Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.
October 01, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 1 ต.ค.2567การลงทุนด้านการแพทย์ก้าวล้ำอีกครั้ง การลงทุนในไต้หวันมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น Yongshin Pharm Ind. Co., Ltd. วางแผนลงทุนประมาณ 1,500 ล้านเหรียญไต้หวันในเขตต้าเจี่ย เมืองไถจง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นของยารักษาโรคเนื้องอก มะเร็ง และโรคเรื้อรังในสังคมผู้สูงอายุ สำนักงานการลงทุนของไต้หวันประกาศเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2024 ว่า Yongshin Pharm ได้ตัดสินใจดำเนินแผนการรักษาฐานการผลิตในไต้หวัน Yongshin Pharm เป็นผู้ผลิตยาสำหรับมนุษย์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นโรงงานผลิตยาแห่งแรกในไต้หวันที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเภสัชกรรมสากล PIC/S GMP เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มผู้สูงอายุทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้ความต้องการยาต้านเนื้องอก มะเร็ง และโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น Yongshin Pharm จึงตัดสินใจสร้างโรงงานใหม่ในเขตต้าเจี่ย เมืองไถจง พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ควบคุมการผลิตและการจัดซื้อจัดจ้าง ภายใต้โครงการรักษาฐานการผลิตในไต้หวันตั้งแต่ปี 2021 โดยการลงทุนในอุปกรณ์อัจฉริยะคาดว่าจะสร้างงานใหม่จำนวน 42 ตำแหน่ง สำหรับบริษัท MedServ Biotech Co., Ltd. บริษัทครอบคลุมด้านการวิจัยและพัฒนา การผลิต การทดสอบ และการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้บริการด้านการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยเป็นองค์กรตรวจสอบอิสระแห่งแรกในไต้หวันที่เชี่ยวชาญในการทดสอบประสิทธิภาพเชิงกลของอุปกรณ์ปลูกถ่ายทางการแพทย์ เพื่อขยายสายการผลิตในอนาคต MedServ วางแผนลงทุนประมาณ 100 ล้านเหรียญไต้หวันในการสร้างโรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะในนิคมอุตสาหกรรมหม่าโฉวโฮ่ว (馬稠後) เมืองเจียอี้ ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานใหม่จำนวน 30 ตำแหน่ง...more15minPlay
September 24, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 24 ก.ย.2567 สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร (Agricultural Chemicals Research Institute) กระทรวงเกษตรได้นำเอาเทคโนโลยีแมสสเปกโตรเมตรี ผสานกับการสกัดสารเคมีเกษตรอย่างรวดเร็ว FaPEx® และ เทคโนโลยีการประมวลผล AI จัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่พร้อมด้วยแมสสเปกโตรมิเตอร์ตรวจสอบรวดเร็วแห่งแรกสำหรับการตรวจสอบสารเคมีเกษตรตกค้าง 200 รายการ รู้ผลการตรวจภายในเวลาเฉลี่ย 10 นาที เทคโนโลยีการตรวจสอบที่เร็วที่สุดในโลก รถตรวจสอบเคลื่อนที่ สามารถลาดตระเวนไปยังจุดตรวจสอบ ให้บริการได้รวดเร็วในถิ่นผลิต ชะลอการเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ที่ตรวจสอบไม่ผ่าน เป็นหลักประกันความปลอดภัยยด้านอาหาร คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ จะจัดตั้งรถตรวจสอบได้ 5 คัน และให้บริการตรวจสอบได้ปีละ 15,000 รายการภายในรถตรวจสอบสารตกค้างมีห้องปฏิบัติการพร้อมอุปรกรณ์แมสสเปกโตรมิเตอร์ ในอนาคตจะมีการจัดตั้งสถานีเตรียมตัวอย่างสำหรับการตรวจด้วยแมสสเปกโตรเมทรีโดยร่วมกับสมาคมเกษตรกรและสหกรณ์ จากนั้น ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่จะเข้าตรวจสอบ นอกจากนี้ ยังสามารถผสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชเพื่อให้บริการวินิจฉัยโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านการใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา รถตรวจสอบเคลื่อนที่ทั้ง 5 คันจะดำเนินการโดยมูลนิธิการเกษตรหลิวกง (Liu-Kung Agriculture Foundation) กรุงไทเป, มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูเหว่ย