
Sign up to save your podcasts
Or
กลิ่นหอมของข้าวสวยร้อนๆ ไม่ได้แค่ปลุกความหิว แต่ยังสะกดใจวงการน้ำหอมยุโรปได้อย่างเหนือความคาดหมาย สวีจื้อเจี๋ย(許智傑) นักปรุงน้ำหอมจากไต้หวันแห่งแบรนด์ “พาพิลลอน ดู๊ก PAPILLON DOUX “ ได้นำข้าวพันธุ์ เกาสง หมายเลข 147 มาสกัดเป็นกลิ่นหอม และพัฒนาสู่ครีมทามือ เขาเป็นผู้ที่มีประสาทสัมผัสด้านกลิ่นที่เฉียบแหลมมาตั้งแต่เด็ก จบการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับสารเคมีปริมาณน้อยในสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดกลิ่นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่ออาจารย์สอนสรีรวิทยาเคยกล่าวว่า "เมื่อคนได้กลิ่นบางอย่าง อารมณ์ก็จะเปลี่ยนไป" คำพูดนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาศึกษาเรื่องกลิ่นอย่างจริงจัง
สวีจื้อเจี๋ย นักปรุงน้ำหอมจากไต้หวันแห่งแบรนด์ PAPILLON DOUX
หลังจบการศึกษา เขาเริ่มต้นอาชีพในอุตสาหกรรมอาหารในตำแหน่งผู้พัฒนาอาหาร โดยใช้ประสาทรับกลิ่นอันยอดเยี่ยมของเขาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เพียงแค่ได้กลิ่นก็ทำให้ลูกค้าอยากซื้อ ต่อมาเขาตัดสินใจเข้าสู่วงการน้ำหอมอย่างเต็มตัว และก่อตั้งแบรนด์ PAPILLON DOUX ซึ่งแปลว่า "ผีเสื้อหอมหวาน-香甜的蝴蝶" ในภาษาฝรั่งเศส โดยผลิตภัณฑ์ของ PAPILLON DOUX มุ่งเน้นการเชื่อมโยงกับผลผลิตทางการเกษตรของไต้หวัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอาหาร เขาเชื่อว่ากลิ่นสามารถเป็นสะพานเชื่อมให้คนหันมาสนับสนุนการเกษตรของไต้หวัน และสามารถต่อยอดสู่แนวคิดที่เขาเรียกว่า "ศาสตร์แห่งกลิ่นเพื่อการสร้างคุณค่าใหม่" เขาจึงเริ่มศึกษาและทดลองกลิ่นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น จนกระทั่งเกิดแนวคิดที่จะนำ "ข้าว" มาเป็นหัวใจหลักของน้ำหอม ซึ่งทำให้หลายคนประหลาดใจ เพราะตลาดน้ำหอมยุโรปส่วนใหญ่เน้น กลิ่นดอกไม้ เป็นหลัก รองลงมาคือกลิ่นผลไม้และไม้หอม แทบไม่มีใครใช้ "กลิ่นธัญพืช" เป็นตัวชูโรง แถมยังมีบางคนมองว่ากลิ่นข้าวเป็นกลิ่นเชิงลบ เพื่อนๆ หลายคนถึงกับเตือนเขาว่า "ข้าวกับน้ำหอมเข้ากันไม่ได้!"
สวีจื้อเจี๋ยสะสมสารสกัดจากธรรมชาติมากกว่า 400 ชนิด
อย่างไรก็ตาม สวี่จื้อเจี๋ยเคยร่วมงานกับกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น และพบว่า ญี่ปุ่นกำลังพยายามนำเกษตรกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมเครื่องหอม เพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคที่มีต่อผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ พวกเขาเชื่อว่า หากทำให้คนรู้สึกดีกับกลิ่นของอาหาร ก็อาจทำให้พวกเขาอยากรับประทานมากขึ้น ด้วยแนวคิดนี้ คุณสวี่จื้อเจี๋ยมั่นใจว่า หากสามารถทำให้ผู้คนหลงใหลในกลิ่นหอมของข้าวได้ ก็จะสามารถเพิ่มความต้องการบริโภคข้าวไต้หวันในระดับสากลได้อย่างแน่นอน เขาจึงตัดสินใจลงมือทำ แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายก็ตาม
สวีจื้อเจี๋ย วิจัยและพัฒนาความหอมจากข้าวเพื่อทำผลิตภัณฑ์
เนื่องจากข้าวแต่ละสายพันธุ์ของไต้หวันมีกลิ่นหอมที่แตกต่างกัน เขาจึงต้องการหาวิธีเชื่อมโยงการตลาดเข้ากับภาคการเกษตรของไต้หวัน จนในที่สุด ได้รับการสนับสนุนจาก เกาเจิ้นหย่วน(高鎮遠) รองผู้อำนวยการสำนักเกษตรเมืองเกาสง ให้ร่วมมือกับสมาคมเกษตรเหม่ยหนง ในการพัฒนาครีมทามือที่มี "ข้าวเกาสง 147" เป็นหัวใจหลักของกลิ่นหอม เขายอมรับว่า ตอนแรกไม่ได้ให้ความสนใจกับข้าวเกาสง 147 เป็นพิเศษ แต่เมื่อได้ลองชิมข้าวสายพันธุ์นี้จากเหม่ยหนงกลับต้องตะลึง เพราะไม่เพียงแต่รสชาติอร่อยเท่านั้น แต่ยังมีกลิ่น หอมอ่อนๆ ของเผือก ที่ชัดเจนแต่ไม่ฉุน ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการปรุงกลิ่นหอมของผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา และเพื่อพัฒนาให้เสร็จเร็วที่สุด เขาทดลองผลิต วันละ 2-3 สูตร จากนั้นทดสอบกลิ่น คัดเลือก และปรับปรุงซ้ำไปซ้ำมา กระบวนการนี้ใช้เวลานาน ถึงครึ่งปี และผ่านการทดสอบมากกว่า 70 สูตร จนได้ผลิตภัณฑ์ครีมทามือที่สมบูรณ์แบบ
กลิ่นหอมของข้าวสวยร้อนๆ ไม่ได้แค่ปลุกความหิว แต่ยังสะกดใจวงการน้ำหอมยุโรปได้อย่างเหนือความคาดหมาย สวีจื้อเจี๋ย(許智傑) นักปรุงน้ำหอมจากไต้หวันแห่งแบรนด์ “พาพิลลอน ดู๊ก PAPILLON DOUX “ ได้นำข้าวพันธุ์ เกาสง หมายเลข 147 มาสกัดเป็นกลิ่นหอม และพัฒนาสู่ครีมทามือ เขาเป็นผู้ที่มีประสาทสัมผัสด้านกลิ่นที่เฉียบแหลมมาตั้งแต่เด็ก จบการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับสารเคมีปริมาณน้อยในสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดกลิ่นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่ออาจารย์สอนสรีรวิทยาเคยกล่าวว่า "เมื่อคนได้กลิ่นบางอย่าง อารมณ์ก็จะเปลี่ยนไป" คำพูดนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาศึกษาเรื่องกลิ่นอย่างจริงจัง
สวีจื้อเจี๋ย นักปรุงน้ำหอมจากไต้หวันแห่งแบรนด์ PAPILLON DOUX
