Share Safe Food Good Health
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By MSc Program in Toxicology and Nutrition for Food Safety
The podcast currently has 3 episodes available.
บนผิวแอปเปิ้ลที่มีรอยช้ำหรือเน่าเสีย อาจมีสารพิษพาทูลิน หรือแพท (PAT) ซึ่งมาจากเชื้อรา ที่ก่อพิษได้โดยยับยั้งการทำงานของกลูต้าไธโอน ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระ และการอักเสบ ทั้งยังจับกับสารพันธุกรรม (DNA) ทำให้ยีนกลายพันธุ์ได้ แม้จะยังไม่มีรายงานว่าก่อมะเร็งในมนุษย์ได้หรือไม่ แต่มีรายงานวิจัยพบว่า ก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ถ้ากินต่อเนื่องนานๆ ถ้าไม่อยากเป็นสโนว์ไวท์หรือหนูน้อยหมวกแดงที่ถูกพิษจากแอปเปิ้ล ก็ต้องช่วยกันดูแล ตั้งแต่ขั้นตอนเก็บผลผลิตที่ต้องหลีกเลี่ยงที่ร้อนชื้น ขั้นตอนคัดแยกบรรจุก็คัดผลที่มีรอยช้ำออก และเมื่อเราซื้อมาบริโภคก็ไม่ควรเก็บไว้เป็นเวลานาน ถ้าเห็นแอปเปิ้ลมีรอยช้ำหรือเน่าเสีย อย่าเสียดาย โยนทิ้งเลยดีกว่า เพราะสาร PAT อาจกระจายอยู่ทั่วลูกแล้วโดยเรามองไม่เห็นก็เป็นได้
ขอขอบคุณน้องหมูหวาน พรทิพย์ คำพูล นักศึกษา ป.โท หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำหรับพอดแคสต์ ดีๆนี้ด้วยนะคะ
หนึ่งในสารอาหารจำเป็นที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน ก็คือวิตามินซีค่ะ ตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่ฟันธงว่า การรับประทานวิตามินซีเสริมจะช่วยป้องกันโควิด ได้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือ การขาดวิตามินซีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ บนโลกที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงจากโรคระบาด ข้อแนะนำที่ดีที่สุดตอนนี้คือ สำรวจตัวเองค่ะว่า ใน 1 วันเรารับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเพียงพอหรือยัง ทานฝรั่งได้ 1 ผล ส้ม 2 ลูก น้ำส้ม หรือน้ำทับทิมหรือน้ำมะเขือเทศ 1 กล่อง ส้มโอ 1 ขีด (100 กรัม) หรือไม่? ถ้าไม่ชอบหรือทานน้อย ก็อาจพิจารณาทานอาหารเหล่านี้เพิ่ม หรือรับวิตามินซีเสริมแต่ก็ไม่ควรกินมากไป วันหนึ่งไม่ควรกินวิตามินซีเกิน 2000 มิลลิกรัม ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเพียงพอก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้บ้างค่ะ
ขอบคุณน้องปรียารัฐ คีรีรมย์ นักศึกษา ป.โท หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำหรับ content ดีๆนี้ด้วยนะคะ
ขณะนี้มีงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ในหลายประเทศเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเสริมสังกะสี ต่อการลดการติดเชื้อหรือลดความรุนแรงของอาการของโรคโควิด 19 สังกะสีเป็นแร่ธาตุจำเป็น ต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ต่อต้านการอักเสบของปอด ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ เราทุกคนควรบริโภคอาหารที่มีสังกะสีให้เพียงพอ โดยอาหารที่มีสังกะสีสูงได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และถั่วต่างๆ หากเราบริโภคอาหารเหล่านี้เป็นประจำน่าจะทำให้ได้รับสังกะสีเพียงพอ และไม่จำเป็นต้องกินสังกะสีเสริม แต่หากไม่มั่นใจว่าได้รับสังกะสีเพียงพอหรือไม่ ก็แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อประเมินว่า ขาดสังกะสีหรือไม่ จำเป็นต้องบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือไม่ หากรับประทานเสริม ใน 1 วันไม่ควรรับประทานสังกะสี เกิน 40 มิลลิกรัม
ขอบคุณน้องหนึ่งฤทัย ครุฑคาบแก้ว นักศึกษา ป.โท หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สำหรับ content ดีๆนี้ด้วยนะคะ
The podcast currently has 3 episodes available.