ศูนย์ตรวจสอบประจำภูมิภาคของมหาวิทยาลัยตงหัว รวมถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจียอี้ สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรแถลงว่า ในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่สำหรับการตรวจสอบสารเคมีเกษตรตกค้างด้วยแมสสเปกโตรเมทรี ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน โรงพยาบาลพืช (Plant Teaching Hospital) มหาวิทยาลัยเจียอี้ และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหูเหว่ย การตรวจสอบสารตกค้างของสารเคมีเกษตรตามวิธีการตรวจสอบทางเคมีที่ใช้ในระดับสากลจะใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 7 วัน แต่หากใช้เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ตรวจด้วยแมสสเปกโตรเมทรี ตัวอย่างแรกจะสามารถออกผลการตรวจได้ในเวลาประมาณ 20 ถึง 25 นาที และตั้งแต่ตัวอย่างที่สองเป็นต้นไปจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 8 ถึง 10 นาทีต่อชิ้น นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจสอบที่ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (วิธีการวิเคราะห์สารตกค้างหลายชนิด (ฉบับที่ 5) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 ถึง 8,000 เหรียญไต้หวันต่อชิ้น เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่จะมีค่าใช้จ่ายเพียง 1,200 เหรียญไต้หวันต่อชิ้น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร นายสวีฉือหง (徐慈鴻) กล่าวว่า รถตรวจสอบเคลื่อนที่ถูกสร้างขึ้นโดยสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร มีต้นทุนการผลิตประมาณ 13 ล้านเหรียญไต้หวันต่อคัน ในอนาคตจะมอบหมายให้ 5 หน่วยงาน เช่น มูลนิธิหลิวกง เป็นผู้ดำเนินการ และสำนักงานเกษตรและอาหาร กระทรวงเกษตรจะวางแผนการให้บริการตรวจสอบ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สมาคมเกษตรกร สหกรณ์ และฟาร์มเกษตรขนาดใหญ่ทั่วไต้หวันสามารถยื่นขอการตรวจสอบได้ โดยจะมีการจัดรถเข้าประจำจุดและหมุนเวียนตรวจสอบ โดยคาดว่าจะให้บริการฟรีแก่เกษตรกร 3 ครั้งต่อราย นอกจากนี้ รถแต่ละคันจะมีความสามารถในการตรวจสอบอย่างน้อย 3,000 รายการต่อปีตามเป้าหมายของกระทรวงเกษตร แต่ละหน่วยงานสามารถวางแผนการให้บริการตรวจสอบของตนเองได้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านพืชจากศูนย์ตรวจสอบภูมิภาคหรือโรงพยาบาลพืชสามารถร่วมไปกับรถเพื่อตรวจสอบและให้คำปรึกษาได้เช่นกันสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรจัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่สวีฉือหง กล่าวว่า อุปกรณ์ตรวจสอบแบบเดิมมีขนาดใหญ่และอาจต้องใช้รถบรรทุกขนส่ง อีกทั้งการสกัดตัวอย่างยังใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 7 วัน เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี FaPEx® และการประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ ทำให้อุปกรณ์มีความแม่นยำและขนาดเล็กลง ประกอบกับการผลักดันกฎหมายด้านโรคพืชในไต้หวัน ทำให้การจัดตั้งห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่สามารถเกิดขึ้นได้...more14minPlay
September 17, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 17 ก.ย.2567 ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เกษตรกรในไต้หวันเผชิญกับปัญหาการระบาดของหนอนกระทู้ลายจุด ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อพืชผล เช่น ข้าวโพดและข้าวฟ่าง สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรฮัวเหลียนจึงได้พัฒนา "ลูกบอลแตนเบียน" ซึ่งใช้ในการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ ลูกบอลนี้มีแตนเบียนอยู่ภายในสามารถบินออกมาเพื่อทำลายไข่ของหนอนกระทู้ ช่วยลดการใช้สารเคมีและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืชเดิมใช้แผ่นแตนเบียนกำจัดศัตรูพืช ลูกบอลแตนเบียนถูกพัฒนามาจากแผ่นแตนเบียนซึ่งเคยใช้ก่อนหน้านี้ โดยเกษตรกรต้องเย็บแผ่นแตนเบียนติดกับต้นพืชด้วยมือ ซึ่งเป็นวิธีที่เสียเวลาและมีค่าแรงสูง ทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นลมแดดในสภาพอากาศร้อน ดังนั้น ทีมวิจัยจึงพัฒนาลูกบอลแตนเบียนซึ่งสามารถโยนลงในทุ่งได้อย่างง่ายดาย ลดภาระการทำงานของเกษตรกร หลินลี่ นักวิจัยจากสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรฮัวเหลียน อธิบายว่าลูกบอลแตนเบียนได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อสภาพอากาศ และมีรูพรุนเล็กๆ เพื่อให้แตนเบียนที่ฟักตัวแล้วสามารถออกมาทำลายศัตรูพืชได้ ขณะที่ยังป้องกันน้ำและมดจากการเข้ามาทำลายไข่แตนเบียน ลูกบอลแตนเบียนทำจากวัสดุเยื่อกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมลูกบอลแตนเบียน ในปี 2024 เทคโนโลยีลูกบอลแตนเบียนถูกพัฒนาให้สามารถใช้ร่วมกับโดรนที่ติดตั้งระบบ GPS ทำให้การปล่อยลูกบอลในพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นไปอย่างแม่นยำและรวดเร็ว เกษตรกรสามารถลดแรงงานและต้นทุนได้อย่างมาก ทั้งยังช่วยให้การควบคุมศัตรูพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้น แตนเบียน (parasitic wasps) เป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera ที่ต้องอาศัยอยู่ภายในหรือภายนอกแมลงอื่นและกินแมลงนั้นเป็นอาหารเบียดเบียนจนแมลงนั้นตาย แตนเบียนนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก บางชนิดมีขนาดเล็กถึง 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งมักไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แตนเบียนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและนิเวศวิทยา เพราะช่วยควบคุมจำนวนประชากรของแมลงศัตรูพืชและพาหะนำโรค การใช้แตนเบียนในการควบคุมศัตรูพืชสามารถลดต้นทุนการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อมปล่อยลูกบอลแตนเบียนใช้ร่วมกับโดรนที่ติดตั้งระบบ GPS...more15minPlay
September 10, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 10 ก.ย.2567ไต้หวันส่งเสริมใช้ AI เร่งการพัฒนายาใหม่ การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษากลยุทธ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของสภาบริหารเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2024 เน้นนวัตกรรมอัจฉริยะ ความยั่งยืนด้านชีวเวชศาสตร์ และสุขภาพที่ดีของชาวไต้หวัน โดย ลวิเพ่ยหรง (呂佩融) รองเลขาธิการสำนักงานเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า AI จะถูกนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆ โดยสามารถจำลองและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวิจัยและพัฒนาได้ โดยยกตัวอย่างการวิจัยสารยับยั้งโมเลกุลขนาดเล็ก ระยะเวลาการวิจัยและพัฒนาจะสั้นลง ลดจาก 5 ปีเป็น 1.5 ปี และค่าใช้จ่ายลดลงจาก 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นักวิชาการแนะนำว่าหากใช้เทคโนโลยีใหม่ AI ในด้านเภสัชกรรม ไต้หวันควรบ่มเพาะบุคคลกรในอุตสาหกรรมยาอย่างจริงจัง มีเพียงการอยู่ในแนวหน้าเท่านั้นจึงจะมีอนาคตที่ดีได้ นรม. จั๋วหรงไท่ เข้าร่วมพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2024 ชี้ใว่า ปธน. ไล่ชิงเต๋อ เน้นย้ำในขณะหาเสียงเลือกตั้งถึงความจำเป็นในการขยายการลงทุนทางการแพทย์ เพื่อให้ชาวไต้หวันมีสุขภาพดี รัฐบาลได้ดำเนินนโยบาย กำหนดกฎระเบียบ และลงทุนทุน ส่งเสริม วางรากฐานการพัฒนาที่ดีขึ้นสำหรับอุตสาหกรรม เขาหวังว่า ที่ประชุมจะสามารถระดมความคิดเพื่อกำหนดนโยบายต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมชีวการแพทย์แห่งชาติ หลินไป่หลี่ (林百里 )Lin Baili ผู้ก่อตั้ง Quanta Group แชร์ประสบการณ์แพลตฟอร์มที่ทีมงานของเขาพัฒนาขึ้น ใช้ AI เพื่อช่วยงานทางการแพทย์ ลวิเพ่ยหรงชี้ว่าในแง่ของการวิจัยและพัฒนายา การใช้ AI สามารถจำลองและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวิจัยและพัฒนาได้ ภาวะปัจจุบันของการใช้ AI