หลังจบการศึกษา เขาเริ่มต้นอาชีพในอุตสาหกรรมอาหารในตำแหน่งผู้พัฒนาอาหาร โดยใช้ประสาทรับกลิ่นอันยอดเยี่ยมของเขาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เพียงแค่ได้กลิ่นก็ทำให้ลูกค้าอยากซื้อ ต่อมาเขาตัดสินใจเข้าสู่วงการน้ำหอมอย่างเต็มตัว และก่อตั้งแบรนด์ PAPILLON DOUX ซึ่งแปลว่า "ผีเสื้อหอมหวาน-香甜的蝴蝶" ในภาษาฝรั่งเศส โดยผลิตภัณฑ์ของ PAPILLON DOUX มุ่งเน้นการเชื่อมโยงกับผลผลิตทางการเกษตรของไต้หวัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอาหาร เขาเชื่อว่ากลิ่นสามารถเป็นสะพานเชื่อมให้คนหันมาสนับสนุนการเกษตรของไต้หวัน และสามารถต่อยอดสู่แนวคิดที่เขาเรียกว่า "ศาสตร์แห่งกลิ่นเพื่อการสร้างคุณค่าใหม่" เขาจึงเริ่มศึกษาและทดลองกลิ่นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น จนกระทั่งเกิดแนวคิดที่จะนำ "ข้าว" มาเป็นหัวใจหลักของน้ำหอม ซึ่งทำให้หลายคนประหลาดใจ เพราะตลาดน้ำหอมยุโรปส่วนใหญ่เน้น กลิ่นดอกไม้ เป็นหลัก รองลงมาคือกลิ่นผลไม้และไม้หอม แทบไม่มีใครใช้ "กลิ่นธัญพืช" เป็นตัวชูโรง แถมยังมีบางคนมองว่ากลิ่นข้าวเป็นกลิ่นเชิงลบ เพื่อนๆ หลายคนถึงกับเตือนเขาว่า "ข้าวกับน้ำหอมเข้ากันไม่ได้!"
สวีจื้อเจี๋ยสะสมสารสกัดจากธรรมชาติมากกว่า 400 ชนิด
อย่างไรก็ตาม สวี่จื้อเจี๋ยเคยร่วมงานกับกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น และพบว่า ญี่ปุ่นกำลังพยายามนำเกษตรกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมเครื่องหอม เพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคที่มีต่อผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ พวกเขาเชื่อว่า หากทำให้คนรู้สึกดีกับกลิ่นของอาหาร ก็อาจทำให้พวกเขาอยากรับประทานมากขึ้น ด้วยแนวคิดนี้ คุณสวี่จื้อเจี๋ยมั่นใจว่า หากสามารถทำให้ผู้คนหลงใหลในกลิ่นหอมของข้าวได้ ก็จะสามารถเพิ่มความต้องการบริโภคข้าวไต้หวันในระดับสากลได้อย่างแน่นอน เขาจึงตัดสินใจลงมือทำ แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายก็ตาม
สวีจื้อเจี๋ย วิจัยและพัฒนาความหอมจากข้าวเพื่อทำผลิตภัณฑ์
เนื่องจากข้าวแต่ละสายพันธุ์ของไต้หวันมีกลิ่นหอมที่แตกต่างกัน เขาจึงต้องการหาวิธีเชื่อมโยงการตลาดเข้ากับภาคการเกษตรของไต้หวัน จนในที่สุด ได้รับการสนับสนุนจาก เกาเจิ้นหย่วน(高鎮遠) รองผู้อำนวยการสำนักเกษตรเมืองเกาสง ให้ร่วมมือกับสมาคมเกษตรเหม่ยหนง ในการพัฒนาครีมทามือที่มี "ข้าวเกาสง 147" เป็นหัวใจหลักของกลิ่นหอม เขายอมรับว่า ตอนแรกไม่ได้ให้ความสนใจกับข้าวเกาสง 147 เป็นพิเศษ แต่เมื่อได้ลองชิมข้าวสายพันธุ์นี้จากเหม่ยหนงกลับต้องตะลึง เพราะไม่เพียงแต่รสชาติอร่อยเท่านั้น แต่ยังมีกลิ่น หอมอ่อนๆ ของเผือก ที่ชัดเจนแต่ไม่ฉุน ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการปรุงกลิ่นหอมของผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา และเพื่อพัฒนาให้เสร็จเร็วที่สุด เขาทดลองผลิต วันละ 2-3 สูตร จากนั้นทดสอบกลิ่น คัดเลือก และปรับปรุงซ้ำไปซ้ำมา กระบวนการนี้ใช้เวลานาน ถึงครึ่งปี และผ่านการทดสอบมากกว่า 70 สูตร จนได้ผลิตภัณฑ์ครีมทามือที่สมบูรณ์แบบ