ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 6 กรกฏาคม 2564


Listen Later

มะละกอเป็นผลไม้ที่สามารถนำมารับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารหรือนำมาแปรรูป และอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ในมะละกอสุกมีเอนไซม์ปาเปน ( Papain ) และเส้นใยอาหารมากมายช่วยในเรื่องกายย่อยโปรตีนในร่างกาย ช่วยล้างสำไส้ให้สะอาดขจัดไขมันตามผนังของลำไส้ มะละกอสุกจึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก สำหรับในไต้หวันเอง มีสายพันธุ์มะละกอหลากหลายชนิด แต่เพื่อต้องการคัดเลือกสายพันธุ์ดีๆ เพิ่มผลผลิต ลดความเสียหาย และให้ได้มะละกอที่มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค ล่าสุด มีการพัฒนามะละกอสายพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ TSS_A39, TSS_A43 และ TSS_A46  ซึ่งทั้ง 3 สายพันธุ์ล้วนให้ผลผลิตสูง โดยมีข้อดีคือมีอายุการเก็บรักษานานและรักษาความสดใหม่ไว้​ได้นานขึ้น

มะละกอสายพันธุ์ TSS_A46 ผลค่อนข้างกลม น้ำหนักประมาณ 700 กรัม/ผล ความหวานประมาณ 12 บริกซ์ เนื้อแน่น หวาน อร่อย

อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์มะละกอที่ปลูกในไต้หวันส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ “ไถหนงเบอร์ 2 ” แต่เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีคุณภาพสู้สายพันธุ์รึเซิง(มะละกอฮาวาย sunrise solo日陞) ที่เป็นข้อเด่นไม่ได้  แต่มะละกอฮาวายมีข้อเสียคือ ผลค่อนข้างเล็ก ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ เพราะฉะนั้น ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์จึงทำการพัฒนามะละกอสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งขณะนี้มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ TSS_A39, TSS_A43 และ TSS_A46 และทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ล้วนได้ข้อดีของมะละกอสายพันธุ์ฮาวายคือ มีความหอม หวาน เนื้อละเอียด อร่อย ผลผลิตสูง เก็บรักษาความสดได้นานขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ มะละกอฮาวายเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกในไต้หวันยุคแรกๆ แต่ต่อมายุคที่เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง มีความต้องการสายพันธุ์มะละกอที่ให้ผลผลิตสูง ผลโต ไม่บอบช้ำง่ายระหว่างการขนส่ง เพราะฉะนั้นมะละกอสายพันธุ์ฮาวายจึงมีการปลูกน้อยลง ส่วนมะละกอสายพันธุ์ไถหนงเบอร์ 2 ซึ่งเป็นมะละกอสายพันธุ์หลักที่นิยมปลูกในไต้หวัน เป็นมะละกอที่เกิดจากการพัฒนาพันธุ์ระหว่างมะละกอเมืองไทยกับมะละกอฮาวาย(รึเซิง) รุ่นที่ 1 ให้ผลผลิตสูง ลูกดก ผลใหญ่ น้ำหนักต่อผล 1-1.2 กก. แต่ละต้นให้ผลผลิต 33 กก./ปี ผิวเขียวเข้ม เนื้อแดง ฉ่ำ อร่อย มีความหวาน 11-12 บริกซ์ ปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในไต้หวัน ครองสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูก 90 % สุกง่าย แต่มีข้อเสียคือเก็บรักษาไว้ไม่นาน เวลาขนส่งบอบช้ำง่าย แต่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น

มะละกอฮาวาย(ซ้าย) มะละกอไถหนงเบอร์ 2 (ขวา)

 