ในการพัฒนายาใหม่เป็นอย่างไร? เสิ่นลี่เจวียน (沈麗娟) ประธานมูลนิธิเวชศาสตร์จงหัวจิ่งคัง (中華景康藥學基金會) และศาสตราจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน กล่าวว่าบริษัทยาขนาดใหญ่มีการพัฒนายาในด้านนี้ผ่านมาอย่างน้อย 5 – 10 ปี ก่อนอื่นจะต้องค้นหาโมเลกุลที่มีศักยภาพในการรักษาโรค สังเกตผลกระทบของมันต่อเซลล์ในร่างกายผ่านการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ จากนั้นตรวจสอบผ่านการทดลองในสัตว์และการทดลองในมนุษย์ กระบวนการนี้ใช้เวลาและเงินเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน AI สามารถวิเคราะห์ฐานข้อมูลยาที่พัฒนาขึ้นในอดีตได้อย่างรวดเร็ว หลังจากเรียนรู้บิ๊กดาตาด้วยคอมพิวเตอร์ AI ก็สามารถค้นหาโครงสร้างโมเลกุลที่สามารถนำไปใช้ในเภสัชภัณฑ์ แล้วจึงทำการจำลองได้ หรืออาจจะค้นหาปฏิกริยาของฟังชั่นตัวรับโปรตีน จากยาเก่าหรือยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้น พัฒนากลไกใหม่และขอบเขตที่เกี่ยวข้อง ลดระยะเวลาในการทดลองกับสัตว์และการทดลองในมนุษย์ และค้นหาตัวยาที่มีศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว Insilico Medicine, Inc. บริษัท AI ระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับชีวเภสัชภัณฑ์ ได้จัดตั้งศูนย์ R&D แห่งแรกในเอเชียในไต้หวัน เซิ่นลี่เจยียน กล่าวว่าบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัทยาและสถาบันการศึกษาเพื่อศึกษาร่วมกันในด้านวิชาการ การวิจัย การวิจัยและพัฒนา และด้านอื่นๆ ซึ่งช่วยลดเวลาและต้นทุนในการพัฒนายาได้อย่างมาก ปัจจุบัน อาจารย์ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ AI และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ ในการพัฒนายาใหม่ๆ "ไต้หวันควรบ่มเพาะบุคคลากรในอุตสาหกรรมยาอย่างจริงจัง พวกเขาจะต้องอยู่ในระดับแนวหน้าไต้หวันจึงจะมีอนาคต" เสิ่นลี่เจวียนกล่าวว่ากระบวนการผลิตยามีความซับซ้อน และหากคุณต้องการนำเทคโนโลยีใหม่ ด้าน AI มาสู่กระบวนการผลิตยา คุณก็จำเป็นต้องมี ความสามารถที่เกี่ยวข้อง สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวอย่างที่ดีด้านการบ่มเพาะบุคคลากร จึงพัฒนาเภสัชภัณฑ์ได้ก้าวหน้า เธอแนะนำว่าไต้หวันควรจัดตั้งสถาบันการศึกษาเฉพาะทางเพื่อสร้างบุคคลกรมีความสามารถระดับสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมยา ขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้มีความสามารถที่โดดเด่นจากประเทศอื่น ๆ และบูรณาการร่วมกันอย่างแข็งขัน จะทำให้อุตสาหกรรมยาในไต้หวันพัฒนาอย่างเฟื่องฟูได้...more4minPlay
September 03, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 3 ก.ย.2567ม.ตั้นเจียง ทดสอบยิงจรวด Polaris ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ การทดสอบจรวด Polaris ของมหาวิทยาลัยตั้นเจียง(Tamkang University) ประสบความสำเร็จในการยิงที่ฐานยิงจรวดซวี่ไห่ เมืองผิงตง เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2024 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ระยะสั้นของกระทรวงวิทยาศาสตร์ นับเป็นการทดสอบจรวดครั้งที่ 3 ที่ดำเนินการโดยทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย แม้ว่าจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์การบิน ทำให้ไม่สามารถติดตามข้อมูลเที่ยวบินได้ทั้งหมด แต่จรวดก็ยังถูกยิงขึ้นไปสูงถึงประมาณ 4 กิโลเมตร จรวด Polaris รุ่นใหม่นี้พัฒนาขึ้นจากรุ่น Jessie โดยปรับปรุงการออกแบบและการผลิต ตัวจรวดใช้วัสดุคอมโพสิตและเพิ่มระบบร่มชูชีพเพื่อกู้คืนจรวดหลังการบิน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ร่มชูชีพแยกตัวก่อนเวลา ทำให้วงโคจรของจรวดไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่ยังสามารถทดสอบข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาจรวดในอนาคต ศูนย์อวกาศแห่งชาติ (TASA) ซึ่งรับผิดชอบการตรวจสอบการใช้งานและการบริหารสถานที่ยิงจรวด