Share 1 สมการชีวิต
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5
22 ratings
The podcast currently has 309 episodes available.
ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไป
A: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้
1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง
- “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ
= ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม
= ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4
- เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
2. เจริญอิทธิบาท 4
(1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน
(2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ
(3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ
(4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า
- ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้
3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ
- "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา
- “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม
- “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่
(1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก
(2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี
(3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย
(4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์
(5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ
4. ลดความเครียดในการทำงาน
- วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น
- วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน
- วิธีที่ไม่ใช่การคลายความเครียด คือ ไปหากาม เช่น การเล่นโทรศัพท์
- “การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ” คือ การนำธรรมฉันทะมาเพื่อละกามฉันทะ
- เราต้องมีวิธีการลด ละความเครียดในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
โดยสรุป:
“ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จและสามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้ได้ โดยต้องเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง เจริญอิทธิบาท 4 คงไว้ซึ่งสมาธิ และลดความเครียดในการทำงาน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The icon
A: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น
1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา
2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก
3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร
Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์
A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ
- ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก ให้พูดเรื่องอริยสัจ 4
- การประทุษร้ายสกุล เป็นอาบัติของพระข้อหนึ่งหากมีคนมาโจทก์ คือ การทำให้บุคคลนั้นมาศรัทธาในตัวเองคนเดียวมากกว่าศรัทธาในระบบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ปัจจุบันมีการตัดคลิปบางช่วงของการเทศน์ จึงควรฟังเทศน์ทั้งหมด ไม่ฟังฉาบฉวย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด
Q3: ฆราวาสติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่
A: ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม ให้ “ยกย่อง” บุคคลที่ควรยกย่อง ในสิ่งที่ควรยกย่อง และ “ติเตียน” บุคคลที่ควรติเตียน ในสิ่งที่ควรติเตียน
- คนเราไม่ได้ดีหรือชั่วโดยส่วนเดียวทั้งหมด มีทั้งเรื่องที่ทำดีและทำไม่ดี ดังนั้น จะเหมาว่าเขาดีหรือไม่ดีไม่ได้ จึงต้องแยกแยะแต่ละเรื่อง
- การติเตียนไม่ใช่การด่าบริภาษ (ด่าด้วยคำหยาบคาย จิตอาฆาต ต้องการให้เขาได้ไม่ดี) การติเตียนจะดูไปตามแต่ละสถานการณ์ ด้วยจิตเมตตา ชี้โทษให้เห็นว่าไม่ตรงตามคำสอนอย่างไร
- การยกย่องไม่ใช่การสรรเสริญเยินยอ การยกย่อง คือ การพูดถึงอานิสงส์ในสิ่งที่เขาทำดีนั้น
Q4: การทำคุณไสย
A: พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำคุณไสย เพราะจะเป็นการหลอกผู้อื่นให้ไปทางสุดโต่งทั้งสองข้างที่ไม่ใช่ทางสายกลาง (มรรค) ทำให้หลุดออกจากทางไปสู่นิพพานอันเป็นทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
Q5: การเลี้ยงสัตว์
A: การเลี้ยงสัตว์อย่าเบียดเบียนเขา อย่าต่อว่าเขา อย่าทำร้ายเขา ส่วนสัตว์จะได้รับการเลี้ยงดูได้ดีแค่ไหนก็เป็นไปตามกรรมของเขา
Q6: เตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์
A: พระพุทธเจ้าเปรียบตัวเราเป็นเมือง ที่มี “จิต” เป็นเจ้าเมือง เพื่อการรักษาเมืองไว้ ต้องกระทำดังนี้
