ไต้หวันไฮเทค

วัสดุทางการแพทย์จากผิวหนังสุกร มูลค่ากว่า 300 ล้าน TWD/ตัว


Listen Later

            บริษัท ACRO Biomedical (亞果生醫) บริษัทแนวหน้าด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูของไต้หวัน ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพและวัสดุการแพทย์ต่างๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจในวงการคือ กระจกตาเทียม ได้มีการจำหน่ายเทคโนโลยีให้แก่ออสเตรเลีย ตลอดจนได้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายวัสดุทางการแพทย์ผลิตจากผิวสุกรในญี่ปุ่น นพ.เซี่ยต๋าเหริน (謝達仁) ประธานบริหาร ACRO Biomedical ชี้ว่า อวัยวะต่างๆ ของสุกร สามารถนำมาใช้ในเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ เพียงเฉพาะส่วนหนังของหัวสุกรสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึง 4 กิโลกรัม โดยสกัดเป็นคอลลาเจนมากถึง 200 ลิตร ปัจจุบันสุกรทั้งตัวสามารถนำมาผลิตวัสดุการแพทย์ อาทิเช่น เนื้อเยื่อโปรตีน คอลลาเจนที่ใช้ในสาขาทันตกรรม ผลิตเป็นวัสดุเสริมกระดูก ผงกระดูกและชิ้นกระดูก หากคำนวณแล้วสุกรตัวหนึ่งสามารถสร้างมูลค่าวัสดุการแพทย์สูงถึง 300 ล้านเหรียญไต้หวัน

            ปี 2016 ACRO Biomedical ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดกระจกตาให้แก่สุนัขชิวาวา ทีม ACRO Biomedical ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยปกติสุนัขทั่วไปต่อต้านการปลูกถ่ายอวัยวะจากภายนอกทั้งหมด แต่ผลการทดลองกลับพบว่าสุนัขชิวาวายอมรับกระจกตาที่ผลิตจากสุกรได้ ความสำเร็จในครั้งนั้น ทำให้ OculusBioMed โรงงานจากออสเตรเลียติดต่อขออนุญาตใช้สิทธิบัตร เนื่องจากกฎหมายออสเตรเลียเปิดโอกาสนำไปทดลองในมนุษย์และสามารถพัฒนาการใช้กระจกตาจากสุกรในเชิงพาณิชย์ได้

            ปัจจุบัน ACRO Biomedical ผลิตสินค้าวิศวกรรมเนื้อเยื่อมากมาย ได้แก่ ผิวเทียมหรือวัสดุปกคลุมคอลลาเจนที่ทำจากหนังสุกร เนื้อเยื่อชีวภาพ สารเติมแต่งผิวหนัง สารเสริมกระดูก/กระดูกอ่อน สิ่งต่างๆเหล่านี้ทางทีมวิจัยของโรงพยาบาลทหาร 3 เหล่าทัพ, โรงพยาบาลทหารผ่านศึกเกาสงในไต้หวันได้มาเจรจาร่วมมือกับทางบริษัท นพ.เซี่ยต๋าเหรินบอกว่า ทั้งในแผนกจักษุ ทันตกรรม ทรวงอก ระบบหายใจ ระบบปัสสาวะ ล้วนแต่ ใช้ประโยชน์จากอวัยวะสุกรปลูกถ่ายสู่มนุษย์ได้ 

            อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายวัสุดที่ผลิตจากสุกรเข้าตลาดมุสลิมยังคงเป็นเรื่องยาก นพ. เซี่ยต๋าเหรินชี้ว่า ปัจจุบันกำลังมีแนวความคิดใช้โคแทนสุกร แต่จะต้องรอขั้นตอนการยื่นตรวจสอบ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

หนังสุกรสามารถนำไปผลิตวัสดุทางการแพทย์ได้มากมาย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ไต้หวันไฮเทคBy แสงชัย กิตติภูมิวงศ์, Rti