Share World-PEC นำนั่งสมาธิ ง่ายแต่ลึก
Share to email
Share to Facebook
Share to X
จะรู้จักคำว่า ความสุข หรือสิ่งที่ความสุขมี หรือเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่าความสุข เข้าถึงจิตวิญญาณของความเป็นสุข เนื้อหนังของความสุข มันต้องใจหยุดนิ่ง คำ ๆ นี้จึงจะปรากฏเกิดขึ้น
หยุดนิ่งแม้เพียงนาทีเดียวนี่ ก็คุ้มแล้ว สำหรับการเริ่มต้นนะ สักนาทีหนึ่ง แวบหนึ่ง ให้เราได้รู้จักกับประสบการณ์ภายในว่า ใจหยุดนิ่งเป็นอย่างไร แล้วเราก็จะเริ่มรู้สึกชอบ เกิดความพึงพอใจ เพราะหยุดนิ่งแค่นาทีเดียวเท่านั้น ความรู้สึกมันจะแตกต่างจากใจไม่หยุดราวฟ้ากับดินเลย เพราะกายมันจะเบา ใจจะเบาสบาย ตัวขยาย จะเบิกบาน แค่นาทีเดียวและเป็นครั้งแรก เราจะลืมไม่ลงเลย
เราจะมีสุขทุกวันทุกคืนไปจนกระทั่งหมดอายุขัย ซึ่งเป็นชีวิตในอุดมคติที่เศรษฐี มหาเศรษฐีต้องการ แต่เขาขาดแคลนความรู้ตรงนี้ว่า อะไรจะทำให้เขาเกิดความพึงพอใจสูงสุด เมื่อเขาเข้าใจว่า ทรัพย์เป็นสิ่งที่จะทำให้เขาได้ความรู้สึกเช่นนั้น เขาก็แสวงหาทรัพย์ แต่เมื่อได้มาแล้วก็อยากได้อีกโดยไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ไม่เจอความพึงพอใจอันสูงสุด ที่เป็นอย่างนี้เพราะเขายังไม่รู้ว่า เขายังไม่รู้อะไรเลย เขาไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
อารมณ์สบาย คือ ทางสายกลางนั่นเอง ที่ไม่ใช่สายตึงหรือสายหย่อน หมั่นสังเกตว่า ทำอย่างไรเราถึงจะได้อารมณ์นี้ เราเผลอไปทำอย่างไร อารมณ์นี้ถึงหลุดจากใจของเรา สังเกตแล้วเราก็ปรับปรุงแก้ไข พร้อมจะเริ่มต้นใหม่ Set Zero ใหม่ อย่างง่ายๆ ณ จุดสบาย ไม่ว่าจะนอกตัว ในตัว หรือกลางตัว
โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปรับลูกนัยน์ตา ต้องอยู่ในองศาเดิม อย่ากดลงไปโฟกัสลงไปที่ศูนย์กลางกาย อย่างนี้ไม่ถูก คือพยายามที่จะโฟกัส ยิ่งกดลูกนัยน์ตา ยิ่งเครียด ยิ่งเพ่ง คิ้วจะขมวดเข้าหากันเลย แล้วมันก็เหนื่อย ไม่ได้ผล เพราะจิตหยาบ ความจริงเราไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร เหมือนเราเดินไป ทั้งๆ ลูกนัยน์ตาอยู่ในองศาที่มองไปข้างหน้า ดูคน ดูแผ่นป้าย ดูรถรา แต่เรารู้ว่าข้างๆ มีคนอยู่ ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ทั้งๆ ที่เรามองเหมือนไม่ได้มอง ก็เรายังมองอยู่ แต่มองด้วยสำนึกลึกๆ มองผ่านๆ อย่างนั้น
เราใช้ทุกกิจกรรมให้เป็นทางมาแห่งบุญ นำมาซึ่งความบริสุทธิ์ นำมาซึ่งการหยุดการนิ่ง อย่างนี้เรียกว่า ไม่ประมาท เหมือนแม่ไก่กกไข่ คือ เฝ้าเพียรกกไข่จนกว่าจะเป็นตัว เวลาไปหาอาหารเสร็จ ใจก็จดจ่ออยู่ที่ฟองไข่ เดี๋ยวก็กลับมากกไข่จนกว่าจะเป็นตัว เราก็ต้องกกใจของเราอยู่กลางกาย ให้เหมือนแม่ไก่กกไข่ เดี๋ยวใจเราจะใส ใจเราจะละเอียด จะเข้าถึงธรรมอย่างง่ายดาย สบายๆ
นิวรณ์ ๕ หรือความมืดที่มาบดบังใจเรา เหมือนดวงตะวันมีอยู่ แต่มีหมู่เมฆดำทะมึนมาบดบังเอาไว้เราจึงมองไม่เห็นดวงตะวัน ภายในใจของเราก็มีนิวรณ์ ๕ มาบดบัง
ไม่ให้เราเห็นแสงสว่างภายใน ดวงธรรม กายภายใน กระทั่งพระธรรมกาย แต่ความมืดนี้จะแพ้ใจที่หยุดนิ่ง
อย่าเป็นคนช่างสงสัย ให้ทำเหมือนหุ่นยนต์ที่ไม่มีมันสมอง ไม่ต้องไปวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ประสบการณ์ว่า ถึงขั้นนั้นขั้นนี้แล้วหรืออะไรต่างๆ ให้ทำตัวเหมือนนักเรียนอนุบาล แม้ตัวจะเป็นผู้ใหญ่ แต่ใจให้อินโนเซนต์เหมือนเด็ก เด็กซึ่งไม่มีความรู้อะไรมากมาย ทำเฉยๆ ไป
ตำแหน่งที่สำคัญของชีวิตคือ ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗
เป็นตำแหน่งแห่งความสุข ความสมปรารถนา ความสมหวังในชีวิต
จากฐานที่ ๑ ถึง ฐานที่ ๖ เป็นทางเดินของใจ แต่ฐานที่ตั้งของใจที่แท้จริง คือ ฐานที่ ๗ เราจะต้องเอาใจมาหยุดนิ่งที่ ฐานที่ ๗ ให้ได้ตลอดเวลาเลย
ฐานที่ ๗ ต้องการแค่ให้รู้จักว่า อยู่ตรงนี้ ไม่ใช่เอาไว้สำหรับไปควานหาว่าอยู่ตรงไหน ไม่ต้องนะ สมมติว่าอยู่กลางท้องในตำแหน่งที่เรารู้สึกว่า สบาย แล้วเราพึงพอใจที่จะเอาใจเรามาวางไว้ตรงนี้
The podcast currently has 15 episodes available.
2 Listeners