Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.
July 23, 2024ไต้หวันไฮเทค - 2024-07-23ไต้หวันจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์ฟีโนไทป์พืชแห่งชาติสำหรับเพาะพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปกระทรวงเกษตรได้ลงทุน 139 ล้านดอลลาร์ไต้หวันเพื่อสร้าง "ระบบวิเคราะห์ฟีโนไทป์ของพืชแห่งชาติ" บริหารจัดการโดยสถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวัน ประกอบด้วยโรงเรือนควบคุมสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาดและระบบการเพาะปลูกกลางแจ้ง ถือเป็นระบบแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลพืชและพารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องและโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืช นำไปสู่การวิเคราะห์บิ๊กดาต้าเพื่อเร่งการวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่ทนต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการออกแบบพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด"ฟีโนไทป์ของพืช" คือลักษณะที่ปรากฏของพืช ซึ่งถูกกำหนดโดยยีนและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กัน สถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวันระบุว่ามีเป้าหมายสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลการผสมพันธุ์พืชภายใน 5 ปี ด้วยการผสานความรู้การคัดเลือกจีโนม กลยุทธ์การผสมพันธุ์ และเทคโนโลยีอื่นๆ การวางแผนจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์ฟีโนไทป์พืชแห่งไต้หวันเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2021 และเริ่มดำเนินการในปี 2022 โดยสร้างเสร็จและเริ่มทดลองใช้งานในเดือนพฤษภาคม ปี 2024 หลินเสวียซือ (林學詩) ผู้อำนวยการสถาบันการทดลองทางการเกษตรกล่าวว่า ปัจจุบันในไต้หวันมีระบบฟีโนไทป์ขนาดเล็กขององค์กรต่างๆ เช่น Academia Sinica, มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และศูนย์พืชผักแห่งเอเชีย สำหรับระบบวิเคราะห์ฟีโนไทป์ระดับชาติที่จัดตั้งโดยสถาบันวิจัยการเกษตรนี้ มีความพิเศษเนื่องจากใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก นับเป็นชุดแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอนาคตนอกจากใช้งานโดยสถาบันวิจัยการเกษตรแล้ว ยังจะเปิดให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยอื่นๆ และผู้ประกอบการใช้งานได้ด้วยการผสมพันธุ์พืชแบบดั้งเดิมต้องมีการสำรวจตรวจดูรูปลักษณ์ของพืชเพื่อทำความเข้าใจลักษณะต่างๆ เช่น ความทนทานต่อความร้อนและความแห้งแล้ง ซึ่งเรียกว่าการวิจัยฟีโนมิกส์ แม้ว่าการวิจัยในไต้หวันเกี่ยวกับจีโนมมีความก้าวหน้ามาก แต่การวิจัยฟีโนมิกส์ยังล่าช้า การจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์ฟีโนไทป์พืชแห่งชาติถือเป็นหลักไมล์ใหม่ของการเพาะพันธุ์พืชที่แม่นยำการตรวจสอบฟีโนไทป์เพื่อการผสมพันธุ์พืชแบบดั้งเดิมต้องอาศัยแรงงานคนและการทำลายพืชเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสรีรวิทยา เช่น อัตราการสังเคราะห์แสงและอัตราการแปลงซูโครส ซึ่งทำให้การเพาะพันธุ์พืชชนิดใหม่ใช้เวลา 8-10 ปี ระบบวิเคราะห์ฟีโนไทป์ระดับชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้สามารถรวบรวมข้อมูลหลายมิติได้อย่างต่อเนื่องและไม่ทำลายพืช ทำการวิเคราะห์ทางกายภาพและส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ช่วยเร่งการวิจัยฟีโนไทป์และลดเวลาการเพาะพันธุ์พืชชนิดใหม่ได้อุปกรณ์ของศูนย์วิเคราะห์ฟีโนไทป์ประกอบด้วยระบบวิเคราะห์ฟีโนไทป์สายพานลำเลียงอัตโนมัตินำเข้าจากเยอรมนี ซึ่งสามารถทำการเพาะปลูกและวิเคราะห์ภาพด้วยแสงและเลเซอร์ในเรือนเพาะชำควบคุมสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังมีระบบวิเคราะห์ฟีโนไทป์แบบรถเครนสนามที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีเครื่องสแกนเลเซอร์หลายสเปกตรัมแบบเลนส์คู่ สามารถปลูกพืชได้ 5,000 ต้นในเวลาเดียวกันและรวบรวมลักษณะเฉพาะ 19 อย่าง เช่น ชีวมวลของพืช พื้นที่ใบ และพารามิเตอร์สเปกตรัมกระทรวงเกษตรอุดหนุนสถาบันวิจัยการเกษตรสร้าง "ระบบวิเคราะห์ฟีโนไทป์ของพืชแห่งชาติ" สร้างเรือนเพาะชำที่สามารถวิเคราะห์พืชพรรณได้ 200 ต้นด้วยระบบ LemnaTec PhenoAIxpert HT นำเข้าจากเยอรมันนี Photo:CNA,Taiwan ...more15minPlay
July 16, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 16 ก.ค.2567ม.เฉิงกงพัฒนาวัสดุนำไฟฟ้า ทนทานต่อการสึกหรอ และมีเอนโทรปีสูง ม.แห่งชาติเฉิงกง(National Cheng Kung University) ได้แถลงในวันที่ 4 กรกฏาคม ว่า ศ.ซือเฉวียนฟง(施權峰) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าของ ม.เฉิงกงได้จัดตั้งทีมวิจัยเอนโทรปีสูง ซึ่งประกอบด้วย ศ.หลิวฮ่าวจื้อ,ศ.สวี่เหวินตง ภาควิชาวัสดุ และ ศ.หยางเฉิงซาน สถาบันออปโตอิเล็กทรอนิกส์ ม.แห่งชาติไต้หวัน และนักศึกษาระดับปริญญาเอก เยี่ยเจิ้งเสียน ม. เฉิงกง ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุเอนโทรปีสูงที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าและทนทานต่อการสึกหรอ ผลความสำเร็จนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ซึ่งเป็นวารสารทรงอิทธิพลของอังกฤษ ม.เฉิงกง ชี้ว่าวัสดุเอนโทรปีสูงประกอบด้วยองค์ประกอบหลักหลายอย่างรวมกันในสภาวะที่ใกล้เคียงกัน เป็นวิทยาการสาขาวัสดุศาสตร์ที่ได้รับความสนใจมากในช่วงไม่กี่ปีนี้ การผสมผสานที่หลากหลายขององค์ประกอบได้ทำลายข้อจำกัดแบบดั้งเดิม ทำให้ตารางธาตุมีการเปลี่ยนแปลง และเป็นนวัตกรรมเพิ่มทางเลือกในการใช้วัสดุ ทีมวิจัยเริ่มต้นจากหลักวิชาการด้านOptics กลศาสตร์ ไฟฟ้า และวัสดุศาสตร์เชิงคำนวณ นำเสนอว่าวัสดุเอนโทรปีสูงสามารถออกแบบการนำไฟฟ้าผ่านการผสมผสานองค์ประกอบเชิงเส้น และพิสูจน์ว่าการส่งผ่านอิเล็กตรอนมีความสัมพันธ์กับมวลของอิเล็กตรอน และความถี่พลาสมาเกี่ยวข้องกับการล่าช้าของเวลา นี่คือการค้นพบที่สำคัญในด้านวัสดุเอนโทรปีสูง นับจากนี้การออกแบบวัสดุเอนโทรปีสูงจะมีขอบเขตกว้างขึ้นในอนาคต ศ.ซือเฉวียนฟง ชี้ว่าการวิจัยนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือข้ามสาขาและมีส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อทฤษฎีกลไกการนำไฟฟ้าของโลหะผสมที่มีเอนโทรปีสูง โดยจะขยายการใช้งานไปยังเซมิคอนดักเตอร์ ตัวเชื่อมต่อ การสื่อสาร และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นการยกระดับขีดจำกัดของการใช้งานให้สูงขึ้น ศ.หยางเฉิงซาน ชี้ให้เห็นว่าการวิจัยในอดีตเกี่ยวกับโลหะผสมเอนโทรปีสูงมุ่งเน้นไปที่คุณสมบัติทางกลศาสตร์ แต่การวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติทางแสงและไฟฟ้าสามารถขยายไปยังสาขาเซมิคอนดักเตอร์ได้ ด้วยการคำนวณจำลอง พัฒนารูปแบบจำลองคุณสมบัติแสงและคุณสมบัติไฟฟ้าของวัสดุเอนโทรปีสูง จะช่วยเร่งการพัฒนาโลหะผสมเอนโทรปีสูงประยุกต์ใช้งานเซมิคอนดักเตอร์ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ให้ก้าวหน้าขึ้นได้...more15minPlay
