Share ฤๅ - Lue History
Share to email
Share to Facebook
Share to X
การเล่าประวัติศาสตร์นั้นหากเล่าโดยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นแม้จะมีข้อกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่รับได้ เพราะความจริงคือสิ่งที่มิอาจบิดผันเป็นสิ่งอื่น ความจริงที่หลากหลายจึงเป็นความจริงที่ยังไม่พบข้อเท็จจริงเท่านั้น และในบางครั้งการเล่าประวัติศาสตร์ก็อาจมีความเชื่อและอุดมการณ์มาผสมอยู่จำนวนมากจนน่าเสียดายที่บางงานนั้นควรจะออกมาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่
กระแสท้องถิ่นนิยมนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้และไม่ใช่สิ่งที่แย่ กระนั้นก็ตามการนิยมสิ่งใดมาก ก็สามารถก่อให้เกิดการใช้ประวัติศาสตร์โดยไม่ถูกต้องได้ (และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นท้องถิ่นนิยมเท่านั้น)
ประเด็นหนึ่งก็คือการ “สร้างคุกทับเวียงแก้ว” ของเมืองเชียงใหม่ที่มักจะมีเรื่องเล่าในทำนองว่าสยามตั้งใจสร้างคุกทับเวียงแก้วไว้และเป็นการหยามคนท้องถิ่นอย่างมาก จนนักวิชาการบางท่านเรียกคุกว่าเป็น “ขึด” ของเชียงใหม่
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ถึงพิราลัย เจ้าอุปราชอินทนนท์ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นเจ้านครเชียงใหมที่ 7 (พระเจ้าอินทวิชยานนท์) ได้สร้างคุ้มหลวงแห่งใหม่ขึ้นที่ข่วงหลวงบริเวณหน้าศาลาสนามที่เป็นที่ตั้งตึกยุพราพในปัจจุบัน "เวียงแก้ว" ซึ่งเป็นที่พำนักของเจ้านครเชียงใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2339 จึงสิ้นสภาพการเป็นคุ้มหลวงนับแต่ พ.ศ. 2413 และถูกปล่อยให้รกร้างจนถูกน้ำท่วมมานานกว่า 40 ปี จนกลายเป็น “หอพระแก้วร้าง” ก่อนที่จะมีการใช้ประโยชน์อย่างอื่นในภายหลัง
และนอกจากนี้เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ไม่ได้ยกพื้นที่เวียงแก้วทั้งหมดให้เป็นที่ตั้งเรือนจำดังที่เจ้าดารารัศมีทรงเล่าประทานว่า “‘เวียงแก้ว’ เป็นเนื้อที่สี่เหลี่ยมจดถนนทุกทิศ เป็นมรดกของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ที่ 8 เจ้าอินทวโรรสฯ ได้ยกทูลเกล้าฯ ถวายให้เป็นเรือนจำจังหวัดเชียงใหม่ในด้านทิศใต้ ส่วนทางด้านทิศเหนือ เจ้าอินทวโรรสได้จัดทำเป็นสวนสัตว์ครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งได้ยกให้ข้าราชบริพาร คือ พระญาติๆ หลานเหลน และเหล่าเสนาของท่าน เช่น หมื่น ท้าว พญาทั้งหลายในสมัยนั้น”
สำหรับรายละเอียดและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในคลิปนี้ครับ
มีงานบางชิ้นได้กล่าวว่า "กองกำลังเสือป่า" ที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นกองกำลังที่พระองค์ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นกองกำลังส่วนพระองค์เนื่องจากความไม่ไว้วางใจและความแตกแยกระหว่างพระองค์กับกองทัพ ดังนั้นกองเสือป่าจึงเป็นเสมือนกองทัพซ้อนเข้าไปอีกทีทั่วประเทศในขณะนั้นจนทำให้เกิดความตึงเครียดในรัชสมัยขึ้น
การวิเคราะห์เช่นนี้เป็นการวิเคราะห์ที่น่าจะไม่ถูกต้อง เพราะสาเหตุของการตั้งกองเสือป่าขึ้นนั้นไม่อาจมองขาดได้จากบริบทที่มีความต่อเนื่องก่อนหน้า โดยสิ่งที่รุนแรงที่สุดคือเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่มีบันทึกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น “เสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ เป็นเวลานานนับเดือนนับปี”
เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ได้ฝังอยู่ในพระราชหฤทัยของเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เพราะเมื่อถึงอังกฤษ พระองค์ตั้งพระราชหฤทัยที่จะศึกษาวิชาทหารเรือ หากแต่ในระหว่างการเตรียมพระองค์นั้นทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทำให้ต้องเปลี่ยนมาเรียนวิชาทหารบกและพลเรือนเพื่อเตรียมพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไปและฝ่ากระแสอาณานิคมต่อจากพระราชบิดาของพระองค์
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาและกลับมายังสยาม พระองค์ได้ยกร่าง ‘พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร’ ขึ้นและจัดการวางกองกำลังใหม่ร่วมกับพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ แต่ที่ปักษ์ใต้นั้นเนื่องจากรัฐบาลสยามได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษเมื่อครั้งกู้เงินจาก Federal Malay States เพื่อทำทางรถไฟสายใต้โดยมีเงื่อนไขคือสยามจะไม่ส่งทหารลงไปประจำที่คาบสมุทรมลายูตั้งแต่บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ ไปจนถึงสุดชายพระราชอาณาเขตที่มณฑลปัตตานีทำให้ไม่มีการวางกำลังทหารเลยที่ปักษ์ใต้
วิธีหนึ่งที่พระองค์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหานี้คือการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น โดยผู้ที่เข้าเป็นสมาชิกนั้นต้องเสียเงินค่าสมัครและจัดหาเครื่องแบบเอง เสือป่าจึงเป็นกองอาสาสมัครที่มิได้ใช้เงินแผ่นดินแม้แต่บาทเดียว นอกจากนี้ทรงกำหนดให้เสือป่ามีเครื่องแบบที่เห็นได้ชัดเจน จึงเป็นหลักประกันว่าหากเสือป่าถูกจับกุมระหว่างปฏิบัติงานจะต้องได้รับการปฏิบัติตามข้อตกลงสันติภาพที่กรุงเฮก ในขณะเดียวกันพระองค์ยังให้มีการตั้งเสือป่าขึ้นในมณฑลต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแม้ในคาบสมุทรมลายู แนว 25 กิโลเมตรริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง และแนวชายแดนไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศสที่มีข้อตกลงว่าห้ามส่งทหารสยามเข้าไปประจำการ ให้มีแต่ตำรวจภูธรเท่านั้น แต่เมื่อเสือป่ามิใช่ทหาร การจัดกำลังเสือป่าในพื้นที่ที่มีข้อตกลงลับจึงไม่เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงนี้
มีข้อมูลและหลักฐานจำนวนมากมายยืนยันว่า แม้ทั้งป.และปรีดีจะขัดแย้งกันจริง หากแต่ในช่วงก่อนการรัฐประหาร 2500 ไม่นานนัก เขาทั้งสองต่างมีแผนการหรือ ‘ดีลลับ’ ที่จะกลับมาคืนดีกัน อันมีสาเหตุมาจากความผันผวนจากกระแสทางการเมืองของฝ่ายจอมพล ป. ที่ตกต่ำลง การนำปรีดีในฐานะตัวแทนของ ‘ฝ่ายก้าวหน้า’ (ตามทัศนะของพวกเขา) มาค้ำยันกับปีกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่กำลังสูงเด่นขึ้นพร้อมด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา น่าจะเป็นทางออกเดียวของจอมพล ป. ในสถานการณ์ชิงอำนาจดังกล่าว
จากเอกสารของสถานทูตอังกฤษในไทย ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ระบุความเคลื่อนไหวของฝ่ายจอมพล ป. ไว้ว่า เผ่า ศรียานนท์พยายามที่ให้ปรีดีกลับประเทศไทย และเขาอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนฝ่ายของปรีดีที่กลับมาอยู่ในไทยแล้ว (เช่น เฉียบ และชม) และที่สำคัญ เอกสารของอังกฤษระบุไว้ชัดเจนว่า “เผ่าคือสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญในการวางแผนการนี้” (แผนเอาปรีดีกลับไทยมาต่อสู้คดีสวรรคต) เอกสารฉบับนี้เขียนไว้อย่างไม่ปิดบังว่า เผ่าได้ริเริ่มกระบวนการใส่ร้ายต่อต้านพระบรมวงศานุวงศ์ (Royal family) ด้วยการจะทำให้ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น “แพะรับบาป” (scapegoat) แทนปรีดีในกรณีสวรรคต
แต่อย่างไรก็ดี แผนการหรือ ‘ดีลลับ’ ระหว่าง 2 ป. คือ ป. พิบูลสงคราม และปรีดี ต้องถึงการฝันสลายลง หลังจากที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารที่เรียกกันว่า ‘การรัฐประหาร 2500’ แล้วขับไล่จอมพลป. และเผ่าออกไปจากประเทศไทย อันเป็นการจบสิ้นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 ของจอมพลผู้มีฉายาว่า ‘พิบูลตลอดกาล’ อีกทั้งยังเป็นการ ‘ดับฝัน’ ของปรีดีที่จะกลับมายังประเทศไทยโดยดุษณี
‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ คือการอยู่ร่วมกันได้อย่างทันสมัย และไม่เป็นปัญหาระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากระบอบการปกครองนี้มีเสถียรภาพมากที่สุด และเหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติได้โดยที่ไม่ขัดกับคุณค่าประชาธิปไตยสากล
หลายครั้งที่มีคนบางกลุ่มมีความรู้สึกว่า ต้องการให้มีการเพิ่มพระราชอำนาจ (prerogative) ในการบริหารจัดการรัฐแก่พระมหากษัตริย์ แต่สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นการทำร้าย ‘สถาบันพระมหากษัตริย์’ ทางอ้อม เพราะเท่ากับว่า แทนที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของพระองค์ กลับต้องการให้พระองค์รับภาระเพิ่มมากขึ้นโดยมิจำเป็น และทรงจะรอดพ้นจากข้อครหามิได้หากทรงบริหารผิดพลาดหรือโดนใส่ร้ายมา
ประเทศไทยนั้นหมดเวลาของ ‘รอยัลลิสต์’ ที่เป็น ‘ฝ่ายนิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ แล้ว สำหรับใครก็ตามที่มีความจงรักภักดี และหวังดีต่อสถาบันฯ ควรสนับสนุน ‘รอยัลลิสต์’ ในรูปแบบ ‘วิก’ (Whigs) ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เหมาะสมต่อประเพณีการปกครอง มิใช่เรียกร้องให้ทวนเข็มนาฬิกากลับไปสู่ระบอบเก่าที่ทั้งโลกเห็นว่าเป็นรูปแบบที่ล้าสมัยไปแล้ว
#LueHistory #รอยัลลิสต์
ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรี บุคคลผู้ได้รับการโปรดเกล้าฯ จากสามัญชนขึ้นเป็นพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูงบุคคลแรกคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ ‘สมเด็จย่า’ ของคนไทย เด็กหญิงจากตระกูลช่างทอง โดยมีพระนามเดิมว่า ‘สังวาลย์’ สู่การเป็นพระมารดาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินของไทยถึง 2 พระองค์
สมเด็จย่าทรงอุทิศทุ่มเทพระวรกาย และทรงงานเพื่อคนไทยมาโดยตลอด แม้จะมีพระชนมายุมากแล้วก็ตาม แต่พระองค์ยังเสด็จไปยังท้องที่ทุรกันดารต่างๆ เพื่อฟื้นฟูผืนป่าและพลิกฟื้นโอกาสให้คนในพื้นที่เหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีขึ้น จนชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารต่างเรียกพระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง”
ผ่านมาหลายทศวรรษ ประวัติศาสตร์ดั่งเทพนิยายก็ได้เริ่มต้นบทบันทึกอีกครั้ง…
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า ‘สุทิดา ติดใจ’ คือสามัญชนคนที่สอง ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็นพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูงของราชวงศ์จักรี หลังจากที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
พระราชินีผู้มาจากสามัญชน หากแต่มีทั้งความเข้มแข็ง แข็งแกร่ง และมีพระจริยวัตรอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสง่างดงามบนความทันสมัย กระทั่งทรงกลายเป็นไอดอลของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม และทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของเยาวชนไทยยุคใหม่อีกด้วย
เรื่องราวดั่งเทพนิยายของทั้งสองพระองค์เป็นอย่างไร ติดตามได้ในคลิปนี้ครับ
#LueHistory #สมเด็จย่า
14 ตุลาคม 2516 วันแห่งปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย จากการรวมตัวกันของนิสิตนักศึกษา อาชีวะ และประชาชนจากทุกภาคส่วน เพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการของ จอมพลถนอม กิตติขจร, จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยึดครองอำนาจบริหารที่ส่งไม้ต่อกันมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มขึ้นในวันนที่ 9 ตุลาคม 2516 นําโดยสองนักศึกษาชายหญิง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และเสาวนีย์ ลิมมานนท์ มีการปราศรัยโจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงนักเรียนมัธยมและนักเรียนอาชีวะ ทั้งจากวิทยาลัยและสถาบันในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เดินทางมาเข้าร่วมสมทบอย่างล้นหลาม
สถานการณ์ชุมนุมเริ่มถึงจุดตึงเครียดในวันที่ 12 ตุลาคม เมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ยื่นคําขาดว่าให้รัฐบาลปล่อยตัวอาจารย์และนักศึกษาจำนวน 13 คน ที่ถูกจับกุมไป
13 ตุลาคม การเจรจาระหว่างตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ กับจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้เกิดขึ้นและนำไปสู่การยอมรับข้อเสนอ โดยรัฐบาลยอมปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คน และจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีต่อไป ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมเตรียมยุติการชุมนุมในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ตุลาคม
แต่ทว่ากลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณถนนราชวิถี
จากจุดปะทะเล็ก ๆ นี้เอง เหตุการณ์ก็ได้บานปลายลุกลามไปอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน มีการใช้กําลังทหารและตํารวจเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรง ในขณะที่นักเรียนนิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ตอบโต้ด้วยการก่อความวุ่นวาย บุกเข้ายึดและทําลายสถานที่หลายแห่ง เช่น กรมประชาสัมพันธ์, สถานีตํารวจ ฯลฯ จนกระทั่งมีการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในวันที่ 14 ตุลาคม โดยกำลังตำรวจและทหาร จนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนและบาดเจ็บจำนวนมาก
19.15 น. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดํารัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้งศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน จนกระทั่งเหตุการณ์ได้คลี่คลายลง โดยผู้นำคณาธิปไตยกลุ่มจอมพลถนอมได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ และมีการประกาศเตรียมใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน ซึ่งถือเป็นการยุติความขัดแย้งต่าง ๆ ลง
#LueHistory #ในหลวงรัชกาลที่9 #14ตุลา
เหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ควรจะบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพื่อจะให้ชนรุ่นหลังได้รับทราบว่า ครั้งหนึ่งฝ่ายรัฐบาลคณะราษฎรเคยมีความคิดรุนแรงถึงขนาดคิดที่จะ ‘ฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยแผนถอดรางรถไฟให้ตกรถตายทั้งขบวน’
กรณีนี้อาจเคยมีคนอ่านเจอในหนังสือ ‘สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น’ ของ หม่อมเจ้าพูนพิสมัย ดิศกุล (พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ซึ่งถูกนักวิชาการรุ่นหลังจำนวนหนึ่งตั้งข้อสงสัยว่าถูกเขียนขึ้นจากมุมมองของ ‘ฝ่ายเจ้า’ ที่ ‘เชียร์’ ฝ่ายกบฏ
อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มดังกล่าวหาใช่หลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่ยืนยันถึงการมีอยู่ของเหตุการณ์ ‘ฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยแผนถอดรางรถไฟให้ตกรถตายทั้งขบวน’ เพราะไม่นานมานี้ ได้มีการค้นพบหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ถูกพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2489 ซึ่งคุณเปรมจิต วัชรางกูร ข้าราชการราชสำนัก ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ‘พระปกเกล้าฯ กับชาติไทย’ (2489) ที่เขียนถึงเรื่องราวดังกล่าวเช่นกัน
เพื่อเป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของแผนการอัปยศในครั้งนั้น ทีมงาน ฤา จึงขอนำรายละเอียดของเรื่องราวดังกล่าวมาเล่าให้ฟังในคลิปนี้ครับ
#LueHistory #แผนฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์
โฆษณาชวนเชื่อ มีนิยามหลายอย่าง แต่พูดให้ถึงที่สุดแล้ว โฆษณาชวนเชื่อ ก็คือการพยายามทำให้คน 'เชื่อ' ในสิ่งที่อาจจะไม่เป็นจริงก็ได้
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา หลายคนพยายามกล่าวหาว่าโครงการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็เป็นหนึ่งในโฆษณาชวนเชื่อเพื่ออวยเจ้า ทั้งที่โครงการต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนคนไทยได้จริง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (รวมไปถึงโครงการประเภทอื่นๆ) เป็นโครงการที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านโครงสร้างที่จับต้องได้ต่างๆ โดยมีหน่วยงานรัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน โดยโครงการต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นมีจุดกำเนิดที่เกิดขึ้นในช่วงยุคเหลื่อมกับสงครามเย็นพอดี แต่การเกิดขึ้นของแนวคิดการพัฒนาในช่วงสงครามเย็นกับการสร้างโครงการเพื่อหนุนให้เกิดโฆษณาชวนเชื่อนั้นเป็นคนละเรื่องกัน
การทำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ในยุคที่โครงการเกิดขึ้นนั้น ไม่มีผู้มีอำนาจหรือประชาชนตั้งคำถามว่าทำไมต้องทำโครงการเหล่านี้ หรือโครงการเหล่านี้จะไปเกื้อหนุนพระมหากษัตริย์อย่างไร เพราะปัจจัยในขณะนั้นมีเพียงแค่ว่า จะอยู่รอดอย่างไรท่ามกลางความตึงเครียดจากกระแสการเมืองระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดี นักวิชาการในยุคหลังได้ย้อนกลับไปตั้งคำถามถึงโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ โดยประเด็นที่ผุดขึ้นมาประเด็นหนึ่งนั่นก็คือ โครงการเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อให้เกิดความนิยมในพระมหากษัตริย์ผ่านแผนจิตวิทยาของสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ หรือนักวิชาการบางท่านได้ไปไกลถึงขนาดว่า เป็นเรื่องการสถาปนาพระราชอำนาจนำ (Hegemony) ตามแนวคิดของนักคิดอิตาเลียน Antonio Gramsci
การตั้งคำถามดังกล่าวถือว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้เมื่อลองมาดูในรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ ก็จะพบว่า จุดมุ่งหมายหรือกระบวนการระหว่างทาง ไม่ได้สอดคล้องกับคำถามที่นักวิชาการเหล่านั้นตั้งขึ้นเลย และทำให้เกิดคำถามอีกคำถามว่า “ถ้าหากต้องการทำโฆษณาชวนเชื่อ โครงการเหล่านั้นสามารถทำส่ง ๆ ไปก็ได้มิใช่หรือ? แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือโครงการเหล่านี้กลับมีประโยชน์ต่อประชาชนจริง”
#LueHistory #โครงการพระราชดำริ
กับกรณีที่มีบางคนบางกลุ่มออกมาอ้างตัวว่าเป็นลูกหลานของ “กบฏเงี้ยวเมืองแพร่” กลุ่มกบฏที่ก่อเหตุความรุนแรงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเวลาไล่เลี่ยกันกับเหตุการณ์กบฏในภูมิภาคต่างๆ ทั้งกบฏผีบุญ และกบฏเจ็ดหัวเมืองภาคใต้
โดยกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นลูกหลานกบฏเงี้ยวนั้น ได้นำเสนอข้อมูลทำนองว่า การลุกขึ้นก่อกบฏโดยกลุ่มเงี้ยว คือการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาวแพร่จากการกดขี่ของรัฐบาลกรุงเทพฯ ในขณะนั้น
วันนี้ ฤๅ จึงขอนำเสนอประวัติศาสตร์นอกตำรา ซึ่งเป็นข้อมูลอีกด้านจากผู้ที่เรียกได้ว่าเป็นวงศ์วรญาติของเจ้าเมืองแพร่ เพื่อให้เราได้รับรู้อีกมุมมองเกี่ยวกับกบฏเงี้ยวในสมัยรัชกาลที่ 5
โดยจะเห็นได้ว่า กลุ่มโจรเงี้ยวซึ่งไม่ใช่คนสยามและอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ได้เข้ามาทำมาค้าขายตามแนวชายแดนสยาม และต่อมาได้ลุกฮือขึ้นก่อเหตุความรุนแรงจากการที่พวกเขาเสียผลประโยชน์ จากการที่ทางสยามปฏิรูประบบต่างๆ ของบ้านเมืองให้เป็นอารยะ ประกอบกับการได้รับการสนันสนุนจากอังกฤษเจ้าอาณานิคมที่จ้องจะเข้ามาแทรกแซงสยามในขณะนั้นด้วย
ซึ่งจะเห็นได้ว่า การก่อเหตุของกบฏเงี้ยว ไม่เกี่ยวใดๆ กับการปลดปล่อยชาวแพร่จากการกดขี่ของรัฐบาลกรุงเทพฯ ตามที่มีคนบางกลุ่มกล่าวอ้างเลย
และจากข้อมูลที่เราเคยรับรู้กันมาคือ การที่เจ้าพิริยเทพวงษ์เจ้าหลวงเมืองแพร่ได้ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏเงี้ยวนั้น เรื่องราวที่ ฤๅ นำมาพูดคุยในวันนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นส่วนขยายของข้อมูลข้างต้น ซึ่งทำให้เห็นร่องรอยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างเมืองแพร่และทางกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาที่โจรเงี้ยวก่อกบฏ และเหตุใดเจ้าหลวงเมืองแพร่จึงตัดสินใจทำเช่นนั้น
เรื่องราวทั้งหมดอยู่ใน Podcast ของ Lue History ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบทใหม่ที่จะเปิดมุมมองอีกด้านของเหตุการณ์ “กบฏเงี้ยวเมืองแพร่” ให้ทุกคนได้รับรู้กัน ขอเชิญรับฟังได้ที่นี่
#LueHistory #กบฏเงี้ยว #ชาวแพร่
“เมื่อข้าพเจ้าเอ่ยปากและตั้งใจจะแนะนำบางอย่าง พวกเขาก็พากันบอกว่า ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทยังไม่ทรงทราบเรื่องราวใดๆ’ ข้าพเจ้าจึงปิดปาก ความจริงข้าพเจ้ารู้ แต่เมื่อพวกเขาไม่ต้องการให้ข้าพเจ้าพูด ข้าพเจ้าก็ไม่พูด” บทสัมภาษณ์ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ New York Times
หลังจากนั้น สิ่งที่พระองค์ทรงเลือกที่จะทำ โดยไม่ก่อให้เกิดแรงเสียดทานทางการเมืองและความขัดแย้งแบบที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 คือ การเชื่อมต่อกับประชาชนอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าประชาชนได้ผ่านช่วงหดหู่และการไร้ความหวังจากสภาวะของสงครามมาแล้ว สิ่งนั้นคือ "บทเพลงพระราชนิพนธ์"
บทเพลงแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ออกมานั้นคือเพลง “แสงเทียน” เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทย เพลงแสงเทียนนั้นแม้จะมีเนื้อร้องที่มีความเศร้าหมอง แต่ก็ยังมีประกายของความหวัง เช่น “ทำบุญทำทานกันไว้เถิดเกิดเป็นคน ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่ เคยทำบุญทำคุณปางก่อนใด ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า”
บทเพลงพระราชนิพนธ์ในช่วงขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 9 นั้น ตั้งต้นด้วยความรักและความปรารถนาดีที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน และพระองค์ยังได้พระราชนิพนธ์บทเพลงขยายออกไปอีกมาก เช่น บทเพลงประจำสถาบันต่างๆ ซึ่งทำให้คนร้องเกิดความผูกพันและความรักมากขึ้น
#LueHistory #เพลงพระราชนิพนธ์
The podcast currently has 89 episodes available.