
Sign up to save your podcasts
Or
ปลาจวดซึ่งเป็นปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง
สถาบันวิจัยการประมง(The Fisheries Research Institute หรือ FRI) ได้เพาะเลี้ยงลูกปลาจวดที่เกิดจากการผสมเทียมตั้งแต่ปี 2022 หลังทดลองเลี้ยงเป็นเวลา 2 ปี ขณะนี้ปลาสามารถวางไข่ได้เอง และกำลังเข้าสู่การผลิตจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2024 สถาบันวิจัยน้ำได้ปล่อยลูกปลาจวดจำนวน 300 ตัวกลับสู่ทะเลของตำบลตงกั่ง
จางจิ่นอี๋(張錦宜) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์น้ำ บอกว่าสถาบันวิจัยน้ำได้ปล่อยลูกปลาจวดในน่านน้ำชายฝั่งเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และได้เปิดตัวแผนฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อรวบรวมปลาทะเลน้ำลึกคุณภาพสูง ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมปีนี้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่นำมาเลี้ยงในบ่อที่สร้างขึ้นได้วางไข่เองตามธรรมชาติ โดยนักวิจัยได้สังเกตการปฏิสนธิและเพาะเลี้ยงต่อไปอีก 3 เดือน ได้ลูกปลาที่มีความยาวกว่า 10 เซนติเมตร จากนั้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายนได้นำลูกปลาเหล่านี้ไปปล่อยในเขตทะเลของตำบลตงกั่ง นับเป็นปลาที่เกิดจากการผสมเทียมสำเร็จล็อตแรกที่วางไข่ตามธรรมชาติ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปลาจวดกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตที่มีจำนวนมากแล้ว
เจิ้งอวี้เฉิน(鄭鈺宸) ประธานสมาคมประมงเขตตงกั่ง บอกว่าปลาจวดมีหลายชนิด ปลาจวดที่ทางสถาบันวิจัยสัตว์น้ำเพาะพันธุ์เป็นปลาจวดเครา ภาษาจีนเรียกว่า “เฮยอี้-黑䱛” หรือเรียกทั่วไปว่า “เฮยโข่ว-黑口” หรือ “เฮยเจียหวั่ง-黑加網” หรือ “เฮยโหว-黑喉” ปัจจุบันราคาจากแหล่งผลิตเฉลี่ย 400-700 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็นปลาตัวใหญ่ขายในท้องตลาดตกชั่งละกว่า 1,000 เหรียญไต้หวัน(1ชั่งเท่ากับ 600 กรัม) เรือลากอวนตงกั่ง และเรือลากกุ้งจะออกทะเลเพื่อจับปลาในช่วงบ่ายถึงประมาณตี 2 ของทุกวัน และเรือประมงจะขึ้นฝั่งในตอนเช้าถึงบ่ายเพื่อขายปลาประจำวัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การจับปลาในน่านน้ำชายฝั่งของไต้หวันลดลงอย่างมาก และชาวประมงตงกั่งก็รายงานว่าจำนวนที่จับได้มีไม่มากด้วย ดังนั้นจึงคาดหวังการเพาะพันธุ์ปลาแล้วปล่อยกลับสู่ทะเลจะช่วยแก้ปัญหารายได้ลดลงของชาวประมง
ปลาจวด เป็นปลาทะเลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำลึก 140 ถึง 200 เมตร เป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในน่านน้ำชายฝั่งของไต้หวัน หากเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีลำตัวยาวถึง 45 เซนติเมตร เป็นอาหารทะเลที่นิยมใช้บำรุงร่างกายหลังคลอดบุตรหรือหลังผ่าตัดของชาวตงกั่ง ดังนั้นชาวตงกั่งจึงชื่อปลาจวดว่า “ปลาอยู่เดือน-月子魚”นอกจากมีการปล่อยลูกปลาจวด 300 ตัวกลับสู่ทะเลแล้ว ยังได้ปล่อยลูกปลาจาระเม็ดทองอีก 30,000 ตัวในชายฝั่งของอุทยานชายทะเลตงกั่ง เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล
ปล่อยลูกปลาจวด 300 ตัว และลูกปลาจาระเม็ดทอง 30,000 ตัว ลงสู่อุทยานชายทะเลตงกั่ง เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล
ปลาจวดซึ่งเป็นปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง
สถาบันวิจัยการประมง(The Fisheries Research Institute หรือ FRI) ได้เพาะเลี้ยงลูกปลาจวดที่เกิดจากการผสมเทียมตั้งแต่ปี 2022 หลังทดลองเลี้ยงเป็นเวลา 2 ปี ขณะนี้ปลาสามารถวางไข่ได้เอง และกำลังเข้าสู่การผลิตจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2024 สถาบันวิจัยน้ำได้ปล่อยลูกปลาจวดจำนวน 300 ตัวกลับสู่ทะเลของตำบลตงกั่ง
จางจิ่นอี๋(張錦宜) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์น้ำ บอกว่าสถาบันวิจัยน้ำได้ปล่อยลูกปลาจวดในน่านน้ำชายฝั่งเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และได้เปิดตัวแผนฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อรวบรวมปลาทะเลน้ำลึกคุณภาพสูง ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมปีนี้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่นำมาเลี้ยงในบ่อที่สร้างขึ้นได้วางไข่เองตามธรรมชาติ โดยนักวิจัยได้สังเกตการปฏิสนธิและเพาะเลี้ยงต่อไปอีก 3 เดือน ได้ลูกปลาที่มีความยาวกว่า 10 เซนติเมตร จากนั้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายนได้นำลูกปลาเหล่านี้ไปปล่อยในเขตทะเลของตำบลตงกั่ง นับเป็นปลาที่เกิดจากการผสมเทียมสำเร็จล็อตแรกที่วางไข่ตามธรรมชาติ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปลาจวดกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตที่มีจำนวนมากแล้ว
เจิ้งอวี้เฉิน(鄭鈺宸) ประธานสมาคมประมงเขตตงกั่ง บอกว่าปลาจวดมีหลายชนิด ปลาจวดที่ทางสถาบันวิจัยสัตว์น้ำเพาะพันธุ์เป็นปลาจวดเครา ภาษาจีนเรียกว่า “เฮยอี้-黑䱛” หรือเรียกทั่วไปว่า “เฮยโข่ว-黑口” หรือ “เฮยเจียหวั่ง-黑加網” หรือ “เฮยโหว-黑喉” ปัจจุบันราคาจากแหล่งผลิตเฉลี่ย 400-700 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็นปลาตัวใหญ่ขายในท้องตลาดตกชั่งละกว่า 1,000 เหรียญไต้หวัน(1ชั่งเท่ากับ 600 กรัม) เรือลากอวนตงกั่ง และเรือลากกุ้งจะออกทะเลเพื่อจับปลาในช่วงบ่ายถึงประมาณตี 2 ของทุกวัน และเรือประมงจะขึ้นฝั่งในตอนเช้าถึงบ่ายเพื่อขายปลาประจำวัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การจับปลาในน่านน้ำชายฝั่งของไต้หวันลดลงอย่างมาก และชาวประมงตงกั่งก็รายงานว่าจำนวนที่จับได้มีไม่มากด้วย ดังนั้นจึงคาดหวังการเพาะพันธุ์ปลาแล้วปล่อยกลับสู่ทะเลจะช่วยแก้ปัญหารายได้ลดลงของชาวประมง
ปลาจวด เป็นปลาทะเลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำลึก 140 ถึง 200 เมตร เป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในน่านน้ำชายฝั่งของไต้หวัน หากเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีลำตัวยาวถึง 45 เซนติเมตร เป็นอาหารทะเลที่นิยมใช้บำรุงร่างกายหลังคลอดบุตรหรือหลังผ่าตัดของชาวตงกั่ง ดังนั้นชาวตงกั่งจึงชื่อปลาจวดว่า “ปลาอยู่เดือน-月子魚”นอกจากมีการปล่อยลูกปลาจวด 300 ตัวกลับสู่ทะเลแล้ว ยังได้ปล่อยลูกปลาจาระเม็ดทองอีก 30,000 ตัวในชายฝั่งของอุทยานชายทะเลตงกั่ง เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล
ปล่อยลูกปลาจวด 300 ตัว และลูกปลาจาระเม็ดทอง 30,000 ตัว ลงสู่อุทยานชายทะเลตงกั่ง เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล