
Sign up to save your podcasts
Or
การขุดรากบัว ปัจจุบันมีการใช้ท่อฉีดแรงดันสูง ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ทันสมัยที่ให้ความสะดวก แต่ที่เขตภูเขาหนิวโต่ว ตำบลหมินสง เมืองเจียอี้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกรากบัวขายมานานกว่า 80 ปี เกษตรกรผู้อาวุโสเกรงว่าชะแลงช่วยขุดจะทำให้รากบัวเสียหาย จึงใช้วิธีการเก็บเกี่ยวรากบัวแบบดั้งเดิมซึ่งก็คือ หลังปล่อยน้ำออกจากนาบัวแล้วใช้มือในการขุดรากบัว แต่การทำแบบนี้ผ่านไปนานๆ ได้ทำให้มือทั้งสองผิดรูปอย่างรุนแรงจนคล้ายกับ “มือของนกอินทรี”
ผู้กำกับไล่ลี่จวีน(ซ้าย)ถ่ายภาพกับเกษตรกรปลูกรากบัว
ในอดีตที่เขตหนิวโต่วซานถือเป็นแหล่งที่ริเริ่มปลูกรากบัวในไต้หวัน ประมาณปี 1980 ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งออก รากบัวสดไปขายที่ฮ่องกง ญี่ปุ่น แม้สร้างรายได้ดี แต่เนื่องจากช่วงหน้าร้อนที่เก็บเกี่ยวรากบัว อากาศร้อนเหมือนกับแช่ออนเซ็น ในยามที่ฝนตก ลมแรงก็ไม่มีวันหยุด เพราะฉะนั้นลูกหลานเกษตรกรรุ่นต่อไปจึงไม่ยอมสืบทอดกิจการ ส่งผลทำให้พื้นที่ปลูกรากบัวลดลงไปมาก ผู้กำกับสารคดี คุณไล่ลี่จวีน(賴麗君) ตระหนักว่าหากอุตสาหกรรมที่ถดถอยนี้ไม่ได้รับการบันทึกไว้ ก็อาจสูญหายไปในที่สุด ด้วยความทุ่มเทของผู้กำกับ ตั้งแต่งานภาคสนามไปจนถึงการถ่ายทำจริง เธอได้ใช้เวลาทั้งหมด 4 ปีในการถ่ายทำสารคดีเรื่อง "มือนกอินทรี" (Eagle Hand老鷹之手หรือเหล่าอิงจือโส่ว) เพื่อบันทึกสถานการณ์ปัจจุบันของรากบัวในเขตภูเขาหนิวโต่ว
ทุ่งบัวที่เขตหนิวโต่วซาน
ผู้กำกับ ไล่ลี่จวีน ซึ่งเป็นชาวเจียอี้ เดินทางมาเรียนหนังสือที่กรุงไทเปตั้งแต่อายุ 18 ปี จนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย และใช้ชีวิตครอบครัวอยู่ทางภาคเหนือนานกว่า 30 ปี คุณไล่ลี่จวีน บอกว่าเหตุผลในการถ่ายทำสารคดีคือหลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปี 1999 เนื่องจากในเวลานั้นหมู่บ้านมีประชากรอาศัยอยู่น้อย รัฐบาลไม่ได้บูรณะหมู่บ้านอย่างจริงจัง ดังนั้นเพื่อต้องการให้มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการบูรณะหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ชาวบ้านจึงขอให้คุณไล่ลี่จวีนช่วยถ่ายทำสารคดี หลังจากฉายสารคดีแล้ว รัฐบาลได้ให้ความสำคัญหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ และยังได้รับความช่วยเหลือจากภาคเอกชนและรัฐบาลสร้างบ้านใหม่ให้อีกด้วย หลังจากเหตุการณ์นี้ คุณไล่ลี่จวีนค้นพบว่าสารคดีมีพลังอันยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงมุมมืดของสังคม เธอจึงเริ่มงานเป็นผู้กำกับสารคดีที่เกี่ยวข้องกับการปลูกรากบัวของหมู่บ้าน
เบื้องหลังการถ่ายทำสารคดี
ความรู้สึกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นของคุณไล่ลี่จวีนในฐานะชาวเจียอี้ ทำให้เธอเกิดความคิดที่จะสร้างสารคดี 3 เรื่องเกี่ยวกับเมืองเจียอี้ แต่เนื่องจากเธอห่างหายจากบ้านเกิดมาหลายสิบปี เมื่อเธอกลับมาบ้านเกิดในปี 2016 ด้วยผลงานเรื่องแรกในสารคดี "เสินซี่神戲" เกี่ยวกับนักแสดงโอเปร่าชาวต่างชาติ คนในหมู่บ้านไม่มีใครรู้จักเธอ แต่หลังจากนั้นผู้ใหญ่บ้านประกาศแจ้งข่าวการฉายสารคดีทางลำโพงและมีการเลี้ยงอาหารที่ใช้รากบัว ชาวบ้านก็หลั่งไหลเข้าไปนั่งชมสารคดีจนเต็มที่นั่ง ขณะนั้นเอง คุณไล่ ลี่จวีน พบว่านิ้วของชาวไร่รากบัวเหล่านี้งออย่างรุนแรง หลังจากซักถามพบว่าเป็นเพราะพวกเขาขุดรากบัวด้วยมือ นานวันเข้านิ้วมือทั้งสองผิดรูปเหมือนมือของนกอินทรี ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจเริ่มงานสำรวจทุ่งรากบัวและถ่ายทำสารคดีที่เกี่ยวข้อง
เกษตรกรขุดรากบัว
หลังจากสารคดีเรื่อง "มือของนกอินทรี Eagle Hand " นำมาฉายในโรงภาพยนตร์แล้ว ได้จุดกระแสมากมาย เช่น มีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในท้องถิ่นมากขึ้น ผู้ประกอบการหลายแห่งจัดกลุ่มเพื่อเยี่ยมชมและสัมผัสประสบการณ์การขุดรากบัวที่หนิวโต่วซาน ผู้คนที่มาเยือนจำนวนมากแย่งถ่ายรูปกับมือนกอินทรีของเกษตรกรรุ่นเก่า ทำให้ชาวสวนรากบัวชื่นชมและภาคภูมิใจในตัวเอง นอกจากนี้ เกษตรกรหลิวจื้อเสียน ซึ่งเป็นชาวหนิวโต่วซานยังได้ก่อตั้งสหกรณ์รากบัวแห่งแรกในไต้หวัน รากบัวที่ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้น และบรรจุสุญญากาศ ได้นำไปวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในไต้หวัน และปัจจุบันกำลังช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการผลิตและการตลาด และมุ่งสู่รากบัวออร์แกนิก เป็นต้น
การขุดรากบัว ปัจจุบันมีการใช้ท่อฉีดแรงดันสูง ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ทันสมัยที่ให้ความสะดวก แต่ที่เขตภูเขาหนิวโต่ว ตำบลหมินสง เมืองเจียอี้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกรากบัวขายมานานกว่า 80 ปี เกษตรกรผู้อาวุโสเกรงว่าชะแลงช่วยขุดจะทำให้รากบัวเสียหาย จึงใช้วิธีการเก็บเกี่ยวรากบัวแบบดั้งเดิมซึ่งก็คือ หลังปล่อยน้ำออกจากนาบัวแล้วใช้มือในการขุดรากบัว แต่การทำแบบนี้ผ่านไปนานๆ ได้ทำให้มือทั้งสองผิดรูปอย่างรุนแรงจนคล้ายกับ “มือของนกอินทรี”
ผู้กำกับไล่ลี่จวีน(ซ้าย)ถ่ายภาพกับเกษตรกรปลูกรากบัว
ในอดีตที่เขตหนิวโต่วซานถือเป็นแหล่งที่ริเริ่มปลูกรากบัวในไต้หวัน ประมาณปี 1980 ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งออก รากบัวสดไปขายที่ฮ่องกง ญี่ปุ่น แม้สร้างรายได้ดี แต่เนื่องจากช่วงหน้าร้อนที่เก็บเกี่ยวรากบัว อากาศร้อนเหมือนกับแช่ออนเซ็น ในยามที่ฝนตก ลมแรงก็ไม่มีวันหยุด เพราะฉะนั้นลูกหลานเกษตรกรรุ่นต่อไปจึงไม่ยอมสืบทอดกิจการ ส่งผลทำให้พื้นที่ปลูกรากบัวลดลงไปมาก ผู้กำกับสารคดี คุณไล่ลี่จวีน(賴麗君) ตระหนักว่าหากอุตสาหกรรมที่ถดถอยนี้ไม่ได้รับการบันทึกไว้ ก็อาจสูญหายไปในที่สุด ด้วยความทุ่มเทของผู้กำกับ ตั้งแต่งานภาคสนามไปจนถึงการถ่ายทำจริง เธอได้ใช้เวลาทั้งหมด 4 ปีในการถ่ายทำสารคดีเรื่อง "มือนกอินทรี" (Eagle Hand老鷹之手หรือเหล่าอิงจือโส่ว) เพื่อบันทึกสถานการณ์ปัจจุบันของรากบัวในเขตภูเขาหนิวโต่ว
ทุ่งบัวที่เขตหนิวโต่วซาน
ผู้กำกับ ไล่ลี่จวีน ซึ่งเป็นชาวเจียอี้ เดินทางมาเรียนหนังสือที่กรุงไทเปตั้งแต่อายุ 18 ปี จนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย และใช้ชีวิตครอบครัวอยู่ทางภาคเหนือนานกว่า 30 ปี คุณไล่ลี่จวีน บอกว่าเหตุผลในการถ่ายทำสารคดีคือหลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปี 1999 เนื่องจากในเวลานั้นหมู่บ้านมีประชากรอาศัยอยู่น้อย รัฐบาลไม่ได้บูรณะหมู่บ้านอย่างจริงจัง ดังนั้นเพื่อต้องการให้มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการบูรณะหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ชาวบ้านจึงขอให้คุณไล่ลี่จวีนช่วยถ่ายทำสารคดี หลังจากฉายสารคดีแล้ว รัฐบาลได้ให้ความสำคัญหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ และยังได้รับความช่วยเหลือจากภาคเอกชนและรัฐบาลสร้างบ้านใหม่ให้อีกด้วย หลังจากเหตุการณ์นี้ คุณไล่ลี่จวีนค้นพบว่าสารคดีมีพลังอันยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงมุมมืดของสังคม เธอจึงเริ่มงานเป็นผู้กำกับสารคดีที่เกี่ยวข้องกับการปลูกรากบัวของหมู่บ้าน
เบื้องหลังการถ่ายทำสารคดี
ความรู้สึกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่นของคุณไล่ลี่จวีนในฐานะชาวเจียอี้ ทำให้เธอเกิดความคิดที่จะสร้างสารคดี 3 เรื่องเกี่ยวกับเมืองเจียอี้ แต่เนื่องจากเธอห่างหายจากบ้านเกิดมาหลายสิบปี เมื่อเธอกลับมาบ้านเกิดในปี 2016 ด้วยผลงานเรื่องแรกในสารคดี "เสินซี่神戲" เกี่ยวกับนักแสดงโอเปร่าชาวต่างชาติ คนในหมู่บ้านไม่มีใครรู้จักเธอ แต่หลังจากนั้นผู้ใหญ่บ้านประกาศแจ้งข่าวการฉายสารคดีทางลำโพงและมีการเลี้ยงอาหารที่ใช้รากบัว ชาวบ้านก็หลั่งไหลเข้าไปนั่งชมสารคดีจนเต็มที่นั่ง ขณะนั้นเอง คุณไล่ ลี่จวีน พบว่านิ้วของชาวไร่รากบัวเหล่านี้งออย่างรุนแรง หลังจากซักถามพบว่าเป็นเพราะพวกเขาขุดรากบัวด้วยมือ นานวันเข้านิ้วมือทั้งสองผิดรูปเหมือนมือของนกอินทรี ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจเริ่มงานสำรวจทุ่งรากบัวและถ่ายทำสารคดีที่เกี่ยวข้อง
เกษตรกรขุดรากบัว
หลังจากสารคดีเรื่อง "มือของนกอินทรี Eagle Hand " นำมาฉายในโรงภาพยนตร์แล้ว ได้จุดกระแสมากมาย เช่น มีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในท้องถิ่นมากขึ้น ผู้ประกอบการหลายแห่งจัดกลุ่มเพื่อเยี่ยมชมและสัมผัสประสบการณ์การขุดรากบัวที่หนิวโต่วซาน ผู้คนที่มาเยือนจำนวนมากแย่งถ่ายรูปกับมือนกอินทรีของเกษตรกรรุ่นเก่า ทำให้ชาวสวนรากบัวชื่นชมและภาคภูมิใจในตัวเอง นอกจากนี้ เกษตรกรหลิวจื้อเสียน ซึ่งเป็นชาวหนิวโต่วซานยังได้ก่อตั้งสหกรณ์รากบัวแห่งแรกในไต้หวัน รากบัวที่ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้น และบรรจุสุญญากาศ ได้นำไปวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในไต้หวัน และปัจจุบันกำลังช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการผลิตและการตลาด และมุ่งสู่รากบัวออร์แกนิก เป็นต้น