Share MacroTalks
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By Kiatnakin Phatra Podcast
The podcast currently has 40 episodes available.
นโยบาย Common prosperity ของจีนที่ต้องการที่จะนำพาประเทศจีนก้าวสู่สังคมที่รุ่งเรืองอย่างทั่วถึงและสร้างความมั่นคงทางสังคม ก็ได้สร้างความปั่นป่วนและเพิ่มความกังวลให้แก่นักลงทุนในตลาดหุ้นจีนเป็นอย่างมาก แล้วอะไรจุดประกายให้จีนดำเนินนโยบายนี้ ? ถ้าหากภาครัฐจะเข้ามากำกับภาคเอกชนมากขึ้น ธุรกิจไหนที่มีจะมีความเสี่ยงสูง ? และผลกระทบต่อธุรกิจไทยจะเป็นอย่างไรหากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ?
พูดคุยกับ
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
และ คุณเคนเน็ท โดนัลท์ นีลเวล (Analyst, KKP Research)
#KKPResearch #KiatnakinPhatra #เกียรตินาคินภัทร #เศรษฐกิจ
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย
(Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
เศรษฐกิจไทยแบบเก่ากำลังไม่เหมาะกับโลกยุคใหม่ที่มีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล...
พูดคุยกับ คุณธนัชพร นันทาภิวัธน์ (Analyst, KKP Research)
และ คุณลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ (Economic Analyst, KKP Research)
1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาเป็นวันแรกที่ไทยเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจาก 63 ประเทศที่ฉีดวัคซีดครบโดยไม่ต้องกักตัว นับเป็นการเปลี่ยนนโยบายเป็นการ “อยู่ร่วมกับโควิด” ครั้งสำคัญ และมีนัยต่อเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการท่องเที่ยวสูง โดย KKP Research มองว่าเศรษฐกิจไทยจะโตได้ 3.9% ในปี 2565 ด้วยคาดการณ์นักท่องเที่ยวทั้งปี 5.8 ล้านคน
คำถามสำคัญคือตัวเลขนี้บอกอะไรต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ในภาวะที่การฉีดวัคซีนครบจำนวนโดสยังอยู่เพียงราวครึ่งหนึ่งของประชากร ขณะที่ยังมีประเด็นที่ต้องจับตาจากทั้งในและนอกประเทศ ทั้งความเสี่ยงจากการระบาดรอบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นแม้อัตราการฉีดวัคซีนสูง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น จังหวะการขยับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด รวมถึงการฟื้นตัวที่แผ่วลงของเศรษฐกิจจีน
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
และ ดร.ชินวุฒิ์ เตชานุวัตร์ (Industry Research, KKP Research)
ข่าว “ดูดเงินเกลี้ยงบัญชี” ได้รับความสนใจอย่างมากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะกระทบคนเป็นหมื่นคน สร้างความเสียหายนับร้อยล้านบาท ทำให้หลายคนสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่ เงินรั่วไปทางไหน เรารู้อะไรและไม่รู้อะไร และเรื่องแบบนี้จะป้องกันได้อย่างไร
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
และ คุณณัฐ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ติดตามข่าวนี้อย่างใกล้ชิด
หลังจากที่เราเห็นอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงในระดับ 4-5% ต่อเนื่องกันหลายเดือน ประเด็นสำคัญที่ถกเถียงกันตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มเห็นตัวเลขเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นคือเงินเฟ้อครั้งนี้จะกลับมา “ชั่วคราว (transitory)” หรือ “ถาวร (persistent)” คำตอบขึ้นอยู่กับคำถามสำคัญอีกคำถามว่า อะไรคือปัจจัยหลักของเงินเฟ้อในรอบนี้ ระหว่างปัจจัยจากฝั่งอุปสงค์ (demand-pull) หรือฝั่งอุปทาน (cost-push) แล้ว FED และธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกจะเริ่มเข้ามามี action อะไรต่อจากนี้ ความเสี่ยงเงินเฟ้อพร้อมกับเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงหลังจากนี้ (stagflation) จะน่ากังวลเหมือนที่ Jerome Powell ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ถึงกับบอกว่าเป็นอะไรที่น่าอึดอัดใจ “frustrating” จริงมั๊ย และสุดท้ายเราจะปรับทิศทางการลงทุนในโลกที่มีเงินเฟ้ออย่างไรดี
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
และ คุณวรเทพ วงศ์วิริยะสิทธิ์ (Analyst, KKP Research)
ย้อนหลังกลับไป 4-5 ปีก่อนการระบาดของโควิดค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่ามาโดยตลอด จากหลายปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่องจากทั้งดุลการค้าและบริการ อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องจนใกล้แตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ฯ อ่อนค่าที่สุดในรอบปีและมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค คำถามที่หลายคนสงสัย คือ ปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงมากในปีนี้ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจคืออะไร เงินบาทจะอ่อนค่าตลอดไปไหม และปัจจัยอะไรที่จะเปลี่ยนให้บาทกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
และ คุณลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ (Economic Analyst, KKP Research)
ความกังวลและความผันผวนในตลาดการเงินโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก เมื่อ Evergrande บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีน ซึ่งมีหนี้ขนาดใหญ่สูงถึง 10 ล้านล้านบาท มีความน่าจะเป็นสูงที่จะผิดนัดชำระหนี้ แต่คำถามที่สำคัญคือ วิกฤตครั้งนี้เกิดขึ้นจาก Evergrade คนเดียว หรือ มีต้นตอบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีน? สถานการณ์ของ Evergrande จะลุกลามกลายไปเป็นวิกฤตการเงินครั้งใหญ่คล้ายปี 2008 หรือไม่? ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนโดยรวมคืออะไรแล้วจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในช่องทางไหนได้บ้าง?
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
และ คุณเคนเน็ท โดนัลท์ นีลเวล (Analyst, KKP Research)
สัญญาณความขัดแย้งและการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีนเริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มเครื่องยนต์ใหม่ในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ห้กับพลเมือง รวมไปถึงเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นคงให้แก่ประเทศได้ โดยการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี AI เทคโนโลยีพลังงานสะอาด หรือเทคโนโลยีอวกาศ แต่จริงๆแล้ว ศูนย์กลางของการแข่งขันและความขัดแย้งทางเทคโนโลยีจะอยู่ที่เทคโนโลยีอะไร? ความเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง ? แล้วผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร? เมืองไทยจะสามารถเป็นฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ได้หรือไม่?
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
และ คุณเคนเน็ท โดนัลท์ นีลเวล (Analyst, KKP Research)
ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง กำลังสร้างความเสี่ยงกับแรงงานทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานทักษะต่ำที่อาจถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และนวัตกรรมใหม่ ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีเหล่านี้ก็สร้างงานรูปแบบใหม่ที่ต้องอาศัยทักษะการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม เรียกได้ว่าตลาดแรงงานในโลกอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทั้งในมิติของทักษะที่ต้องใช้และรูปแบบการทำงาน งานแบบไหนที่จะถูกกระทบ? งานแบบไหนที่จะยังเติบโตได้ดีในอนาคต? แรงงานต้องปรับตัวอย่างไร? และอะไรคือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น?
พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย (Chief Economist, Kiatnakin Phatra Securities)
The podcast currently has 40 episodes available.