“สภาพัฒน์” หน่วยงานวางแผนชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “สภาพัฒน์” หรือ “สภาพัฒนาฯ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493ในสมัย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในระยะแรกใช้ชื่อว่า “สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ” มีหน้าที่เสนอความเห็นและคำแนะนำ ตลอดจนข้อชี้แจงต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ โดยอยู่ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504–2509) ถึงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) ได้มุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความมั่งคั่งและรายได้มาสู่ประเทศเป็นหลัก
•สภาวะแวดล้อม: การเมือง/ปกครองรวมศูนย์อำนาจ, เศรษฐกิจนำสังคม, ใช้ทรัพยากรแรงงาน
•บริหารแบบควบคุม สั่งการเป็น top–down
•ผล: เศรษฐกิจดี, สังคมมีปัญหา, การพัฒนาไม่ยั่งยืน
* ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540–2544) ปรับเปลี่ยนกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทศใหม่ เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
*ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ
แนวคิด : คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมาย : ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยสู่ความอยู่ดีมีสุข, เศรษฐกิจเข้มแข็ง
ผล : เศรษฐกิจขยายตัว, ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยดีขึ้น, มีปัญหาโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ
*ฟังน้อยแต่ได้มาก โดย กานน เลื่อนสกุล Cr.ข้อมูล สำนักพิมพ์ วพ.