ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 8 มี.ค.2565


Listen Later

ความชื่มชอบควินัวแดงที่เป็นสายพันธุ์ของไต้หวัน

หลังองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้จัดให้ "ควินัว" เป็นพืชแห่งปี ในปี 2013 (The International Year of Quinoa 2013) แล้ว คนไต้หวันเริ่มมีเทรนด์การบริโภคควินัวไปด้วย ไม่กี่ปีนี้ ควินัวจัดเป็นซุปเปอร์ฟู้ดสุดฮิต เพราะว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้ผู้นำด้านการผลิตอาหารที่มีเเฟรนไชส์ อย่างซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารฟ้าดฟู้ด ร้านเบเกอรี ต่างเลือกใช้ควินัวทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และในไต้หวันเองก็มีการปลูกควินัว เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมในไต้หวันเอง ถือเป็นพืชการเกษตรของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในไต้หวัน ชนเผ่าที่ปลูกควินัวได้แก่ ชนเผ่ารูไค ชนเผ่าไพวัน โดยส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นยีสต์สำหรับหมักเป็นเหล้าข้าวฟ่าง หรือนำมาใช้เป็นเครื่องประดับที่สวมบนศีรษะในขณะที่ทำพิธีเซ่นไหว้ของชนเผ่า ส่วนชนกลุ่มอื่นๆ จะไม่คุ้นเคยกับควินัวมากนัก จนกระทั่งควินัวได้รับความนิยมประเทศในยุโรปและอเมริกาว่าเป็นซุปเปอร์ฟู้ด ประกอบกับมีการวิจัยของกรมป่าไม้ ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีผิงตง จึงทำให้ควินัวของไต้หวันค่อยๆได้รับความสำคัญ พบเห็นในท้องตลาดมากขึ้น

ควินัวพันธุ์ดั้งเดิมของไต้หวันมีหลากหลายสีสัน

ควินัวพันธุ์ดั้งเดิมของไต้หวันมีหลากหลายสีสัน มีทั้งสีเหลือง สีส้ม สีชมพู สีแดง แต่ความต้องการของตลาดกลับชื่นชอบควินัวที่มีสีแดง เนื่องจากควินัวมีเส้นใยอาหารสูง มีโปรตีนที่เทียบเท่ากับเนื้อวัว เป็นที่ชื่นชอบของเหล่านักออกกำลังกาย เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารมังสวิรัติ ตลอดจนการนำมาใส่ในส่วนผสมของอาหารสุขภาพ และจากแนวคิดของการรณรงค์ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในท้องถิ่น ทำให้ผู้ประกอบการด้านอาหารจำนวนไม่น้อยเลือกซื้อควินัวที่ปลูกในไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างระหว่างควินัวที่ปลูกในทวีปอเมริกาใต้กับควินัวที่ปลูกในไต้หวัน ไม่เพียงแต่แตกต่างกันที่แหล่งเพาะปลูก ยิ่งไปกว่านี้ สายพันธุ์ก็ไม่เหมือนกัน ควินัวไต้หวันมีลักษณะของรวงที่เป็นพวงห้อยลง เมล็ดควินัวจะเล็กกว่า ปี 2008 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีผิงตงได้ตั้งชื่อควินัวพันธุ์ดั้งเดิมว่า “ควินัวไต้หวัน” (Chenopodium formosanum) และยังได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการระหว่างควินัวทวีปอเมริกาใต้กับควินัวของไต้หวันพบว่า ควินัวไต้หวันแม้เมล็ดเล็กกว่า แต่มีสีสันสดใสและคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าด้วย ดังนั้นจึงมีการตั้งชื่อให้อย่างเพราะพริ้งว่า “ทับทิมในธัญพืช” แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคในท้องตลาดมักจะเรียกง่ายๆว่า “ควินัวแดงหรือหงหลี-紅藜”

ควินัวนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย

แต่ก็มีคำถามว่า ควินัวไต้หวันกับควินัวแดง ทั้ง 2 ชนิดแยกกันยังไง? และควินัวมีเปลือกกับควินัวกะเทาะเปลือกแตกต่างกันอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็นควินัวแดงหรือควินัวทับทิม แม้จะเรียกได้อย่างคล่องปากแต่มันก็ปนไปด้วยความเข้าใจผิด ซึ่งในส่วนที่เรียกว่าควินัวไต้หวัน แท้จริงแล้ว คือควินัวที่มีหลายสี แต่ปัจจุบันถูกเรียกว่าเป็นควินัวสีแดง เป็นผู้บริโภคชื่นชอบ เพราะฉะนั้นค่อยๆ ถูกเรียกว่า “ควินัวแดงหรือหงหลี” ไม่กี่ปีนี้ ข้อมูลการวิจัยในประเทศพบว่า ควินัวไม่กะเทาะเปลือกจะมีเส้นใยอาหาร มีความหวานจากสีที่อยู่ในเมล็ดควินัวมากกว่า แต่ว่าจากการนำไปประกอบอาหาร ควินัวเมล็ดเล็ก มีขีดจำกัดในการนำไปใช้ ประกอบเทคโนโลยีการแปรรูป รวมทั้งการพัฒนาวิธีการนำมาไปประกอบอาหารที่สามารถขจัดความขมฝาดของควินัวออกไปได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ควินัวในท้องตลาดของไต้หวันที่มีเปลือกจึงปรากฏมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ตาม สีควินัวที่พบเห็นบ่อยก็ยังคงเป็นสีแดง สมาชิกที่ทำงานในสมาคมส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชนพื้นเมืองของผิงตงมักจะอธิบายให้ลูกค้าทราบว่า ควินัวที่มีสีต่างกันแต่คุณค่าทางโภชนาการไม่ต่างกัน และในอดีตหากไปที่ชุมชนของชนพื้นเมืองที่ปลูกควินัวก็ยังคงเห็นควินัวหลากหลายสีสัน ยิ่งเป็นช่วงที่อากาศแจ่มใส ท้องฟ้าสีคราม พื้นดินที่ควินัวออกรวงหลากสี มีทั้งสีส้ม เหลือง แดง รวมทั้งใบที่เปลี่ยนจากเขียวเป็นสีแดง ภาพที่ปรากฏในสายตาแบบนี้จะทำให้ยากที่จะลืมเลือนได้

หลังเก็บเกี่ยวต้องอาศัยแรงคนในการคัดสรร

ควินัวสีแดงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อาจเป็นเพราะคิดว่า สีแดงเป็นสีมงคล น่าทาน ส่งมอบเป็นของขวัญดูดีด้วย ทำให้ปัจจุบันควินัวที่ขายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นสีแดง แต่ผู้บริโภคไม่ทราบเลยว่า การที่ทำให้ควินัวมีสีแดงสดใส เกษตรกรจำเป็นต้องคัดพันธุ์ก่อนปลูก คัดสีหลังเก็บเกี่ยว เสียเวลามาก แถมคัดเลือกจนตาลายไปหมด แม้ปัจจุบันจะมีเครื่องคัดสี แต่ความละเอียดสู้คนไม่ได้ มีพ่อค้าบางรายเข้มงวดในเรื่องของสีมาก หลังใช้เครื่องจักรแล้ว ยังต้องใช้ตาเนื้อในการตรวจซ้ำ เพื่อแน่ใจว่ามีสีใกล้เคียงมากที่สุด เพราะควินัวที่มีสีแดงสด ราคาสูง พ่อค้าชอบซื้อ หากมีสีอื่นปน ก็จะให้ราคาที่ถูกกว่าหรือไม่รับซื้อเลยก็มี แต่เกษตรกที่ปลูกบอกว่า พวกเขาต้องการปลูกควินัวที่มีสีสันหลากหลาย ดูแล้วสวยดี สบายใจ สบายตาด้วย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti