สาระความรู้ฟังรื่นหูสบายอารมณ์
... moreShare SpokeDark
Share to email
Share to Facebook
Share to X
เทพีวีนัส (Venus) ของชาวโรมันในตำนานเทพปกรณัม กับ แอโฟรไดที หรือ อโฟรไดต์ (Aphrodites) ของกรีก ก็คือเทพีแห่งความรักและความงามที่เราคุ้นตาอยู่แล้ว จากงานศิลปะในยุคต่างๆ ทั้งยุคคลาสสิค ยุคเรอเนซองส์ ยุคบาโร้ก ไม่ว่าจะเป็นประติมากรรมแขนหัก Venus de Milo ภาพวาดวีนัสกำเนิดจากฟองคลื่น The Birth of Venus แต่ถ้าได้มาลองทำความรู้จักเรื่องราวต่างๆ ของเทพีวีนัสเพิ่มขึ้น ก็จะดูงานสนุกขึ้นอีกเท่าตัว
#ศิลปะตะวันตก #วีนัส #เทพปกรณัม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกได้รับบทเรียนสำคัญว่าต้องปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทุกคนบนโลกแบบทั่วถึง ประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย จึงลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ Universal Declaration of Human Rights ตั้งแต่ปี ค.ศ.1948 ทุกอย่างที่เขียนลงไป ล้วนเป็นเรื่องเรียบง่าย ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด แต่กลับพบเจอได้ยากและแฝงไปด้วยบาดแผลจากประวัติศาสตร์ มาลองสำรวจกันดูว่าคุณได้รับการปกป้องครบทุกข้อหรือเปล่า?
ข้อมูลเพิ่มเติม : ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แปลภาษาไทย (Universal Declaration of Human Rights) : https://www.ohchr.org/EN/UDHR/Documents/UDHR_Translations/thj.pdf
#สิทธิมนุษยชน #ประชาธิปไตย #คุณภาพชีวิต
ลัทธิฟาสชิสต์ หรือ ฟาสชิซึ่ม (Fascism) หมายถึงเผด็จการรูปแบบหนึ่ง ที่ยึดถือความเป็นชาตินิยมแบบเข้มข้น อำนาจนิยมเต็มที่ และนับถือผู้นำสูงสุดบูชาตัวบุคคลแบบสุดโต่ง ทำไมผู้นำฟาสชิสต์ ถึงถูกนับแค่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์กับ เบนิโต มุสโสลินี ที่อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะคุณสมบัติอะไรบ้าง
#ฟาสชิสต์ #เผด็จการ #สงครามโลกครั้งที่2
รู้หรือไม่ว่ากว่าอังกฤษจะมีประชาธิปไตยที่มั่นคง ได้ใช้เวลาไปกว่า 900 ปีเลยทีเดียว โดยผ่านทั้งการต่อสู้ การปฏิวัติ และการลองผิดลองถูกมามากมาย บางยุคกษัตริย์มีอำนาจถึงขั้นจับใครก็ได้ตัดหัว บางยุคขุนนางหรือสภาก็ลากกษัตริย์ออกมาตัดหัวเองได้ซะงั้น แถมมีช่วงหนึ่งที่ถึงขั้นเคยมีการล้มเจ้าและเป็นสาธารณะรัฐมาแล้ว !
