EP_35 รีวิวหนังสือญี่ปุ่น
THE POWER OF OUTPUT
เปลี่ยนความรู้เป็นผลลัพธ์ ตอนที่ 1
Post ในนิตยสารออนไลน์ ทุกวัน 13 ปี
Update Facebook ทุกวัน 8 ปี
Update YouTube ทุกวัน 5 ปี
ทำงานเขียนวันละกว่า 3 ชม ทุกวัน 11 ปี
ออกหนังสือปีละ 2-3 เล่ม 10 ปีติดต่อกัน
เรียนรู้สิ่งใหม่ เดือนละมากกว่า 2 ครั้ง 9 ปีติดต่อกัน
คือสิ่งที่เจ้าของหนังสือเล่มที่ชื่อ
The power of output
คุณ Kabasawa Shion
จิตแพทย์ จากมหาวิทยาลัยซัปโปโรทำได้
โดยที่สามารถ
1.ทำงานไม่เกิน 6 โมงเย็น
2.ดูหนังมากกว่า 10 เรื่อง/เดือน
3.อ่านหนังสือมากกว่า 20 เล่ม/เดือน
4.ออกกำลังกายที่ยิม 4-5 ครั้ง/สัปดาห์
5.ไปงานเลี้ยงสังสรรค์มากกว่า 10 ครั้ง/เดือน
6.ไปเที่ยวต่างประเทศ มากกว่า 30 วันต่อปี
หรือพูดง่ายๆว่า เที่ยวและพักผ่อน
มากกว่าคนทั่วๆไป ราวๆสัก 3 เท่า
เหตุผลที่เขาทำได้เพราะ
เขาให้ความสำคัญกับการ
เปลี่ยน Input ให้เป็น Output
ลงมือทำและหาทางปรับปรุง
ให้ดียิ่งขึ้นไปทุกวัน
และ 80 วิธีที่เขาใช้เปลี่ยนความรู้
เป็นผลลัพธ์ที่กล่าวไป
อยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้วฮะ
ชื่อหนังสือ : 学びを結果に変えるアウトプット大全
The power of output, How to change learning to outcome
สำนักพิมพ์ :Santuary
ผู้เขียน :Kabasawa Shion
จำนวนหน้า : 269 หน้า
ราคา :1450 เยน
หนังสือเล่มนี้ แบ่งออกเป็น 5 Chapter ใหญ่
CH 1 Rule กฎพื้นฐานของ Output
CH 2 Talk วิธีการพูด เล่าเรื่อง ทีแบบอ้างอิงหลักการแพทย์
CH 3 Write วิธีการดึงศักยภาพการเขียนให้สูงสุด
CH 4 Do พฤติกรรมของคนที่สร้างผลลัพธ์ได้ดี
CH 5 Train วิธีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มคุณภาพผลลัพธ์
เพื่อให้เป็นการสื่อสารถึงหนังสือเล่มนี้
ได้ครบทุกมุมมองในแบบที่มีความเห็นของผมอยู่ด้วย
ขอแบ่งออกเป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 พูดถึงภาพรวม กฎ และ
ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้
ในมุมมองของนักเขียน
ตอนที่ 2 Talk, Write
ตอนที่ 3 Do, Train
โดยที่ยกมาแค่บางวิธีจาก 80 วิธี
ที่ผมคิดว่าน่าจะเหมาะกับคนไทย
นะฮะ
1.Rule กฎพื้นฐานของ Output
1-1 หากใช้ความรู้ที่ได้มา 3 ครั้งใน 2 สัปดาห์ ความรู้นั้นจะอยู่กับเราได้นาน
ข้อมูล มีสองประเภท 1. ข้อมูลสำคัญ 2. ข้อมูลทั่วไป(ใช้แล้วทิ้ง)
เราจะจำอาหารที่ทานไปเมื่อ หนึ่งเดือนก่อนไม่ได้ แต่ถ้าเป็น สามวันก่อน อาจจะพอได้
ดังนั้นถ้าอะไรก็ตาม ที่ถูกเรียกใช้บ่อยๆ สมองจะจดจำว่า มันเป็นข้อมูลสำคัญ
