง 1-2 ชม. จากนั้นใช้ช้อนหรือไม้พายพลิกกลับด้าน แช่แข็งจนจับตัวแข็งนาน 2-3 ชม.ก็นำไปทานได้
ส่วนสูตรไอศกรีมที่ทำจากข้าวสุก : ข้าวสุก 100 กรัม(ใช้ข้าวที่เหลือจากการทานก็ได้ แต่ข้าวแข็งแห้งค้างวันนำมาทำไม่ได้) นมสดฟูลครีม 200 กรัม น้ำตาลทราย 40 กรัม ไขมันเนย 110 กรัม น้ำผึ้ง 10 กรัม (เพิ่มกลิ่นหอม แล้วแต่ความชอบ) วิธีทำคือ เอาข้าวสุก นมสด 100 กรัม ไขมันเนย 50 กรัม น้ำตาลและน้ำผึ้งเทลงเครื่องปั่น ปั่นด้วยความแรงระดับกลางจนข้น จากนั้นเทนมสดและไขมันเนยที่เหลือ ค่อยๆ เท 2 -3 ครั้ง ตีจนข้าวละเอียด ระหว่างทำลองชิมไปด้วย แล้วเทลงภาชนะ แช่ช่องฟรีซนาน 1 ชม.จากนั้นเอาออกมาใส่เครื่องปั่น ปั่นอีกประมาณ 3 นาที เทใส่ภาชนะนำไปแช่แข็งอีกครั้ง เมื่อจับเป็นก้อนแข็งก็ทานได้เลย
ไต้หวันปลูกข้าวมากเพียงพอต่อการบริโภค ไม่ส่งเสริมการขายต่างประเทศ มีเพียงขายข้าวคุณภาพดีไปญี่ปุ่นไม่มาก แต่วัฒนธรรมการบริโภคแบบตะวันตกที่แพร่หลาย ทำให้คนไต้หวันทานข้าวลดลง เพื่อยกระดับการบริโภคข้าวและระบายข้าวที่ล้นคลัง รัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้มีการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้น ล่าสุด ผู้ประกอบการไอศกรีมช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร พัฒนาไอศกรีมรสชาติอร่อย ให้สิทธิ์สูตรเมนูสำหรับผู้ที่สนใจ ใช้ข้าวสุกที่เหลือจากการทาน ทำเป็นไอศกรีมที่บ้านได้ ซึ่งองค์ประกอบหลักของไอศกรีมทั่วไป คือ เนยไขมัน อากาศและน้ำตาล แซ่เมิ่งอวี๋(謝孟宇) ผู้จัดการร้านไอศกรีมสไตล์อิตาลี Baxter Gelato บอกว่า ไอศกรีมต้องมีความข้นหนืด นอกจากเติมสารเพิ่มความข้นแล้ว บางสูตรยังเติมสารเพิ่มความหวาน สารปรุงแต่งกลิ่นรส แต่ไอศกรีมจากข้าว แป้งข้าวสามารถห่อหุ้มกับอากาศ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมข้าวจึงนำมาผลิตเป็นไอศกรีมได้ ส่วนคุณเกาจื้อเจี้ยน(高誌鍵) ผู้รับผิดชอบร้านเบเกอรี่ Vegetables Fruits Baking บอกว่า ข้าวถือเป็นสารเพิ่มความข้นที่เป็นธรรมชาติอย่างดี
ไอศกรีมข้าว หอมละมุนกลิ่นข้าวหอม(photo:News & Market)
ไต้หวันปลูกข้าวได้หลากหลายสายพันธุ์ คุณภาพดี มีข้าวหอมหลายสายพันธุ์ เช่น ข้าวเถาหยวนเบอร์ 3 ข้าวเกาสงเบอร์ 147 ข้าวไถหนงเบอร์ 71 ล้วนมีความหอมอ่อนๆ ของเผือก หากเอาข้าวหอมทำไอศกรีม ความหอมของกลิ่นเผือกและข้าวจะหลอมรวมกัน เมื่อตักเข้าปากจะหอมละมุนยิ่งนัก หรืออาจเติมแป้งรำข้าวผัดร้อนเข้าไปด้วย จะทำให้ไอศกรีมที่ได้มีความเข้มข้นเหมือนความหอมของป๊อปไรซ์(Pop Rice) นอกจากความหอมจากข้าวที่อยู่ในไอศกรีมแล้ว ไอศกรีมข้าวยังเป็นมิตรต่อสุขภาพมากกว่าไอศกรีมทั่วไป ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย อิ่มท้อง ข้าวใช้แทนไขมันเนยได้ จึงให้พลังงานน้อยกว่า 1 ใน 3 ของไอศกรีมทั่วไป
ไอศกรีมข้าว หอมละมุนกลิ่นข้าวหอม(photo:News & Market)
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการข้าว ขายข้าวให้ร้านทำไอศกรีมไม่กี่เจ้า เช่น ข้าวตัวลี่ฉือซั่งที่พัฒนาไอศกรีมร่วมกับร้านBaxter Gelato เมืองซินจู๋ มีเรื่องราวการทำไอศกรีมที่น่าสนใจไม่น้อย ขณะนี้ตกทอดถึงรุ่นที่ 4 สวีเอว่หลวน(徐月鑾) ซึ่งเป็นเถ้าแก่เนี๊ยรุ่นที่ 3 บอกว่า คนไต้หวันเริ่มคุ้นเคยกับอาหารตะวันตก ทานข้าวน้อยลงเรื่อยๆ ช่วงที่สามีสืบทอดกิจการ รับรู้วิกฤตและแนวโน้มการบริโภคข้าวของคนไต้หวัน นอกจากจะเร่งผลักดันตราข้าวของฉือซั่งแล้ว ยังเสาะหาช่องทางการนำข้าวผลิตเป็นอาหารที่มีความหลากหลายขึ้น รวมทั้งไอศกรีมจากข้าว ส่วนร้านไอศกรีมสไตล์อิตาลี Baxter Gelato ที่ตั้งอยู่ในตำบลจู๋ตง เมืองซินจู๋ ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจเช่นกัน ทางร้านเปิดกิจการนาน 17 ปีแล้ว ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทำไอศกรีมต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มรายได้และระบายข้าวให้กับชาวนา
ไต้หวันปลูกข้าวหอมได้หลายพันธุ์ นิยมนำมาแปรรูปอาหาร หนึ่งในจำนวนนี้คือ ไอศกรีมข้าว
สูตรไอศกรีมข้าวโดยคุณเกาจื้อเจี้ยน : ข้าวเมล็ดสั้นไถเกิงเบอร์ 9 ที่ตรวจสอบแหล่งปลูกจำนวน 35 กรัม นมสดฟูลครีม 350 กรัม น้ำตาล 30 กรัม น้ำผึ้งหรือน้ำตาลแดง 10 กรัม (ช่วยเพิ่มกลิ่นหอม หากไม่มีให้เพิ่มน้ำตาลเป็น 40 กรัม) วิธีทำคือ เอาส่วนผสมได้แก่ แป้งข้าว 35 กรัม นมสด 200 กรัม น้ำตาลทราย 30 กรัม ผสมเข้าด้วยกัน เทลงในหม้อ เพิ่มความร้อนด้วยไฟขนาดกลางหรืออ่อน คนตลอดเพื่อไม่ให้ไหม้ เมื่อต้มจนข้น เดือดเป็นฟองแล้วให้ปิดไฟ(ต้องต้มให้เดือด ไอศกรีมจึงจะมีกลิ่นหอมของข้าว) จากนั้นเทนมสดที่เหลืออีก 150 กรัมลงหม้อ ต้มเคี่ยวและคนไม่ขาดสายเพื่อให้หนืดข้น เติมน้ำผึ้งลงไปกวนให้เข้ากัน เทไอศกรีมข้นลงภาชนะ หากให้เนื้อเนียนขึ้น นำไปกรอง แล้วนำไปแช่แข็ง 1-2 ชม. จากนั้นใช้ช้อนหรือไม้พายพลิกกลับด้าน แช่แข็งจนจับตัวแข็งนาน 2-3 ชม.ก็นำไปทานได้
ส่วนสูตรไอศกรีมที่ทำจากข้าวสุก : ข้าวสุก 100 กรัม(ใช้ข้าวที่เหลือจากการทานก็ได้ แต่ข้าวแข็งแห้งค้างวันนำมาทำไม่ได้) นมสดฟูลครีม 200 กรัม น้ำตาลทราย 40 กรัม ไขมันเนย 110 กรัม น้ำผึ้ง 10 กรัม (เพิ่มกลิ่นหอม แล้วแต่ความชอบ) วิธีทำคือ เอาข้าวสุก นมสด 100 กรัม ไขมันเนย 50 กรัม น้ำตาลและน้ำผึ้งเทลงเครื่องปั่น ปั่นด้วยความแรงระดับกลางจนข้น จากนั้นเทนมสดและไขมันเนยที่เหลือ ค่อยๆ เท 2 -3 ครั้ง ตีจนข้าวละเอียด ระหว่างทำลองชิมไปด้วย แล้วเทลงภาชนะ แช่ช่องฟรีซนาน 1 ชม.จากนั้นเอาออกมาใส่เครื่องปั่น ปั่นอีกประมาณ 3 นาที เทใส่ภาชนะนำไปแช่แข็งอีกครั้ง เมื่อจับเป็นก้อนแข็งก็ทานได้เลย