ไปดูกันว่าตั้งแต่ยุคของพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 ที่พาอังกฤษออกจากการปกครองของศาสนจักรที่กรุงโรมในปี ค.ศ. 1066 จนมาถึงยุคสงครามโลกในศตวรรษที่ 20 อังกฤษผ่านเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองอะไรมาบ้าง และเหตุการณ์เหล่านั้นทำให้เกิดประชาธิปไตยได้อย่างไร
ในโลกทุนนิยมที่เราอาศัยกันอยู่นี้ ไม่น่าเชื่อว่าในยุโรปและสหรัฐอเมริกาผู้หญิงผิวขาวที่มีฐานะดี (หรือเรียกว่ารวยนั่นแหละ) จะได้รับสิทธิทางการเมืองน้อยกว่าและช้ากว่าผู้ชายผิวดำที่เคยเป็นทาสมาก่อนเสียอีก และสิทธิในการเลือกตั้งของผู้หญิงมีการต่อสู้อย่างยาวนานและเพิ่งจะเริ่มทำสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 1920 เท่านั้นเอง
ไปดูการต่อสู้การเรียกร้องสิทธิ์ที่ยืนยันว่าคนเราเท่ากันในอังกฤษและอเมริกาช่วงศตวรรษที่ 19 ทำความรู้จักกับกลุ่มSuffragists (ซัฟฟราจิสต์) และกลุ่ม Suffragette (ซัฟฟราเจ็ตต์) ที่เป็นกลุ่มสำคัญในประวัติศาสตร์
ประเทศสยามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 และใช้กฎหมายสูงสุดหรือที่เราเรียกว่ารัฐธรรมนูญปกครองมาตลอด แต่รัฐธรรมนูญสองฉบับแรกที่มีความสำคัญและมีอายุยืนมากที่สุดกลับไม่มีใครได้อ่านมากนัก ทั้งฉบับ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองประเทศสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ของปรีดี พนมยงค์ และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ที่มาจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่นำโดย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา สองฉบับนี้แตกต่างกันตรงไหน? ส่วนไหนบ้างที่ไม่ว่าใครที่ได้อ่านก็ยังชื่นชมจนถึงทุกวันนี้ว่าสง่างามมากๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม :
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองประเทศสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/166.PDF
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/529.PDF
คณะราษฎรและปฏิวัติสยาม 2475 เกิดขึ้นได้อย่างไร? (ตอนที่1)
https://www.youtube.com/watch?v=xxGpkfuld4M&list=PL8RhJmyzEjV4D5mJf3hdUuA1Xr8vXVEmx
“คณะราษฎร” เค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดี และรัฐประหารสองครั้งแรกหลัง 2475 (ตอนที่2)
https://www.youtube.com/watch?v=IyrlbF6F0FQ&list=PL8RhJmyzEjV4D5mJf3hdUuA1Xr8vXVEmx
“คณะราษฎร” กบฏบวรเดชและอนุสาวรีย์ที่หายไป (ตอนที่3)
https://www.youtube.com/watch?v=eHDIb0B15HQ&list=PL8RhJmyzEjV4D5mJf3hdUuA1Xr8vXVEmx
#คณะราษฎร #ปฏิวัติ2475 #ปฎิวัติสยาม
ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) ที่เริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามหลังยุคบาโร้ก (Baroque) และรอคโคโค (Rococo) มาติด ๆ เพราะมนุษย์เริ่มอยู่ในยุคแสวงหาความรู้ มีปัญญารู้แจ้งกันแล้วงานศิลปะจึงไปทางศาสนาน้อยลง และเข้าสู่การรับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองแทน เมื่อรสนิยมแบบชาวโรมันกลับมาส่งเสริมการปฎิวัติฝรั่งเศส เพิ่มจริตให้นโปเลียน เชิดชูการปฎิวัติในอเมริกา สะท้อนไปไกลถึงสถาปัตยกรรมสุดป็อปที่เรายังคงเห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้
แก๊ง 4 คน (Gang of four) คือการเรียกกลุ่มอิทธิพล 4 คน ที่ขึ้นมามีอำนาจในพรรคคอมมิวนิสต์จีนจนทัดเทียมกับประธาน เหมา เจ๋อตง ในช่วงที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ในช่วงปฎิวัติวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1966 แก๊งสี่คนที่ประกอบไปด้วย เจียงชิง (Jiang Qing) จางชุนเฉียว (Zhang Chunqiao) เหยา เหวินหยวน (Yao Wenyuan) หวาง หงเหวิน (Wang Hongwen) พวกเขาคือตัวการที่ทำให้ประเทศเจอกับหายนะหรือเป็นเหยื่อของการพิพากษาด้วยอำนาจที่ไม่เป็นธรรมกันแน่
ศิลปะแบบบาโร้ก (Baroque) เริ่มมีให้เห็นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีปัจจุบัน จริง ๆ แล้วมีที่มาที่ไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงและแตกแยกของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่ก่อให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะอะไรศิลปะสไตล์นี้จึงมีที่มาจากศาสนจักร ? สถาปัตยกรรมแบบไหนถึงเป็นบาโร้ก ? จิตรกรรมแบบบาโร้กเป็นอย่างไร ?
หลายคนอาจจะลืมนึกไปแล้วว่าหลังการปฎิวัติฝรั่งเศส โค่นล้มราชวงศ์บูร์บง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และ พระนางมารี อังตัวเน็ต ถูกประหารด้วยกิโยติน ฝรั่งเศสต้องใช้เวลาถึง 82 ปีกว่าประเทศฝรั่งเศสจะเป็นประชาธิปไตยแบบที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เกิดอะไรขึ้นระหว่างนั้น? จักรพรรดินโปเลียนขึ้นสู่อำนาจตอนไหน? ทำไมฝรั่งเศสจึงมีถึง 5 สาธารณรัฐ
The podcast currently has 67 episodes available.