ได้แถลงว่าการทดสอบครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีจรวดของไต้หวัน โดยหวังว่าจะเพิ่มความเชี่ยวชาญในด้านนี้และเสริมสร้างความสามารถในการปล่อยจรวดเข้าสู่วงโคจร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโครงการดาวเทียมของประเทศ ไต้หวันมีข้อได้เปรียบในด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เซมิคอนดักเตอร์ และเครื่องจักรแม่นยำสูง ซึ่งช่วยสนับสนุนความสำเร็จในอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหลายแห่งในไต้หวันเข้าร่วมโครงการวิจัยและปล่อยจรวด โดยใช้สถานที่ยิงจรวดที่จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ที่เมืองผิงตง นอกจากมหาวิทยาลัยตั้นเจียงแล้ว มหาวิทยาลัยหยางหมิงเจียวทง, มหาวิทยาลัยเฉิงกง, มหาวิทยาลัยเฝิงเจี่ย และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็มีการปล่อยจรวดที่พัฒนาขึ้นเองเช่นกัน ซึ่งแสดงถึงการเติบโตและความก้าวหน้าในด้านการวิจัยอวกาศของไต้หวัน...more15minPlay
August 27, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 27 ส.ค.2567 กระทรวงมหาดไทยของไต้หวันได้อนุมัติ "แผนการก่อสร้างโรงงานแยกเกลือออกจากน้ำทะเลไถหนาน" ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2024 โรงงานนี้ตั้งอยู่ในเขตเจียงจวิน นครไถหนาน บนพื้นที่ 16.9 เฮกตาร์ และมีกำลังการผลิตน้ำจืดสูงสุดถึง 200,000 ตันต่อวัน โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2027 ในระยะแรกของโครงการวางแผนการผลิตน้ำวันละ 100,000 ลูกบาศก์เมตร รวมถึงการก่อสร้างท่อรับน้ำเข้าและระบายน้ำ โรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และระบบจัดส่งน้ำจืด ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทน้ำประปาไต้หวัน คาดว่าเมื่อโครงการระยะแรกเสร็จสิ้นจะสามารถผลิตน้ำจืดได้สูงสุดวันละ 200,000 ลูกบาศก์เมตร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวน 16,000 ล้านเหรียญไต้หวัน และคาดว่าจะเริ่มทดลองใช้งานในปี 2028 น้ำจืดที่ผลิตได้จะถูกบูรณาการเข้ากับระบบน้ำประปาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำจืดในพื้นที่และเสริมสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภูมิภาค โรงงานนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความหลากหลายและความมั่นคงในการจัดการแหล่งน้ำในภาคใต้ของไต้หวัน ซึ่งมักประสบปัญหาภัยแล้ง นอกจากนี้ โรงงานยังได้รับการออกแบบให้หลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเลือกพื้นที่ที่ไม่มีความอ่อนไหวต่อระบบนิเวศ มีการจัดตั้งแนวกันชนสีเขียว และบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมมลพิษอย่างเข้มงวด เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลของไต้หวันระยะที่ 1 ซึ่งรวมถึงการสร้างโรงงานในเมืองซินจู๋ ทั้งสองโรงงานคาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำจืดรวมกว่า 30 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการน้ำในไต้หวันอย่างมาก ในปัจจุบัน แหล่งน้ำส่วนใหญ่ในไต้หวันมาจากน้ำฝน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไต้หวันต้องเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง ทำให้ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝนและฤดูแล้งมีความแตกต่างกันอย่างมาก การพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ เช่น โรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล จึงเป็นทางออกสำคัญที่จะช่วยเสถียรภาพแหล่งน้ำในไต้หวัน โดยหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำฝน...more14minPlay
