Share 3 ใต้ร่มโพธิบท
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5
11 ratings
The podcast currently has 559 episodes available.
“ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐ คือ “ทุกข์” อุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ต่างอาศัยเหตุเกิด ย่อมเป็นทุกข์ เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
ขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ แบ่งออกได้เป็น 5 กอง ได้แก่
“รูป” คือ สิ่งที่แตกสลายได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“เวทนา” คือ ความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะ เปรียบเหมือนต่อมนํ้าเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“สัญญา” คือ ความจำได้หมายรู้ เปรียบเหมือนพยับแดดย่อมไหวยิบยับ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“สังขาร” คือ การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป เปรียบเหมือนการหาแก่นไม้ในต้นกล้วย ไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร
“วิญญาณ” คือ การรับรู้ เปรียบเหมือนนักแสดงกล กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้
Time stamp 6747-3d:
(00:35) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
(08:40) ขันธ์ 5
(09:37) "ทุกข์"
(18:10) แจกแจงทุกข์
(20:46) รูปขันธ์
(21:52) กองที่หนึ่ง รูป
(22:02) กองที่สอง เวทนา
(23:05) กองที่สาม สัญญา
(26:18) อธิบาย อุปาทานขันธ์ 5
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
การที่เราจะรู้จักใครสักคนอย่างดีพอนั้น… ไม่ใช่จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น หรือ จากสิ่งที่เราได้ยินได้เห็นเพียงแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น แต่ต้องอาศัยเวลาในการอยู่ร่วมกันนานพอสมควร รวมถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และปัญญา
ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ เราจะรู้ได้ว่าบุคคลนั้น มีศีล สมาธิ และปัญญาจะพิจารณาได้จาก
“ศีล” คือความปกติ พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วจะรู้ถึงความมีศีลเป็นปกติหรือมีศีลด่างพร้อยของบุคคลนั้น
“ความบริสุทธิ์” คือความสะอาดในการดำเนินชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กล่าวคือ เมื่อมีการสนทนาพูดคุยตัวต่อตัว สอง-สามคนบ้าง..ฯ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้อยคำพูดคราวหลังก็ไม่ต่างจากพูดคราวก่อน
“กำลังใจ” คือสมาธิคือจิตที่มีพลัง พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กล่าวคือ เมื่อประสบกับโลกธรรม 8 แล้ว มีปัญญาเห็นสภาวะทุกข์นั้นตามความเป็นจริง
“ปัญญา” พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา กล่าวคือ เมื่อสนทนากันแล้วรู้ว่า ท่านผู้นี้มีการตระเตรียมปัญหาที่ตนปรารถนาจะรู้ และสามารถที่จะบอก แสดง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นทั้งโดยย่อหรือโดยพิสดาร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
เหตุให้อายุยืน ได้แก่
1. รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง คือรู้จักสิ่งที่เป็นสัปปายะ รู้จักสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตน
2. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย
3. บริโภคอาหารที่ย่อยง่าย รวมถึงการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดด้วย
4. ประพฤติเหมาะสมในเรื่องเวลา คือ ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาอย่างสม่ำเสมอ เช่น นอนให้เป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ออกกำลังให้สม่ำเสมอเป็นเวลา
5. ประพฤติพรหมจรรย์ สามารถทำให้อายุยืนได้เพราะเป็นการฝึกจิตคือจิตใจเมื่อเว้นจาการเสพเมถุน ไม่ได้หาความสุขจากตา หู ลิ้นและกายแล้ว ก็ให้มาหาความสุขทางใจ ความสุขที่เกิดจากการสงบระงับ ความสุขจากนิพพาน จะเป็นความสุขที่นิ่งๆเย็นๆ สุขแบบนี้จะมีผลให้อายุยืนได้
6. มีศีล ผู้ที่มีศีลถือว่าเป็นผู้ไม่ประมาท จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่างๆลงได้
7. มีกัลยาณมิตร การมีมิตรดีจะช่วยดูแลอันตรายต่างๆให้แก่กัน
พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยอีกอย่างที่จะทำให้บุคคลอายุยืน คือ การเจริญอิทธิบาท4 นอกจากนี้ยังมีธรรมะอีกอย่างที่จะทำให้อายุยืนคือ อารยวัฒิ 5 (ธรรมแห่งความเจริญ 5 ประการ)ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
การสร้างเหตุปัจจัยเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในชีวิตของเราจะทำให้เราเป็นผู้มีอายุยืน มีความสุขและสุขภาพแข็งแรง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
“นิวรณ์ 5” กิเลสที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้
1. กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ
2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ
3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาความซบเซาเซื่องซึม, ความหดหู่
4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านรำคาญใจ, ความกระวนกระวายคิดไปในกาม พยาบาทเบียดเบียน
5. วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงเห็นแย้ง
การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วย
Time stamp 6744-3d:
(00:38) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
(10:27) ความหมายของนิวรณ์
(12:42) กามฉันทะ
(23:35) ความพยาบาท
(31:25) ถีนมิทธะ
(37:15) อุทธัจจะ กุกกุจจะ
(41:12) วิจิกิจฉา
(44:47) วิธีแก้ นิวรณ์ 5
(53:50) โพชฌงค์ 7 ระงับ นิวรณ์ 5 ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าให้พึ่งตน พึ่งธรรมนั้น หมายถึง พึ่งธรรมของพระองค์
ในตอนนี้จึงจะยกธรรมเป็นที่พึ่ง หรือคุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้
คือนาถกรณธรรม 10 ประการ มากล่าว ดังนี้
นาถกรณธรรมนี้ เป็นธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวาง
Time stamp 6743-3d:
(00:34) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
(05:10) นาถกรณธรรม 10 ประการ
(10:34) ศีล ความประพฤติดีงามสุจริต
(12:36) พาหุสัจจะ
(18:35) กัลยาณมิตตตา
(22:17) โสวจัสสตา
(28:40) กิงกรณีเยสุ ทักขตา
(29:32) วิริยารัมภะ
(35:30) ธัมมกาโม
(39:38) สันตุฏฐี
(48:15) สติ
(50:54) ปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ 2 กรณีคือ
กรณีที่ 1 คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น 2 นัยยะ ได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่า ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน 1/ ฌาน 2/ ฌาน3/ ฌาน4 / การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
ส่วนนัยยะที่ 2 ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังคะ 4 เป็นธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามแล้วหยั่งลงสู่อมตะธรรมได้ ได้แก่ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระพุทธเจ้า /มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระธรรม / มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระสงฆ์ / มีศีลสมบูรณ์
โดยทั้ง 2 นัยยะนี้ พระพุทธเจ้าหมายถึงตัวเราเองเท่านั้น
กรณีที่ 2 คือธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกของผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ คือ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการ ได้แก่ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง / เข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/ เข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีศีลที่สมบูรณ์ไม่ทะลุด่างพร้อยเป็นศีลที่เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะหมายถึงความเห็นที่ประเสริฐให้เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้อย่างดีและรัดกุมรอบคอบไม่ละหลวม ในที่นี้จะนำธรรมมะที่กล่าวถึงวิธีคิดวิธีไตร่ตรองพิจารณาในแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำทางแห่งความสุขในปัจจุบัน โดยจะนำธรรมะหลายหัวข้อมากล่าวดังนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
บางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ”
จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้
โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลธรรม และ ฝ่ายอกุศลลธรรม เช่น ฉันทะ / ตัณหา, ความเพียร / ความโลภ, ความเมตตา / ความรัก, ปล่อยวาง / ขี้เกียจ, อุเบกขา / ความเฉยเมย, พูดตรงจริงใจรู้กาล / พูดตรงไม่มีมารยาท, ความเห็นอกเห็นใจ / ความเศร้าเสียใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งภัยในโลกนี้ไว้ 2 อย่างคือ ภัยที่ช่วยเหลือกันได้ และภัยที่ช่วยกันไม่ได้
1.ภัยที่พอช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม 2.ภัยเกิดจากไฟไหม้ 3.ภัยเกิดจากโจรขโมยและสงคราม ภัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังพอช่วยเหลือให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ตามสถานการณ์
2.ภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็น พ่อ แม่ ลูก ที่รักและห่วงใยกันแค่ไหนก็ไม่สามารถช่วยกันได้เลย ได้แก่ 1. ภัยจากความแก่(ชราภัย) 2.ภัยจากความเจ็บไข้(พยาธิภัย) 3. ภัยจากความตาย(มรณะภัย) ภัยเหล่านี้เป็นภัยที่หากเกิดขึ้นแก่ผู้แล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยแบ่งเบา หรือรับเอาภัยนั้นมาแทนกันได้เลย พระพุทธองค์ทรงชี้ทางออกไว้ให้ว่าหากผู้ใดเป็นผู้ที่มีอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบอยู่ในจิตของตน ผู้นั้นก็จะสามารถพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจาก ความแก่ ความเจ็บ และความตายในอนาคตได้อย่างแน่นอน โดยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ได้แก่ 1.ศีล คือสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ 2.สมาธิ คือสัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ 3.ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ
ภัยต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประสบภัยนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดธรรมที่ทำให้เห็นว่าสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นสิ่งใดทำให้เกิด โดยจะกล่าวหมวดธรรม 3 ข้อที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้แก่
1.สุข ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นทำให้
2.สุข ทุกข์ เกิดจาก กรรมเก่า
3.สุข ทุกข์ เกิดจาก ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
หากผู้ใดมีมิจฉาทิฐิทั้ง 3 ข้อนี้ ก็จะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ได้ละในสิ่งที่ควรละ จะทำให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตใจได้ และเมื่อใดก็ตามที่อกุศลเกิด แต่กุศลไม่เกิดในจิตใจ เมื่อนั้นก็จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย
1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่พูดหยาบคาย และมีความจริงใจ ไม่โกหกเสแสร้ง ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เตกร้าว พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์
3. อัตถจริยา คือ การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย หนักแน่น ให้ความเสมอภาคกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
The podcast currently has 559 episodes available.
82 Listeners
18 Listeners
2 Listeners
4 Listeners
2 Listeners
1 Listeners
2 Listeners
1 Listeners
10 Listeners
60 Listeners
10 Listeners
8 Listeners
18 Listeners
1 Listeners
5 Listeners
2 Listeners
0 Listeners
0 Listeners
0 Listeners