ตื่นเช้ามาให้เราสังเกตจิตใจของเรา
เป็นกุศลหรืออกุศล
บางคนก็ยังง่วงอยู่
นิวรณ์ ถีนมิทธะครอบงำอยู่
มีสติตลอดเวลา มีความรู้ตื่น
เมื่อเรารู้ตื่นนะ
บางครั้งเราก็จะสังเกตเห็นกุศลและอกุศลของจิต
ยามมีกุศลเราก็สบาย ยามมันเป็นอกุศลบางทีก็อึดอัด ก็ลำบากใจ
ไม่อยากให้เป็นแต่ทำไม่ได้
ก็เรียนรู้ศึกษาในความทุกข์หรือความเป็นอกุศลของจิตนั่น
แล้วเราจะเข้าใจ ว่าทำไมเราต้องฝึกจิตเสมอ
งั้นจิตเราก็จะทุกข์อยู่เรื่อยไปนั่นล่ะ
งั้นคนที่หลับเนี่ย ขั้นแรกก็ไม่ผ่านแล้วนะ ผู้รู้ไม่มีอ่ะ ผู้ตื่นก็ไม่มา
มีแต่ผู้หลับตลอดเวลา แล้วธรรมะมันจะเกิดได้อย่างไร
เหตุแห่งการบรรลุธรรมไม่มีขณะที่หลับนะ มีแต่ขณะที่ตื่น ตื่นรู้
ที่นี่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ทั้งกุศลและอกุศล
เราเริ่มยอมรับได้ ความทุกข์ที่เกิดขึ้น
เราก็อยู่ได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
"ความสุขที่แท้จริงมันอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่วัตถุภายนอก"
ปลาที่มันไปกินเหยื่อแล้วโดนจับนั่นแหละ
มนุษย์ทั้งหลายที่มันต้องเกิดก็เหมือนปลาไปกิน
ปลาหมอตายเพราะปากอย่างนั้นล่ะ
ทีนี้พอเราตื่นรู้เราไม่หลงแล้ว เอ๊ะ มันไม่กินเบ็ดแล้วนะ ปลามันฉลาดนะ
มันจะเอาเหยื่อล่ออร่อยยังไงก็ไม่กินแล้ว มันก็ว่ายไปหากินที่มันปลอดภัยไม่มีเบ็ดนั่นล่ะ นี่คือพยายามพูดให้เข้าใจง่ายๆนะ ไอ้ตัวล่อที่เกิดน่ะ
คือสมมติโลกใบนี้
ดังนั้น สติปัฏฐานสี่ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม พึงทำลายความยินดียินร้ายในโลกใบนี้ ทำลายยินดี ยินร้าย คือตัวหลงสมมติ สมมติให้ดี ให้ชอบ สมมติให้เกลียด สมมติให้ชัง ยินดียินร้าย ถ้าเราไม่มีอารมณ์เหล่านี้ ใจมันไม่แสวงหา
"ปลามันไม่กินเบ็ดแล้ว"