
Sign up to save your podcasts
Or
เจลลี่ฟิก(Jelly Fig)หรือไอ้วี่(愛玉Aiyu) พืชอัศจรรย์เฉพาะถิ่นที่มีอยู่ในไต้หวันเท่านั้น มักขึ้นตามป่าตามเขา ออกผลบนยอดที่สูงลิ่ว เจริญดีในป่าทึบแถบเทือกเขาตอนกลาง เป็นพืชดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เวลาที่ผสมพันธุ์ต้องอาศัยตัวต่อ ผลทรงคล้ายไข่ไก่สีเขียว มีเมล็ดนิ่ม ๆ ภายในผลมากมาย นิยมทำเป็นวุ้นไอ้วี่ มีประโยชน์กับสุขภาพมาก ล่าสุด สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเหมียวลี่ได้เปิดตัวเทคนิคการสกัดสารในเมล็ดเจลลี่ฟิกที่ใช้เวลานานถึง 6 ปีในการค้นคว้าวิจัย พบว่าสารสกัดเข้มข้นจากเมล็ดไอ้วี่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าในบลูเบอร์รี่ และยังพบว่ามีส่วนประกอบของ Phytosterol ที่มีโครงสร้างคล้ายคลอเรสเตอรอลที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบได้ด้วย
วุ้นไอ้วี่ใส่ไข่มุก มะนาว หรือเสาวรส รสชาติอร่อย
ตั้งแต่ปี 2013 สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเหมียวลี่ได้เพาะพันธุ์เจลลี่ฟิกขึ้นใหม่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่เหมียวลี่หมายเลข 1 และหมายเลข 2 ที่ปลูกในพื้นที่ราบได้ เก็บผลสะดวก ให้ผลผลิตสูง แต่ที่ผ่านมามีการนำประโยชน์เจลลี่ฟิกมารับประทานโดยนำเมล็ดมาล้าง ขยี้ เพื่อทำเป็นวุ้นเจลลี่ ลวี่ซิ่วอิง(呂秀英) ผู้อำนวยการสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชบอกว่า ข้างในผลเจลลี่ฟิกมีเมล็ดเจลลี่นับล้านเม็ด เปลือกที่อยู่บนเมล็ดเจลลี่ฟิกคือวัตถุดิบที่ทำวุ้นเจลลี่ แต่ในส่วนของเมล็ดยังมีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยม 3 ประการ ประการแรกคือ มีสารโพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และก็ยังกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันตัวเลวได้ ประการที่ 2 มีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งถือว่าเป็นวิตามินที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เต่งตึงให้แก่ผิวหนัง ประการที่ 3 มีสารไฟโตสเตอรอลซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลอเรสเตอรอล มีหน้าที่แย่งพื้นที่กับคอเลสเตอรอลในการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
สารสะกัดจากเมล็ดเจลลี่ฟิก มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
ลวี่ซิ่วอิง ผู้อำนวยการสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชยังบอกด้วยว่า เทคนิคการสกัดสารในเมล็ดเจลลี่ฟิกจะช่วยให้สารที่อยู่ในเมล็ดสามารถดึงออกมาได้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอลจะมีปริมาณสูงกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 13 เท่า เพราะฉะนั้น เจลลี่ฟิกหรือไอ้วี่จึงกลายเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระดีเลิศ ส่วนสารฟลาโวนอยด์ที่อยู่ในเมล็ดเจลลี่ฟิกจะมีมากกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 9 เท่า ซึ่งความสำเร็จนี้ มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย China medical ผ่านการทดลองกับหนูในห้องปฏิบัติการแล้ว มีการนำผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแบบเปิด “แอนตี้ออกซิเดนท์-Antioxidants” แล้วด้วย
ผลเจลลี่ฟิกตากแห้งที่ส่งขายร้านค้าเพื่อทำวุ้นไอ้วี่
ปัจจุบันไต้หวันมีพื้นที่เพาะปลูกเจลลี่ฟิก 549 เฮกตาร์ โดย 1 ใน 5 ปลูกในพื้นที่ราบ แถบนครเกาสง ไถตง เจียอี้ มีเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มผลิต 20 กลุ่ม ขายผลเจลลี่ฟิกให้กับพ่อค้าคนกลาง จากนั้นส่งขายปลีกให้กับร้านค้าที่ทำวุ้นไอ้วี่ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดียว มีขีดจำกัดต่อการพัฒนาการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมล็ดที่อยู่ในเจลลี่ฟิกที่มีประโยชน์อีกมากมายยังไม่ได้นำมาใช้ แต่ขณะนี้ เทคนิคการสกัดสารในเมล็ดเจลลี่ฟิก มีการถ่ายโอนเทคนิคให้กับผู้ประกอบการโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีนี้สกัดเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณได้ และตอนนี้สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชได้ทดลองทำเป็นเครื่องดื่มขนาด 30 มิลลิลิตรต่อถุง เติมสารสกัดจากเมล็ดเจลลี่ฟิกเพียง 1 มิลลิลิตร แต่มีคุณค่าเพียงพอต่อร่างกายได้ 1 วัน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 1-2 แห่ง ยินยอมที่จะรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีนี้แล้วด้วย