1. มียามเฝ้าไว้หน้าประตู = เปรียบได้กับ “สติ” เป็นนายทวารเฝ้าไว้ เพื่อระวังบาปอกุศลธรรม ที่จะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเกิดจากผัสสะที่น่าพอใจ (ความเพลินความลุ่มหลง) และผัสสะไม่น่าพอใจ
2. มีเสบียง = เปรียบได้กับ “สมาธิ” เพื่อเลี้ยงดูในเมืองให้เหมาะสม
3. มีกองกำลัง = เปรียบได้กับ “ความเพียร”
4. มีอาวุธ = เปรียบได้กับ “การฟังธรรม”
- เมื่อเตรียม 4 อย่างข้างต้นไว้แล้ว เราจะมีความกล้า ไม่กลัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา
- โดยสรุป : เราต้องรักษาจิตใจของเราให้เหมือนเมืองกายเมืองใจ เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะเข้ามา ผู้ที่มีชีวิตอย่างนี้เรียกว่าเป็น “ผู้ไม่ประมาท”
Q7: นิพพาน กับการไม่แต่งงาน ไม่มีลูก
A: เหตุปัจจัยที่จะไปนิพพาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
- ชีวิตความเป็นอยู่ในโลกไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม หากมีศีล สมาธิ ปัญญา ก็สามารถไปนิพพานได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ช่วงไต่ตามทาง : ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาด
- คุณแม่สมบูรณ์อายุ 80 ปี ทางด้านร่างกายได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกหลาน แต่ด้านจิตใจมีความร้อนใจ มีความกังวลใจในลูกหลานมาก จึงให้สมาทานพระรัตนตรัยและสมาทานศีล เมื่อมีศีลแล้วก็จะไม่มีความร้อนใจ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ จึงให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อเป็นหลักกำหนดสติ ให้จิตมีสติตั้งไว้ พร้อมกับให้มีปัญญาร่วมด้วย ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้
- วิธีขจัดความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ
(1) กังวลใจในสิ่งของ = ให้เข้าใจว่า “สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง” ให้คลายความกังวลผูกพันต่อสิ่งนั้น
(2) กังวลใจในบุคคล = ให้เข้าใจว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ให้คลายความกังวลในบุคคลนั้น
(3) กังวลใจในกายของตน = ให้เข้าใจว่า “กายนี้เป็นของที่เกิดมาจากธาตุดินน้ำลมไฟ มีความแตกไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่าไปยึดถือกังวล เปรียบเหมือนภาชนะหม้อดินที่เก่าแล้วมีรอยรั่ว หันไปเอาภาชนะทองคำดีกว่าซึ่งเปรียบได้กับกายของเทวดา”
(4) กังวลใจในชาติภพหน้าของตน = ให้เข้าใจว่า “ถ้ามีกรรมดี ก็จะไปในที่ที่ดี” ก็จะไปสวรรค์ได้ ให้นึกถึงทาน นึกถึงศีลที่ตนเคยทำไว้ และหากเจริญ “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ก็จะไปพรหมโลกได้ เมื่อจิตชุ่มเย็นไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว ให้เห็นว่า “กายและใจ รูปและนาม ในตัวของเรา มันไม่ใช่ของเรา ให้ปล่อยวาง”
- การทำความเข้าใจเป็นขั้นตอนในเรื่องเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือจะมีธรรมะเป็นเครื่องป้องกันความขลาดทำให้จิตไม่มีความกลัว ไม่มีความกังวลได้
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : สมบัติ 3 ประการ
- ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ยังมีสมบัติอื่นที่มีคุณค่ามากกว่า และคุณค่านั้นไม่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม ความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของสมบัตินี้จะทำให้เราไม่ถูกหลอก
- สมบัติแบ่งเป็น 3 ระดับ
(1) มนุษยสมบัติ (เสื่อมได้) = รัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง ได้มาโดยการทำมาหากินหรือลงทุน
(2) ทิพยสมบัติ (เสื่อมได้) = อาหารทิพย์ อากาศเย็นสบายตลอดเวลา ได้มาโดยการทำทาน รักษาศีล
(3) นิพพานสมบัติ (ไม่มีความเสื่อมปรากฏ) = เป็นสมบัติที่มีคุณค่ามาก ประณีตกว่า และยั่งยืนกว่า ได้มาโดยการเจริญภาวนาเห็นความไม่เที่ยง
- อริยทรัพย์ 7 ประการ ที่จะนำมาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ อันเป็นทรัพย์ที่ไม่เป็นสาธารณะกับผู้อื่น ได้แก่
(1) ศรัทธา = ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
(2) ศีล
(3) หิริ = ความละอายต่อบาป
(4) โอตตัปปะ = ความเกรงกลัวต่อบาป
(5) พาหุสัจจะ = การศึกษาเล่าเรียน
(6) จาคะ = การสละออก ซึ่งจะได้รับผลมากหรือน้อย พิจารณาจากทานสมบัติ 3 ประการ คือ 1. ผู้รับมีคุณธรรมดีเป็นเนื้อนาบุญ 2. สิ่งของที่ให้บริสุทธิ์ และ 3. มีจิตตั้งใจให้
(7) ปัญญา
- ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราสามารถสร้างอริยทรัพย์เพื่อเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติได้อยู่ตลอด ซึ่งสามารถทำไปพร้อมกับการสร้างมนุษยสมบัติได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q1: เสพติดการเล่นมือถือ social media แก้อย่างไร
