Share REWIND
Share to email
Share to Facebook
Share to X
ประเทศไทยในขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงของการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ซึ่งวันนี้ ‘วัคซีน’ ดูเหมือนจะกลายเป็นความหวังเดียว ที่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้
หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 หรือ 17 ปีที่แล้ว ประเทศไทยก็เคยเผชิญหน้ากับปัญหาความเชื่อมั่นมาแล้วเช่นกัน กับ ‘โรคไข้หวัดนก’ ในสมัยรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้น มีการดำเนินการอย่างไร ใช้วิธีรับมือกับปัญหาแบบไหน และได้รับเสียงตอบรับอย่างไรบ้าง
เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 หลายคนจดจำว่าเป็นการขับไล่ 3 ผู้นำในตอนนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร, จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร
แต่อีกด้านคือ การชุมนุมที่มีคนเข้าร่วมหลายแสน ทั้งนิสิต นักศึกษา นักเรียน ประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ ที่เป็นประชาธิปไตย
หลังเหตุการณ์ที่หลายคนอาจจะเรียกว่า ชัยชนะของนักศึกษาและประชาชน มีการร่างรัฐธรรมนูญ 2517 ซึ่งแม้จะมีเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าฉบับก่อนหน้า แต่เนื้อหาหลายส่วน ฝ่ายนักศึกษาก็ไม่เห็นด้วย และเมื่อมีการใช้ ผลที่ออกมาก็ไม่ได้ตรงกับที่ผู้ร่างฯ ตั้งใจไว้
ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเช้าวันที่ 6 ต.ค. 2519 ช่วงค่ำวันเดียวกันก็เกิดการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญที่ต่อสู้เรียกร้องมาก็ถูกฉีกทิ้งอีกครั้ง
ชนวนเหตุสำคัญของเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ประการหนึ่งในมุมของฝ่ายนักเรียน นิสิต นักศึกษา คือ การที่จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ออกนอกประเทศไปในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 พยายามกลับเข้ามาในไทยอีกครั้ง
ครั้งแรกหลังกลับเข้ามาช่วงสั้นๆ จอมพลถนอมถูกผลักดันออกไปที่สิงคโปร์ แต่ต่อมาก็ตัดสินใจกลับเข้าไทยอีกครั้ง แม้จะมีการส่งตัวแทน ครม.ไปขอร้องว่าอย่าเพิ่งเข้ามา โดยบวชเป็นสามเณรและเมื่อถึงไทยก็ตรงไปบวชเป็นพระทันที
ก่อนหน้านั้น ช่วงเวลา 3 ปี จอมพลถนอม หายไปไหนและอะไรคือเหตุผลสำคัญในการกลับเข้าไทย
REWIND ย้อนเวลาข่าว ในสัปดาห์รำลึก 44 ปี 6 ต.ค. 2519 พากลับไปฟังเหตุผลของฝั่งจอมพลถนอม
สิ้นสุดการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายน 2563 ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นถึงยุทธศาสตร์ของการชุมนุมในการแยกทางรบออกมาเป็นสองฝั่ง
ติดตามการวิเคราะห์จาก REWIND WEEKLY กับนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์
เส้นทางของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 15 ก้าวขึ้นเป็นมาเป็นผู้นำประเทศได้เพราะการรัฐประหาร และด้วยการวางกลไกของ รัฐธรรมนูญ 2521 ที่ถูกเรียกว่าฉบับประชาธิปไตยครึ่งใบ ก็ทำให้เขากลับมาเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 ได้
กลไกสืบทอดอำนาจคือให้ ส.ว.แต่งตั้งร่วมเลือกนายกฯ ด้วยและ ส.ว.ทั้ง 225 คนก็โหวตไปในทางเดียวกัน รวมกับเสียง ส.ส. ข้างน้อย 86 เสียง ส่ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ กลับมาเป็นนายกฯได้
ขณะที่อีกฝ่าย ส.ส.ที่รวมเสียงได้ 215 เสียง เกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร 301 เสียง ต้องกลายไปเป็นฝ่ายค้าน
แต่ที่สุดรัฐบาล เกรียงศักดิ์ 2 ก็ไปไม่รอด ทั้งด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมือง
รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 กองทัพที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจ รัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะเดินทางไปประชุมสหประชาชาติ ที่นิวยอร์ก
