Share Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล)
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By watpasukato
5
33 ratings
The podcast currently has 1,040 episodes available.
9 ส.ค. 67 - เครียดได้แต่ใจไม่ทุกข์ : ถ้าเครียดก็ปล่อยให้ตัวเองเครียดไปได้เลยนะ ไม่ต้องโทษตัวเอง อนุญาตให้ความเครียดเกิดขึ้นได้ อนุญาตให้ตัวเองเครียดได้ บางทีคนเราไปยึดมั่นกับความถูกต้องมากไป แล้วเราก็เลยโทษตัวเอง หรือตำหนิตัวเอง ว่าทำไมจึงมีความโกรธ ทำไมจึงมีความเครียด ทำไมไม่อยู่กับปัจจุบัน ทำไมไม่ปล่อยวาง ตำหนิตัวเอง แต่บางครั้ง การยอมรับตัวเอง ว่าเราทำได้เท่านี้ เครียดก็ยอมให้ตัวเองเครียดไป โกรธก็ยอมให้ตัวเองโกรธได้ ปรากฏว่ามันช่วยได้นะ เพราะว่าการที่เรามีท่าทีแบบนี้ ก็คือการยอมรับ ยอมรับอย่างที่มันเป็น
8 ส.ค. 67 - จิตไม่หวั่นไหว ใจไม่กระเพื่อม : คนที่ไม่ยอมรับความโศกความเศร้าความโกรธ พยายามกดข่มมัน สุดท้ายก็ตกอยู่ในอำนาจของมัน คนที่ไม่ยอมรับเสียงในหัว ที่ตำหนิครูบาอาจารย์ บุพการี จ้วงจาบพระรัตนตรัย พยายามไปต่อสู้ หรือสู้รบตบมือกับมัน ยิ่งตกอยู่ในอำนาจของมัน แต่พอเราเริ่มยอมรับได้ ใจมันก็จะเริ่มไม่หวั่นไหวแล้ว ไม่กระเพื่อมแล้ว
7 ส.ค. 67 - มองลบเป็นนิจ ชีวิตจึงติดลบ : ชีวิตตัวเองอาจจะมีอะไรดีมากมาย แต่มองไม่เห็นเลย เห็นแต่ลบ เห็นแต่ความทุกข์ เห็นแต่อุปสรรค เห็นแต่ปัญหา หรือบางทีก็อาจเห็นความผิดพลาด ตื่นเช้าขึ้นมา ไม่สามารถที่จะชื่นชมสิ่งที่มีอยู่รอบตัวได้เลย มองไม่เห็นเลยนะว่าฟ้ามันสวย เรารู้สึกโชคดีนะที่เรายังมีลมหายใจ คิดไม่ออกจริงๆ เช่น รถติดมันดีอย่างไรบ้าง หรือว่าวันนี้เรามีอะไรดีๆ บอกมาสัก 5 อย่าง บางคนบอกไม่ได้เลย เห็นแต่ข้อเสีย ชีวิตแทนที่จะมีความสุขได้แบบง่ายๆ กลายเป็นชีวิตติดลบไป
6 ส.ค. 67 - ออกจากทุกข์เพราะรู้ : ถ้าหากว่าไม่อยากจะถูกความทุกข์ครองใจ ก็ต้องพยายามเติมความรู้ตัวให้เกิดขึ้น แล้วก็เรียนรู้สัจธรรมความจริงของชีวิตจากเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อจะได้รู้ความจริงอย่างแจ่มแจ้ง ให้ตระหนักเห็นโทษของความหลงว่า ไม่ว่าจะเป็นความไม่รู้ตัว หรือการไม่รู้ความจริง ตัวนี้ต่างหากที่มันเป็นสมุทัย หรือเหตุ หรือสาเหตุแห่งทุกข์
5 ส.ค. 67 - เติมเต็มจิตด้วยความรู้สึกตัว : วัน ๆ หนึ่งเราหลงมากกว่ารู้ตัว เวลาเราหลับ เราหลับน้อยกว่าเวลาเราตื่น เราหลับก็อาจจะสัก 6 หรือ 7 หรือ 8 ชั่วโมง แต่เราตื่น 16 ชั่วโมง 18 ชั่วโมง นั่นเป็นเรื่องของกาย ส่วนเรื่องของใจแม้ในช่วงเวลาที่เราตื่น 18 ชั่วโมง 16 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มันหลง ส่วนน้อยที่รู้สึกตัว แล้วก็เป็นความรู้สึกตัวแบบไม่ต่อเนื่อง ถูกความหลงเข้ามาครอบงำ