July 09, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 9 ก.ค.2567การประยุกต์ใช้ AR ในสมาร์ทโฟน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายใน 5 ปี การสำรวจล่าสุดของ Ericsson ชี้ให้เห็นว่าการส่งข้อมูล (data) ทางสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ระบบ 5G ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการส่งข้อมูลโดยเฉลี่ยของผู้ใช้ 5G อยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 3 เท่าของ 4G นอกจากนี้ การสำรวจผู้ใช้งานเทคโนโลยี AR บ่งชี้ว่าจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์ AR (เช่น แว่นตา AR ฯลฯ) ร่วมกับสมาร์ทโฟนรุ่นต่อไป คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายใน 5 ปีข้างหน้า จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคโดยหน่วยงานวิจัยของ Ericsson ในกลุ่มผู้ใช้ 5G ทั่วโลก สัดส่วนของผู้ใช้ที่ใช้แอปพลิเคชัน AR ทุกวันในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 17% ในปี 2021 เป็น 38% ในปี 2023 ในขณะที่ระดับการใช้งาน AR ในหมู่ผู้ใช้ 5G ของไต้หวัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก เวลาเฉลี่ยต่อวันที่ใช้แอปพลิเคชัน AR ในปี 2023 เพิ่มขึ้น 45 นาที เมื่อเทียบกับปี 2021 จะเห็นได้ว่าแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับ AR ได้รับความนิยมมากขึ้นจากผู้ใช้ 5G ทั่วโลก โจวต้าชี่ (周大企) ผู้จัดการทั่วไปของ Ericsson Taiwan กล่าวว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมหากมีเครือข่ายมือถือที่พิเศษกว่าจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ เนื่องจากการใช้งาน AR จะมีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคต และยังพบว่าความต้องการของผู้บริโภคไต้หวันในการรับชมวิดีโอคมชัดสูงและเสียงขั้นสูงมีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาผู้ใช้ชาวไต้หวันใช้เวลารับชมวิดีโอ 360 องศา เพิ่มขึ้น 35 นาทีต่อวัน เวลาในการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งเปอร์สเปคทีฟเพิ่มขึ้น 15 นาที ในขณะที่เวลาในการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งความละเอียดปกติลดลง 60 นาที นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการสตรีมเสียงและวิดีโอทั่วไป การใช้ข้อมูลของรูปแบบเสียงและวิดีโอที่ปรับปรุงดีขึ้น เช่น ฟังก์ชันการโต้ตอบ เพิ่มขึ้นมากถึง 5 เท่า ซึ่งหมายความผู้บริโภคต้องประสิทธิภาพเครือข่าย 5G เพิ่มขึ้นเช่นกัน หน่วยวิจัย Ericsson ConsumerLab รายงาน "Augmented Tomorrow" ชี้ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคต้องการอุปกรณ์ AR ที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่ และยินดีจ่ายเพิ่มอีก 20% สำหรับการพกพาได้ Jasmeet Singh Sethi หัวหน้าหน่วยวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค Ericsson ConsumerLab ของ Ericsson กล่าวว่า Ericsson คาดว่าแว่นตา AR ที่ใช้เทคโนโลยี AI ที่ผสานกับสมาร์ทโฟน 5G จะกลายเป็นกุญแจสำคัญผลักดันเทคโนโลยีสู่การใช้งานที่ก้าวหน้าขึ้น วางรากฐานสำหรับ AR อย่างสมบูรณ์...more15minPlay