เป็นเหตุผลง่ายๆว่า ควรเรียกใช้ ข้อมูลที่ต้องการใช้งาน สามครั้งใน สอง สัปดาห์
หนังสือเปรียบเปรยเป็น การเก็บเงินจาก Counter เก็บเงิน ไปอยู่ใน ตู้เซฟ
1-2 วงจรของ Output & Input
พยายามทำให้ input กับ output เชื่อมโยงกันเป็น Set
ทุกๆครั้งที่มี Input เข้ามา ให้หาวิธีทำให้เป็น Output
อ่านหนังสือ มาเล่าให้คนอื่นๆฟัง (เวิร์คนะ จำได้แม่นขึ้น)
สอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ของ National training laboratories
ที่ว่า เราจะจดจำได้ดีที่สุดเมื่อ สอนคนอื่นๆ
1-3 สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง Input : Output = 3:7
งานวิจัยของ มหาวิทยาลัยโคลอมเบีย ให้เด็ก ป สาม ถึง ม สอง
สอบ ท่องจำ เนื้อหาจากหนังสือ ประวัติศาสตร์ เรื่องหนึ่ง
โดยมีเวลารวมให้ 9 นาที ก่อนทำการสอบ
สิ่งที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่ได้คะแนนดี มักจะ ใช้เวลาอ่าน
หรือรับข้อมูลประมาณ 30-40% (Input) และใช้เวลาที่เหลือ
ซ้อม (Output)
ผู้แต่งเลยเชื่อว่า สัดส่วนที่เหมาะสมคือ Input 3 : Output 7
แล้วก็การตั้งใจอ่านหนังสือ หรือ เรียน อย่างหนักหน่วง
จะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าการ ลงมือทำอะไรบางอย่างเช่น
ทำแบบฝึกหัด หัดคัดตัวอักษร หรือ ทำข้อสอบจริงๆเลย
1-4 ตรวจสอบผลลัพธ์ และ ทำให้ดียิ่งชึ้นในครั้งถัดไป
ไม่ว่าจะผลลัพธ์ออกมาดี หรือ ไม่ดี
หาเหตุผลให้ได้ และ นำเอาไปใช้ต่อในครั้งถัดไป
หลักการ PDCA ชัดๆ
Check -> Good result & Good process = Standard
Act -> Better result need better process
สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ทำได้ดี จากมุมของคนทำหนังสือ
เหตุผลที่ทำให้หนังสือเล่มนี้
ขายได้ดีกว่า 100,000 เล่ม
มันเกี่ยวโยงกับคนจำนวนมาก
และที่แก้ปัญหาให้คนได้เยอะ
สมัยนี้เราเรียนกันเยอะมาก
แต่กลับได้ผลลัพธ์น้อย
2 .ผู้เขียนเล่าเรืองของตัวเองได้ดี
ทำให้รู้สึกว่า ถ้าเรารู้เราก็น่าจะทำได้
เหมือนที่นักเขียนทำได้
3.ชื่อดี โดน แปลกใหม่
4.วางโครงเรื่องได้เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ
แบ่งหัวเรื่องให้เป็นหมวดหมู่เข้าใจง่าย
หยิบเอาไปใช้ได้เลย
5.ใส่ใจรายละเอียดให้รู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้
เขียนโดยผู้รู้จริง
เช่น ใช้คำง่ายๆช่วยจำ อย่าง Rule, Talk, Write, Do ,Train
ขอบซ้ายขวากระดาษมี CH บอกพร้อมชื่อ CH แนวตั้งทำให้กรีดง่าย
มี งานวิจัย และ ทฤษฎี ทำให้น่าเชื่อถือ