Podcast..รายการหนึ่งถ้วยกาแฟ..อองซานซูจี33
🤩🤩พม่าตัดอินเทอร์เน็ตและประจำการทหารทั่วประเทศในวันจันทร์ 15 ก.พ.64 ในสัญญาณแห่งความกังวลว่าอาจมีการปราบปรามบรรดาผูุ้ประท้วงต่อต้านรัฐประหาร ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากกองกำลังความมั่นคงยิงสลายการชุุมนุมทางภาคเหนือของประเทศ
🤩🤩คณะรัฐประหารยกระดับความพยายามสยบแคมเปญอารยะขัดขืนที่กำลังขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้ข้อเรียกร้องให้คืนสถานะแก่นางอองซานซูจี ผู้นำที่ถูกยึดอำนาจ
🤩🤩ความเคลื่อนไหวตัดอินเทอร์เน็ตในวันจันทร์ 15 ก.พ.64 และคำร้องจากสหประชาชาติที่ขอส่งผู้สังเกตการณ์เข้าไป มีขึ้นไม่นานหลังจากปรากฏภาพถ่ายทอดสดบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ เป็นภาพยานยนต์ของกองทัพและทหารกำลังเคลื่อนผ่านบางพื้นที่ของประเทศ
🤩🤩กลุ่มสังเกตการณ์ NetBlocks ระบุว่า การตัดขาดข้อมูลที่สั่งการโดยรัฐ ทำให้เกือบทุกหย่อมหญ้าในพม่าอยู่ในภาวะออฟไลน์
🤩🤩ทหารในเมืองมิตจีนา เมืองเอกของรัฐกะฉิ่น ยิงแก๊สน้ำตา ตามด้วยเปิดฉากยิงเข้าใส่ฝูงชนที่รวมตัวกันในเมืองทางภาคเหนือของประเทศแห่งนี้ หลังมีข่าวลือว่ากองทัพตั้งใจที่จะตัดกระแสไฟฟ้า ผู้สื่อข่าวรายหนึ่งที่อยู่ ณ จุดเกิดเหตุ ระบุไม่เป็นที่ชัดเจนว่าตำรวจใช้กระสุนยางหรือกระสุนจริง
🤩🤩สื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่า มีผู้สื่อข่าวที่สังเกตการณ์การชุมนุมอย่างน้อย 5 คนถูกจับกุม และมีการเผยแพร่ภาพผู้ได้รับบาดเจ็บบางส่วนจากเหตุการณ์นี้
🤩🤩เอกอัครราชทูตจากสหรัฐฯ, สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ออกถ้อยแถลงร่วม เรียกร้องกองกำลังด้านความมั่นคงอย่าทำร้ายพลเรือน “เราเรียกร้องกองกำลังด้านความมั่นคงอดทนอดกลั้นจากการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ซึ่งออกมาประท้วงต่อต้านการโค่นล้มรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของพวกเขา”
🤩🤩อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ สะท้อนเสียงเรียกร้องดังกล่าว กดดันให้พวกเจ้าหน้าที่พม่า “รับประกันว่าจะให้ความเคารพอย่างเต็มที่ต่อสิทธิการชุมนุมอย่างสันติ และพวกผู้ประท้วงต้องไม่ถูกแก้แค้น”
🤩🤩ขณะเดียวกัน โฆษกของกูเตอร์เรสได้เรียกร้องกองทัพเปิดทางอย่างเร่งด่วน อนุญาตให้ คริสติน ชราเนอร์ เบอร์เกเนอร์ ผู้แทนทูตชาวสวิตเซอร์แลนด์ เดินทางเยือนพม่า “เพื่อลงพื้นที่ประเมินสถานการณ์จริง”
🤩🤩สถานทูตสหรัฐฯ ออกคำแนะนำพลเมืองอเมริกันให้อยู่แต่ในที่พักอาศัย ไม่เสี่ยงฝ่าฝืนเคอร์ฟิวยามค่ำคืนที่กำหนดโดยคณะรัฐประหาร
🤩🤩พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตกอยู่ท่ามกลางความโกลาหล นับตั้งแทหารควบคุมตัวอองซานซูจี และพันธมิตรทางการเมืองระดับสูงของเธอในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ยุติกระบวนการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยอันเปราะบางอายุราวๆ 1 ทศวรรษ หลังจากก่อนหน้านั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของทหารมาหลายยุคหลายสมัย
🤩🤩เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อยู่ภายใต้คำสั่งกักบริเวณนนานหลายสิบปีในยุคเผด็จการก่อนหน้านี้ และไม่ถูกพบเห็นต่อสายตาสาธารณะอีกเลยนับตั้งแต่เธอถูกทหารควบคุมตัว
🤩🤩การตัดอินเทอร์เน็ตเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ล้มเหลวในความพยายามสยบการลุกฮือต่อต้าน โดยพบเห็นฝูงชนจำนวนมากชุมนุมกันตามย่านใจกลางเมืองขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่นเดียวกับตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนที่อยู่ห่างไกล
🤩🤩พวกคนงานที่ผละงานประท้วงซึ่งเป็นหัวหอกของแคมเปญอารยะขัดขืน เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ประท้วงอย่างน้อย 400 คนที่ถูกควบคุมตัวนับตั้งแต่รัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ความหวั่นกลัวว่าจะถูกจับกุมไม่สามารถขัดขวางฝูงชนจำนวนมากจากการกลับสู่ท้องถนนสายต่างๆ ทั่วประเทศเป็นวันที่ 9 ติดต่อกันเมื่อวันอาทิตย์ 14 ก.พ.64
🤩🤩ในเมืองทวาย ทางภาคใต้ของประเทศ เจ้าหน้าที่ตำรวจ 7 นายแตกแถว หันไปเข้าร่วมกับพวกผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร สะท้อนรายงานข่าวขอสื่อมวลชนท้องถิ่นที่ระบุว่ามีการแปรพักตร์และการขัดขืนหลายๆ กรณีในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
🤩🤩กรมการบินพลเรือนระบุในคำแถลงว่า มีเจ้าหน้าที่จำนวนมากหยุดทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.64 เป็นผลให้เที่ยวบินระหว่างประเทศล่าช้า
🤩🤩นักบินรายหนึ่งที่ขอไม่เปิดเผยชื่อด้วยกลัวว่าจะได้รับผลกระทบกล่าวว่า เจ้าหน้าที่หลายร้อยคนของกรมการบินพลเรือนกำลังผละงานประท้วง และมีทหารอยู่รอบสนามบินนานาชาติย่างกุ้งในคืนวันอาทิตย์ 14 ก.พ64
🤩🤩สื่อท้องถิ่นรายงานว่า รถไฟในบางพื้นที่ของประเทศหยุดวิ่งหลังจากเจ้าหน้าที่ปฏิเสธที่จะไปทำงาน ขณะที่กองทัพได้ส่งกำลังทหารไปยังโรงไฟฟ้าที่พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับฝูงชนที่โกรธแค้น
🤩🤩รัฐบาลทหารได้สั่งให้ข้าราชการกลับเข้าทำงานและขู่ว่าจะดำเนินการ ส่วนกองทัพยังดำเนินการจับกุมคนจำนวนมากในเวลากลางคืน และเมื่อวันเสาร์ 13 ก.พ.64 ยังได้เพิ่มอำนาจให้กับตนเองในการเข้าควบคุมตัวประชาชนและค้นทรัพย์สินส่วนตัว
🤩🤩พนักงานการรถไฟหลายร้อยคนได้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงในนครย่างกุ้งเมื่อวันอาทิตย์ 14 ก.พ.64 แม้ว่าตำรวจจะไปยังที่พักของพวกเ