July 02, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 2 ก.ค.2567อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 100,000 ปี ผู้คนชอบอยู่ในห้องปรับอากาศหรือสวมเสื้อผ้าที่เย็นสบาย ทีมวิจัยที่นำโดย ศ. ว่านเต๋อฮุย (萬德輝) จากสถาบันวิศวกรรมการแพทย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหัว ได้เรียนรู้จาก มดสีเงินในทะเลทรายซาฮารา พัฒนาวัสดุเลียนแบบสิ่งมีชีวิต "นาโนไฟเบอร์เย็นพิเศษ" โดยวางแผ่นไฟเบอร์บางยืดหยุ่น ไม่แตกหัก ทนทานต่อรังสียูวี และทนฝนกรดไว้บนหลังคา เปรียบเสมือนการสวมเสื้อผ้าคลุมรักษาความเย็นให้อาคาร ซึ่งสามารถทำให้อุณหภูมิภายในอาคารเย็นลงได้มากกว่า 12 องศาเซลเซียส ประหยัดเงินค่าไฟฟ้า ประหยัดพลังงาน ลดคาร์บอน และช่วยโลกอีกด้วย ว่านเต๋อฮุยชี้ว่ามดเงินซาฮาราสามารถอยู่รอดได้ในทะเลทรายที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส สาเหตุหลักมาจากมดมีขนตามลำตัวรูปสามเหลี่ยมคล้ายกับขนบนตัว ซึ่งสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่และปล่อยแสงอินฟราเรดออกมาเพื่อให้เกิดความเย็นทีมวิจัย ม.ชิงหัว พัฒนาวัสดุคลุมเก็บความเย็นในอาคาร ทีมงานได้รับแรงบันดาลใจจากขนบนตัวของมดเงินซาฮารา ทำการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับวัสดุ รูปร่าง ขนาด และสีต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมเชิงแสงขั้นสูง พวกเขาใช้วัสดุเซรามิกเพื่อสร้างเส้นใยสีขาวที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายร้อยนาโนเมตร สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ 97% จึงเก็บรักษาความเย็นได้ที่ดีที่สุด ว่านเต๋อฮุย กล่าวว่าเขานำทีมนักศึกษาทดลองบนหลังคาของอาคารใน ม. ชิงหัว ภายใต้แสงแดดที่แรงกล้า เขาวางฟิล์มนาโนไฟเบอร์เย็นพิเศษบนหลังคาบ้านจำลอง จากนั้นวัดอุณหภูมิด้วย กล้องถ่ายภาพความร้อนอินฟราเรดเขาพบว่าอุณหภูมิลดลงจาก 50 องศาเซลเซียสลดลงเหลือ 29 องศาเปรียบเทียบอุณหภูมิ หลังวางฟิล์มนาโนไฟเบอร์บนหลังคาบ้านจำลอง นอกจากนี้ ในฤดูร้อนอุณหภูมิภายในรถมักจะสูงถึง 60 องศาเซลเซียส หากเคลือบด้วยฟิล์มนาโนเย็นพิเศษ อุณหภูมิจะลดลง 17 องศา ถือว่าน่าทึ่งมากจริงๆ แผ่นนาโนไฟเบอร์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสีเขียว สามารถนำไปใช้ในรถยนต์ โรงเรือนเกษตร ห้องเย็น ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ โดยสามารถระบายความร้อนและทำให้เย็นลงได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า...more15minPlay
June 25, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 25 มิ.ย.2567Supercomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบัน ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังที่สุดในไต้หวัน คือ Taipei-1 ที่สร้างโดย NVIDIA ซึ่งมีพลังการประมวลผล 22.3 petaFLOPS และอยู่ในอันดับที่ 38 ในบรรดาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 500 อันดับแรกของโลก โดย Taipei-1 เปิดให้บริการฟรีสำหรับการวิจัยพัฒนาในไต้หวันด้วย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Taiwania 2 มีพลังการประมวลผล 9 petaFLOPS จางเฉาเลี่ยง (張朝亮) ผู้อำนวยการศูนย์ประมวลผลและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแห่งชาติของไต้หวัน กล่าวว่าเมื่อสร้างขึ้นในปี 2018 Taiwanina 2 อยู่ในอันดับที่ 20 ของโลก อย่างไรก็ตาม ด้วยการพัฒนาที่เฟื่องฟูของ AI ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลและผู้ผลิตทั่วโลก ได้ลงทุนสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Taiwania 2 ดูเหมือนจะอ่อนแอในระดับสากล อย่างไรก็ตาม จางเฉาเลี่ยงชี้ให้เห็นว่าในปี 2023 เพื่อการฝึกอบรม "กลไกการสนทนาปัญญาประดิษฐ์ที่เชื่อถือได้" "Trusted Artificial Intelligence Dialogue Engine(TAIDE) " ในภาษาจีนตัวเต็ม ทางศูนย์ประมวลผลและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแห่งชาติได้จัดซื้อ GPU H100 ที่ล้ำหน้าของ NVIDA จำนวน 72 ชิ้นในปีนี้ ดำเนินโครงการอัพเกรดพลังการประมวลผล โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ GPU หน่วยประมวลผลหลักจะมีพลังการประมวลผล 16 petaFLOPS ภายในสิ้นปีนี้ และมีแผนจะเพิ่มเป็น 100 ถึง 120 petaFLOPS ในปีหน้า และขนาดสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับเงินทุนที่ได้รับอนุมัติ สำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ CPU เป็นหน่วยประมวลผลหลักนั้น จางเฉาเลี่ยงชี้ว่า TAIWANIA 3 เริ่มให้บริการในปี 2021 มีพลังการประมวลผล 2.3 petaFLOPS และ Forerunner-1 มีพลังการประมวลผลอยู่ที่ 3.53 petaFLOPS ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของไต้หวันที่ติดอยู่ใน 500 อันดับแรกของโลก มี 6 ระบบ ได้แก่ Taipei-1, Taiwania-2, Taiwania-3 และ Forerunner และมีอีก 2 ระบบที่สร้างโดยสำนักพยากรณ์อากาศกลาง กระทรวงคมนาคมที่ร่วมมือกับฟูจิตสึ...more15minPlay
June 18, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 18 มิ.ย.2567ม.แห่งชาติจงเจิ้ง พัฒนาโดรนปีกยึดสำเร็จแล้ว มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงเจิ้ง (National Chung Cheng University :CCU) ได้ออกมาแถลงข่าวในวันที่ 21 พฤษภาคม 2024ว่า แม้ทางมหาวิทยาลัยไม่มีคณะวิศวะการบินและอวกาศ แต่ก็ได้รวบรวมทีมโดรน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องกลและนักวิชาการเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโดรน สร้างโดรนปีกยึดได้ 2 ลำภายในปีเดียว ขณะนี้เสร็จสิ้นการบินทดสอบแล้ว รศ.หยางฮั่นซวิน(楊翰勳) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งรับผิดชอบในการออกแบบโดรนลำนี้ กล่าวว่าโดรนรุ่นนี้มีปีกกว้าง 3 เมตร ความยาวรวม 2.5 เมตร มีประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าโดรนปีกยึดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อดีของโดรนปีกยึด เมื่อเปรียบเทียบกับโดรนแบบ quadrotor ทั่วไป โดรนปีกยึดใช้แรงขับน้อยกว่า บินได้นานขึ้น ระยะทางบินไกลขึ้น บินได้เร็วขึ้น น้ำหนักบรรทุกมากกว่า เหมาะในการใช้งานด้านการเกษตร งานสำรวจ งานกู้ภัย และอื่นๆ อู๋อี้จวง(吳亦莊) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งรับผิดชอบโครงสร้างวัสดุ กล่าวว่า วัสดุที่ใช้ในโดรนจะต้องมีความแข็งแรงพอและมีน้ำหนักเบา ในอนาคตจะพัฒนาออกแบบโครงสร้างให้แข็งแรงขึ้น ลดการใช้วัสดุที่เป็นโลหะจะเป็นการลดน้ำหนักได้อีกด้วย เฉินซื่อเล่อ(陳世樂) ศ.ที่รับผิดชอบทีมพัฒนาโดรน เนื่องจากข้อจำกัดในการบินขึ้นของโดรนปีกยึด จึงไม่สะดวกสำหรับการใช้งานในป่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ขณะนี้กำลังพัฒนารันเวย์สำหรับยิงโดรน ขณะนี้ได้พัฒนาโดรนขนาดเล็ก น้ำหนัก 2 กก. บินขึ้นโดยใช้วิธีดีดยิงขึ้นไปได้แล้ว ในอนาคตจะพัฒนาโดรนขนาดเล็กและขนาดกลาง น้ำหนัก 20 กิโลกรัมที่สามารถดีดตัวออกไปได้ด้วย...more15minPlay
June 11, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 11 มิ.ย.2567 หุ่นยนต์สุนัข AI ที่พัฒนาขึ้นเองชุดแรกในไต้หวันได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 29 พฤษภาคม 2024 ได้แก่ หุ่นยนต์รูปแบบสัตว์เลี้ยง Oliver และหุ่นยนต์ทำงาน Dustin โดยใช้ Intel CPU ขนาดจิ๋ว และควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยชิป Arm ซึ่งการพัฒนาหุ่นยนต์สุนัข AI นี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ไต้หวัน ศ.กัวจ้งเสี่ยน(郭重顯)ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ได้นำทีมวิจัยเพื่อสร้างหุ่นยนต์สุนัข AI ชุดแรกที่ไต้หวันพัฒนาเอง (NTU DogBot) ผสานสาขาการออกแบบและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่หลากหลาย ครอบคลุมการออกแบบเครื่องกล วิศวกรรมระบบควบคุม การพัฒนาการเดิน การนำทางอัตโนมัติ อัลกอริธึม AI ฯลฯ มีการจัดแสดงหุ่นยนต์สุนัข 2 ตัวในงานแถลงข่าวผลสำเร็จวิชาการของกระทรวงวิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้นด้วย ศ.กัวจ้งเสี่ยน กล่าวว่าการพัฒนาหุ่นยนต์สุนัขได้รับความนิยมในระดับสากล เช่น ในสหรัฐอเมริกาใช้ในการตรวจสอบโครงข่ายไฟฟ้า เกาหลีใต้ใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์ และสเปนยังมีหุ่นยนต์สุนัขที่ทำหน้าที่เป็น "ตำรวจเทคโนโลยี" ขณะที่ไต้หวันมีการประยุกต์ใช้งานช้า สาเหตุอาจเป็นเพราะค่าใช้จ่ายสูง และขาดการสนับสนุนทางเทคนิคและการพัฒนาโปรแกรม AI ทั้งนี้ ทีมงานรู้สึกว่ายังไม่มีสุนัขหุ่นยนต์ที่ผลิตในไต้หวัน ทั้งที่กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง ทั้งในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมและอุตสาหกรรมบริการ การใช้ระบบอัตโนมัติไม่ควรจำกัดเฉพาะในอุตสาหกรรมไอทีเท่านั้น เพื่อช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมก้าวทันระบบอัจฉริยะ ทีมงานจึงเริ่มพัฒนาหุ่นยนต์สุนัข AI เริ่มเมื่อสองปีที่แล้ว ด้วยการลงทุนและความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และบริษัทพันธมิตร บ. เลี่ยงจื่อเฮยเค่อ (量子黑客公司) จนถึงขณะนี้ ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์สุนัข Oliver ขนาด 54 ซม. น้ำหนัก 16 กก. และหุ่นยนต์สุนัข Dustin ขนาด 93 ซม.น้ำหนัก 40 กก. ซึ่ง ศ.กัวจ้งเสี่ยน กล่าวว่าทั้ง Oliver และ Dustin มีฟังก์ชันกำหนดตำแหน่งและการนำทางที่เป็นอิสระ แต่มีความแตกต่างบางประการในการออกแบบและรูปแบบการใช้งาน โดย Oliver มีฟังก์ชันต่างๆ เช่น เรียนรู้การเคลื่อนไหว การมองเห็นของ AI สามารถทำการตรวจจับเสียงและอารมณ์ และมีปฏิกริยาตอบสนองได้ เหมาะสำหรับการใช้งานในบ้าน ส่วน Dustin สามารถใช้งานลาดตระเวนและการขนส่งสิ่งของ มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ทางอุตสาหกรรมต่างๆ (สัญญาณรบกวน , การมองเห็น, รับรู้อุณหภูมิ, ก๊าซ ฯลฯ ) สามารถรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่าน Line Bot ในส่วนของการประยุกต์ใช้งาน ศ.กัวจ้งเสี่ยน กล่าวว่าในระยะสั้นจะใช้งานในอาคารเป็นหลัก ในระยะกลาง คาดว่าจะมีการใช้งานภาคสนาม การป้องกันน้ำและป้องกันฝุ่น ตั้งแต่ ปี 2025 ถึง 2027 ในระยะยาว และก่อนปี 2029 คาดว่าจะบรรลุผลในการใช้งานภาคสนามที่ป้องกันการระเบิด และการกู้ภัย...more15minPlay
June 04, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 4 มิ.ย.2567หอสังเกตคลื่นวิทยุสุริยะของไต้หวันของไต้หวัน ตรวจจับสัญญาณคลื่นได้สำเร็จ มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงยัง(National Central University:NCU) แถลงเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2024 ว่าระหว่างวันที่ 8 ถึง 9 พฤษภาคมปีนี้ พื้นที่จุดมืดหมายเลข 3664ที่มีความปั่นป่วนสูงของดวงอาทิตย์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางด้านหน้าดวงอาทิตย์ ได้ปะทุขึ้นของเปลวสุริยะเป็นชุดและมีการปล่อยมวลโคโรนา ทำให้ตั้งแต่ 10 – 11 พฤษภาคม 2024 เกิดความปั่นป่วนรุนแรงต่อสนามแม่เหล็กโลก ปรากฎการณ์นี้ทำให้ผู้คนคลั่งไคล้ในการชมแสงออโรรา แม้แต่ในเม็กซิโกและฮาวายก็ดูได้ อย่างไรก็ตาม แม้ไต้หวันจะอยู่ในละติจูดทางภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกับเม็กซิโก แต่ละติจูดสนามแม่เหล็กต่ำกว่า จึงมองไม่เห็นแสงออโรรา ศ. หยางหย่าหุ้ย (楊雅惠) ภาควิชาวิทยาศาสตร์อวกาศและวิศวกรรมศาสตร์ ม.จงยัง กล่าวว่า "หอสังเกตคลื่นวิทยุสุริยะของไต้หวัน" ที่สถานีเรดาร์ความถี่สูงพิเศษ เขตจงลี่ นครเถาหยวน ของมหาวิทยาลัยจงยัง เป็นสถานที่แรกและแห่งเดียวในไต้หวันที่ประสบความสำเร็จในการสังเกตคลื่นวิทยุสุริยะที่เกิดจากการปะทุของดวงอาทิตย์ เนื่องจากคลื่นวิทยุสุริยะมาถึงโลกเร็วกว่าลมสุริยะ จึงสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการเตือนภัย ป้องกันสภาพอากาศที่แปรปรวนในอวกาศได้ ในช่วงที่ผ่านมาที่เปลวสุริยะปะทุเกิด ศ. หยางหย่าหุ้ยให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดในการวิเคราะห์แผนภูมิไดนามิกสเปกตรัมคลื่นวิทยุตั้งแต่เดือนเมษายน ก่อนที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาจะรายงานการเกิดพายุแม่เหล็กโลกในวันที่ 10 พฤษภาคม ทีมงานได้ตรวจพบอย่างต่อเนื่อง ระหว่าง 8 – 9 พฤษภาคม พบสัญญาณเปลวสุริยะ และ การปล่อยมวลโคโรนาเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการปฏิบัติงานด้านสภาพอากาศในอวกาศของสำนักอุตุนิยมวิทยา ต่อมา วันที่ 10 และ 11 พฤษภาคม ในช่วงสนามแม่เหล็กโลกปั่นป่วน ได้บันทึกคลื่นวิทยุที่เกี่ยวข้องกับเปลวเพลิงสุริยะ ศ. หยางหย่าหุ้ยกล่าวว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งสถานีเรดาร์ในปี 2022 ได้มีการปรับปรุงส่วนประกอบของเครื่องมือและขั้นตอนการลบฉากหลังอย่างต่อเนื่อง มีการปรับช่วงความถี่ในการสังเกต แม้ว่าการประมวลผลสัญญาณและเสียงจะดีขึ้น ยืนยันได้ว่าสามารถตรวจวิเคราะห์คลื่นวิทยุสุริยะได้สำเร็จ ในอนาคตจะเสริมความสามารถอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ บันทึกสัญญาณช่วงความถี่มากขึ้นของการปะทุคลื่นวิทยุสุรยะ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของการปะทุของพระอาทิตย์ที่ส่งผลต่อการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ...more15minPlay
May 28, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 28 พ.ค.2567 เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนครเถาหยวนได้พัฒนา "ระบบตรวจจับไอเสียจักรยานยนต์อัจฉริยะ" แห่งแรกในไต้หวัน โดยใช้เทคโนโลยีตรวจวัดทางไกลแบบออปติคัล สามารถตรวจวัดความเข้มข้นของไอเสียในรถจักรยานยนต์ได้ภายใน 10 วินาทีต่อคัน และใช้ระบบจดจำป้ายทะเบียน AI ผสานกับข้อมูลในคลาวด์ เพื่อระบุรถจักรยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษสูงได้อย่างรวดเร็ว ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูง ขณะที่การใช้คนตรวจวัดแบบดั้งเดิมใช้เวลาคันละ 3-5 นาที ระบบใหม่เร็วกว่าเกือบ 60 เท่า การทำงานวันละ 8 ชั่วโมงสามารถตรวจวัดไอเสียได้ 500 คัน ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 10 เท่า เทียบกับแบบดั้งเดิมที่คัดกรองได้ 50 คันต่อวันเท่านั้น การใช้ระบบอัจฉริยะนี้จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ 694 กิโลกรัมต่อปี ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ 12.7 ตัน และการปล่อยก๊าซไฮโดรคาร์บอนได้ 4.1 ตันต่อปี ทั้งนี้ จำนวนรถจักรยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงในเมืองเถาหยวนมีมากถึง 1.26 ล้านคัน เพื่อดำเนินการตามนโยบาย "เถาหยวนเมืองอัจฉริยะ" สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนครเถาหยวนจึงร่วมมือกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Technology Research Institute :ITRI) พัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา และมีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมปีนี้ ณ สิ้นเดือนเมษายนได้ตรวจวัดไอเสียของรถจักรยานยนต์เกือบ 2,000 คันแล้ว สำนักคุ้มครองสิ่งแวดล้อมยังกล่าวด้วยว่าอุปกรณ์ของระบบตรวจจับไอเสียใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์ทั้งหมด ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงได้ 250 ลิตรต่อปี และระบบดังกล่าวยังได้รับรางวัลนวัตกรรมของรัฐบาลเมืองเถาหยวนในปีนี้อีกด้วย สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าเพื่อการควบคุมมลพิษไอเสียรถจักรยานยนต์ นอกจากส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และผลักดันการใช้ยานยนต์ที่มีมลพิษต่ำแล้ว ยังเพิ่มการตรวจวัดไอเสียของรถจักรยานยนต์เป็นประจำ และเรียกร้องให้ประชาชนตรวจวัดไอเสียและบำรุงรักษายานพาหนะเป็นประจำ เพื่อยกระดับคุณภาพการขับขี่ ลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และยังลดการปล่อยมลพิษได้ด้วย...more4minPlay
May 21, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 21 พ.ค.2567กังหันลมนอกชายฝั่ง ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ไต้หวันมีการติดตั้งกังหันลมนอกชายฝั่งแล้ว 297 ตัว คาดว่าจะทะลุ 300 ตัวในปี 2024 นี้ ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำในเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น แต่ยังติดอันดับแนวหน้ากังหันลมที่ดีที่สุดของโลกอีกด้วย ขณะนี้ไต้หวันมีฟาร์มกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และมีห่วงโซ่อุปทานพลังงานลมนอกชายฝั่งเป็นของตัวเอง ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานสำหรับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและสังคมของไต้หวันในยุคการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ "แผนผลิตไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Greater Changhua" ของ Orsted ผู้พัฒนาพลังงานลมนอกชายฝั่งรายใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมการพัฒนาฟาร์มกังหันลม 4 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ เฟสแรกของฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ได้เสร็จสมบูรณ์และเชื่อมโยงกันแล้วในเดือนเมษายน 2024 เป็นฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งที่ดำเนินงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รัฐบาลไต้หวันกำหนดนโยบายปกขาว "การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน"เมื่อ 8 ปีก่อน โดยตั้งแต่ปี 2016 ถึงปัจจุบันแผนดังกล่าวบรรลุผลสู่ความเป็นจริง การติดตั้งกังหันลมนอกชายฝั่ง 297 ตัวมีกำลังการผลิตติดตั้งสะสม 2.37GW ไฟฟ้าสีเขียวที่เกิดจากฟาร์มกังหันลมเหล่านี้จะวางรากฐานความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของไต้หวัน กังหันลมบนชายฝั่งของไต้หวันเป็นทรัพย์สินที่คนรุ่นนี้ทิ้งไว้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคนรุ่นต่อไป ไต้หวันจะต้องยืนหยัดในการก้าวไปสู่อนาคตที่สะอาดยิ่งขึ้น บนเส้นทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.