
Sign up to save your podcasts
Or
ใกล้เทศกาลตรุษจีนแล้ว ผลไม้มงคลที่นิยมมอบให้ญาติสนิทมิตรสหายหรือนำมาเซ่นไหว้ ที่ขาดไม่ได้ก็คือส้ม รายการในครั้งนี้จึงอยากนำเรื่องราวของนักวิจัยส้มระดับชาติ ผู้อุทิศงานวิจัยให้กับส้มของไต้หวันมาเล่าสู่กันฟัง และถ้าพูดถึงเรื่องการปลูกส้มให้ได้ผลดีนั้น ปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ แสงแดด น้ำ และดิน โดยทั้ง 3 ปัจจัยจะมีความสำคัญพอๆ กัน แต่สำหรับการปลูกส้มในไต้หวัน ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การวิจัย ซึ่งในไต้หวันมีนักวิจัยเรื่องส้มอยู่ท่านหนึ่งที่มีความสำคัญพอๆ กับแสงแดด น้ำ และดิน นั่นก็คือ ศต.กิตติมศักดิ์ อจ.ลวี่หมิงสง(呂明雄) ภาควิชาพืชสวน แห่งมหาวิทยาลัยเจียอี้
ส้มโถ่งกัน เป็นส้มที่ปลูกมากและปลูกมานาน จำเป็นต้องพัฒนาต่อยอด
ศต.กิตติมศักดิ์ ลวี่หมิงสง ได้ทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตให้กับการวิจัยส้ม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของวงการปลูกส้ม ในฐานะผู้นำกลุ่มแนะแนวเทคนิคการปลูกส้ม ท่านได้เจอเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของการปลูกส้มในไต้หวัน เช่นโรคหวงหลงปิ้ง (Citrus Huanglongbing, HLB) หรือที่เรียกว่า โรคกรีนนิ่ง (Citrus greening) ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของพืชตระกูลส้ม และท่านยังเจอกับเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดสินค้าเกษตรนำเข้า ดังนั้น เพื่อต้องการยกระดับคุณภาพของส้มไต้หวัน ท่านได้ชิมส้มสายพันธุ์ต่างๆ บางครั้งชิมมากกว่า 100 ลูกต่อวัน แม้จะแลกมาด้วยสุขภาพก็ตาม และหลังเกษียณจากมหาวิทยาลัยเกือบ 20 ปีแล้ว ท่านก็ยังไม่หยุดนิ่งและยังคงค้นคว้าเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จนผู้อยู่ในวงการส้มเรียกท่านว่า "บิดาแห่งส้มไต้หวัน" แต่ท่านถ่อมตัวบอกว่าตนเองอยู่ในฐานะคนสวนเก่า และยังบอกว่า ตราบใดที่ยังเดินได้ จะทำหน้าที่ให้บริการเรื่องส้มต่อไป
อจ.ลวี่หมิงสง ผู้อุทิศงานวิจัยส้มของไต้หวัน
อจ.ลวี่หมิงสง บอกว่าในช่วงที่รับผิดชอบปรับปรุงคุณภาพส้ม ขณะนั้น มีสวนผลไม้สาธิตทั่วไต้หวัน 47 แห่ง มีกลุ่มเกษตรกรปลูกและขายส้ม 17 แห่ง กระจัดกระจายอยู่ในเขตซินจู๋ ไทจง เจียอี้ ไถหนาน ฮัวเหลียน ไถตง และที่อื่น ๆ โดยแต่ละกลุ่มจะมีการจัดประชุมทุกเดือน อจ.ลวี่หมิงสงจะพาทีมงานเข้าประชุม เยี่ยมชมสวนส้ม ค้นหาปัญหาพื้นที่การผลิต และแก้ไขปัญหาด้วยการวิจัย ซึ่งคำแนะนำอย่างมืออาชีพ ค่อยๆ ได้รับความไว้วางใจจากเกษตรกร
อจ.ลวี่หมิงสง เยี่ยมเยือนชาวสวนส้ม
สำหรับกุญแจสำคัญประการหนึ่งในการปรับปรุงคุณภาพส้ม คือการเพิ่มความหวานในส้ม เพื่อยืนยันว่าคำแนะนำและการปรับปรุงมีประโยชน์หรือไม่ อจ.ลวี่หมิงสงจึงทดลองกินส้มมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ และค้นหาพันธุ์ที่มีศักยภาพทั่วโลก ขณะเดียวกันคำนึงถึงพันธุ์ที่เหมาะต่อการปลูกในไต้หวันด้วย และท่านเห็นว่าในญี่ปุ่นมีส้มหลากหลายสายพันธุ์ ราวกับหนึ่งจังหวัดหนึ่งสายพันธุ์ เช่น เอฮิเมะเบอร์ 28, ฮารุมิ ฯลฯ แต่ส้มญี่ปุ่นที่ท่านสนใจมากที่สุด คือพันธุ์ " Shiranui-ชิระนุย不知火" ให้ผลผลิตสูง เนื้อกรุบ อร่อย และเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีคนนำมาปลูกในไต้หวันแต่ไม่สำเร็จ แต่หลังจากที่ท่านวิจัยพัฒนาและทดลองปลูกหลายปี พบว่าพันธุ์นี้เหมาะสำหรับดินที่เป็นด่าง ปลูกในเขตเซี่ยอิ๋งของนครไถหนานมีความเหมาะสมที่สุด จึงเริ่มให้เกษตรกรปลูกส้มชิรานุย
