
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันมีพื้นที่เพาะปลูกองุ่นประมาณ 2,400 เฮกตาร์( 15,000 ไร่) มูลค่าผลผลิตต่อปีอยู่ที่ 5,800 ล้านเหรียญไต้หวัน แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาต่างๆ เช่น สภาพภูมิอากาศแปรปรวน การปลูกองุ่นเพื่อการบริโภคสดที่เน้นเพียงสายพันธุ์เดียว รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกเข้าสู่วัยชรา ส่งผลทำให้การปลูกองุ่นในไต้หวันลดลงถึง 18% ในช่วง 10 ปี เพราะฉะนั้น สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไทจงได้พัฒนาองุ่นพันธุ์ใหม่เพื่อการบริโภคผลสดจนประสบความสำเร็จ ตั้งชื่อว่า "ไทจงเบอร์ 6 " โดยพันธุ์นี้เกิดจากการกลายพันธุ์ขององุ่นเคียวโฮ และในปีที่แล้วมีโหวตตั้งชื่อของสายพันธุ์ ผลการตัดสินมีชื่อว่า “เจ้าหญิงหลัวนาร์羅娜公主” ขณะนี้ผ่านการจดสิทธิ์พันธุ์พืชอย่างเป็นทางการแล้ว
องุ่นพันธุ์เจ้าหญิงหลัวนาร์
องุ่นพันธุ์ "ไทจงเบอร์ 6 หรือ เจ้าหญิงหลัวนาร์" มีผลยาวคล้ายองุ่นหวานแซฟไฟร์พันธุ์อเมริกัน(Sweet Sapphire Grapes) ด้านบนแคบ ด้านล่างกว้างคล้ายมะละกอจิ๋ว องุ่นทั้งพวงเหมือนพวงของประทัด เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้ง อัตราส่วนกรด-น้ำตาลอยู่ในระดับปานกลาง ความหวาน 18 บริกซ์ ซึ่งต่างจากองุ่นเคียวโฮที่คนไต้หวันคุ้นเคย แต่กว่าจะสำเร็จต้องใช้เวลานานกว่า 7 ปีในการพัฒนาพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่พืชผลที่กลายพันธุ์มักจะกลายเป็นพันธุ์ไม่ดี แต่โชคดีองุ่นไทจงเบอร์ 6 พัฒนากลายเป็นพันธุ์ดี รสชาติอร่อย รูปลักษณ์สวย คาดจะช่วยสร้างมูลค่าผลผลิตสูงถึง 350 ล้านเหรียญไต้หวันต่อปี
โรงเรือนปลูกองุ่นที่มีการจัดการข้อมูลอัจฉริยะ
เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ปริมาณฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่น และยังเป็นตัวกลางในการแพร่กระจายของโรคเชื้อราน้ำค้างและโรคแอนแทรคโนส ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไต้หวันเริ่มปลูกองุ่นเคียวโฮในโรงเรือนเพื่อลดผลกระทบในพื้นที่ประมาณ 400 เฮกตาร์ แต่เกษตรกรต้องไปโรงเรือนเพื่อควบคุมอุปกรณ์ติดตั้ง เสียเวลาและแรงงานมาก หลังจากที่สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชฯ ได้รวมแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอัจฉริยะขององุ่น ใช้เทคโนโลยี Internet of Things 5G รวมข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของพืชผล ควบคุมการเปิดและปิดม่านม้วนและสกายไลท์ในโรงเรือนอัตโนมัติ ทำให้ประหยัดแรงงานได้ถึง 25% และเกษตรกรยังจัดการผ่านโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้ด้วย
ขั้นตอนการย่อยสลายกิ่งก้านองุ่น
นอกจากนี้ สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชฯ ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีการย่อยสลายกิ่งก้านองุ่นหลังตัดแต่งด้วยเชื้อรา Trichoderma "TCT-P001" โดยนำกิ่งองุ่นตัดหรือบดให้มีขนาด 3 - 5 ซม. รดน้ำให้มีความชื้นระดับหนึ่ง จากนั้นใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา เร่งการย่อยสลาย โดยสามารถทำในสวนผลไม้ได้และไม่ส่งกลิ่นเหม็น กิ่งก้านที่ผ่านการย่อยสลายใส่กลับไปในดิน ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15% ด้วย
ไต้หวันมีพื้นที่เพาะปลูกองุ่นประมาณ 2,400 เฮกตาร์( 15,000 ไร่) มูลค่าผลผลิตต่อปีอยู่ที่ 5,800 ล้านเหรียญไต้หวัน แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาต่างๆ เช่น สภาพภูมิอากาศแปรปรวน การปลูกองุ่นเพื่อการบริโภคสดที่เน้นเพียงสายพันธุ์เดียว รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกเข้าสู่วัยชรา ส่งผลทำให้การปลูกองุ่นในไต้หวันลดลงถึง 18% ในช่วง 10 ปี เพราะฉะนั้น สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไทจงได้พัฒนาองุ่นพันธุ์ใหม่เพื่อการบริโภคผลสดจนประสบความสำเร็จ ตั้งชื่อว่า "ไทจงเบอร์ 6 " โดยพันธุ์นี้เกิดจากการกลายพันธุ์ขององุ่นเคียวโฮ และในปีที่แล้วมีโหวตตั้งชื่อของสายพันธุ์ ผลการตัดสินมีชื่อว่า “เจ้าหญิงหลัวนาร์羅娜公主” ขณะนี้ผ่านการจดสิทธิ์พันธุ์พืชอย่างเป็นทางการแล้ว
องุ่นพันธุ์เจ้าหญิงหลัวนาร์
องุ่นพันธุ์ "ไทจงเบอร์ 6 หรือ เจ้าหญิงหลัวนาร์" มีผลยาวคล้ายองุ่นหวานแซฟไฟร์พันธุ์อเมริกัน(Sweet Sapphire Grapes) ด้านบนแคบ ด้านล่างกว้างคล้ายมะละกอจิ๋ว องุ่นทั้งพวงเหมือนพวงของประทัด เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้ง อัตราส่วนกรด-น้ำตาลอยู่ในระดับปานกลาง ความหวาน 18 บริกซ์ ซึ่งต่างจากองุ่นเคียวโฮที่คนไต้หวันคุ้นเคย แต่กว่าจะสำเร็จต้องใช้เวลานานกว่า 7 ปีในการพัฒนาพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่พืชผลที่กลายพันธุ์มักจะกลายเป็นพันธุ์ไม่ดี แต่โชคดีองุ่นไทจงเบอร์ 6 พัฒนากลายเป็นพันธุ์ดี รสชาติอร่อย รูปลักษณ์สวย คาดจะช่วยสร้างมูลค่าผลผลิตสูงถึง 350 ล้านเหรียญไต้หวันต่อปี
โรงเรือนปลูกองุ่นที่มีการจัดการข้อมูลอัจฉริยะ
เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ปริมาณฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่น และยังเป็นตัวกลางในการแพร่กระจายของโรคเชื้อราน้ำค้างและโรคแอนแทรคโนส ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไต้หวันเริ่มปลูกองุ่นเคียวโฮในโรงเรือนเพื่อลดผลกระทบในพื้นที่ประมาณ 400 เฮกตาร์ แต่เกษตรกรต้องไปโรงเรือนเพื่อควบคุมอุปกรณ์ติดตั้ง เสียเวลาและแรงงานมาก หลังจากที่สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชฯ ได้รวมแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอัจฉริยะขององุ่น ใช้เทคโนโลยี Internet of Things 5G รวมข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของพืชผล ควบคุมการเปิดและปิดม่านม้วนและสกายไลท์ในโรงเรือนอัตโนมัติ ทำให้ประหยัดแรงงานได้ถึง 25% และเกษตรกรยังจัดการผ่านโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้ด้วย
ขั้นตอนการย่อยสลายกิ่งก้านองุ่น
นอกจากนี้ สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชฯ ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีการย่อยสลายกิ่งก้านองุ่นหลังตัดแต่งด้วยเชื้อรา Trichoderma "TCT-P001" โดยนำกิ่งองุ่นตัดหรือบดให้มีขนาด 3 - 5 ซม. รดน้ำให้มีความชื้นระดับหนึ่ง จากนั้นใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา เร่งการย่อยสลาย โดยสามารถทำในสวนผลไม้ได้และไม่ส่งกลิ่นเหม็น กิ่งก้านที่ผ่านการย่อยสลายใส่กลับไปในดิน ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15% ด้วย