
Sign up to save your podcasts
Or
ปลาแซลมอนเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นที่นิยมรับประทานกันทั่วโลกที่ไม่เพียงแต่คนไต้หวัน เป็นอาหารที่ทั้งอร่อยเเละมีประโยชน์มากมาย สถิติปีที่แล้ว ไต้หวันมีการนำเข้าปลาแซลมอนมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไต้หวันก็ประมาณ 7,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ปลาแซลมอนเป็นปลาที่มีการเลี้ยงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน สร้างรายได้มหาศาล การเลี้ยงจะต้องใช้น้ำเย็น มีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษ มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งชาติไต้หวัน(NTOU:National Taiwan Ocean University)ได้ใช้น้ำเย็นที่ปล่อยออกมาจากโรงเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ในเขตหย่งอันตั้งอยู่ในนครเกาสง ทำเป็นโมเดลเลี้ยงปลาแซลมอนจนประสบความสำเร็จ
จากการวิเคราะห์และคำนวณต้นทุนการเลี้ยงปลาแซลมอนที่ใช้น้ำเย็นที่ปล่อยมาจากสถานีเก็บกักก๊าซธรรมชาติเหลวพบว่า ปลาแซลมอนน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ใช้ต้นทุนไม่ถึง 100 เหรียญไต้หวัน หากเทียบกับการเลี้ยงปลาแซลมอนของต่างประเทศถือว่าไม่ต่างกันมาก และข้อดีอีกอย่างคือ การเลี้ยงปลาแซลมอนในไต้หวันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งระยะทางไกล จึงมีศักยภาพในการแข่งขันเรื่องของราคาได้ ศต.หรั่นฝันหัว ได้ออกแบบโมเดลการเลี้ยงปลาแซลมอนโดยใช้วิธีเลี้ยงในที่ร่ม หลังคามีการติดตั้งแผ่นโซลาเซลล์ มีการติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยงสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่าปลาแซลมอนนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
ศต.หรั่นฝันหัวยังบอกด้วยว่า ถ้าไต้หวันจะพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงปลาแซลมอน ก่อนอื่นก็จะต้องเลือกสถานที่ที่เอื้อต่อกันเลี้ยง มีการติดตั้งอุปกรณ์รอบๆ โรงเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวให้เหมือนกับที่ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเชี่ยนออกแบบไว้ตั้งแต่แรก เขากล่าวว่า ถ้าสถานีเก็บกักก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งที่ 3 เขตกวนอิน ในนครเถาหยวนสร้างเสร็จ หากหันหน้าเข้าหาทะเล ด้านซ้ายเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนต้าถัน ด้านขวาเป็นสถานีเก็บกักก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งที่ 3 ส่วนที่อยู่ด้านหลังก็ยังมีขตอนุรักษ์ป่าเนื้อที่ประมาณ 150 เฮกตาร์ สามารถวางแผนเป็นเขตการเกษตรสีเขียวได้
สำหรับการที่จะเลี้ยงปลาแซลมอนให้ได้ปริมาณที่สามารถนำมาขายและสร้างรายได้อย่างน้อยต้องมีพื้นที่ 3-5 เฮกตาร์(ประมาณ 18.75-31.25 ไร่) เพราะฉะนั้นถ้ามีการกำหนดสถานที่ที่ใช้เลี้ยงปลาแซลมอนแน่ชัดแล้ว การทำงานก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพียงแค่นำเข้าไข่ที่ผ่านการผสมแล้ว จากนั้นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1.5- 2 ปี ก็สามารถนำไปขายในท้องตลาดได้ แต่ถ้าเลี้ยงเกิน 3 ปีขึ้นไปก็ยังสามารถใช้เป็นแม่พันธุ์ได้ด้วย นอกจากนี้ ไข่ปลาแซลมอนที่ผ่านการผสมพันธุ์แล้ว ราคาถูกมาก หากมีผู้ประกอบการต้องการลงทุน ทางทีมวิจัยสามารถให้คำแนะนำได้ เนื่องจากเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาแซลมอนมีเพดานที่ไม่สูงมาก ไม่จำเป็นต้องโอนถ่ายสิทธิ์ในการเลี้ยง เพราะตอนนี้ทางทีมวิจัยผ่านการทดลองแล้วว่า ถ้ามีการใช้น้ำเย็นที่ปล่อยมาจากโรงงานแก๊สเหลวธรรมชาติก็สามารถนำมาเลี้ยงปลาแซลมอนได้จริงๆ
ปลาแซลมอนเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นที่นิยมรับประทานกันทั่วโลกที่ไม่เพียงแต่คนไต้หวัน เป็นอาหารที่ทั้งอร่อยเเละมีประโยชน์มากมาย สถิติปีที่แล้ว ไต้หวันมีการนำเข้าปลาแซลมอนมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไต้หวันก็ประมาณ 7,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ปลาแซลมอนเป็นปลาที่มีการเลี้ยงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน สร้างรายได้มหาศาล การเลี้ยงจะต้องใช้น้ำเย็น มีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษ มหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งชาติไต้หวัน(NTOU:National Taiwan Ocean University)ได้ใช้น้ำเย็นที่ปล่อยออกมาจากโรงเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ในเขตหย่งอันตั้งอยู่ในนครเกาสง ทำเป็นโมเดลเลี้ยงปลาแซลมอนจนประสบความสำเร็จ
จากการวิเคราะห์และคำนวณต้นทุนการเลี้ยงปลาแซลมอนที่ใช้น้ำเย็นที่ปล่อยมาจากสถานีเก็บกักก๊าซธรรมชาติเหลวพบว่า ปลาแซลมอนน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ใช้ต้นทุนไม่ถึง 100 เหรียญไต้หวัน หากเทียบกับการเลี้ยงปลาแซลมอนของต่างประเทศถือว่าไม่ต่างกันมาก และข้อดีอีกอย่างคือ การเลี้ยงปลาแซลมอนในไต้หวันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งระยะทางไกล จึงมีศักยภาพในการแข่งขันเรื่องของราคาได้ ศต.หรั่นฝันหัว ได้ออกแบบโมเดลการเลี้ยงปลาแซลมอนโดยใช้วิธีเลี้ยงในที่ร่ม หลังคามีการติดตั้งแผ่นโซลาเซลล์ มีการติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยงสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่าปลาแซลมอนนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
ศต.หรั่นฝันหัวยังบอกด้วยว่า ถ้าไต้หวันจะพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงปลาแซลมอน ก่อนอื่นก็จะต้องเลือกสถานที่ที่เอื้อต่อกันเลี้ยง มีการติดตั้งอุปกรณ์รอบๆ โรงเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวให้เหมือนกับที่ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยโอเชี่ยนออกแบบไว้ตั้งแต่แรก เขากล่าวว่า ถ้าสถานีเก็บกักก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งที่ 3 เขตกวนอิน ในนครเถาหยวนสร้างเสร็จ หากหันหน้าเข้าหาทะเล ด้านซ้ายเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนต้าถัน ด้านขวาเป็นสถานีเก็บกักก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งที่ 3 ส่วนที่อยู่ด้านหลังก็ยังมีขตอนุรักษ์ป่าเนื้อที่ประมาณ 150 เฮกตาร์ สามารถวางแผนเป็นเขตการเกษตรสีเขียวได้
สำหรับการที่จะเลี้ยงปลาแซลมอนให้ได้ปริมาณที่สามารถนำมาขายและสร้างรายได้อย่างน้อยต้องมีพื้นที่ 3-5 เฮกตาร์(ประมาณ 18.75-31.25 ไร่) เพราะฉะนั้นถ้ามีการกำหนดสถานที่ที่ใช้เลี้ยงปลาแซลมอนแน่ชัดแล้ว การทำงานก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพียงแค่นำเข้าไข่ที่ผ่านการผสมแล้ว จากนั้นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1.5- 2 ปี ก็สามารถนำไปขายในท้องตลาดได้ แต่ถ้าเลี้ยงเกิน 3 ปีขึ้นไปก็ยังสามารถใช้เป็นแม่พันธุ์ได้ด้วย นอกจากนี้ ไข่ปลาแซลมอนที่ผ่านการผสมพันธุ์แล้ว ราคาถูกมาก หากมีผู้ประกอบการต้องการลงทุน ทางทีมวิจัยสามารถให้คำแนะนำได้ เนื่องจากเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาแซลมอนมีเพดานที่ไม่สูงมาก ไม่จำเป็นต้องโอนถ่ายสิทธิ์ในการเลี้ยง เพราะตอนนี้ทางทีมวิจัยผ่านการทดลองแล้วว่า ถ้ามีการใช้น้ำเย็นที่ปล่อยมาจากโรงงานแก๊สเหลวธรรมชาติก็สามารถนำมาเลี้ยงปลาแซลมอนได้จริงๆ