[Podcast-Techsauce Daily] EP20 - 20 Apr 2020 Podcast Series จาก Techsauceคุยประเด็นเศรษฐกิจและธุรกิจประจำวัน ช่วงสถานการณ์ COVID-19[ลมแทบจับ เมื่อกางบิลค่าไฟ] ทำไมค่าไฟแพง ? หนึ่งในคำถามยอดฮิตในช่วงนี้หลังจากที่หลายคนได้บิลค่าไฟเดือนเมษายนกันมาแล้วบอกเลยว่าเห็นยอดค่าใช้จ่ายแล้ว 'ลมแทบจับ'เมื่อค่าไฟฟ้าไม่ได้เหมือนการซื้อของทั่วไป ที่ยิ่งซื้อเยอะ ยิ่งถูกแต่ในทางกลับกัน ยิ่งใช้เยอะ ยิ่งแพง ราคาต่อหน่วยยิ่งสูงเพราะประเทศไทยมีการคิดค่าไฟแบบ “อัตราก้าวหน้า”การคิดอัตราค่าไฟฟ้า สำหรับประเภทที่อยู่อาศัยจะมี 2 แบบคือ (1) อัตราปกติ (Progressive rate) โดยปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อเดือนใน 15 หน่วยแรก จะอยู่ที่ 2.3488 บาทต่อหน่วย หลังจากนั้นราคาจะเริ่มขยับขึ้นไปตามลำดับ จนถ้าหากใช้ 400 หน่วยขึ้นไป จะอยู่ที่ 4.4217 บาทต่อหน่วย(2)อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of use traffic) โดยแบ่งเป็นช่วง On-Peak (จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-22.00) Off-Peak (จันทร์-ศุกร์ 22.00-9.00 และเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงาน วันหยุดราชการ 00.00-24.00) ซึ่งแรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ On-Peak จะอยู่ที่ 5.1135 บาทต่อหน่วย Off-Peak จะอยู่ที่ 2.6037 บาทต่อหน่วย และแรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ On-Peak จะอยู่ที่ 5.7982 บาทต่อหน่วย Off-Peak จะอยู่ที่ 2.6369 บาทต่อหน่วยในค่าไฟของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง ได้แก่(1) ค่าพลังงานไฟฟ้า หรือค่าไฟฐาน เป็นค่าไฟที่คำนวนจากต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การสร้างโรงงานไฟฟ้า ค่าระบบสายส่ง ค่าระบบจำหน่าย ค่าดำเนินงาน และค่าเชื้อเพลิง(2) ค่าไฟฟ้าแปรผัน หรือ ค่า Ft ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับที่กำหนดไว้ในค่าไฟฟ้าฐาน และจะมีการปรับปรุงทุก ๆ 4 เดือน(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7%ดังนั้นในช่วงที่ประชาชนทุกคนต้องมีการกักตัวอยู่บ้าน และมีการ Work From Home ทำให้ดีมานด์การใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา On-Peak ซึ่งมีการคิดอัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยสูงมาก หรือถ้าเป็นการคิดแบบอัตราปกติก็ย่อมมีการใช้หน่วยไฟฟ้าสูงเช่นกัน ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ที่ต่างประเทศเองก็ประสบปัญหาเดียวกัน เนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนจากการกักตัวระหว่าง COVID-19FYI : หน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดค่าไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายกันก็คือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ไม่ใช่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่มีหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้า