เจลลี่ฟิก(Jelly Fig)หรือไอ้วี่(愛玉Aiyu) พืชอัศจรรย์เฉพาะถิ่นที่มีอยู่ในไต้หวันเท่านั้น มักขึ้นตามป่าตามเขา ออกผลบนยอดที่สูงลิ่ว เจริญดีในป่าทึบแถบเทือกเขาตอนกลาง เป็นพืชดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เวลาที่ผสมพันธุ์ต้องอาศัยตัวต่อ ผลทรงคล้ายไข่ไก่สีเขียว มีเมล็ดนิ่ม ๆ ภายในผลมากมาย นิยมทำเป็นวุ้นไอ้วี่ มีประโยชน์กับสุขภาพมาก ล่าสุด สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเหมียวลี่ได้เปิดตัวเทคนิคการสกัดสารในเมล็ดเจลลี่ฟิกที่ใช้เวลานานถึง 6 ปีในการค้นคว้าวิจัย พบว่าสารสกัดเข้มข้นจากเมล็ดไอ้วี่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าในบลูเบอร์รี่ และยังพบว่ามีส่วนประกอบของ Phytosterol ที่มีโครงสร้างคล้ายคลอเรสเตอรอลที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบได้ด้วย
วุ้นไอ้วี่ใส่ไข่มุก มะนาว หรือเสาวรส รสชาติอร่อย
ตั้งแต่ปี 2013 สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเหมียวลี่ได้เพาะพันธุ์เจลลี่ฟิกขึ้นใหม่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่เหมียวลี่หมายเลข 1 และหมายเลข 2 ที่ปลูกในพื้นที่ราบได้ เก็บผลสะดวก ให้ผลผลิตสูง แต่ที่ผ่านมามีการนำประโยชน์เจลลี่ฟิกมารับประทานโดยนำเมล็ดมาล้าง ขยี้ เพื่อทำเป็นวุ้นเจลลี่ ลวี่ซิ่วอิง(呂秀英) ผู้อำนวยการสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชบอกว่า ข้างในผลเจลลี่ฟิกมีเมล็ดเจลลี่นับล้านเม็ด เปลือกที่อยู่บนเมล็ดเจลลี่ฟิกคือวัตถุดิบที่ทำวุ้นเจลลี่ แต่ในส่วนของเมล็ดยังมีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยม 3 ประการ ประการแรกคือ มีสารโพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และก็ยังกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันตัวเลวได้ ประการที่ 2 มีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งถือว่าเป็นวิตามินที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เต่งตึงให้แก่ผิวหนัง ประการที่ 3 มีสารไฟโตสเตอรอลซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลอเรสเตอรอล มีหน้าที่แย่งพื้นที่กับคอเลสเตอรอลในการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
สารสะกัดจากเมล็ดเจลลี่ฟิก มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
ลวี่ซิ่วอิง ผู้อำนวยการสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชยังบอกด้วยว่า เทคนิคการสกัดสารในเมล็ดเจลลี่ฟิกจะช่วยให้สารที่อยู่ในเมล็ดสามารถดึงออกมาได้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอลจะมีปริมาณสูงกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 13 เท่า เพราะฉะนั้น เจลลี่ฟิกหรือไอ้วี่จึงกลายเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระดีเลิศ ส่วนสารฟลาโวนอยด์ที่อยู่ในเมล็ดเจลลี่ฟิกจะมีมากกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 9 เท่า ซึ่งความสำเร็จนี้ มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย China medical ผ่านการทดลองกับหนูในห้องปฏิบัติการแล้ว มีการนำผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแบบเปิด “แอนตี้ออกซิเดนท์-Antioxidants” แล้วด้วย
ผลเจลลี่ฟิกตากแห้งที่ส่งขายร้านค้าเพื่อทำวุ้นไอ้วี่
ปัจจุบันไต้หวันมีพื้นที่เพาะปลูกเจลลี่ฟิก 549 เฮกตาร์ โดย 1 ใน 5 ปลูกในพื้นที่ราบ แถบนครเกาสง ไถตง เจียอี้ มีเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มผลิต 20 กลุ่ม ขายผลเจลลี่ฟิกให้กับพ่อค้าคนกลาง จากนั้นส่งขายปลีกให้กับร้านค้าที่ทำวุ้นไอ้วี่ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดียว มีขีดจำกัดต่อการพัฒนาการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมล็ดที่อยู่ในเจลลี่ฟิกที่มีประโยชน์อีกมากมายยังไม่ได้นำมาใช้ แต่ขณะนี้ เทคนิคการสกัดสารในเมล็ดเจลลี่ฟิก มีการถ่ายโอนเทคนิคให้กับผู้ประกอบการโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีนี้สกัดเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณได้ และตอนนี้สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชได้ทดลองทำเป็นเครื่องดื่มขนาด 30 มิลลิลิตรต่อถุง เติมสารสกัดจากเมล็ดเจลลี่ฟิกเพียง 1 มิลลิลิตร แต่มีคุณค่าเพียงพอต่อร่างกายได้ 1 วัน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 1-2 แห่ง ยินยอมที่จะรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีนี้แล้วด้วย