ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565


Listen Later

เทรนด์การรับประทานอาหารมังสวิรัติในไต้หวัน

อาหารมังสวิรัติซึ่งเป็นสายทานผักยังแบ่งออกเป็นหลายแบบ มีทั้งงดเนื้อสัตว์ทุกชนิดและไข่ นม แต่สามารถกินนมและผลิตภัณฑ์จากนม,ไข่ได้ หรือมังสวิรัติที่งดเว้นไข่,นมและผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นปลา หรือเป็นประเภทเคร่งครัดที่งดเว้นทั้ง ไข่ นม และเนื้อสัตว์ทุกชนิด และบางคนอาจเคร่งครัดชนิดที่ว่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า,รองเท้า,กระเป๋า และใช้เครื่องสําอางที่ทํามาจากสัตว์หรือทดลองจากสัตว์อีกด้วย หลี่เมี่ยวหลิง(李妙玲) ผู้จัดการบริษัทหลี่เหริน(里仁)ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอาหารมังสวิรัติออแกนิคที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวันบอกว่า ที่ผ่านมาประชากรที่รับประทานอาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้นับถือศาสนา แต่ปัจจุบันหลายคนหันมารับประทานอาหารมังสวิรัติเพื่อต้องการลดคาร์บอนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีจำนวนมากขึ้น การจัดทำคู่มือการรับประทานอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือGreen Dining Guide มีร้านอาหารหรือภัตตาคารเกือบ 200 แห่งเข้าร่วมเป็นสมาชิก ซึ่งร้านอาหารเหล่านี้จะมีอาหารมังสวิรัติอย่างน้อย 1 อย่างอยู่ในเมนู องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) จัดให้ปี 2021 เป็นปีแห่งผักและผลไม้สากลอย่างเป็นทางการ บริษัทสำรวจข้อมูลทางการตลาดระดับโลก(Euromonitor International)ประกาศในเดือนมี.ค.ปี 2021ชี้ว่า ปี 2020 ประชากรลดการรับประทานอาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ มีการรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นครั้งคราว ครองสัดส่วน 42 %ของประชากรโลก สำหรับในไต้หวันปัจจุบันมีคนรับประทานอาหารมังสวิรัติประมาณ 3 ล้านคน แต่โอกาสทางธุรกิจของอาหารมังสวิรัติมีมากถึง 60,000 ล้านเหรียญไต้หวัน แม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ รวมทั้งภัตตาคาร หรือแม้แต่มุมวางขายอาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตล้วนมีอาหารมังสวิรัติขายด้วย

อาหารมังสวิรัติในไต้หวัน

หลี่เมี่ยวหลิง ผจ.บริษัทหลี่เหรินที่ทำธุรกิจด้านอาหารมังสวิรัตินานกว่า 20 ปียังบอกด้วยว่า ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยก่อน กลุ่มคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติในปัจจุบันจะไม่เหมือนกัน ที่ผ่านมาคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีศรัทธาในเรื่องของศาสนา แนวคิดการปรุงอาหารหรือเครื่องดื่มมักจะได้รับอิทธิพลจากอาหารเนื้อสัตว์ อย่างเช่น รูปร่างภายนอกรวมทั้งรสชาติของอาหารมังสวิรัติมีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ แต่ว่าปัจจุบันกลุ่มคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติมีอายุน้อยลง มีการปรุงอาหารที่หลากหลาย เน้นผักผลไม้ที่เป็นธรรมชาติและมาจากท้องถิ่น หรือนิยมนำผักผลไม้มาปรุงโดยตรงเลย สาเหตุเพื่อต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือเป็นการปกป้องชีวิตสัตว์ เพราะถ้าเปรียบเทียบระหว่างผักผลไม้กับเนื้อสัตว์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนพบว่า ผักผลไม้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่า

อาหารมังสวิรัติเน้นผักผลไม้จากท้องถิ่น

นอกจากนั้นแล้ว ความนิยมรับประทานอาหารมังสวิรัติยังมีในประเทศอื่น ซึ่งประเทศที่รับประทานอาหารมังสวิรัติมากที่สุดในโลกก็คือประเทศอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความชอบหรือเกี่ยวข้องกับศาสนา อาหารมังสวิรัติถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนอินเดีย โดยอาหารมังสวิรัติของอินเดียส่วนใหญ่เน้นเครื่องเทศ ส่วนประเทศออสเตรเลียถือเป็นประเทศที่มีซุปเปอร์มาร์เก็ตขายอาหารมังสวิรัติที่ใหญ่ที่สุดในโลก Brent Moore( Deputy Rep.) รองผู้แทนออสเตรเลียประจำไต้หวันแบ่งปันประสบการณ์ให้ฟังว่า ในออสเตรเลีย มีผลิตภัณฑ์เกษตรประเภทผักผลไม้ในฤดูกาลมาก ผู้คนนิยมรับประทานผักผลไม้มื้อเช้าและมื้อเที่ยง อาหารที่อยู่ในจานจะมีผักผลไม้ที่มีสีสันและรสชาติอร่อย ผู้คนที่รับประทานมังสวิรัติมีความคิดว่าจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

เบอร์เกอร์มังสวิรัติ

 

สำหรับในไต้หวัน กรุงไทเปได้รับการคัดเลือกจากCNN ให้เป็น 1 ใน 10 ของเมืองที่ผู้คนเป็นมิตรกับอาหารมังสวิรัติ หวงจวี้นเฉิง(黃俊誠)เลขาธิการสมาคมสำรวจวัฒนธรรมกรุงไทเปและยังเป็นผู้ก่อตั้งGreen Dining Guideบอกว่า ที่ผ่านมาร้านอาหารมังสวิรัติส่วนหนึ่งยากที่จะพัฒนาอาหารด้านนี้ เหตุผลคือวัตถุดิบถูกจำกัด ซึ่งอาหารมังสวิรัติและอาหารประเภทเนื้อที่แตกต่างมากที่สุดคือแหล่งวัตถุดิบที่เป็นโปรตีน โดยอาหารมังสวิรัติที่พบเห็นบ่อยๆและเป็นวัตถุดิบที่นำมาใช้คือเต้าหู้ ฟองเต้าหู้ เป็นต้น แต่ว่าเต้าหู้และฟองเต้าหู้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารสไตล์จีนมีการใช้อย่างกว้างขวาง อาหารมังสวิรัติสไตล์ตะวันตกมีการนำมาใช้น้อย ไม่นานมานี้ เนื้อที่ผลิตจากพืช รวมทั้งเต็มเป ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองแบบพื้นบ้านของอินโดนีเซีย มีความแพร่หลายมากขึ้น จึงทำให้ร้านอาหารสไตล์ตะวันตกมีโอกาสพัฒนาอาหารมังสวิรัติได้มากขึ้นด้วย และไต้หวันเองก็ไม่เพียงแต่ได้รับยกย่องจากสื่อนานาชาติว่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับอาหารมังสวิรัติ แต่ยังเป็นศูนย์กลางซัพพลายเนื้อสัตว์จากพืชไปขายทั่วโลก ยิ่งไปกว่านี้ยังได้รับยกย่องเป็นประเทศรายใหญ่ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ โดยทั่วไปผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจะมีการแบ่งเป็นประเภทที่รับประทานเป็นเวลานาน อีกทั้งประเภทที่รับประทานแบบยืดหยุ่นหรือเป็นครั้งคราว อย่างเช่น รับประทานมังสวิรัติในตอนเช้า เทศกาลกินเจ วันพระวันที่ 1 และวันที่ 15 ตามปฏิทินจีน หรือคนที่รับประทานเพื่อสุขภาพหรือไม่อยากเบียดเบียนสัตว์ เป็นต้น

เนื้อที่ผลิตจากพืช ทำจากถั่วลันเตา(ภาพซ้าย) ทำจากถั่วเหลือง(ภาพขวา)

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti