Share โพ้นทะเลเสวนา
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By Thai Students Overseas - นักเรียนไทยโพ้นทะเล
The podcast currently has 8 episodes available.
ในตอนนี้ ดิน บัวแดง และ ปราน จินตะเวช ชวน “กฤตพล วิภาวีกุล” ผู้มีความสนใจเกี่ยวกับจักรพรรดิญี่ปุ่นมาคุยเรื่องกำเนิดและพัฒนาการของอุดมการณ์ชาตินิยมกับระบอบประชาธิปไตยที่มีจักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ในญี่ปุ่น
โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและลักษณะเฉพาะของระบบจักรพรรดิในญี่ปุ่น โดยจะพูดถึงประวัติศาสตร์การเมืองของญี่ปุ่นและความเปลี่ยนแปลงของสถาบันจักรพรรดิในภาพรวม ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศจนถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจะเน้นไปที่ความเปลี่ยนแปลงของบทบาทและอิทธิพลของจักรพรรดิญี่ปุ่นในแต่ละยุคสมัย พร้อมไปกับความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเมือง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสมัยใหม่ในยุคเมจิ ตั้งแต่ ค.ศ. 1868 จนกระทั่งพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนบทบาทของสหรัฐที่มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่นให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ และสยายปีกแผ่อำนาจเข้าครอบงำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงทศวรรษ 1950-1970
การเสวนานี้เป็นการพูดคุยต่อจากบทความของกฤตพล วิภาวีกุล เรื่อง “ซามูไร ศักดินา และพญาอินทรี: กำเนิดและพัฒนาการของอุดมการณ์ชาตินิยมกับระบอบประชาธิปไตยที่มีจักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ในญี่ปุ่น” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/06/22/samurai-feodalism-eagle/)
โปรดติดตามบทความใหม่ ๆ ได้ที่บล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)
ในตอนนี้ ณัฐนพ พลาหาญ และ ณัฐพล อึ้งทม ชวน “ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์” ผู้สนใจการเมือง สังคม และวัฒนธรรมเวียดนาม มาคุยกันเรื่องบทบาทที่เปลี่ยนไปของสถาบันกษัตริย์เวียดนามตั้งแต่ยุคอาณานิคมจนถึงสงครามเวียดนาม
โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะพาท่านผู้ชมไปสำรวจบทบาทของกษัตริย์เวียดนามภายใต้เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส พร้อมกับทำความเข้าใจว่าเหตุใดสถาบันกษัตริย์เวียดนามจึงเสื่อมความนิยมลงจนนำไปสู่การสละราชสมบัติในปี 1955 และการลงมติถอดถอนเบ๋าได่ออกจากตำแหน่งพระจักรพรรดิอีกครั้งในปี 1955
การเสวนานี้เป็นการพูดคุยต่อจากบทความของปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ เรื่อง “1955 ปีที่เวียดนาม (ใต้) ลงมติถอดถอนกษัตริย์” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/06/30/1955-the-year-vietname-abolished-the-monarchy/)
โปรดติดตามบทความใหม่ ๆ ได้ที่บล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)
ในตอนนี้ ดิน บัวแดง และ พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ ชวน “ณัฐพล อิ้งทม” ผู้สนใจประวัติศาสตร์การเมืองลาวสมัยใหม่ มาคุยกันเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์การเมืองลาวและสถาบันกษัตริย์ลาวโดยเน้นหนักในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาของประเทศลาวและสถาบันกษัตริย์ลาวโดยสังเขป ก่อนที่จะพูดถึงประวัติศาสตร์การเมืองยุคราชอาณาจักรระหว่าง ค.ศ.1945-1975 ในภาพรวม ซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมืองภายในที่ได้รับอิทธิพลจากสงครามเวียดนาม ตลอดจนความเป็นไปของสถาบันกษัตริย์ลาว ที่นำมาสู่ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์และการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์อย่างสิ้นเชิง รวมไปถึงกระแสนิยมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในยุค สปป.ลาว
การเสวนานี้เป็นการพูดคุยต่อจากบทความของณัฐพล อิ้งทม เรื่อง “สถาบันกษัตริย์ลาวในการเปลี่ยนผ่านจากยุคอาณาจักรสู่รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/02/12/laos-from-kingdom-to-peoples-republic)
โปรดติดตามบทความใหม่ ๆ ได้ที่บล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)
ในตอนนี้ พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง และ อติเทพ ไชยสิทธิ์ ชวน “พีรวิชญ์ ขันติศุข” ผู้ศึกษาเรื่องการเลือกตั้งในช่วงเปลี่ยนผ่านและผู้หลงใหลในการเมืองสเปนร่วมสมัยมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในคำถามที่ว่า “กษัตริย์สเปนเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยจริงหรือ?” และ “ทำไมผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากระบอบเผด็จการถึงยอม “ฆ่าตัวเองตาย” เพื่อการปฏิรูปไปสู่ประชาธิปไตย?”
โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้ จะพาทุกท่านย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๗๐-๑๙๘๐ ของสเปนในฐานะประเทศที่ประชาธิปไตยกำลังก่อร่างสร้างตัว เพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการปรับตัวของสถาบันทางการเมืองจากระบอบ “ผู้นำเผด็จการทหารทำตามอำเภอใจที่สุดในโลก” ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่มั่งคงได้อย่างทุกวันนี้ได้อย่างไร
งานเสวนานี้เป็นการคุยผ่านบทความของพีรวิชญ์ ขันติศุขเรื่อง “กษัตริย์นักประชาธิปไตย (?) : สถาบันกษัตริย์สเปนในช่วงเปลี่ยนผ่าน” ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2021/01/13/spanish-monarchy-transition/)
โปรดติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่บล็อก "นักเรียนไทยโพ้นทะเล" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/)
หมายเหตุ: แก้ไขสิ่งที่พูดผิดในคลิปนี้ ดังต่อไปนี้
นาที 4:25 - ในปี 1931 แก้เป็น 1981
นาที 12:06 - ในปี 1936 แก้เป็น 1933
นาที 1:01:29 - พรรคฝ่ายค้าน แก้เป็น พรรคฝ่ายซ้าย
นาที 1:05:55 - ในปี 2014 แก้เป็น 2012
ในตอนนี้ ดิน บัวแดงและคีตนาฏ วรรณบวร ชวน "พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ" นักศึกษาจากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเลเดน ประเทศเนเธอแลนด์ มาคุยถึงประวัติศาสตร์ ๔๐๐ กว่าปีของสถาบันกษัตริย์เนเธอแลนด์
โพ้นทะเลเสวนาในตอนนี้จะพาไปสำรวจที่มาที่ไปของสถาบันกษัตริย์ในเนเธอร์แลนด์ รวมไปถึงรูปแบบทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของผู้ปกครองดัตช์ โดยเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เมื่อมีการก่อตั้งสถาบันทางการเมืองที่เรียกว่าสภาผู้แทนจังหวัดทั่วไป (Staten-Generaal) ไปจนถึงการปฏิรูปที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญในปี ๑๘๔๘
งานเสวนานี้เป็นการคุยผ่านบทความชิ้นล่าสุดของพิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ ในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล
"จากผู้ครองเมืองสู่กษัตริย์แห่งเนเธอแลนด์: เส้นทาง รูปแบบทางวัฒนธรรม และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ในเนเธอแลนด์ (1464-1848)" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2020/12/20/from-stadhouder-to-koning-der-nederlanden/)
โปรดติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่บล็อก "นักเรียนไทยโพ้นทะเล" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)
ในตอนนี้ สุญญาตา เมี้ยนละม้ายและอติเทพ ไชยสิทธิ์ชวน “พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง” ผู้สนใจประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาอังกฤษศตวรรษที่ ๑๘ มาคุยกันเรื่องการนำเอาประวัติศาสตร์หรือแนวคิดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อังกฤษโดยผู้ที่มีส่วนเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทยมาใช้อย่างผิดฝาผิดตัว (รวมทั้งที่เข้าใจผิด) ทั้งในแง่ของบริบททางประวัติศาสตร์และห้วงเวลา
พลอยใจชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ ตั้งแต่ยุคสงครามกลางเมือง ยุคจักรวรรดิ และยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องผ่านการต่อรองทางอำนาจกับระบอบรัฐสภา รวมถึงความสลับซับซ้อนของระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณี (Common law) ที่ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้สนับสนุนฝ่ายกษัตริย์เสมอไป
งานเสวนานี้เป็นการคุยผ่านบทความชิ้นล่าสุดของพลอยใจ ปิ่นตบแต่งในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล
“ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับความ (ไม่) เข้าใจสถาบันกษัตริย์อังกฤษในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย” (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2020/12/12/british_monarchy_and_misunderstanding_in_thai_politics/)
โปรดติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่บล็อก "นักเรียนไทยโพ้นทะเล" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)
ในตอนนี้ ดิน บัวแดงและอติเทพ ไชยสิทธิ์ชวน "ณัฐนพ พลาหาญ" นักศึกษาปริญญาเอกด้านสื่อที่ประเทศรัสเซีย มาคุยกันถึงการตอบสนองของสถาบันกษัตริย์รัสเซีย (สถาบันซาร์) ต่อสภาพสังคม-การเมืองที่มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นหลังการประท้วงอย่างสันติของผู้ใช้แรงงานที่จบลงด้วการปราบปรามอย่างนองเลือดในเหตุการณ์ "วันอาทิตย์เลือด" แห่งปี ค.ศ. ๑๙๐๕ บทบาทของสถาบันกษัตริย์รัสเซียในห้วงเวลานี้เอง ถือเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่พารัสเซียไปสู่ "การปฏิวัติเดือนตุลาคม" ในอีกเพียง ๑๒ ปีต่อมา
งานเสวนานี้เป็นการคุยผ่านบทความของณัฐนพ พลาหาญในบล็อกนักเรียนไทยโพ้นทะเล
Land of compromise: สถาบันซาร์รัสเซียกับความพยายามเปลี่ยน(ไม่)ผ่านสู่ประชาธิปไตย
(https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2020/11/18/land-of-compromise-russian-monarchy/)
โปรดติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่บล็อก "นักเรียนไทยโพ้นทะเล" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)
ชุดการเสวนานี้ เกิดจากความตั้งใจของกลุ่มนักเรียนไทยโพ้นทะเล ในการร่วมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยเป็นการส่งเสริมการขบคิด พูดคุย ถกเถียง ในประเด็นเรื่องยุคเปลี่ยนผ่านของสถาบันกษัตริย์ ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ถือเป็นแนวทาง "วิชาการ" ที่เข้ามาเสริมการเคลื่อนไหวในระยะหลังที่มีเพิ่มมากขึ้นในหมู่นักเรียนไทยในต่างประเทศ คือการชุมนุม และการล่ารายชื่อออกแถลงการณ์
ในตอนแรกนี้ ดิน บัวแดงชวน "อติเทพ ไชยสิทธิ์" มาคุยถึงการเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันของคณะราษฎร ๖๓ ผ่านบทความล่าสุดสองชิ้นของเขา คือ
๑.) ทำไมต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์? (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com/2020/08/17/monarchy_reform/)
๒.) ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์: การเดินทัพทางไกลของสังคมไทย (https://www.the101.world/the-long-march-of-monarchy-reform/)
โปรดติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่บล็อก "นักเรียนไทยโพ้นทะเล" (https://thaistudentsoverseas.wordpress.com)
The podcast currently has 8 episodes available.