
Sign up to save your podcasts
Or
ถั่วแระไต้หวันเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สร้างมูลค่าการส่งออกติดอันดับ 1 ส่งขาย 24 ประเทศ รวมทั้ง ญี่ปุ่น สหรัฐ ฯลฯ มูลค่าการผลิตเกือบ 2,400 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งประเทศหลักที่ส่งออกครองอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นเวลา 15 ปี คือ ญี่ปุ่น จนได้รับฉายา “ทองคำสีเขียว” โดยถั่วแระแช่แข็งของไต้หวันในตลาดญี่ปุ่นครองสัดส่วน 41.9% ซึ่งเป็น 1.71 เท่า และ 1.46 เท่าของคู่แข่งอย่างจีนและไทย ตามลำดับ
ถั่วแระแช่แข็งครองสัดส่วนตลาดญี่ปุ่นอันดับ 1
ไต้ซุ่นฟา(戴順發) ผู้อำนวยการสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตเกาสง บอกว่า ถั่วแระแช่แข็งที่วางขายในตลาดญี่ปุ่น 10 ถุง มี 4 ถุงมาจากไต้หวัน แต่เนื่องจากสายพันธุ์หลัก คือ "เกาสงหมายเลข 9" เปิดตัวมาเกือบ 20 ปีแล้ว ความต้านทานโรคลดลง และสิทธิ์ของสายพันธุ์กำลังจะหมดลงในปี 2026 เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด ทางสถานีวิจัยฯ จึง ได้พัฒนาพันธุ์ใหม่ " เกาสงหมายเลข 13 - คริสตัลสีเขียว" ความต้านทานโรคดี ฝักใหญ่ มีสีเขียวเข้ม และให้ผลผลิตสูงกว่า "เกาสงหมายเลข 9" ถึง 10% และในปีที่แล้วได้ทดลองขายไปที่ญี่ปุ่น สหรัฐ
ถั่วแระหมายเลข 13 (ซ้าย) ฝักใหญ่และเขียวกว่าถั่วแระหมายเลข 9 (ขวา)
ถั่วแระไต้หวันสายพันธุ์ “เกาสง หมายเลข 13 ” เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างถั่วแระ "เกาสงหมายเลข 5" กับพันธุ์ญี่ปุ่นกลายเป็นถั่วแระ “เกาสง หมายเลข 13 -คริสตัลสีเขียว” ให้ผลผลิตสูง 9-10.5 ตัน/เฮกตาร์ มากกว่า "เกาสงหมายเลข 9” ถึง 10% ต้นสูง เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว มีความต้านทานโรคต่อโรครากเน่า โคนเน่าแดง และโรคราแป้งได้ดีกว่า นอกจากนี้ ยังมีฝักขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม เหมาะต่อการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แช่แข็ง และผ่านการจดสิทธิ์ทางสายพันธุ์ในปีที่แล้วด้วย ในปีนี้มีพื้นที่ที่ทำเกษตรพันธสัญญาเพิ่มขึ้นเป็น 7,142 เฮกตาร์ คิดเป็น 12.2%
ถั่วแระที่ไม่ได้มาตรฐานส่งออก แปรรูปเป็นผง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นนมพืช
อุตสาหกรรมการผลิตถั่วแระของไต้หวันมีการใช้เครื่องจักรในการผลิต มีความแม่นยำสูง ใช้เวลา 4 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยวถั่วแระและส่งไปยังโรงงานแปรรูป มีความสด รสหวาน ถือเป็นกุญแจสำคัญต่อเสถียรภาพของตลาดไต้หวัน อย่างไรก็ตาม มีเพียง 60% ของผลิตภัณฑ์แช่แข็งที่ได้มาตรฐานการส่งออก ส่วนที่เหลืออีก 40% ของผลิตภัณฑ์ ทางสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเกาสงได้พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปในรูปแบบผง จากนั้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นมพืชที่คงคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนของถั่วแระ และมีโปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง และมีสารอาหารอื่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น เลซิติน ไอโซฟลาโวน และไม่มีคอเลสเตอรอลอีกด้วย
ถั่วแระไต้หวันเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สร้างมูลค่าการส่งออกติดอันดับ 1 ส่งขาย 24 ประเทศ รวมทั้ง ญี่ปุ่น สหรัฐ ฯลฯ มูลค่าการผลิตเกือบ 2,400 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งประเทศหลักที่ส่งออกครองอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นเวลา 15 ปี คือ ญี่ปุ่น จนได้รับฉายา “ทองคำสีเขียว” โดยถั่วแระแช่แข็งของไต้หวันในตลาดญี่ปุ่นครองสัดส่วน 41.9% ซึ่งเป็น 1.71 เท่า และ 1.46 เท่าของคู่แข่งอย่างจีนและไทย ตามลำดับ
ถั่วแระแช่แข็งครองสัดส่วนตลาดญี่ปุ่นอันดับ 1
ไต้ซุ่นฟา(戴順發) ผู้อำนวยการสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตเกาสง บอกว่า ถั่วแระแช่แข็งที่วางขายในตลาดญี่ปุ่น 10 ถุง มี 4 ถุงมาจากไต้หวัน แต่เนื่องจากสายพันธุ์หลัก คือ "เกาสงหมายเลข 9" เปิดตัวมาเกือบ 20 ปีแล้ว ความต้านทานโรคลดลง และสิทธิ์ของสายพันธุ์กำลังจะหมดลงในปี 2026 เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด ทางสถานีวิจัยฯ จึง ได้พัฒนาพันธุ์ใหม่ " เกาสงหมายเลข 13 - คริสตัลสีเขียว" ความต้านทานโรคดี ฝักใหญ่ มีสีเขียวเข้ม และให้ผลผลิตสูงกว่า "เกาสงหมายเลข 9" ถึง 10% และในปีที่แล้วได้ทดลองขายไปที่ญี่ปุ่น สหรัฐ
ถั่วแระหมายเลข 13 (ซ้าย) ฝักใหญ่และเขียวกว่าถั่วแระหมายเลข 9 (ขวา)
ถั่วแระไต้หวันสายพันธุ์ “เกาสง หมายเลข 13 ” เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างถั่วแระ "เกาสงหมายเลข 5" กับพันธุ์ญี่ปุ่นกลายเป็นถั่วแระ “เกาสง หมายเลข 13 -คริสตัลสีเขียว” ให้ผลผลิตสูง 9-10.5 ตัน/เฮกตาร์ มากกว่า "เกาสงหมายเลข 9” ถึง 10% ต้นสูง เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว มีความต้านทานโรคต่อโรครากเน่า โคนเน่าแดง และโรคราแป้งได้ดีกว่า นอกจากนี้ ยังมีฝักขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม เหมาะต่อการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แช่แข็ง และผ่านการจดสิทธิ์ทางสายพันธุ์ในปีที่แล้วด้วย ในปีนี้มีพื้นที่ที่ทำเกษตรพันธสัญญาเพิ่มขึ้นเป็น 7,142 เฮกตาร์ คิดเป็น 12.2%
ถั่วแระที่ไม่ได้มาตรฐานส่งออก แปรรูปเป็นผง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นนมพืช
อุตสาหกรรมการผลิตถั่วแระของไต้หวันมีการใช้เครื่องจักรในการผลิต มีความแม่นยำสูง ใช้เวลา 4 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยวถั่วแระและส่งไปยังโรงงานแปรรูป มีความสด รสหวาน ถือเป็นกุญแจสำคัญต่อเสถียรภาพของตลาดไต้หวัน อย่างไรก็ตาม มีเพียง 60% ของผลิตภัณฑ์แช่แข็งที่ได้มาตรฐานการส่งออก ส่วนที่เหลืออีก 40% ของผลิตภัณฑ์ ทางสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเกาสงได้พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปในรูปแบบผง จากนั้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นมพืชที่คงคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนของถั่วแระ และมีโปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง และมีสารอาหารอื่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น เลซิติน ไอโซฟลาโวน และไม่มีคอเลสเตอรอลอีกด้วย