ส้มชิรานุยจะเป็นส้มสายพันธุ์ใหม่ในอนาคต
ใกล้เทศกาลตรุษจีนแล้ว ผลไม้มงคลที่นิยมมอบให้ญาติสนิทมิตรสหายหรือนำมาเซ่นไหว้ ที่ขาดไม่ได้ก็คือส้ม รายการในครั้งนี้จึงอยากนำเรื่องราวของนักวิจัยส้มระดับชาติ ผู้อุทิศงานวิจัยให้กับส้มของไต้หวันมาเล่าสู่กันฟัง และถ้าพูดถึงเรื่องการปลูกส้มให้ได้ผลดีนั้น ปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ แสงแดด น้ำ และดิน โดยทั้ง 3 ปัจจัยจะมีความสำคัญพอๆ กัน แต่สำหรับการปลูกส้มในไต้หวัน ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การวิจัย ซึ่งในไต้หวันมีนักวิจัยเรื่องส้มอยู่ท่านหนึ่งที่มีความสำคัญพอๆ กับแสงแดด น้ำ และดิน นั่นก็คือ ศต.กิตติมศักดิ์ อจ.ลวี่หมิงสง(呂明雄) ภาควิชาพืชสวน แห่งมหาวิทยาลัยเจียอี้
ส้มโถ่งกัน เป็นส้มที่ปลูกมากและปลูกมานาน จำเป็นต้องพัฒนาต่อยอด
ศต.กิตติมศักดิ์ ลวี่หมิงสง ได้ทุ่มเทเกือบทั้งชีวิตให้กับการวิจัยส้ม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของวงการปลูกส้ม ในฐานะผู้นำกลุ่มแนะแนวเทคนิคการปลูกส้ม ท่านได้เจอเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของการปลูกส้มในไต้หวัน เช่นโรคหวงหลงปิ้ง (Citrus Huanglongbing, HLB) หรือที่เรียกว่า โรคกรีนนิ่ง (Citrus greening) ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของพืชตระกูลส้ม และท่านยังเจอกับเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดสินค้าเกษตรนำเข้า ดังนั้น เพื่อต้องการยกระดับคุณภาพของส้มไต้หวัน ท่านได้ชิมส้มสายพันธุ์ต่างๆ บางครั้งชิมมากกว่า 100 ลูกต่อวัน แม้จะแลกมาด้วยสุขภาพก็ตาม และหลังเกษียณจากมหาวิทยาลัยเกือบ 20 ปีแล้ว ท่านก็ยังไม่หยุดนิ่งและยังคงค้นคว้าเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จนผู้อยู่ในวงการส้มเรียกท่านว่า "บิดาแห่งส้มไต้หวัน" แต่ท่านถ่อมตัวบอกว่าตนเองอยู่ในฐานะคนสวนเก่า และยังบอกว่า ตราบใดที่ยังเดินได้ จะทำหน้าที่ให้บริการเรื่องส้มต่อไป
อจ.ลวี่หมิงสง ผู้อุทิศงานวิจัยส้มของไต้หวัน
อจ.ลวี่หมิงสง บอกว่าในช่วงที่รับผิดชอบปรับปรุงคุณภาพส้ม ขณะนั้น มีสวนผลไม้สาธิตทั่วไต้หวัน 47 แห่ง มีกลุ่มเกษตรกรปลูกและขายส้ม 17 แห่ง กระจัดกระจายอยู่ในเขตซินจู๋ ไทจง เจียอี้ ไถหนาน ฮัวเหลียน ไถตง และที่อื่น ๆ โดยแต่ละกลุ่มจะมีการจัดประชุมทุกเดือน อจ.ลวี่หมิงสงจะพาทีมงานเข้าประชุม เยี่ยมชมสวนส้ม ค้นหาปัญหาพื้นที่การผลิต และแก้ไขปัญหาด้วยการวิจัย ซึ่งคำแนะนำอย่างมืออาชีพ ค่อยๆ ได้รับความไว้วางใจจากเกษตรกร
อจ.ลวี่หมิงสง เยี่ยมเยือนชาวสวนส้ม
สำหรับกุญแจสำคัญประการหนึ่งในการปรับปรุงคุณภาพส้ม คือการเพิ่มความหวานในส้ม เพื่อยืนยันว่าคำแนะนำและการปรับปรุงมีประโยชน์หรือไม่ อจ.ลวี่หมิงสงจึงทดลองกินส้มมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ และค้นหาพันธุ์ที่มีศักยภาพทั่วโลก ขณะเดียวกันคำนึงถึงพันธุ์ที่เหมาะต่อการปลูกในไต้หวันด้วย และท่านเห็นว่าในญี่ปุ่นมีส้มหลากหลายสายพันธุ์ ราวกับหนึ่งจังหวัดหนึ่งสายพันธุ์ เช่น เอฮิเมะเบอร์ 28, ฮารุมิ ฯลฯ แต่ส้มญี่ปุ่นที่ท่านสนใจมากที่สุด คือพันธุ์ " Shiranui-ชิระนุย不知火" ให้ผลผลิตสูง เนื้อกรุบ อร่อย และเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีคนนำมาปลูกในไต้หวันแต่ไม่สำเร็จ แต่หลังจากที่ท่านวิจัยพัฒนาและทดลองปลูกหลายปี พบว่าพันธุ์นี้เหมาะสำหรับดินที่เป็นด่าง ปลูกในเขตเซี่ยอิ๋งของนครไถหนานมีความเหมาะสมที่สุด จึงเริ่มให้เกษตรกรปลูกส้มชิรานุย
ส้มชิรานุยจะเป็นส้มสายพันธุ์ใหม่ในอนาคต