
Sign up to save your podcasts
Or
ปัจจุบัน ร้านอาหาร ภัตตาคารในไต้หวันจำนวนไม่น้อยมีการใช้ยอดอ่อนของดอกซ่อนกลิ่นมาปรุงเป็นอาหารต่างๆ ไม่เพียงแต่มีกลิ่นหอมของดอกไม้ ยังมีรสชาติอร่อยจนหลายคนทานแล้วต้องติดใจ ช่วงนี้เป็นฤดูกาลซ่อนกลิ่นออกดอก แผงขายผักในตลาดมีการจำหน่ายยอดดอกซ่อนกลิ่น สำหรับถิ่นกำเนิดของยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นนั้นมาจากตำบลหูเหว่ยเมืองหยุนหลิน ซึ่งดอกซ่อนกลิ่น ภาษาจีนเรียกว่าเย่ไหลเซียง(夜來香)ชื่อทางการว่า “หวั่นเซียงอวี้”(晚香玉) ที่ผ่านมาเป็นดอกไม้ที่ใช้ในพิธีกรรมเซ่นไหว้ งานเฉลิมฉลองวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ความต้องการใช้ดอกซ่อนกลิ่นในการเซ่นไหว้ลดน้อยลง เกษตรกรที่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นหันไปปลูกพืชอย่างอื่นหรือไม่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นอีกเลย อย่างไรก็ตามยังมีหัวหน้ากลุ่มเกษตรปลูกดอกไม้ในสมาคมหูเหว่ย เมืองหยุนหลิน คุณหวงรุ่นอี้(黃潤億)ไม่เคยละทิ้งความพยายามที่จะปลูกดอกซ่อนกลิ่นต่อ และเพื่อแก้ปัญหาดอกซ่อนกลิ่นที่ขายไม่ออก เขาได้ปรับปรุงพันธุ์ดอกซ่อนกลิ่นที่จากเดิมชมความงามของดอกเปลี่ยนเป็นการเอายอดดอกมาใช้ในการบริโภคที่คนไต้หวันเรียกว่า “หวั่นเซียงอวี้สุ่น 晚香玉筍”
คุณหวงรุ่นอี้ เกษตรกรปลูกดอกซ่อนกลิ่นขาย พัฒนาเป็นยอดอ่อนผักสำหรับบริโภค
ดอกซ่อนกลิ่นเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี อยู่ในตระกูลว่านหางจระเข้ มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นมากมาย เช่น หอมไกล ดอกซ่อนชู้ ดอกลีลา ดอกเข่า เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและใต้ ลักษณะของดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมากโดยเฉพาะช่วงค่ำจนถึงก่อนรุ่งสาง มีหัวอยู่ใต้ดิน เป็นดอกไม้ที่นำมาปรุงเป็นอาหารได้ เป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา คนไทยในอดีตมักจะใช้มาประกอบในงานศพ เพราะในอดีตยังไม่มีการฉีดยาฟอร์มาลีนให้กับศพ จึงใช้กลิ่นของดอกซ่อนกลิ่นช่วยกลบกลิ่นศพ คนสมัยก่อนไม่นิยมปลูก แต่หลายประเทศมีการนำดอกซ่อนกลิ่นมาใช้ประโยชน์ เช่น คนจีนตากดอกให้แห้งเพื่อใช้ปรุงอาหาร เช่น ผัด ลวกทำสลัด ต้มจืด ชาวตะวันตกใช้ดอกซ่อนกลิ่นมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นหัวน้ำหอมแบรนด์ดัง ส่วนในไต้หวันนำดอกตูมที่ยังไม่บานประกอบอาหาร ฤดูกาลที่มีการขายยอดอ่อนของดอกซ่อนกลิ่นประมาณเดือน ก.ค.-ต.ค. แต่มีผลผลิตตลอดทั้งปี ฤดูกาลต่างกันรสชาติจะต่างกัน ฤดูร้อนมีความกรุบกรอบ อ่อน และสด ส่วนช่วงฤดูหนาวยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นจะเจริญเติบโตช้ากว่า ให้ความรู้สึกว่ามีเส้นใยมากกว่า
ยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นที่เตรียมตัดขาย
ปัจจุบัน ภัตตาคารของโรงแรมฮั่นผิ่น เมืองฮัวเหลียนนิยมใช้ยอดอ่อนซ่อนกลิ่นประกอบอาหาร ปี 2020 เข้าร่วมการแข่งขันเมนูอาหารที่ใช้เนื้อสุกรท้องถิ่นก็มีการใช้ยอดอ่อนของดอกซ่อนกลิ่นปรุงอาหาร ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลที่ 2 หลินจื้อสง(林志雄) เชฟหลักของโรงแรมอธิบายว่า ยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นเมื่อทานแล้วจะให้ความรู้สึกว่ามีกลิ่นหอมของดอกไม้อ่อน มีรสชาติใกล้เคียงกับหน่อไม้ฝรั่งหรือยอดอ่อนของคะน้า แต่ไม่มีรสขมเหมือนหน่อไม้ฝรั่ง ที่ผ่านมานั้นราคาแพง เมื่อนำมาปรุงอาหารจะใส่แค่ 2 ดอก เพื่อใช้ประดับ มีสีเขียวสด สวย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของดอกไม้ และที่สำคัญยังไม่ไปกลบกลิ่นของอาหารหลักในจาน แม้จะขายในราคาสูงแต่เชฟก็ยังนิยมนำมาใช้
ยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นผัด กรุบกรอบ อร่อย
หวงรุ่นอี้ เกษตรกรที่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นบอกว่า ช่วงปี 1999 ก่อนและหลังเทศกาลตวนอู เขาได้เตรียมดอกซ่อนกลิ่นไว้จำนวนมากเพื่อนำไปขาย แต่ขายไม่ออก เขาฉุกคิดถึงคำพูดของ ศ.หวงต๋าสง(黃達雄) คณะสาขาพืชสวนมหาวิทยาลัยเจียอี้ ในครั้งที่ไปฝึกงานที่เคยบอกไว้ว่า ดอกซ่อนกลิ่นจริงๆแล้วนำมาประกอบอาหารในช่วงฤดูร้อนได้ ด้วยไอเดียนี้เอง ทำให้เขาจากเดิมเป็นเกษตรกรที่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นขาย กลายเป็นเกษตรกรปลูกยอดดอกซ่อนกลิ่นขายเป็นผัก แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การเปลี่ยนไม้ดอกตัดขายมาเป็นผักก็ใช่ว่าง่ายเหมือนการเด็ดยอดอ่อนของดอกไปขายได้เลย ช่วงที่ทดลองเพาะปลูก เขาเจอปัญหาไม่น้อย โดยปกติดอกซ่อนกลิ่นที่ตัดเป็นไม้ดอกขายเพื่อเอาไว้ชมความงาม จะใช้ยาฆ่าแมลงปริมาณมากกว่าผักที่นำไปบริโภค การป้องกันหนอนแมลงจึงกลายเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ต้องปรับวิธีการปลูก ซึ่งเขาใช้เวลาทดลองนานถึง 3 ปี จึงประสบความสำเร็จ และที่ผ่านมาเคยมีคนขายกิโลกรัมละมากกว่า 2,800 เหรียญไต้หวัน มีเพียงภัตตาคารหรูเท่านั้นที่นำไปใช้ แต่ปัจจุบันเกษตรกรหลายแห่งเริ่มหันมาปลูก ทำให้ราคาเป็นมิตรที่ประชาชนเอื้อมถึง และเคยขายกิโลกรัมละ 50 เหรียญไต้หวันก็ยังมี แต่ตอนนี้ประมาณกิโลกรัมละ 200 เหรียญไต้หวัน
ปัจจุบัน ร้านอาหาร ภัตตาคารในไต้หวันจำนวนไม่น้อยมีการใช้ยอดอ่อนของดอกซ่อนกลิ่นมาปรุงเป็นอาหารต่างๆ ไม่เพียงแต่มีกลิ่นหอมของดอกไม้ ยังมีรสชาติอร่อยจนหลายคนทานแล้วต้องติดใจ ช่วงนี้เป็นฤดูกาลซ่อนกลิ่นออกดอก แผงขายผักในตลาดมีการจำหน่ายยอดดอกซ่อนกลิ่น สำหรับถิ่นกำเนิดของยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นนั้นมาจากตำบลหูเหว่ยเมืองหยุนหลิน ซึ่งดอกซ่อนกลิ่น ภาษาจีนเรียกว่าเย่ไหลเซียง(夜來香)ชื่อทางการว่า “หวั่นเซียงอวี้”(晚香玉) ที่ผ่านมาเป็นดอกไม้ที่ใช้ในพิธีกรรมเซ่นไหว้ งานเฉลิมฉลองวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ความต้องการใช้ดอกซ่อนกลิ่นในการเซ่นไหว้ลดน้อยลง เกษตรกรที่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นหันไปปลูกพืชอย่างอื่นหรือไม่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นอีกเลย อย่างไรก็ตามยังมีหัวหน้ากลุ่มเกษตรปลูกดอกไม้ในสมาคมหูเหว่ย เมืองหยุนหลิน คุณหวงรุ่นอี้(黃潤億)ไม่เคยละทิ้งความพยายามที่จะปลูกดอกซ่อนกลิ่นต่อ และเพื่อแก้ปัญหาดอกซ่อนกลิ่นที่ขายไม่ออก เขาได้ปรับปรุงพันธุ์ดอกซ่อนกลิ่นที่จากเดิมชมความงามของดอกเปลี่ยนเป็นการเอายอดดอกมาใช้ในการบริโภคที่คนไต้หวันเรียกว่า “หวั่นเซียงอวี้สุ่น 晚香玉筍”
คุณหวงรุ่นอี้ เกษตรกรปลูกดอกซ่อนกลิ่นขาย พัฒนาเป็นยอดอ่อนผักสำหรับบริโภค
ดอกซ่อนกลิ่นเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี อยู่ในตระกูลว่านหางจระเข้ มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นมากมาย เช่น หอมไกล ดอกซ่อนชู้ ดอกลีลา ดอกเข่า เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและใต้ ลักษณะของดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมากโดยเฉพาะช่วงค่ำจนถึงก่อนรุ่งสาง มีหัวอยู่ใต้ดิน เป็นดอกไม้ที่นำมาปรุงเป็นอาหารได้ เป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา คนไทยในอดีตมักจะใช้มาประกอบในงานศพ เพราะในอดีตยังไม่มีการฉีดยาฟอร์มาลีนให้กับศพ จึงใช้กลิ่นของดอกซ่อนกลิ่นช่วยกลบกลิ่นศพ คนสมัยก่อนไม่นิยมปลูก แต่หลายประเทศมีการนำดอกซ่อนกลิ่นมาใช้ประโยชน์ เช่น คนจีนตากดอกให้แห้งเพื่อใช้ปรุงอาหาร เช่น ผัด ลวกทำสลัด ต้มจืด ชาวตะวันตกใช้ดอกซ่อนกลิ่นมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นหัวน้ำหอมแบรนด์ดัง ส่วนในไต้หวันนำดอกตูมที่ยังไม่บานประกอบอาหาร ฤดูกาลที่มีการขายยอดอ่อนของดอกซ่อนกลิ่นประมาณเดือน ก.ค.-ต.ค. แต่มีผลผลิตตลอดทั้งปี ฤดูกาลต่างกันรสชาติจะต่างกัน ฤดูร้อนมีความกรุบกรอบ อ่อน และสด ส่วนช่วงฤดูหนาวยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นจะเจริญเติบโตช้ากว่า ให้ความรู้สึกว่ามีเส้นใยมากกว่า
ยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นที่เตรียมตัดขาย
ปัจจุบัน ภัตตาคารของโรงแรมฮั่นผิ่น เมืองฮัวเหลียนนิยมใช้ยอดอ่อนซ่อนกลิ่นประกอบอาหาร ปี 2020 เข้าร่วมการแข่งขันเมนูอาหารที่ใช้เนื้อสุกรท้องถิ่นก็มีการใช้ยอดอ่อนของดอกซ่อนกลิ่นปรุงอาหาร ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลที่ 2 หลินจื้อสง(林志雄) เชฟหลักของโรงแรมอธิบายว่า ยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นเมื่อทานแล้วจะให้ความรู้สึกว่ามีกลิ่นหอมของดอกไม้อ่อน มีรสชาติใกล้เคียงกับหน่อไม้ฝรั่งหรือยอดอ่อนของคะน้า แต่ไม่มีรสขมเหมือนหน่อไม้ฝรั่ง ที่ผ่านมานั้นราคาแพง เมื่อนำมาปรุงอาหารจะใส่แค่ 2 ดอก เพื่อใช้ประดับ มีสีเขียวสด สวย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของดอกไม้ และที่สำคัญยังไม่ไปกลบกลิ่นของอาหารหลักในจาน แม้จะขายในราคาสูงแต่เชฟก็ยังนิยมนำมาใช้
ยอดอ่อนดอกซ่อนกลิ่นผัด กรุบกรอบ อร่อย
หวงรุ่นอี้ เกษตรกรที่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นบอกว่า ช่วงปี 1999 ก่อนและหลังเทศกาลตวนอู เขาได้เตรียมดอกซ่อนกลิ่นไว้จำนวนมากเพื่อนำไปขาย แต่ขายไม่ออก เขาฉุกคิดถึงคำพูดของ ศ.หวงต๋าสง(黃達雄) คณะสาขาพืชสวนมหาวิทยาลัยเจียอี้ ในครั้งที่ไปฝึกงานที่เคยบอกไว้ว่า ดอกซ่อนกลิ่นจริงๆแล้วนำมาประกอบอาหารในช่วงฤดูร้อนได้ ด้วยไอเดียนี้เอง ทำให้เขาจากเดิมเป็นเกษตรกรที่ปลูกดอกซ่อนกลิ่นขาย กลายเป็นเกษตรกรปลูกยอดดอกซ่อนกลิ่นขายเป็นผัก แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การเปลี่ยนไม้ดอกตัดขายมาเป็นผักก็ใช่ว่าง่ายเหมือนการเด็ดยอดอ่อนของดอกไปขายได้เลย ช่วงที่ทดลองเพาะปลูก เขาเจอปัญหาไม่น้อย โดยปกติดอกซ่อนกลิ่นที่ตัดเป็นไม้ดอกขายเพื่อเอาไว้ชมความงาม จะใช้ยาฆ่าแมลงปริมาณมากกว่าผักที่นำไปบริโภค การป้องกันหนอนแมลงจึงกลายเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ต้องปรับวิธีการปลูก ซึ่งเขาใช้เวลาทดลองนานถึง 3 ปี จึงประสบความสำเร็จ และที่ผ่านมาเคยมีคนขายกิโลกรัมละมากกว่า 2,800 เหรียญไต้หวัน มีเพียงภัตตาคารหรูเท่านั้นที่นำไปใช้ แต่ปัจจุบันเกษตรกรหลายแห่งเริ่มหันมาปลูก ทำให้ราคาเป็นมิตรที่ประชาชนเอื้อมถึง และเคยขายกิโลกรัมละ 50 เหรียญไต้หวันก็ยังมี แต่ตอนนี้ประมาณกิโลกรัมละ 200 เหรียญไต้หวัน