ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 5 มี.ค.2567


Listen Later

   ชมพู่เป็นผลไม้อร่อยที่หลายคนคุ้นเคยและชอบรับประทาน สำหรับในไต้หวันมีการนำเข้ามาปลูกนานกว่า 300 ปีแล้ว และยังเป็นหนึ่งในตัวแทนผลไม้ไต้หวันที่มีชื่อเสียง ชมพู่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคที่ชาวดัตช์หรือชาวฮอลันดาปกครองไต้หวัน ได้นำเข้าชมพู่มาปลูก แต่ในช่วงแรกส่วนส่วนใหญ่ปลูกตามป่าตามเขา หวงจีจั๋ว(黃基倬) ผู้ช่วยนักวิจัย สถานีทดลองพืชสวนเขตร้อนสาขาโฟ่งซาน(Fengshan Tropical Horticultural Experiment Branch) ชี้ว่าในยุคฟื้นฟูการเกษตร ไต้หวันเริ่มนำเข้าไม้ผลหลากหลายชนิดมาปลูกในประเทศ โดยในช่วงแรกชมพู่ที่นำเข้ามาปลูกไม่ค่อยได้รับความสนใจ บางคนปลูกเป็นต้นไม้จัดสวน หลายคนในยุคนั้นอาจจำประสบการณ์ในวัยเด็กของการปีนต้นชมพู่เพื่อเก็บมากินเป็นของว่าง

ชมพู่พันธุ์ไทย หวาน กรอบ อร่อย

    อย่างไรก็ตาม หลังปี 1970 เกษตรกรในไต้หวันเริ่มปลูกชมพู่ขายมากขึ้น ปี 1978 พื้นที่ปลูกชมพู่มีมากกว่า 1,000 เฮกตาร์ และในปี 1987 พื้นที่ปลูกชมพู่ก็เพิ่มขึ้นเกิน 10,000 เฮกตาร์ แต่ว่าในปัจจุบันปลูกไม่ถึง 3,000 เฮกตาร์ ซึ่งในช่วงแรกมีปลูกชมพู่มากเนื่องจากรัฐบาลส่งเสริมให้ชาวนาหันไปปลูกพืชผลอื่น เพราะขายได้ราคาดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เช่น มะม่วง ฝรั่ง พุทราหวาน แก้วมังกร แต่ว่าปลูกชมพู่จำนวนไม่มากเพราะต้องใช้แรงงานในการดูแลมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น

ชมพู่ “夏之戀 รักฤดูร้อน” สีม่วงดำ เหมือนเชอร์รี่ดำ

   การปลูกชมพู่แบบมืออาชีพในไต้หวัน ส่วนใหญ่นิยมชมพู่ “พันธุ์สีแดง-ชมพูจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นหลัก ซึ่งชมพู่พันธุ์ดังกล่าวหลังจากที่นำมาปลูกแล้วมีการปรับปรุงพันธุ์เป็นชมพู่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุด มี 3 สายพันธุ์ ได้แก่

    ชมพู่พันธุ์ “ไข่มุกดำ黑珍珠black Pearl” ปลูกในตำบลเจียตง ตำบลฟางเหลียว ตำบลหลินเปียน ตำบลหนานโจว ของเมืองผิงตง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง เป็นดินเหนียว เคยถูกน้ำทะเลไหลทะลักเข้าไปทำให้ดินเค็ม ขาดสารอาหาร แต่หลังจากที่นำต้นชมพู่ไปปลูกกลับพบว่าชมพู่ที่ปลูกได้มีเอกลักษณ์พิเศษ ผลมีสีแดงเข้ม รสชาติอร่อย จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อชมพู่ว่า “ไข่มุกดำ”

     ชมพู่พันธุ์ “เพชรดำ黑鑽石” ปลูกในเขตลิ่วกุยของนครเกาสง บริเวณลุ่มแม่น้ำเหล่าโหนง(荖濃溪河床) ซึ่งชมพู่ที่ปลูกได้มีการกลายพันธุ์ หลังใช้เทคนิคการตัดชำ(cutting หรือ cottage) ชมพู่ที่ปลูกได้ผลโต หวานฉ่ำ มีกลิ่นหอม สมาคมเกษตรลิ่วกุยตั้งแบรนด์ชมพู่นี้ว่า “เพชรดำ黑鑽石Black Diamond” และยังเป็นพันธุ์ชมพู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันอีกด้วย

    ชมพู่พันธุ์ “คิงคองดำ黑金剛- Black King Kong” ปลูกที่ตำบลหลี่กั่ง(里港) เมืองผิงตง โดยผู้ที่ผลักดันแบรนด์ชมพู่พันธุ์นี้คือ นายหวังรุ่ยสง(王瑞雄) เจ้าของผู้ประกอบการด้านการเกษตรตำบลหลี่กั่ง ผลชมพู่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ทางทำเนียบประธานาธิบดีนิยมซื้อเป็นของฝากสำหรับแขกชาวต่างชาติ ดังนั้น ชมพู่ชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ชมพู่เกรดประธานาธิบดี總統級蓮霧"

 

ชมพู่คิงคองดำ นิยมใช้เป็นของฝากชาวต่างชาติ

  หากพูดถึงชมพู่ของไทยต้องบอกว่าอร่อยไม่แพ้ชาติอื่น เพราะมีพันธุ์ดีๆ ผลโต ยาว รูปลักษณ์คล้ายกระสุน เปลือกสีแดงเข้ม เนื้อแน่น หวานฉ่ำ อร่อย และไต้หวันนำเข้าชมพู่ไทยมาปลูกในปี 1980 โดย หวังเต๋อหนาน(王德男) นักวิจัยจากสถานีทดลองพืชสวนเขตร้อนสาขาโฟ่งซานในขณะนั้น แต่ไม่ได้รับความนิยมปลูก ต่อมาปี 2000  ไล่หรงเม่า(賴榮茂) นักวิจัยสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตเกาสงได้นำเข้าชมพู่ไทยพันธุ์ใหม่มาปลูกในไต้หวันอีกครั้ง หลังจากนั้นไต้หวันเปิดตลาดส่งออกชมพู่ไปขายที่จีน เกษตรกรที่ปลูกชมพู่พันธุ์ไทยทำเงินได้มากมาย เพราะเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคจีน มีความหวานประมาณ 8 - 9  บริกซ์ก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ เริ่มตั้งแต่ห่อผลบนต้นจนกระทั่งเก็บเกี่ยวใช้เวลาเพียง 30 วันเท่านั้น เพราะฉะนั้นสร้างรายได้เร็ว เกษตรกรที่เคยปลูกชมพู่พันธุ์สีชมพูแดงจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างหันมาปลูกชมพู่พันธุ์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เขตลิ่วกุย ในนครเกาสงจะปลูกชมพู่พันธุ์ไทยมากที่สุด

ชมพู่ขนาดฝ่ามือ กลิ่นหอมพิเศษ

   ไต้หวันไม่เพียงแต่นำเข้าชมพู่จากไทยมาปลูก ยังมีการนำเข้าชมพู่ผลโตจากอินโดนีเซียมาปลูก น้ำหนักผลเกิน 250 กรัม ขนาดเกือบเท่าฝ่ามือ จึงเรียกชื่ออีกอย่างว่า "ชมพู่ฝ่ามือ巴掌蓮霧 ปาจั่งเหลียนอู้" นอกจากนี้ มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ จึงเรียกอีกชื่อว่า "ชมพู่น้ำหอม香水蓮霧" อย่างไรก็ตาม ชมพู่พันธุ์อินโดยังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไต้หวันค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่มาก แต่ก็มีชมพู่อินโดที่ผสมกับชมพู่พันธุ์อื่นจนประสบความสำเร็จ ได้แก่ “ชมพู่น้ำตาลแดงบาร์บี-黑糖芭比蓮霧 Brown Sugar Barbie” ลักษณะผลโต ผิวสีแดงสด รสหวาน กรอบ เนื้อแน่น เป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงโดยสถานีทดลองเกษตรโฟ่งซาน สามารถปรับฤดูกาลปลูกได้ เป็นพันธุ์เดียวในไต้หวันที่มีผลผลิตเกือบตลอดปี  และยังมีชมพู่สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างชมพู่มาเลเซียกับชมพู่อินโดนีเซีย ที่ชื่อชมพู่ “ลูกพีชฤดูใบไม้ผลิ春之桃” ผลมีขนาดใหญ่ รสชาติไม่หวานมาก เนื้อละเอียด เวลาเคี้ยวให้ความรู้สึกไม่มีกากเหลือ เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุหรือเด็ก และยังมีพันธุ์ชมพู่ “夏之戀รักฤดูร้อน” สีม่วงดำ เหมือนเชอร์รี่ดำ" ผลเล็ก รสหวานแต่น้ำน้อย ไม่ปริแตกง่าย ทนต่อการกระแทก ซึ่งพันธุ์นี้หลายคนบอกว่ามีรสชาติของชมพู่พื้นบ้านอยู่มาก รวมทั้งยังมีชมพู่อีกชนิดหนึ่งที่ปลูกประดับในกระถาง ผลเล็กจิ๋ว หรือเรียกอีกชื่อว่า “ชมพู่ไข่มุก 珍珠蓮霧” มีรสเปรี้ยวมาก แต่ไม่นิยมกิน มักปลูกในกระถางเพื่อชมความงามมากกว่า

ชมพู่ขนาดจิ๋ว ปลูกประดับชมความงาม

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti