
Sign up to save your podcasts
Or
คลิกฟังรายการออนไลน์ ได้ที่นี่!!!
รายการที่นี่ไต้หวัน วันที่ 24 ก.ค.61
สุดเจ๋ง! ใครว่าไต้หวันไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2018? เสื้อผ้ากระทั่งรองเท้านักกีฬาครึ่งผลิตจากไต้หวัน
การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2018 ที่ประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพได้สิ้นสุดในวันที่ 15 กค. ที่ผ่านมา แม้งานแข่งขันฟุตบอลโลกจะสิ้นสุดกันแล้ว และไต้หวันเองไม่มีนักกีฬาฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ต้องขอบอกว่าไต้หวันใช่ว่าจะไม่มีส่วนร่วมในงานนี้นะคะ ตั้งแต่เสื้อผ้าของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน จนกระทั่งรองเท้าของนักกีฬา คือต้องบอกว่าตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ MIT หรือ Made in Taiwan ครึ่งเลยทีเดียว
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบ 32 ทีมที่ผ่านมา เสื้อ รองเท้าของนักกีฬากว่าครึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ MIT หรือ Made in Taiwan
บนสนามแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการประชันความดุเดือดสุดมันส์จาก 32 ทีมชาติที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจากทั่วโลก ก็ยังเป็นการแข่งขันความเจริญทางเทคโนโลยี่และแบรนด์ดังของผลิตภัณฑ์ด้านกีฬาจากประเทศต่างๆทั่วโลกอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เจ๋งๆ และมีบทบาทสำคัญในผลิตภัณฑ์ด้านกีฬาก็คือไต้หวันค่ะ เพราะฉะนั้นคำว่า “MIT หรือ Made in Taiwan” จึงเป็นคำที่คุ้นเคยมากสำหรับบรรดานักกีฬาหรือผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ด้านกีฬาจากทั่วโลก เพราะว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้มีทีมชาติ 16 ประเทศ ที่สวมชุดนักกีฬาฟุตบอลซึ่งผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลจากขวดพลาสติก PET ของไต้หวัน เท่ากับครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 32 ทีม เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนหน้าถึง 6 ทีม โดย 16 ทีมดังกล่าว ได้แก่ ทีมชาติซึ่งสนับสนุนโดยอาดิดาส (Adidas) เช่น เบลเยียม, อาร์เจนตินา, โคลอมเบีย, อียิปต์, เยอรมนี, อิหร่าน, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, โมร็อกโก, สวีเดน, สเปน, รัสเซีย และทีมชาติซึ่งสนับสนุนโดยไนกี้ (Nike) เช่น อังกฤษ, บราซิล, โปรตุเกส และซาอุดิอาระเบีย โดย 4 ทีมที่ไนกี้เป็นผู้สนับสนุนนั้น ชุดบอลยังผลิตในไต้หวันอีกด้วย
เสื้ออัจฉริยะได้รับรางวัลผลิตโดย 遠東新 หรือ Far Eastern New Century Corporation
และเมื่อ 4 ปีก่อน เมื่อครั้งฟุตบอลโลก 2014 ซึ่งบราซิลเป็นเจ้าภาพ ในปีนั้นสื่อมวลชนรายงานว่ามีทีมชาติ 10 ประเทศ ที่สวมชุดบอลซึ่งผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลพลาสติกของไต้หวัน จึงถือว่า "ไต้หวันเป็นแชมป์ในฟุตบอลโลก แต่ไม่ใช่ในสนามฟุตบอล แต่เป็นในห้องแต่งตัวนักฟุตบอล" นับเป็นคำชื่นชมที่มีต่อเทคโนโลยีการผลิตชุดบอลที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไต้หวัน
จากการคาดการณ์ของการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้จะมีการขายเสื้อบอลโลกไปมากกว่า 8 ล้านตัว ขายลูกบอลไปมากกว่า 10 ล้านลูกและมีคนชมงานบอลโลกมากกว่า 32,00 ล้านคนครั้ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ล้วนแต่เป็นโอกาสของไต้หวัน ยกตัวอย่าง เสื้อบอลของนักกีฬาประเทศบราซิล เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อังกฤษ ญี่ปุ่น กรีก ที่ผลิตมาจากไต้หวัน แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ป้อนใช้ผลิตเสื้อบอลล้วนมาจากบริษัทของไต้หวัน อย่างเช่น 遠東新 หรือ Far Eastern New Century Corporation 新光纖維 หรือ SSFC ส่วนเนื้อผ้าตลอดจนการย้อมผ้าจนกระทั่งกลายเป็นเสื้อสำเร็จรูปก็มาจากบริษัทฟู่ซุ่นไฟเบอร์ (富順纖維) 綿春紡織Men-Chuen Fibre Industry Co., Ltd.และ 旭寬企業 หรือซวี่ควานเอนเทอร์ไพร์
ส่วนรองเท้ามาจากทางภาคกลางของไต้หวัน ได้แก่โรงงานเป่าเฉิน (寶成) และฟงไท่ (豐泰) และโรงงานที่อยู่ทางภาคใต้ของไต้หวันที่มีส่วนร่วมในการผลิตรองเท้ากีฬาฟุตบอลโลก ที่พัฒนาวิจัยชู ล้าสต์ (Shoe Last) ที่เป็นแม่แบบในการทำรองเท้าฟุตบอลโลกครั้งนี้คือบริษัท 涂火龍
รองเท้านักกีฬาคู่แรกของโลกที่ผลิตจากขยะรีไซเคิลจากทะเล
คลิกฟังรายการออนไลน์ ได้ที่นี่!!!
รายการที่นี่ไต้หวัน วันที่ 24 ก.ค.61
สุดเจ๋ง! ใครว่าไต้หวันไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2018? เสื้อผ้ากระทั่งรองเท้านักกีฬาครึ่งผลิตจากไต้หวัน
การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2018 ที่ประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพได้สิ้นสุดในวันที่ 15 กค. ที่ผ่านมา แม้งานแข่งขันฟุตบอลโลกจะสิ้นสุดกันแล้ว และไต้หวันเองไม่มีนักกีฬาฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ต้องขอบอกว่าไต้หวันใช่ว่าจะไม่มีส่วนร่วมในงานนี้นะคะ ตั้งแต่เสื้อผ้าของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน จนกระทั่งรองเท้าของนักกีฬา คือต้องบอกว่าตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ MIT หรือ Made in Taiwan ครึ่งเลยทีเดียว
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบ 32 ทีมที่ผ่านมา เสื้อ รองเท้าของนักกีฬากว่าครึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ MIT หรือ Made in Taiwan
บนสนามแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการประชันความดุเดือดสุดมันส์จาก 32 ทีมชาติที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจากทั่วโลก ก็ยังเป็นการแข่งขันความเจริญทางเทคโนโลยี่และแบรนด์ดังของผลิตภัณฑ์ด้านกีฬาจากประเทศต่างๆทั่วโลกอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เจ๋งๆ และมีบทบาทสำคัญในผลิตภัณฑ์ด้านกีฬาก็คือไต้หวันค่ะ เพราะฉะนั้นคำว่า “MIT หรือ Made in Taiwan” จึงเป็นคำที่คุ้นเคยมากสำหรับบรรดานักกีฬาหรือผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ด้านกีฬาจากทั่วโลก เพราะว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้มีทีมชาติ 16 ประเทศ ที่สวมชุดนักกีฬาฟุตบอลซึ่งผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลจากขวดพลาสติก PET ของไต้หวัน เท่ากับครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 32 ทีม เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนหน้าถึง 6 ทีม โดย 16 ทีมดังกล่าว ได้แก่ ทีมชาติซึ่งสนับสนุนโดยอาดิดาส (Adidas) เช่น เบลเยียม, อาร์เจนตินา, โคลอมเบีย, อียิปต์, เยอรมนี, อิหร่าน, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, โมร็อกโก, สวีเดน, สเปน, รัสเซีย และทีมชาติซึ่งสนับสนุนโดยไนกี้ (Nike) เช่น อังกฤษ, บราซิล, โปรตุเกส และซาอุดิอาระเบีย โดย 4 ทีมที่ไนกี้เป็นผู้สนับสนุนนั้น ชุดบอลยังผลิตในไต้หวันอีกด้วย
เสื้ออัจฉริยะได้รับรางวัลผลิตโดย 遠東新 หรือ Far Eastern New Century Corporation
และเมื่อ 4 ปีก่อน เมื่อครั้งฟุตบอลโลก 2014 ซึ่งบราซิลเป็นเจ้าภาพ ในปีนั้นสื่อมวลชนรายงานว่ามีทีมชาติ 10 ประเทศ ที่สวมชุดบอลซึ่งผลิตจากเส้นใยรีไซเคิลพลาสติกของไต้หวัน จึงถือว่า "ไต้หวันเป็นแชมป์ในฟุตบอลโลก แต่ไม่ใช่ในสนามฟุตบอล แต่เป็นในห้องแต่งตัวนักฟุตบอล" นับเป็นคำชื่นชมที่มีต่อเทคโนโลยีการผลิตชุดบอลที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไต้หวัน
จากการคาดการณ์ของการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้จะมีการขายเสื้อบอลโลกไปมากกว่า 8 ล้านตัว ขายลูกบอลไปมากกว่า 10 ล้านลูกและมีคนชมงานบอลโลกมากกว่า 32,00 ล้านคนครั้ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ล้วนแต่เป็นโอกาสของไต้หวัน ยกตัวอย่าง เสื้อบอลของนักกีฬาประเทศบราซิล เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อังกฤษ ญี่ปุ่น กรีก ที่ผลิตมาจากไต้หวัน แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ป้อนใช้ผลิตเสื้อบอลล้วนมาจากบริษัทของไต้หวัน อย่างเช่น 遠東新 หรือ Far Eastern New Century Corporation 新光纖維 หรือ SSFC ส่วนเนื้อผ้าตลอดจนการย้อมผ้าจนกระทั่งกลายเป็นเสื้อสำเร็จรูปก็มาจากบริษัทฟู่ซุ่นไฟเบอร์ (富順纖維) 綿春紡織Men-Chuen Fibre Industry Co., Ltd.และ 旭寬企業 หรือซวี่ควานเอนเทอร์ไพร์
ส่วนรองเท้ามาจากทางภาคกลางของไต้หวัน ได้แก่โรงงานเป่าเฉิน (寶成) และฟงไท่ (豐泰) และโรงงานที่อยู่ทางภาคใต้ของไต้หวันที่มีส่วนร่วมในการผลิตรองเท้ากีฬาฟุตบอลโลก ที่พัฒนาวิจัยชู ล้าสต์ (Shoe Last) ที่เป็นแม่แบบในการทำรองเท้าฟุตบอลโลกครั้งนี้คือบริษัท 涂火龍
รองเท้านักกีฬาคู่แรกของโลกที่ผลิตจากขยะรีไซเคิลจากทะเล