2 ส.ค. 67 - อย่ามองแบบเหมารวม : บางคนที่มีเงินก็เหมารวมว่าคนจนนั้นเห็นแก่เงิน ส่วนคนที่พอมีพอกินหรือคนที่ฐานะไม่ดีก็เหมารวมว่าคนรวยนั้นเห็นแก่เงิน ประสบการณ์ของเราหรือสิ่งที่เราได้ยินมาอาจจะเป็นอย่างนั้น แต่ว่าอย่าเหมารวมว่าทุกคนจะเป็นอย่างนั้น อย่าเหมารวมว่าคนจนจะเห็นแก่เงิน หรืออย่าเหมารวมว่าคนรวยจะเป็นพวกงก ตระหนี่
1 ส.ค. 67 - ออกจากทุกข์ ให้ใจกลับมาอยู่กับปัจจุบัน : เพราะถ้าไม่มีสติที่เรียกว่าสัมมาสติ มันก็จะระเหเร่ร่อน ไหลไปอดีตมั่งลอยไปอนาคตอยู่ร่ำไป เสร็จแล้วก็จะจมอยู่ในอารมณ์ ไหลไป ลอยไปลอยมาก็จมอยู่ในอารมณ์ จมมีความทุกข์ เพราะไปคว้าเอาอดีต ไปคว้าเอาอนาคตมาแบกเอาไว้ เสร็จแล้วก็ไปโทษคนนั้นคนนี้ว่าทำให้เราทุกข์
31 ก.ค. 67 - เมื่อรักษาใจ ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก : แต่สิ่งที่เราทำได้คือ รักษาใจ นี่เป็นเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้ใจเราไม่ทุกข์ คือพอเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจแล้ว เกิดความอารมณ์ขึ้นมา ก็รู้ทัน ไม่ปล่อยให้มันเข้ามาครอบงำใจ สามารถจะวางระยะห่าง อันนี้ด้วยวิธีการที่หลวงพ่อคำเขียนท่านใช้คำว่า เห็นไม่เข้าไปเป็น พอเห็นเมื่อไร ใจก็จะอยู่ห่างสิ่งนั้น เห็นกองไฟ ใจก็ออกห่างจากกองไฟ ไม่ว่าจะเป็นไฟโทสะ ไฟราคะ ทำอย่างนั้นได้เพราะมีสติ แต่ถ้าไม่มีสติ ใจก็จะกระโจนเข้าไปในกองไฟ แล้วก็ทุกข์
30 ก.ค. 67 - วิธีแก้ทุกข์โดยไม่เพิ่มทุกข์ : หลายคนมองผิดฝาผิดตัว มองไม่ลึกพอ ไปเข้าใจว่าความคิดที่ผุดขึ้นมา ที่เราเรียกว่าความฟุ้งซ่าน ทำให้ทุกข์ ที่จริงไม่ใช่ มันไม่ทำให้เราทุกข์เลย แต่ที่ทุกข์เพราะมันมีความอยาก อยากจะให้ความคิดพวกนี้มันดับไป ทำให้จิตว่างจากความคิด ถ้ารู้ทันความอยากนั้น ความอยากมันก็จะหายไป ความคิดยังมีอยู่ ผุดขึ้นมา แต่ไม่ทุกข์แล้ว
28 ก.ค. 67 - อย่าเชื่อสิ่งที่เห็นไปเสียหมด : สิ่งที่จะวัดความความก้าวหน้าในการปฏิบัติอย่างหนึ่งนั่นก็คือ รู้จักทักท้วงความคิด เพราะรู้ว่าความคิดนี่มันไม่ใช่ว่าจะเชื่อได้ทุกเรื่อง ความคิดที่ดีก็มี ความคิดที่ไม่ดีก็มี ความคิดที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความจริงก็มี ฉะนั้นเชื่อมันทุกอย่างไม่ได้ ต้องรู้จักทักท้วง
The podcast currently has 1,040 episodes available.
56 Listeners
82 Listeners
46 Listeners
9 Listeners
13 Listeners
23 Listeners
2 Listeners
3 Listeners
8 Listeners
5 Listeners
2 Listeners
13 Listeners
3 Listeners
4 Listeners
5 Listeners