
Sign up to save your podcasts
Or
มูลนิ world vision ผลักดันโครงการเลี้ยงหอยทากหยกขาวในหมู่บ้านชนพื้นเมือง
หอยทากเป็นอาหารป่าที่ร้านอาหารส่วนใหญ่ในไต้หวันนิยมนำมาทำเป็นกับแกล้มยอดฮิตอย่างหนึ่ง ไม่เพียงแต่ในไต้หวันเท่านั้น ในประเทศแถบยุโรป ตามร้านอาหารชั้นนำ ไปจนถึงภัตตาคารหรูหลายแห่งก็มีเมนูหอยทากที่แตกต่างกันด้วย เนื่องจากแคลอรีต่ำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จนได้รับฉายา "หอยเป๋าฮื้อบนบก"
หอยทากหยกขาว
หอยทากที่ชนพื้นเมืองในไต้หวันนิยมเลี้ยง เนื่องจากเนื้อสีขาวของหอยทากขาวราวกับหยก ดังนั้นภาษาจีนจึงเรียกว่า “ไป๋อวี้กัวหนิว白玉蝸牛” เนื้อของหอยทากขาวมีความนุ่มกว่าหอยทากยักษ์แอฟริกาทั่วไป สามารถนำมาทำเป็นวัตถุดิบระดับไฮเอนด์ในร้านอาหารฝรั่งเศสได้ และยังอุดมไปด้วยโปรตีน มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงได้ดึงดูดผู้ประกอบการในไต้หวันหันมาพัฒนาอาหารจากหอยทากหยกขาวสำหรับคนทั่วไป ปัจจุบันที่เมืองไถตงมีผู้เลี้ยงหอยทากหยกขาวจำนวนไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในนี้เป็นโครงการของมูลนิธิ world vision เพื่อช่วยเหลือชนพื้นเมืองแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งหอยทากที่เลี้ยงได้นอกจากขายในประเทศแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศได้ด้วย
หอยทากหยกขาวราดซอสกระเทียมต้นหอม
หอยทากหยกขาวเป็นพันธุ์หอยทากที่มีการพัฒนาและเลี้ยงมานานกว่า 40 ปีแล้ว ที่เราพบเห็นส่วนใหญ่เป็นหอยทากแอฟริกา เนื้อสีดำ มักพบเห็นได้ในป่า หลายคนคิดว่าหอยทากสีดำเสี่ยงต่อการติดเชื้อปรสิต ในทางกลับกัน หอยทากหยกขาวมีเนื้อสีขาวและมีการเลี้ยงโดยมนุษย์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดและถูกสุขลักษณะ ถือว่ามีความปลอดภัยในการบริโภค
ทาโกยากิ ใส่เนื้อหอยทาก
จงเจิ้งจื้อ(鐘正志) นักสังคมสงเคราะห์ผู้ดูแลโครงการที่ตำบลหนานอ้าว เมืองอี๋หลาน บอกว่า โครงการส่งเสริมให้ชนพื้นเมืองเลี้ยงหอยทากหยกขาว เพราะต้องการสร้างงานให้กับคนในชุมชน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของครอบครัวไม่ดี ส่งผลให้สมาชิกในชนเผ่าต้องไปทำงานต่างถิ่น คนในชนเผ่าไม่จำเป็นต้องทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระบบนิเวศเพียงอย่างเดียว ถ้าคนหนุ่มสาวในชุมชนรู้ว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือหาเลี้ยงตัวเองอยู่ในชนเผ่าได้ พวกเขาก็จะอยู่ในชุมชนต่อไป ดังนั้น ถ้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับหอยทากมีห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์และหลากหลาย ก็จะยกระดับเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปที่สร้างแบรนด์ของตัวเองและเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว จนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนได้
มูลนิ world vision ผลักดันโครงการเลี้ยงหอยทากหยกขาวในหมู่บ้านชนพื้นเมือง
หอยทากเป็นอาหารป่าที่ร้านอาหารส่วนใหญ่ในไต้หวันนิยมนำมาทำเป็นกับแกล้มยอดฮิตอย่างหนึ่ง ไม่เพียงแต่ในไต้หวันเท่านั้น ในประเทศแถบยุโรป ตามร้านอาหารชั้นนำ ไปจนถึงภัตตาคารหรูหลายแห่งก็มีเมนูหอยทากที่แตกต่างกันด้วย เนื่องจากแคลอรีต่ำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จนได้รับฉายา "หอยเป๋าฮื้อบนบก"
หอยทากหยกขาว
หอยทากที่ชนพื้นเมืองในไต้หวันนิยมเลี้ยง เนื่องจากเนื้อสีขาวของหอยทากขาวราวกับหยก ดังนั้นภาษาจีนจึงเรียกว่า “ไป๋อวี้กัวหนิว白玉蝸牛” เนื้อของหอยทากขาวมีความนุ่มกว่าหอยทากยักษ์แอฟริกาทั่วไป สามารถนำมาทำเป็นวัตถุดิบระดับไฮเอนด์ในร้านอาหารฝรั่งเศสได้ และยังอุดมไปด้วยโปรตีน มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงได้ดึงดูดผู้ประกอบการในไต้หวันหันมาพัฒนาอาหารจากหอยทากหยกขาวสำหรับคนทั่วไป ปัจจุบันที่เมืองไถตงมีผู้เลี้ยงหอยทากหยกขาวจำนวนไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในนี้เป็นโครงการของมูลนิธิ world vision เพื่อช่วยเหลือชนพื้นเมืองแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งหอยทากที่เลี้ยงได้นอกจากขายในประเทศแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศได้ด้วย
หอยทากหยกขาวราดซอสกระเทียมต้นหอม
หอยทากหยกขาวเป็นพันธุ์หอยทากที่มีการพัฒนาและเลี้ยงมานานกว่า 40 ปีแล้ว ที่เราพบเห็นส่วนใหญ่เป็นหอยทากแอฟริกา เนื้อสีดำ มักพบเห็นได้ในป่า หลายคนคิดว่าหอยทากสีดำเสี่ยงต่อการติดเชื้อปรสิต ในทางกลับกัน หอยทากหยกขาวมีเนื้อสีขาวและมีการเลี้ยงโดยมนุษย์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดและถูกสุขลักษณะ ถือว่ามีความปลอดภัยในการบริโภค
ทาโกยากิ ใส่เนื้อหอยทาก
จงเจิ้งจื้อ(鐘正志) นักสังคมสงเคราะห์ผู้ดูแลโครงการที่ตำบลหนานอ้าว เมืองอี๋หลาน บอกว่า โครงการส่งเสริมให้ชนพื้นเมืองเลี้ยงหอยทากหยกขาว เพราะต้องการสร้างงานให้กับคนในชุมชน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของครอบครัวไม่ดี ส่งผลให้สมาชิกในชนเผ่าต้องไปทำงานต่างถิ่น คนในชนเผ่าไม่จำเป็นต้องทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระบบนิเวศเพียงอย่างเดียว ถ้าคนหนุ่มสาวในชุมชนรู้ว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือหาเลี้ยงตัวเองอยู่ในชนเผ่าได้ พวกเขาก็จะอยู่ในชุมชนต่อไป ดังนั้น ถ้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับหอยทากมีห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์และหลากหลาย ก็จะยกระดับเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปที่สร้างแบรนด์ของตัวเองและเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว จนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนได้