Share Make Learning Great Again ๆๆ
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
The podcast currently has 9 episodes available.
nugget ice ช่วยนำพา GE เข้าสู่การเป็นองค์กรในยุคดิจิทัลได้อย่างไร องค์กรดิจิทัลมี "สถาปัตยกรรม" หรือองค์ประกอบอะไรบ้าง? มีลักษณะเด่นและข้อได้เปรียบอย่างไรบ้าง? แต่ละองค์ประกอบมีไว้เพื่ออะไร แตกต่างจากองค์กรในยุคเดิมอย่างไร และที่สำคัญ บุคลากรจะต้องมีทักษณะใดบ้าง? ในตอนแรกนี้พบกับแนวคิด Actor-Oriented Architecture จากบทความเรื่อง Designing the Digital Organization ของ Charles C Snow et al (ทีมงานอาจารย์จาก Penn State, Norway, และ Columbia Business School) ที่แบ่งองค์ประกอบขององค์กรดิจิทัลเป็น 3 ส่วน คือ Actors, Commons และ Protocols ที่ทำงานร่วมกันเพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย เพิ่มประสิทธิภาพแบบก้าวกระโดด แต่ละส่วนมีลักษณะอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร บุคลากรจะต้องมีหน้าที่และแรงจูงใจอะไรบ้าง? ไปรับฟังกันเลย!
เชิญร่วมตะลุย อิหร่าน ดินแดนที่มีคุณูปการต่อวงการอัลกอริทึม ตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ท่าน al-Khwarizmi และ Hadi Partovi จะชวนให้ทุกท่านตระหนักถือความสำคัญของ Computational Thinking ในการพัฒนาประเทศและความเท่าเทียมกันของสังคม อะไรคือเป้าหมายของการสอนทักษะนี้แก่เด็กและเยาวชน? วิชาศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม การฑูต ฯลฯ เกี่ยวข้องกับทักษะนี้อย่างไร? นักเรียนจะได้อะไรจากการฝึกฝน? และถ้าทุกคน "คิดเชิงคำนวณ" ใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาไปเสียทุกเรื่อง จะเป็นเรื่องดีจริงหรือ? องค์ประกอบของ Computational Thinking ประกอบด้วยอะไรบ้าง? มาร่วมพิจารณาตัวอย่างของพิซซ่าหน้าต้มยำกุ้ง -- บันทึกเสียงจากการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำคอมพิวเตอร์ รุ่นที่ 4 ปีที่ 2 หลักสูตร Computing Science จัดโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ณ ห้อง Convention Hall โรงแรมรอแยล เบญจา 2 ส.ค. 2560
บันทึกการให้สัมภาษณ์ที่ สวทน. เรื่อง crowdsourcing และไอเดียการใช้ digital brain gain เพื่อสู้ physical brain drain ของ Prof Steffen Roth เนื้อหาประกอบด้วย Joy's Law (ใครคือจอย? จอยสร้างกฎอะไร?) ประเภทต่างๆ ของ crowdsourcing, ReCAPTCHA เกี่ยวข้องกับ Duolingo ยังไง? เกม Fold-It ช่วยไขปัญหาโปรตีนที่เกี่ยวกับ HIV ได้อย่างไร ภายในเวลา 3 สัปดาห์ (ทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญพยายามมาเป็นสิบปี!) การต่อสู้ของ "serial ideators" เช่น data scientist บน Kaggle และนักการตลาดบน Atizo, คอนเซ็ปต์ของ Open Innovation Continuum และการเปิดใจรับกลยุทธ์นี้ เพื่อรวมพลังของคนไทยพลัดถิ่นที่มีจิตใจรักชาติ ให้สามารถช่วยชาติได้ (บันทึกเสียง ณ จามจุรีสแควร์ 4 ก.ค. 2560)
Ψ Talk เป็นอนุกรม (series) ของการบรรยายสาธารณะที่มีกรอบหัวข้อของการบรรยายกว้างๆ สามกรอบ คือ Philosphy, Science และ Innovation จัดโดยสถาบันการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ใน มจธ. เชิญฟัง ดร. ภูมิ ภูมิรัตน และ ผศ. ดร. สิขรินทร์ อยู่คง บรรยายในหัวข้อ Cyber Security in the Advent of Quantum Computer เนื้อหาประกอบด้วยหลักการพื้นฐานของการเข้ารหัส รหัสแบบสมมาตรและไม่สมมาตร การสร้าง hash ทฤษฎีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ "ฟังก์ชันที่ยาก" แต่อาจไม่ยากอีกต่อไปในยุค Quantum (บันทึกเสียงจากการบรรยายสด 30 มิ.ย. 2560)
Artificial Intelligence (AI) จะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมั่งคั่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ราคาของ AI ที่สังคมต้องร่วมกันจ่าย คือ ภาวะตกงานของคนหมู่มาก ทางเลือกของสังคมในการรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้คืออะไร? การต่อต้านเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้หรือไม่? ระบบการศึกษาควรเตรียมคนให้พร้อมเผชิญโลกยุคใหม่ โดยเน้นทักษะทางด้านใด? คนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ จะต้องตกงานแน่ๆ ใช่หรือไม่? Service Jobs of Love คืออะไร? ร่วมขบคิดกับการเล่าข่าวจาก 2 แหล่ง: On Point Podcast โดย Tom Ashbrook เรื่อง Machine Over Mind in a New Economy และบทความ OP-ED ใน New York Times โดย Kai-Fu Lee เรื่อง The Real Threat of Artificial Intelligence
คุยข่าวตอนที่ 3 ของซีรีส์ Education Disrupted โดย Natasha Singer ใน New York Times วันนี้เป็นเรื่องการผลักดันให้โรงเรียนในสหรัฐฯ สอนเขียนโปรแกรม โดยบริษัทด้าน IT ต่างลงขันในโครงการ code.org ซึ่งปัจจุบันมีงบประมาณ $60 ล้าน มีผู้เรียนกว่า 100 ล้านคน ครูได้รับการอบรมแล้วกว่า 57,000 คน ผลักดันให้เกิดการแก้กฎหมายการศึกษาแล้วใน 24 รัฐทั่วประเทศ เชิญสนทนาร่วมกับแขกรับเชิญพิเศษ ดร. ปิยธิดา กล่ำภู่ (อ.นก ม.แม่โจ้) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่าง "สั่นสะเทือนเลือนลั่น" ครั้งนี้ เทียบกับปรากฏการณ์ Uber และ Airbnb ร่วมกันขบคิดเรื่องโอกาสและความท้าทาย -- เราจะฉวยโอกาสนี้มาให้ประเทศไทยอย่างไรดี?!
Ψ Talk เป็นอนุกรม (series) ของการบรรยายสาธารณะที่มีกรอบหัวข้อของการบรรยายกว้างๆ สามกรอบ คือ Philosphy, Science และ Innovation จัดโดยสถาบันการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ใน มจธ. เชิญฟัง ดร.ธนภัทร์ ดีสุวรรณ (อ.โอม จาก LI) และ อ.ราชวิชช์ สโรชวิกสิต (อ.แก๊ส จากคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) บรรยายในหัวข้อ The Engineering of Computer ตั้งแต่ประวัติของคอมพิวเตอร์, ความหมายของ algorithm, หน่วยวัดความเร็ว supercomputer, ความซับซ้อนของโปรแกรม และ ศาสตร์แห่งการเข้ารหัสแบบ public/private keys (บันทึกเสียงจากการบรรยายสด 26 มิ.ย. 2560)
เล่าบทความจาก New York Times เรื่อง The Silicon Valley Billionaires Remaking America’s Schools เขียนโดย Natasha Singer ในซีรีส์ Education Disrupted น่าสังเกตว่าเศรษฐีจาก Facebook, Netflix และ Salesforce ต่างบริจาคเงินมหาศาลให้วงการการศึกษา เงินเหล่านี้ซื้ออะไรได้บ้าง? อะไรเป็นแรงจูงใจ? นักเรียนได้อะไร? บริษัทได้อะไร? เราควรอ้าแขนรับหรือควรกังวลใจ? ประเทศไทยควรจับตามองและรับมือแนวโน้มเหล่านี้อย่างไร?
เล่าข่าว/บทความจาก New York Times ในซีรีส์ Education Disrupted เรื่อง How Google Took Over the Classroom เขียนโดย Natasha Singer แอบส่องกลยุทธ์ที่ Google ใช้ครองตลาด ขับไล่คู่แข่ง และสร้างปรากฎการณ์ Googlification of American Classroom สถานศึกษาในไทยควรวางท่าทีอย่างไร? เปิดรับ? หรือต่อต้าน? เราจะชั่งน้ำหนักของผลประโยชน์ต่อเด็กไทยและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างไรดี?
(แก้ไขครั้งที่ 2)
The podcast currently has 9 episodes available.