หน้าฉากถูกอธิบายว่า เพื่อให้เกิดความสงบ ป้องกันไม่ให้มวลชนทั้ง 2 ฝ่าย คือ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ ฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ปะทะกัน แต่หลังจากนั้น ข้อมูลก็เริ่มปรากฏว่า เป้าหมายที่แท้จริง คือ การล้างระบอบทักษิณ
แต่ความผิดพลาดหลายอย่างก็ทำให้รัฐประหารครั้งนั้น ถูกนิยามว่า เสียของ
เพราะ 1 ปีกว่าๆ ผ่านไป พรรคพลังประชาชน ร่างที่ 2 ของพรรคไทยรักไทย ก็กลับมาชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง
หลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ในเย็นวันเดียวกันเกิดรัฐประหารโดย คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ แต่ทหารเลือกที่จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรีเอง และไปเลือกเอา นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษา วัย 50 ปี มาเป็นผู้นำประเทศ โดยมีโครงสร้างทหารครอบทับไว้ เสมือน "หอย" ที่มี "เปลือกหอย" หุ้ม
ธานินทร์ มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์มาก่อน จึงได้ใช้นโยบายปราบปรามอย่างเข้มข้นเพื่อหวังให้เกิดความสงบ และวางไว้ว่าประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นจริงต้องใช้เวลาอีก 12 ปี แต่แนวทางที่ใช้แทนที่จะให้เกิดความสงบกลับผลักยิ่งให้คนเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมากขึ้น
สุดท้าย คนที่เชื่อว่าเหมาะที่สุดในสถานการณ์หนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจจะไม่ใช่ และเปลือกหอยก็ไม่ทนเนื้อหอยอีกต่อไป
แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย ที่เสนอให้แก้ ม.256 และให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ มี ส.ส.ร. แล้วให้ ส.ส.ร.ดำเนินการไป บางคนนำไปเปรียบเทียบกับข้อเสนอปิดสวิตช์ ส.ว. ของพรรคก้าวไกล แล้วก็มองว่า เพื่อไทยทำไมดูกล้าๆ กลัวๆ
แต่คนที่เข้าใจเพื่อไทยก็บอกว่า ต้องมองตามความเป็นจริงที่เป็นไปได้ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องได้เสียง ส.ว.มาลงมติวาระ 1 กับ 3 ด้วย จะให้ ส.ว.ลงมติตัดอำนาจตัวเองให้ทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก
ที่สำคัญก็คือ พรรคเพื่อไทย มีประสบการณ์มาแล้ว ชนิดที่เรียกว่าเจ็บมาเยอะในการพยายามแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งเสี่ยงกับการโดนยุบพรรค แต่อีกด้านหนึ่งก็เฉียดกับการทำสำเร็จ
ที่เพียงแค่เฉียดเพราะตัดสินใจบางเรื่องพลาดไปเพียงแค่นิดเดียว
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 มีการพูดถึงการแก้ ม.256 เพื่อเปิดทางให้มี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.มาร่างใหม่ทั้งฉบับ
หากย้อนกลับไปดูที่มาของ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่เรียกว่า ฉบับประชาชน ซึ่งมี ส.ส.ร.เป็นผู้ร่างเช่นเดียวกัน แต่ ส.ส.ร.ในยุคนั้นไม่ได้มาจากประชาชนโดยตรง และถูกมองด้วยว่าหลายคนเป็นคนของฝ่ายการเมืองส่งมา
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็ผ่านมาได้ ทั้งที่สมาชิกรัฐสภา ที่ต้องเป็นผู้ให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่าน จำนวนมากไม่เห็นด้วย ซึ่งเบื้องหลังสำคัญอยู่ที่แรงหนุนที่อยู่นอกสภา
สมัคร สุนทรเวช เป็นนักการเมืองที่มีคาแรกเตอร์ชัดเจน ปากตรงกับใจ ปราศรัยดุเดือด แต่ด้วยความที่เป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทย พรรคขนาดกลางค่อนไปทางเล็ก ไม่มีใครคาดว่าวันหนึ่งเขาจะก้าวไปถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ จนกระทั่งเขาได้รับการทาบทามจาก ทักษิณ ชินวัตร ให้ไปนำพรรคพลังประชาชน ซึ่งมาแทนที่พรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบ
แต่ที่คาดไม่ถึงไปกว่าคือ เพียงแค่ 7 เดือนกว่าๆ สมัคร จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไปเกี่ยวเนื่องกับการไปรับจ้างเป็นพิธีกร รายการทำกับข้าวทางโทรทัศน์
ทั้งที่เรื่องของการทำอาหาร ทำกับข้าว เป็นอีกสิ่งที่เขารักมากที่สุดไม่แพ้งานการเมือง
The podcast currently has 24 episodes available.