A: อาการเสพติด ไม่ว่าอะไรก็ตาม คือ การเสพติดเวทนา (ความรู้สึกที่เป็นสุข) วิธีแก้ในทางธรรมะ คือ ต้องมีปัญญาเห็นว่า ตัณหาทำให้เกิดความพอใจในเวทนานั้น และเห็นตามความเป็นจริงว่า “เวทนาเป็นของไม่เที่ยง” ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในเวทนานั้นได้
- การเสพติด Social Media แยกเป็น 2 ระดับ
(1) ระดับความเพลินที่ยังควบคุมตัวเองได้ = แก้โดยวางแผนล่วงหน้าและแบ่งเวลาให้ชัดเจนว่าจะใช้เวลาทำสิ่งใดกี่นาทีโดยไม่เล่นมือถือ การวางแผนล่วงหน้าจะทำให้มีกำลังใจในการทำสิ่งนั้น ณ เวลานั้น ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอก็จะเกิดความมีระเบียบวินัยขึ้นมา
(2) ระดับความเพลินที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้าไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย ก้าวร้าว = แก้โดยต้องงดการเล่นเลย ร่วมกับปรึกษาแพทย์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยมาทำความเข้าใจว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยง
- การเสพติด Social Media เป็นการเสพติดความรู้สึกที่เป็นสุข อาจมีปัญหาอื่นที่เป็นสิ่งไม่น่าพอใจแฝงอยู่ก็เป็นได้ เช่น ปัญหาครอบครัว การเรียน ความสัมพันธ์ เป็นต้น ก็ต้องหาสาเหตุแล้วตามไปแก้ปัญหาเหล่านั้น
Q2: วิธีสร้างวินัย ไม่ให้ผัดวันประกันพรุ่ง
A: ต้องใช้สมาธิ + อิทธิบาท 4
- ให้สำรวจตัวเองว่าช่วงเวลาใดที่จะมีสมาธิมาก ก็ใช้ช่วงเวลานั้นจดจ่อกับการทำงาน
- อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมให้การงานบรรลุผลสำเร็จได้ ช่วยให้ไม่ผัดวันประกันพรุ่งได้
Q3: วิธีสร้างพลังจดจ่อในงาน
A: ต้องใช้การตั้งเป้าหมายประกอบกับสมาธิ + อิทธิบาท 4
- โดยตั้งเป้าหมายในเรื่องประโยชน์ที่จะได้รับทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย ความดี คุณธรรม ปัญญา ความอดทน ความเมตตา เป็นต้น เช่น การมีบ้าน เป้าหมายไม่ใช่บ้าน แต่เป้าหมาย คือ เพื่อความรัก ความเมตตาต่อคนในครอบครัว
- หลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เพราะสมาธิไม่อาจตั้งอยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้
- สมาธิ กับนิวรณ์ (ความสุขที่เกิดจากกาม) ไม่อาจเข้ากันได้
Q4: โดนนินทาลับหลัง ควรทำอย่างไร
A: คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ให้เอาชนะความเท็จด้วยความจริง
- ถ้าถูกบัณฑิตนินทา เข้าใจผิด = ให้เอาความจริงมาเปิดเผย
- ถ้าถูกคนพาลนินทา เข้าใจผิด = ปล่อยไป ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องโต้ตอบ แต่ไม่ต้องหนี ให้เรื่องราวนั้นระงับไปก่อนจึงจะค่อยไป ให้เอาชนะความเท็จด้วยความจริง
Q5: พระสงฆ์ถูกลอตเตอรี่
A: พระสงฆ์มีลอตเตอรี่ในครอบครองไม่เป็นไร แต่ถ้าได้มาโดยการใช้เงินซื้อก็ผิดอาบัติปาจิตตีย์
- ถ้าถูกรางวัลได้เงินมา ถ้ายินดีในความเป็นปัจจัย 4 ได้ แต่ถ้ายินดีในเงินทองอันนี้ผิด
Q6: ข้อดีข้อเสียของความอดทน
A: ความอดทนมีข้อดีอย่างเดียวไม่มีข้อเสีย ยิ่งใช้ ก็ยิ่งมีมาก และยิ่งมีมาก ยิ่งดี
- ความอดทน คือ การอดกลั้นต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น ไม่ให้อกุศลธรรมเกิด แต่ถ้าอกุศลธรรมเกิดแล้วต้องมีความสามารถในการละอกุศลธรรมนั้นด้วย
- กิเลสบางอย่างต้องใช้ความอดทน กิเลสบางอย่างต้องใช้การละ เป็นคนละทักษะกัน
- การเก็บกดกับความอดทนไม่เหมือนกัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ช่วงไต่ตามทาง:
- ผู้ฟังท่านนี้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เมื่อปี 2560 สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ได้ปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิ จิตเกิดความสงบ ได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบุญกุศลของตนขอให้มีงานเข้ามา ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ มีงานเข้ามาเป็นโครงการใหญ่ หลังจากนั้นชีวิตก็พลิกผันไปในทางที่ดีหลายเรื่อง มีเงินเหลือเก็บ
- คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ไม่คดโกง บุญก็จะส่งผล ให้สามารถรักษาตัวได้
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์
- ธรรมะ 14 ประการนี้ จะทำให้ผู้ครองเรือนซึ่งยังยินดีด้วยเงินทองไม่ตกเป็นทาสของเงิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกำจัดอะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับเงินทองออกไปได้
1. อาหารของโภคทรัพย์ = ต้องมีความขยัน จะทำให้มีโภคทรัพย์มากขึ้น อย่าขี้เกียจ
2. บริหารจัดการทรัพย์ = สัมปทา 4 ได้แก่ การทำการงานปกติด้วยความขยัน, รักษาทรัพย์ (เก็บออม ลงทุน), มีกัลยาณมิตร (ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา) และมีสมชีวิตา (ใช้จ่ายทรัพย์อย่างเหมาะสม มีความสมดุล รายรับต้องท่วมรายจ่าย)
3. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) บริหาร 3 เวลา = ทำการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเช้า กลางวัน เย็น
4. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) มีตาดี 3 ตา = เห็นว่าสิ่งใดจะขายได้กำไร, ฉลาดในการซื้อขายสิ่งที่ตนจะพึงซื้อขายได้ และถึงพร้อมด้วยบุคคลที่จะเป็นที่พึ่งได้
5. ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ (ปิดทางน้ำออก) = อบายมุข 6 ได้แก่ ดื่มน้ำเมา, เที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน, การพนัน, คบคนชั่วเป็นมิตร, ความเกียจคร้าน และการเที่ยวดูมหรสพ หรือ อบายมุข 4 ได้แก่ นักเลงเจ้าชู้, นักเลงสุรา, นักเลงการพนัน และคบเพื่อนชั่ว
6. ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ (เปิดทางน้ำเข้า) = มีสัมปทา 4 และปิดทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
7. ตระกูลที่มีความมั่นคง มั่นคั่ง ตั้งอยู่ได้นาน = มีองค์ประกอบ 4 ข้อ คือ แสวงหาพัสดุที่หายไป, ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า, รู้จักประมาณในการบริโภค และแต่งตั้งบุรุษหรือสตรีผู้มีศีลให้เป็นแม่เจ้าเรือนหรือพ่อเจ้าเรือน
8. โทษของการมีโภคทรัพย์ = โทษ 5 อย่าง ได้แก่ ถูกทำลายได้ด้วยไฟหรือน้ำ ถูกเอาไปได้ด้วยพระราชา โจร หรือทายาทที่ไม่เป็นที่รัก
9. ประโยชน์จากการมีโภคทรัพย์ = เลี้ยงตนให้เป็นสุข เลี้ยงมารดาบิดา เลี้ยงบุตรภรรยา เลี้ยงมิตรสหาย และบำเพ็ญทานแก่สมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นทางสู่สวรรค์หรือนิพพานได้ หรือ บำรุงเลี้ยงคนภายในให้อยู่เป็นสุข บำรุงเลี้ยงคนภายนอก ใช้ป้องกันภัย ทำพลีกรรม และบำเพ็ญบุญกับผู้ที่จะไปนิพพานเพื่อให้ตนได้อานิสงส์
10. การใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ = ใช้เลี้ยงตนและครอบครัว, เก็บ, สงเคราะห์ และให้เพื่อหวังเอาบุญ
11. การสิ้นทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ = เป็นผลมาจากไม่ใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่
12. ความเป็นผู้ประมาทในการมีทรัพย์มาก = ยกตน ประพฤติผิดศีล
13. โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา แต่จะฆ่าคนมีปัญญาไม่ได้
14. ผู้ที่ยังบริโภคกาม 10 ประการ = กามโภคี 10 ประการ ซึ่งแบ่งผู้ที่ยังบริโภคกามออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หาได้โดยไม่เป็นธรรม กลุ่มที่หาได้โดยเป็นธรรมบ้างไม่เป็นธรรมบ้าง และกลุ่มที่หาได้ตามธรรมเท่านั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q1: ขโมยดวง
A: บุญบาป ขโมยกันไม่ได้ ใครทำคนนั้นได้ ทำให้กันก็ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงแบ่งบุญให้ทุกคนพ้นทุกข์ไปแล้ว
Q2: การแสดงธรรมโดยเคารพเพื่อนผู้ประพฤติธรรม
A: ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หลักการแสดงธรรมให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายมี 5 ประการ
หากแสดงธรรมไม่ตรงตามหลักการข้างต้น ผู้แสดงธรรมก็จะถูกติเตียน
Q3: บรรลุธรรมโดยไม่ฟังธรรม ได้หรือไม่?
A: พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์ในยุคนี้ สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด”
Q4: การนั่งสมาธิ เป็นบุญได้อย่างไร?
A: “บุญ” เป็นชื่อของความสุขความสงบที่อยู่ในจิตใจ
Q5: อานิสงส์ของการสวดมนต์
A: การสวดมนต์ เป็นทางแห่งการบรรลุธรรม
Q6: เลี้ยงปลาสวยงาม บาปหรือไม่?
A: เอาเรื่องการไม่ฆ่าสัตว์เป็นเกณฑ์ ไม่นำเขามาทรมานเบียดเบียน หรือพรากเขามาจากวิถีการใช้ชีวิตปกติที่ดีอยู่แล้ว คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายในการดูแล ทั้งนี้ มีความสุขอย่างอื่นที่มากกว่าความสุขจากการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น การนั่งสมาธิ การฟังธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ช่วงไต่ตามทาง: ปลดหนี้
- ผู้ฟังท่านนี้ถูกเพื่อนชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจเสริมความงาม ตกลงแบ่งกำไรให้ 40% จึงไปกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่มเกือบ 10 ล้านบาท ด้วยความเชื่อใจที่เป็นเพื่อนกันจึงไม่ได้ทำเอกสารหลักฐานอะไรไว้ ผ่านไป 2 ปี พบว่าธุรกิจนั้นไม่มีส่วนที่เพื่อนลงทุนเลย แต่ทรัพย์สินของธุรกิจกลับเป็นชื่อเพื่อนทั้งหมด เมื่อกิจการถูกปิด สรุปมีหนี้ 15 ล้านบาทที่ผู้ฟังท่านนี้ต้องชดใช้ให้เจ้าหนี้ ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลา 3 เดือน ติดต่อดำเนินคดีกับอีกฝ่ายแต่ไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการชดใช้เงินคืน จึงตัดใจไม่ดำเนินคดีต่อแล้วหันมาตั้งหน้าตั้งตาทำงานใหม่ เจรจากับเจ้าหนี้ ผ่านไปไม่ถึงปี ก็สามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้
- ได้เรียนรู้ว่า เพราะความโลภ ความไม่รอบคอบ และความประมาท จึงเกิดเหตุการณ์นี้ การเป็นคดีความ ใช้เวลามาก แต่เมื่อตัดใจเอาเวลาไปทุ่มเทกับการทำงานด้วยจิตใจที่ไม่มีความโกรธ ไม่มีความอาฆาตคิดร้ายต่อเพื่อนที่โกง มีเมตตา มีอุเบกขา ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แม้ยังมีหนี้ที่ต้องชดใช้ แต่จิตใจไม่เป็นอะไร สถานการณ์ก็พลิกผันทำงานหาเงินใช้หนี้ 15 ล้านบาท ได้ภายใน 1 ปี
- ผู้ฟังอีกท่านหนึ่ง เรียนจบเป็นหนี้ กยศ. และมีหนี้ทางครอบครัวที่ต้องช่วยชดใช้เป็นล้าน จึงประหยัดค่าใช้จ่าย เอาข้าวไปกินที่ทำงาน เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ลดสิ่งที่ฟุ่มเฟือย เลือกซื้อสิ่งที่จำเป็นมากกว่าสิ่งที่อยากได้โดยใช้ส่วนลด ทำงานอื่นเพิ่ม ใช้เวลา 2-3 ปี ก็ปลดหนี้ทั้งหมดได้และมีเงินเก็บ
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: การแก้ปัญหาทางการเงิน
ในการครองเรือน เงินทองเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงปัจจัย 4 ให้เป็นไปได้ ปัญหาทางการเงิน แก้ไม่ได้ด้วยความอยากหรือความตระหนี่ และไม่อาจสำเร็จได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง
การปฏิบัติตนต่อสถานะทางการเงิน 3 แบบ คือ
แบบที่หนึ่ง : ยามมีเงิน
(1) ต้องแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ = เพื่อป้องกันความตระหนี่ คือ 1. ใช้จ่าย 2. เก็บออม 3. สงเคราะห์ 4. ทำบุญ
(2) อย่าเพลิดเพลิน ลุ่มหลง ยินดีพอใจ ในเงินที่มี (ราคะ) = จะเป็นเหตุให้เกิดความยึดถือและความโลภ ซึ่งจะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นหรือคนเหล่านั้นเข้ามาในชีวิต เมื่อมีคนโลภเข้ามา ความโลภบังตาก็อาจถูกหลอกได้ ให้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงอยู่เสมอ ได้ลาภ เสื่อมลาภได้ จะป้องกันความโลภที่เกิดขึ้นในจิตใจได้
(3) อย่ามีความตระหนี่ หวงแหน (โมหะ) = จะเป็นเหตุให้เกิดความเศร้าหมองในจิตใจ จะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นเข้ามาในชีวิต การประหยัด มัธยัสถ์ เป็นการแบ่งจ่ายทรัพย์ ไม่เหมือนความตระหนี่
แบบที่สอง: ยามไม่มีเงินและเป็นหนี้
- ไม่อ้อนวอนขอร้องหวังรวยทางลัด เป็นความอยาก ความโลภ จะดึงดูดสิ่งนั้นเข้ามา อาจถูกหลอกได้
- ให้ตั้งจิตอธิษฐานที่ถูกต้องเพื่อสร้างเหตุ คือ การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กาย วาจา ใจ ของเราสามารถทำได้ ไม่ใช่การขอผล เช่น ตั้งจิตอธิษฐานให้เรามีปัญญาในการรู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ให้เหมาะสม, ให้เรามีความขยัน มีกำลังใจสูง ไม่ย่อท้อ, ให้เรามีตาในการมองเห็นว่าใครเป็นกัลยาณมิตรหรือปาปมิตร
- คาถา อุ อะ กา สะ, รู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ 4 หน้าที่, ไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่เป็นอบายมุข (ดื่มสุรา ยาเสพติด บุหรี่ การพนัน)
- จิตใจน้อมไปตามสิ่งที่เราคิด จิตเราน้อมไปทางไหนจะดึงดูดสิ่งนั้นเข้ามา ถ้าตั้งจิตไว้ถูกต้องจะดึงดูดกัลยาณมิตรเข้ามา
- กายทุกข์หน่อยก็อดทนเอา แต่ให้ตั้งจิตไว้ให้ดี อย่าตามความอยาก (ตัณหา) อย่าโลภ (โลภะ) อย่าตระหนี่ (โมหะ) มองมิตรให้ออกว่าเป็นปาปมิตรหรือกัลยาณมิตร
แบบที่สาม: ยามกลับมามีเงินอีกครั้ง
- รักษาจิตให้ดีเหมือนเดิม อย่าเพลิดเพลินลุ่มหลงในเงินนั้น อย่าเพลินในความสุข ให้เห็นความไม่เที่ยงในสุขเวทนานั้น ไม่ประมาท
- ด้วยจิตที่ไม่มีความโลภ ไม่มีความตระหนี่ จะเห็นช่องทางในการหาทรัพย์เพิ่มขึ้นได้
- เรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผ่านมา
- การเป็นหนี้ด้วยความโลภไม่ดี แต่การกู้เงินด้วยปัญญา รู้จักบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q1: ปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ
A: การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องไม่เบียดเบียนทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนเรา ส่วนเขา ส่วนร่วม และส่วนรวม การกระทำใดเป็นการเบียดเบียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)
- การขจัดปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ ทำให้นกมาทำรัง มีมูลนก ต้องทำความสะอาดเพิ่ม ลำพังเพียงคาถาบทใดบทหนึ่งจะทำให้สิ่งใดสำเร็จขึ้นมาได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ความเข้าใจที่ถูกคือต้องอาศัยทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางเดียวกัน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงจะสำเร็จขึ้นมาได้
(1) ทางกาย (ทำดี) = ทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้ เหมือนทำงานจิตอาสากวาดลานวัด
(2) ทางวาจา (ปิยวาจา) = พูดคุยทำความเข้าใจกันด้วยปิยวาจา
(3) ทางใจ (สัมมาทิฏฐิ+แผ่เมตตา) = ถ้ามีมุมมองว่าถูกเบียดเบียน ก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองว่าเรามีจิตอาสาทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้เหมือนพระปุณณมันตานีบุตร ก็จะเป็นบุญ จึงต้องปรับที่มุมมองของเรา และเจริญเมตตาแผ่ให้ทั้งเพื่อนบ้านและนกเหล่านั้น จะทำให้เมื่อเรามองเห็นจะไม่ขัดเคืองใจ มีความชุ่มเย็นอยู่ในใจ
- อย่ามองว่าปัญหานี้เกิดจากกรรมเก่าโดยส่วนเดียว ให้ทำสิ่งดีขึ้นมาใหม่ สร้างสิ่งที่เป็นกุศล ละสิ่งที่เป็นอกุศล (ความคิดเบียดเบียน) ด้วยการแผ่เมตตา แม้สถานการณ์จะไม่เปลี่ยนไป แต่เราจะไม่ทุกข์เท่าเดิม ความทุกข์จะผ่อนคลายลง
Q2: ประสบภัยน้ำท่วมเป็นกรรมเก่าหรือไม่
A: สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ทั้ง 3 อย่าง ทั้งจากตัวเราทำเอง กรรมเก่า หรือผู้ที่มีฤทธิ์บันดาล
- มิจฉาทิฏฐิ = ความคิดสุดโต่ง
(1) สุขหรือทุกข์เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว – จิตจะน้อมไปในทางที่ไม่ทำอะไร
(2) การอ้อนวอนร้องขอต่อสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นจะสำเร็จโดยส่วนเดียว
(3) สิ่งใดสำเร็จได้ด้วยการกระทำของตนเท่านั้น – หากทำแล้วไม่สำเร็จก็จะเกิดความท้อใจ เสียใจได้
- สัมมาทิฏฐิ = ทางสายกลาง ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย ไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ สำเร็จก็ไม่ยึดติด มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ควรทำ ละสิ่งที่ควรละ
-ในช่วงน้ำท่วม
(1) ช่วยเหลือกัน
(2) เข้าใจโลกด้วยปัญญา มีสติ = เห็นด้วยปัญญาว่าสุขก็มี ทุกข์ก็มี ละความยึดถือ เมื่อยอมรับได้ก็จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ ทั้งทุกขเวทนาและสุขเวทนาจะแทรกซึมเข้ามาในจิตใจไม่ได้ จะทุกข์แค่ทางกาย แต่ไม่ทุกข์ใจ ให้มีสติตั้งไว้ แก้ปัญหาไปทีละสถานการณ์
Q3: ลูกติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นบาปหรือไม่
A: คำพูดด่าบริภาษ = คำหยาบ คำพูดเสียดสี ที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ไม่ว่าทำต่อใคร เป็นบาปทั้งสิ้น ยิ่งทำกับคนที่มีบุญคุณมาก ก็ยิ่งบาปมาก
- คนที่ควรติเตียน หากไม่ติเตียน อันนี้ทำไม่ถูก
- การติเตียน ให้ติเตียนที่พฤติกรรมซึ่งเกิดจากกิเลสบังคับให้ทำ ไม่ใช่ติเตียนที่ตัวบุคคล
- การติเตียน ทำได้โดยไม่พูดเสียดสีที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ด้วยวาจาอันหยาบคายร้ายกาจ แต่ถ้าพูดเสียดสีแบบที่ทำให้กิเลสหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีหลุดลอกไป อันนี้ถูกต้อง
- การติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ต้องไม่ใช้คำด่าบริภาษ ดูช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ท่านจะรับฟัง ผู้พูดต้องใจเย็น การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ด้วยการให้ท่านออกจากบาป ตั้งอยู่ในความดี ประดิษฐานให้ท่านมีศีล เป็นสิ่งที่ลูกพึงกระทำตอบ
Q4: ทำชั่ว โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นความชั่ว บาปหรือไม่
A: แยกเป็น 2 กรณี
- กรณีแรก ทำโดยไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด = เป็นโมหะ เป็นบาป เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด ปฏิเสธว่าสิ่งนั้นไม่มี เพราะตนไม่เห็น
- กรณีสอง ทำดีแต่เบียดเบียนผู้อื่น = ต้องแยกส่วน อย่าเหมารวม ให้แยกส่วนดีที่ควรยกย่อง และส่วนไม่ดีที่ควรติเตียน แล้วค่อยกำจัดสิ่งที่ควรติเตียน เพิ่มส่วนที่ควรยกย่อง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ช่วงไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด
- ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ดร.สะอาด สมัยเริ่มสร้างวัดป่าดอนหายโศก ได้เคยร่วมสร้างกุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม และมาปฏิบัติธรรมที่วัด แต่ไม่ได้มาวัด 30 ปี จนกระทั่งได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจึงเดินทางมาที่วัด และได้หวนนึกถึงความหลังที่ตนได้สร้างมา จิตใจก็มีความปราบปลื้ม ดีใจ สบายใจ ความระลึกได้นั้นคือ “สติ” ระลึกถึงศีลความดีที่ตนเคยทำมา (สีลานุสติ) ระลึกถึงครูบาอาจารย์ (สังฆานุสติ) ระลึกถึงศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (เทวตานุสติ) ความดีของตนที่ระลึกได้นี้ จะเป็นที่พึ่งของตนในเวลาที่จะจากโลกนี้ไปได้