ชิวจั่นไถ(邱展臺) ผอ.ศูนย์วิจัยพัฒนาพันธุ์พืชเมืองผิงตงชี้ว่า ทางสถานีปรับปรุงพันธุ์คัดเลือกมะละกอสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ TSS_A39, TSS_A43 ล้วนเป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการผสมพันธุ์ และยังมีข้อดีของมะละกอฮาวายรวมอยู่ด้วย แต่ว่าผลมะละกอใหญ่กว่าและให้ผลผลิตมากกว่ามะละกอฮาวาย โดยที่สายพันธุ์ TSS_A39 มีผลผลิตประมาณ 138 ผล/ต้น ลักษณะของผลจะยาวรี มีน้ำหนักประมาณ 700 กรัม/ผล ความหวาน 13-15 บริกซ์ ส่วนมะละกอสายพันธุ์ TSS_A43 นั้นจะให้ผลผลิตประมาณ 146 ผล/ต้น ลักษณะของผลจะกลมยาว น้ำหนักประมาณ 600 กรัม/ผล ความหวานมีประมาณ 13.8 บริกซ์  อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมะละกอสายพันธุ์ฮาวายหรือไถหนงเบอร์ 2 หลังจากเก็บเกี่ยวและผ่านการบ่มสุกแล้ว วางไว้แค่ 2-3 วันก็ต้องรีบกิน ถือว่าระยะเวลาการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น และไม่เหมาะต่อการขนส่งระยะไกล และนอกจากนี้ มะละกอส่งออกของไต้หวันหลักๆ แล้วเป็นสายพันธุ์ไถหนงเบอร์ 2 ส่งออกปริมาณไม่มาก ไม่ถึง 200 ตัน/ปี และมะละกออีกสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่คือ TSS_A46 ให้ผลผลิตประมาณ 121 ผล/ต้น ลักษณะของผลค่อนข้างกลม น้ำหนักประมาณ 700 กรัม/ผล ความหวานประมาณ 12 บริกซ์ เนื้อแน่น หวาน อร่อย หลังบ่มจนสุกแล้วสามารถเก็บรักษาได้นาน 5-6 วัน มีศักยภาพส่งขายต่างประเทศได้ หลังจดสิทธิ์สายพันธุ์แล้ว อนาคตจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรเพาะปลูก

มะละกอที่นิยมปลูกในไต้หวัน หวาน อร่อย

มะละกอ ภาษาจีนเรียกว่า “มู่กวา木瓜” ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 มีการนำเข้าพันธุ์มะละกอจากหมู่เกาะอินเดียตะวันตกเข้าไปปลูกในเอเชีย ปลายราชวงศ์ชิง มีการนำเข้าจากจีนมาปลูกในไต้หวัน ประมาณปี 1907 เริ่มมีการปลูกกันแพร่หลายขึ้น ปัจจุบันมีเนื้อที่เพาะปลูกมะละกอประมาณ 3,553 เฮกตาร์ ปริมาณการผลิตประมาณ 140,000 ตัน/ปี พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของไต้หวัน บริเวณเมืองผิงตง ไถหนาน เกาสง และเจียอี้ และกระจัดกระจายปลูกบริเวณเมืองหนานโถว หยุนหลิน ฮัวเหลียนและไถตง เพื่อป้องกันหนอนแมลงและโรคไวรัสจุดวงแหวน ปัจจุบันกว่า 85% นิยมปลูกมะละกอในโรงเรือนมุ้งตาข่าย ช่วงฤดูกาลมะละกอคุณภาพดี รสชาติอร่อยประมาณ เดือน 8-11 ส่วนมะละกอสายพันธุ์อื่น เช่น มะละกอไถหนงเบอร์ 1 ไถหนงเบอร์ 3 ไถหนงเบอร์ 5 ไถหนงเบอร์ 6 ไถหนงเบอร์ 9 ไถหนงเบอร์ 10  สายพันธุ์ หงเฟย เป็นต้น การปรับปรุงพันธุ์มะละกอในไต้หวันไม่หยุดอยู่กับที่ ตั้งแต่ยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน จนกระทั่งปัจจุบันซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค และการต่อยอดสายพันธุ์ที่ดีต่อไป

เพื่อป้องกันหนอนแมลงและโรคไวรัสจุดวงแหวน 85% ของมะละกอในไต้หวันนิยมปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่าย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti