
Sign up to save your podcasts
Or
หลังจากการเจรจานานถึง 8 ปี ในที่สุดแก้วมังกรจากไต้หวันก็สามารถส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ โดยผู้ส่งออกหลักคือ นายเฉินหงจวิน (陳鴻鈞) เกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรจากเมืองหนานโถว ซึ่งเป็นเจ้าของสวนที่มีผลผลิตถึง 70% ส่งออกไปยังฮ่องกงและแคนาดา ส่วนที่เหลืออีก 30% จัดส่งตรงถึงบ้านลูกค้า แม้แต่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ TSMC ก็เป็นลูกค้าประจำของเขา อย่างไรก็ตาม การที่เวียดนามส่งออกแก้วมังกรในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แก้วมังกรจากไต้หวันจะแข่งขันในตลาดได้ แต่เฉินหงจวินสามารถสร้างแบรนด์ "มี่เฟย" (蜜妃火龍果) ซึ่งมุ่งเน้นคุณภาพและชื่อเสียง จนได้รับคำสั่งซื้อประจำทุกปี
ปลูกหญ้า เหลือผลน้อย ใช้ปุ๋ยขี้ไก่หมักที่ผ่านความร้อน ทำให้คุณภาพแก้วมังกรดีขึ้น
เฉินหงจวินเริ่มต้นวันทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้า พร้อมกับครอบครัวที่ช่วยกันคัดแยกและบรรจุผลไม้ในพื้นที่รวบรวมสินค้า โดยเขาจะขับรถไปรับผลผลิตแก้วมังกรจากสวนและนำมาคัดเกรดและบรรจุในกล่อง สวนของเขาได้รับรางวัลที่ 2 จากการประเมินคุณภาพของเมืองหนานโถวในปี 2024 ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการปลูกแก้วมังกรที่มีคุณภาพสูง
เฉินหงจวินเคยทำงานในภาคการเงินหลังเรียนจบเศรษฐศาสตร์ แต่ในปี 2011 เขากลับมาสานต่อกิจการเกษตรของครอบครัวเมื่อพ่อแม่เกษียณ โดยเปลี่ยนสวนชาที่เสื่อมคุณภาพมาปลูกแก้วมังกรแทน เขาได้เข้าร่วมการอบรมที่สถานีวิจัยเกษตรหลายแห่ง เพื่อเรียนรู้เทคนิคการปลูกแก้วมังกรใหม่ ๆ หนึ่งในนั้นคือการทดลองปล่อยหญ้าไว้ในสวนซึ่งช่วยปกป้องดินและเก็บน้ำได้ดี แม้จะขัดแย้งกับความเชื่อของเกษตรกรรุ่นเก่า แต่ผลลัพธ์ที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีคุณภาพ
เฉินหงจวินยังปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ย โดยเปลี่ยนจากการใช้ขี้ไก่ดิบที่ทำให้เกิดกลิ่นและดึงดูดแมลง มาใช้ปุ๋ยขี้ไก่ผ่านการหมักความร้อน ซึ่งทำให้เขาประหยัดต้นทุนได้มาก และยังเพิ่มความแม่นยำในการดูแลผลผลิตมากขึ้น เช่น การรู้เวลาที่ต้องหยุดใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อให้ผลไม้มีสารตกค้างในระดับที่ปลอดภัย
แก้วมังกรแต่ละผลล้วนผ่านการคัดเกรดจึงค่อยส่งขาย
อย่างไรก็ตาม แม้คุณภาพของผลผลิตจะสูง แต่เฉินหงจวินยังคงเผชิญกับปัญหายอดขาย เขาพบว่าราคาผลไม้ในตลาดส่งขายส่งมักตกต่ำเนื่องจากผลผลิตล้นตลาด ทำให้เขาตัดสินใจสร้างแบรนด์ของตนเองเพื่อควบคุมคุณภาพและการจัดจำหน่าย เขาตั้งชื่อแบรนด์แก้วมังกรของเขาว่า "มี่เฟย" หรือ "นางพญาน้ำผึ้ง" โดยได้รับแรงบันดาลใจจากละครโทรทัศน์จีนเรื่อง "เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน(後宮甄嬛傳)" แบรนด์นี้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านการโปรโมตบน Facebook ทำให้เพื่อนในวงการธุรกิจของเฉินหงจวินเริ่มสั่งซื้อจำนวนมาก และแม้แต่ TSMC ก็กลายเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่
เฉินหงจวินกล่าวว่าการขายตรงถึงบ้านนั้นยุ่งยากกว่า แต่ทำให้เขามุ่งเน้นการควบคุมคุณภาพอย่างละเอียด โดยแก้วมังกรทุกผลจะได้รับการตรวจสอบและทำความสะอาดก่อนส่งถึงมือลูกค้า ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ Covid-19 เขาเริ่มส่งออกแก้วมังกรไปยังฮ่องกงผ่านทางสนามบินเถาหยวน โดยเริ่มจาก 100-200 กล่อง จนกระทั่งเพิ่มขึ้นเป็น 500 กล่องและเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางอากาศเป็นทางทะเล
มี่เฟย แบรนด์แก้วมังกรคุณภาพ มุ่งเน้นส่งขายต่างประเทศ
ในปี 2023 แก้วมังกร 65% ของเฉินหงจวินถูกส่งออกไปยังฮ่องกง 20% จัดส่งตรงถึงลูกค้าในประเทศ ส่วนที่เหลือที่ไม่เหมาะกับการส่งออกจะขายในตลาดภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2024 ญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้าแก้วมังกรเนื้อแดงของไต้หวัน ซึ่งสวนของเฉินหงจวินเป็นหนึ่งในกลุ่มแรกที่ส่งออกไปญี่ปุ่น แม้เขาจะยอมรับว่ากระบวนการนี้ยุ่งยากกว่าด้วยข้อกำหนดที่เข้มงวดของญี่ปุ่น แต่เขายังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาคุณภาพเพื่อต่อยอดสู่ตลาดใหม่ ๆ
หลังจากการเจรจานานถึง 8 ปี ในที่สุดแก้วมังกรจากไต้หวันก็สามารถส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ โดยผู้ส่งออกหลักคือ นายเฉินหงจวิน (陳鴻鈞) เกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรจากเมืองหนานโถว ซึ่งเป็นเจ้าของสวนที่มีผลผลิตถึง 70% ส่งออกไปยังฮ่องกงและแคนาดา ส่วนที่เหลืออีก 30% จัดส่งตรงถึงบ้านลูกค้า แม้แต่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ TSMC ก็เป็นลูกค้าประจำของเขา อย่างไรก็ตาม การที่เวียดนามส่งออกแก้วมังกรในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แก้วมังกรจากไต้หวันจะแข่งขันในตลาดได้ แต่เฉินหงจวินสามารถสร้างแบรนด์ "มี่เฟย" (蜜妃火龍果) ซึ่งมุ่งเน้นคุณภาพและชื่อเสียง จนได้รับคำสั่งซื้อประจำทุกปี
ปลูกหญ้า เหลือผลน้อย ใช้ปุ๋ยขี้ไก่หมักที่ผ่านความร้อน ทำให้คุณภาพแก้วมังกรดีขึ้น
เฉินหงจวินเริ่มต้นวันทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้า พร้อมกับครอบครัวที่ช่วยกันคัดแยกและบรรจุผลไม้ในพื้นที่รวบรวมสินค้า โดยเขาจะขับรถไปรับผลผลิตแก้วมังกรจากสวนและนำมาคัดเกรดและบรรจุในกล่อง สวนของเขาได้รับรางวัลที่ 2 จากการประเมินคุณภาพของเมืองหนานโถวในปี 2024 ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการปลูกแก้วมังกรที่มีคุณภาพสูง
เฉินหงจวินเคยทำงานในภาคการเงินหลังเรียนจบเศรษฐศาสตร์ แต่ในปี 2011 เขากลับมาสานต่อกิจการเกษตรของครอบครัวเมื่อพ่อแม่เกษียณ โดยเปลี่ยนสวนชาที่เสื่อมคุณภาพมาปลูกแก้วมังกรแทน เขาได้เข้าร่วมการอบรมที่สถานีวิจัยเกษตรหลายแห่ง เพื่อเรียนรู้เทคนิคการปลูกแก้วมังกรใหม่ ๆ หนึ่งในนั้นคือการทดลองปล่อยหญ้าไว้ในสวนซึ่งช่วยปกป้องดินและเก็บน้ำได้ดี แม้จะขัดแย้งกับความเชื่อของเกษตรกรรุ่นเก่า แต่ผลลัพธ์ที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีคุณภาพ
เฉินหงจวินยังปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ย โดยเปลี่ยนจากการใช้ขี้ไก่ดิบที่ทำให้เกิดกลิ่นและดึงดูดแมลง มาใช้ปุ๋ยขี้ไก่ผ่านการหมักความร้อน ซึ่งทำให้เขาประหยัดต้นทุนได้มาก และยังเพิ่มความแม่นยำในการดูแลผลผลิตมากขึ้น เช่น การรู้เวลาที่ต้องหยุดใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อให้ผลไม้มีสารตกค้างในระดับที่ปลอดภัย
แก้วมังกรแต่ละผลล้วนผ่านการคัดเกรดจึงค่อยส่งขาย
อย่างไรก็ตาม แม้คุณภาพของผลผลิตจะสูง แต่เฉินหงจวินยังคงเผชิญกับปัญหายอดขาย เขาพบว่าราคาผลไม้ในตลาดส่งขายส่งมักตกต่ำเนื่องจากผลผลิตล้นตลาด ทำให้เขาตัดสินใจสร้างแบรนด์ของตนเองเพื่อควบคุมคุณภาพและการจัดจำหน่าย เขาตั้งชื่อแบรนด์แก้วมังกรของเขาว่า "มี่เฟย" หรือ "นางพญาน้ำผึ้ง" โดยได้รับแรงบันดาลใจจากละครโทรทัศน์จีนเรื่อง "เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน(後宮甄嬛傳)" แบรนด์นี้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านการโปรโมตบน Facebook ทำให้เพื่อนในวงการธุรกิจของเฉินหงจวินเริ่มสั่งซื้อจำนวนมาก และแม้แต่ TSMC ก็กลายเป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่
เฉินหงจวินกล่าวว่าการขายตรงถึงบ้านนั้นยุ่งยากกว่า แต่ทำให้เขามุ่งเน้นการควบคุมคุณภาพอย่างละเอียด โดยแก้วมังกรทุกผลจะได้รับการตรวจสอบและทำความสะอาดก่อนส่งถึงมือลูกค้า ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ Covid-19 เขาเริ่มส่งออกแก้วมังกรไปยังฮ่องกงผ่านทางสนามบินเถาหยวน โดยเริ่มจาก 100-200 กล่อง จนกระทั่งเพิ่มขึ้นเป็น 500 กล่องและเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางอากาศเป็นทางทะเล
มี่เฟย แบรนด์แก้วมังกรคุณภาพ มุ่งเน้นส่งขายต่างประเทศ
ในปี 2023 แก้วมังกร 65% ของเฉินหงจวินถูกส่งออกไปยังฮ่องกง 20% จัดส่งตรงถึงลูกค้าในประเทศ ส่วนที่เหลือที่ไม่เหมาะกับการส่งออกจะขายในตลาดภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2024 ญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้าแก้วมังกรเนื้อแดงของไต้หวัน ซึ่งสวนของเฉินหงจวินเป็นหนึ่งในกลุ่มแรกที่ส่งออกไปญี่ปุ่น แม้เขาจะยอมรับว่ากระบวนการนี้ยุ่งยากกว่าด้วยข้อกำหนดที่เข้มงวดของญี่ปุ่น แต่เขายังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาคุณภาพเพื่อต่อยอดสู่ตลาดใหม่ ๆ