- ในขณะจิตสุดท้าย ถ้าจิตน้อมไปคิดถึงเรื่องไม่ดี ปองร้าย พยาบาท ทางกาม ก็จะไปไม่ดี เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ
- กาย วาจา ใจ จะปรุงแต่งอย่างไรให้สมองและจิตยังดีอยู่ได้ ไม่แก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ยังมีความผาสุกได้อยู่
- จิตกับสมองไม่เหมือนกัน สมองควบคุมร่างกาย ส่วนจิตควบคุมสมองอีกชั้นหนึ่ง จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดปรุงแต่งการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกสมองผ่านทางกาย ทางวาจา จะทำให้สมองไม่แก่
1. ทางกาย (กายสังขาร) = การเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนสำคัญทำให้สมองมีความคมอยู่ ไม่หลงลืม
(1) นอนให้เพียงพอ
(2) ทานอาหารพออิ่ม - ไม่มากไม่น้อยเกินไป มีคุณค่าต่อร่างกาย
(3) ออกกำลังกายพอประมาณ – การเดินช่วยย่อยอาหารได้ดี
(4) จัดตารางเวลาชีวิต - หนึ่งวันจะทำอะไรบ้าง
2. ทางวาจา (วจีสังขาร) = การพูดจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้อย่างดี
(1) อ่านออกเสียง - กระตุ้นสมองให้ประมวลผลเรื่องคำพูด
(2) อธิบายรูปภาพที่เกิดขึ้นในความคิดออกมาเป็นคำพูด - เช่น จะไปกินข้าวนอกบ้าน ให้อธิบายตามภาพที่เกิดขึ้นในหัวเป็นคำพูดว่า จะกินข้าวผัดอะไร จานเป็นยังไง ปริมาณเท่าไร กินที่ไหน แต่งตัวยังไง ไปกันกี่คน
(3) ตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ หรือ ตอบคำถามคนอื่น – สมองจะได้รับการพัฒนาเมื่อคิดเป็นคำถามในสิ่งที่ยังไม่รู้
(4) สังเกตรูปหรือเสียงต่างๆ – ฝึกอายตนะด้านการรับรู้ ฝึกสติ ช่วยพัฒนาสมอง
(5) ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดวิจารณ์เรา – มีสติ คิดตาม เรื่องที่เราต้องปรับปรุง สมองจะได้ใช้งาน
(6) พูดชื่นชมผู้อื่น - ก่อนพูดจะผ่านกระบวนการประมวลผลในสมอง ไม่มีประโยชน์ที่จะนึกถึงความไม่ดีของคนอื่นแล้วทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เราต้องรักษาจิตของเราให้สูงก่อน การมองเห็นแง่ดีของคนอื่นจะช่วยพัฒนาความดีของเราให้มากขึ้นได้
(7) พูดเปรียบเปรย ยกอุปมาอุปไมย เทียบเคียง – เส้นประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยง
3. ทางจิต (จิตสังขาร) = จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการปรุงแต่งออกไปทางกาย ทางวาจา ทางความคิด
(1) ฝึกคิดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ = ไม่คิดตำหนิผู้อื่น การเขียนอธิบายเป็นตัวอักษร เป็นการทบทวน เป็นการโยนิโสมนสิการอย่างหนึ่ง ไตร่ตรองใคร่ครวญโดยแยบคาย กระชับความคิด ช่วยกระตุ้นสมองให้คิดไปในทางดีได้
(2) ฝึกคิดวางแผนงานล่วงหน้า
(3) ฝึกคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
(4) ฝึกสมาธิ - สำคัญที่สุด ให้จิตได้พักผ่อนจากการปรุงแต่ง โดยให้ตั้งสติขึ้น สติเป็นเครื่องมือในการทำให้จิตสงบ เมื่อจิตสงบ การใช้สมองซึ่งเป็นเครื่องมือของจิตก็จะใช้ได้อย่างดี การฟังเทศน์ฟังธรรมจะทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
โดยสรุป: ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน สิ่งของต่าง ๆ แม้แต่ร่างกายของเรา สิ่งเหล่านี้จะพังทั้งหมด ไม่สามารถเอามาเป็นที่พึ่งได้ แต่สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ คือ จิตที่มีธรรมะ หากจิตมีที่พึ่งที่มั่นคงแล้ว เวลากายแตกดับ ก็จะมีที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งอันสูงสุด การลับสมองของเราให้คมอยู่เสมอ ด้วยกาย วาจา ใจ จะทำให้จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมองยังดีอยู่ได้ ด้วยจิตใจที่ดี จิตใจที่มีกุศลธรรม จากบุญกุศลที่สะสมไว้นั่นเอง และต้องไปตรวจสุขภาพเช็คระบบประสาทและสมองด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q1: คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมือง
A: ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ต้องเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า
1. เป็นคนดี = เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณธรรมข้อแรกที่นักปกครองต้องมี มีเกณฑ์วัด 4 ระดับ
(1) ประโยชน์ส่วนตัว = วงกลม 2 วง เห็นประโยชน์ส่วนตัวแยกจากคนอื่น
(2) ประโยชน์ส่วนร่วม = เห็นเฉพาะประโยชน์ส่วนที่วงกลม 2 วงทับซ้อนกัน
(3) ประโยชน์ส่วนเรา = เห็นประโยชน์ของวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งส่วนทับซ้อนและไม่ทับซ้อนกัน
(4) ประโยชน์ส่วนรวม = เห็นประโยชน์ขยายเป็นสี่เหลี่ยมที่ครอบรวมวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งหมด
