Q : ความหมายและความต่างระหว่างโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะ
A : เป็นอาบัติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ “โลกวัชชะ” คือ อาบัติที่เมื่อทำผิดพระวินัยแล้วจะเกิดอกุศลในจิตแน่นอน ส่วน “ปัณณัตติวัชชะ” คือ อาบัติทางพระบัญญัติ ที่อยู่ที่จิตขณะนั้น หากจิตขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะมีโทษ
Q : ความหมายของ “พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบนั้น ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ เป็นของหมดจดวิเศษแล้วพระนิพพานนั้นอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ”
A : พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบ หมายถึง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ หมายถึง หมู่ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณคือปัญญา / พระนิพพานอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ หมายถึง บัณฑิตทั้งหลายเขาจะเห็นอย่างนี้เหมือนกัน
Q : เปรียบเทียบการให้ทานด้วยอาหารกับ ศีล สมาธิ ปัญญา?
A : การให้ทานด้วยอาหารให้ผลน้อยเพราะไม่สามารถทำได้ตลอด ไม่เหมือนกับการรักษาศีล ภาวนา ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ทำได้ในทุกอิริยาบถ
Q : ศรัทธากับสัมมาทิฐิอันไหนมาก่อนกัน
A : ทั้งศรัทธาและสัมมาทิฐิ ต่างเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากเรามีศรัทธาที่เป็นสัมมาทิฐิ เราก็จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มีความเพียร ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้
Q : การวางจิตเมื่อแสดงธรรมแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า
A : การที่เราแสดงธรรมไปตามเนื้อหาที่ท่านประกาศไว้ เราไม่ต้องกังวล ถ้าเราศึกษามาเป็นอย่างดี เพียงแต่ระวัง ไม่พูดผิด ไม่พูดกระทบตนเอง ไม่พูดกระทบผู้อื่น ไม่ว่าจะพูดให้ใครฟังก็สามารถทำได้
Q : พระอรหันต์ทำผิดได้หรือไม่?
A : ท่านไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เราสามารถแสดงความเห็นต่อท่านได้ ถ้าเราเป็นผู้น้อยก็ขอโอกาสท่าน พูดด้วยจิตที่มีเมตตา ด้วยความเคารพ นอบน้อม สิ่งไหนควรติเตียนก็ติเตียน สิ่งไหนควรยกย่องก็ยกย่อง ให้ดูที่พฤติกรรมไม่ใช่ที่ตัวบุคคล รักษาจิตของเราให้ตั้งอยู่ในกุศล
Q : NO PAIN NO GAIN
A : มี 2 พุทธพจน์ คือ “เห็นทุกข์จึงจะเห็นธรรม” และ “ขึ้นชื่อว่าความสุขความสำเร็จแล้ว ใครๆจะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี ความสุขความสำเร็จเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้ด้วยความลำบาก” การเห็นโทษเป็นการเห็นทุกข์ ถ้าเราเห็นโทษของสิ่งใด เราจะพ้นจากสิ่งนั้นได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.