2. เป็นคนเก่ง = มีทักษะ มีความสามารถ ฝึกฝนได้
3. เป็นคนกล้า = กล้าที่จะยืนหยัดในความดี เมื่อมีอำนาจแล้วไม่ถูกกิเลสดึงให้ความดีลดลง
- ถ้าบกพร่องเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะมีปัญหาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมหรือประสิทธิภาพในการบริหารงาน
- ดี กล้า แต่ไม่เก่ง = มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารงาน
- ดี เก่ง แต่ไม่กล้า = ไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงานให้สืบต่อไปอย่างยั่งยืนได้
- เก่ง กล้า แต่ไม่ดี = หาประโยชน์ส่วนตัว เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก
- โดยสรุป “ดี เก่ง กล้า” เป็นเกณฑ์เพื่อเลือกคนมาทำงานบริหารบ้านเมือง จะทำให้บ้านเมืองพัฒนาดีขึ้นได้ ดีและเก่งต้องมาด้วยกัน ถ้าเก่งอย่างเดียวแต่ไม่ใช่คนดี ก็จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม แต่ถ้าคนดีเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมแล้ว ก็สามารถเรียกคนเก่งมาใช้งานได้
Q2: นิมนต์พระรูปเดียวทำบุญขึ้นบ้านใหม่
A: ได้ หรือไม่นิมนต์พระเลยก็ได้ เพราะบุญเกิดจากทาน ศีล ภาวนา แต่คนไทยติดรูปแบบ สมัยพุทธกาล เจ้าลิจฉวีสร้างปราสาทใหม่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาใช้สถานที่นี้ก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล ทำให้เป็นทางมาแห่งบุญ 5 ประการ คือ 1. ได้เห็นพระสงฆ์ เป็นการเห็นอันเลิศ 2. ได้กราบไหว้พระสงฆ์ เป็นการบูชาเลิศ 3. ได้ถวายทาน 4. ได้ฟังธรรม 5. ได้ถามปัญหา
- พระสงฆ์เป็นนาบุญ ถ้านิมนต์พระมาแล้วได้ทำ 5 ประการนี้ ถือว่าได้บุญเต็ม ไม่ว่าจะนิมนต์มากี่รูปก็ตาม
Q3: ผู้หญิงเข้าวัดมากกว่าผู้ชาย
A: จิตใจของคนไม่มีเพศหรือวัย จิตก็คือจิต จิตที่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางดี จิตที่ไม่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางไม่ดี คนชั่วทำความดีได้ยาก คนดีทำความชั่วได้ยาก คนชั่วทำความชั่วได้ง่าย คนดีทำความดีได้ง่าย
Q4: พิธีกรรมบูชาเทพที่วัด และการอุทิศบุญกุศล
A: หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นด้วย “ศรัทธา” และต้องจบที่ “ปัญญา”
- คนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้องยังดีกว่าคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลย เพราะคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลยจะทำความชั่วได้โดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด ส่วนคนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ยังสามารถเปลี่ยนให้มีศรัทธาที่ถูกต้องได้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ศรัทธาที่เป็นไปเพื่อปัญญา คือ รู้ตามความเป็นจริง เกิดความปล่อยวาง ตั้งอยู่ในทางศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
- พิธีกรรมใดที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา แต่เป็นไปเพื่อความงมงาย พิธีกรรมนั้นก็ไม่ถูกทาง
- การอุทิศบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับ เป็นสิ่งที่ควรทำ จะทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้ทำบุญ ส่วนผู้ล่วงลับจะได้บุญหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเขาอยู่ในฐานะที่จะรับได้หรือไม่ เฉพาะปรทัตตูปชีวิกเปรตเท่านั้นที่จะสามารถรับบุญที่เป็นอาหารได้
Q5: เนื้อคู่มีจริงหรือไม่
A: ผู้ที่เห็นกันแล้วเกิดความพอใจกัน เกิดจากการเกื้อกูลกันในกาลก่อนหรือในปัจจุบัน เป็นความรู้สึกภายใน การเลือกคู่ครองให้ดูที่ ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ต้องเสมอกัน อย่าไปดูแค่เรื่องกาม ถ้ามีคู่ครองไม่ดี ไม่มีดีกว่า มีความสุขที่เหนือกว่า เช่น ความสุขที่เกิดจากการรักษาศีล สมาธิ ปัญญา
Q6: เตือนพ่อแม่ด้วยคำพูดไม่ดี บาปหรือไม่
A: ไม่ว่าพ่อแม่ด่าลูกหรือลูกด่าพ่อแม่ ก็เป็นบาป เพราะการด่าเป็นมิจฉาวาจา เราจะห้ามเขาจากบาปด้วยบาปไม่ได้ ถ้าลูกด่าพ่อแม่ บาปหนักกว่าเพราะทำต่อผู้มีบุญคุณ อย่าไปเอาเครื่องมือมารมาใช้ ต้องหาเทคนิคในการเตือนพ่อแม่ ให้ตั้งจิตเจตนาไว้ด้วยเมตตากรุณาให้ท่านพ้นจากความทุกข์ พบกับความสุข และให้การกระทำและเจตนาไปในทางเดียวกัน ความดีก็จะไม่ถูกตัด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
The podcast currently has 309 episodes available.
56 Listeners
82 Listeners
18 Listeners
4 Listeners
1 Listeners
2 Listeners
1 Listeners
2 Listeners
1 Listeners
60 Listeners
10 Listeners
8 Listeners
18 Listeners
0 Listeners
1 Listeners
2 Listeners
0 Listeners
0 Listeners
0 Listeners