August 20, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 20 ส.ค.2567 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยพลศึกษาและการกีฬาแห่งชาติไต้หวัน(National Taiwan University of Sport)ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบตรวจวิเคราะห์สไตรค์โซนแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ท่าทางการเล่นเบสบอลของนักกีฬาในรูปแบบ 3 มิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบนี้เป็นระบบแรกของโลกที่สามารถรวมต้นเหตุและผลลัพธ์ของการขว้างลูกเบสบอลเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและครอบคลุมสำหรับการวิเคราะห์ทักษะและปรับปรุงการเล่นของนักกีฬา ระบบนี้ใช้กล้องความเร็วสูงจำนวน 6 ตัวในการตรวจจับและวิเคราะห์หลายปัจจัยที่สำคัญ เช่น ความเร็วของลูกเบสบอล ตำแหน่งที่ลูกผ่านเข้าฐาน ความเร็วเริ่มต้นของลูก มุมการขว้าง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระเบียบ พร้อมด้วยข้อมูลภาพที่ชัดเจนและครบถ้วน ทำให้นักวิจัยและผู้ฝึกสอนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเทคนิคการเล่นของนักกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อัลกอริธึมของระบบใช้เทคโนโลยีการติดตามเพื่อนำข้อมูลมาสร้างภาพข้อต่อของมนุษย์ในรูปแบบ 3 มิติ รวมถึงวิเคราะห์การก้าวเดิน องศามุมข้อต่อ แรงที่ใช้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการฝึกซ้อมเพิ่มความแม่นยำ และการฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เทคโนโลยีนี้ใช้โมเดลการเรียนรู้เชิงลึกในการจับภาพข้อต่อของมนุษย์ และเทคโนโลยีการมองเห็นแบบ 3 มิติในการสร้างภาพและติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายในรูปแบบ 3 มิติ ระบบสามารถสร้างภาพ 3D แบบอะซิงโครนัสโดยไม่ต้องมีผู้ควบคุม โดยใช้การตรวจจับภาพจาก 3 มุมมอง การประมวลผลภาพด้วย OpenCV และการประมวลผลสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ...more15minPlay
August 13, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 13 ส.ค.2567 ปิงปอง (เทเบิลเทนนิส) หนึ่งในกีฬายอดนิยมของไต้หวัน มีนักกีฬารุ่นเยาว์จำนวนมากที่อุทิศตนให้กับการฝึกซ้อมเพื่อความสำเร็จในระดับโลก ในความเป็นจริง ไต้หวันมีความโดดเด่นในด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับกีฬาเทเบิลเทนนิส การผสานเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของไต้หวันและความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ นำไปสู่การพัฒนาไม้ตีปิงปองอัจฉริยะและระบบฝึกซ้อมปิงปองที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ ทำให้ในอนาคตการฝึกเทคนิคการตีปิงปองระดับโลกจะเป็นเรื่องง่าย แม้แต่การฝึกที่บ้านก็สามารถทำได้ ปัจจุบันไม้ตีปิงปองอัจฉริยะได้ถูกพัฒนาขึ้นแล้ว โดยกลุ่ม "3T Magic" ซึ่ง "3T" ย่อมาจาก Talent (ความสามารถ), Technology (เทคโนโลยี), และ Tactics (ยุทธวิธี) โครงการนี้ริเริ่มโดยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ความแม่นยำในการกีฬา โดยไม้ปิงปองอัจฉริยะนี้มีเซ็นเซอร์ 9 แกนฝังอยู่ในด้ามจับ และมีแผ่นตรวจจับแรงกระทบ FSR (Force Sensitive Resistor) บางๆ ติดอยู่ระหว่างกระดานไม้กับยาง ช่วยให้นักกีฬาสามารถรับรู้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแรงสวิงในการตีแต่ละครั้ง ความเร็ว การเร่งความเร็ว วิถีสวิง จุดตี และพารามิเตอร์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้ถูกคำนวณและวิเคราะห์ ทำให้นักกีฬารู้ถึงประสิทธิภาพของวงสวิงและภาวะความอ่อนล้าของตัวเอง การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมและปรับปรุงเทคนิคการตี ในระหว่างขั้นตอนการตีลูก สัญญาณทั้งหมดที่ตรวจจับได้จะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยรวมกับวิดีโอของการตี ซึ่งช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างลึกซึ้งและเก็บข้อมูลระยะยาวของนักกีฬาแต่ละคน ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับโค้ชและนักกีฬาในการปรับปรุงเทคนิคและความสามารถ ที่สำคัญที่สุดคือ หลังจากการฝึกซ้อม นักกีฬาจะสามารถรับทราบข้อมูลความเปลี่ยนแปลงหลังการฝึกได้ผ่านรายงานการทดสอบที่มีมาตรฐาน ซึ่งไม่ได้พึ่งพาการประเมินจากความรู้สึกของมนุษย์เท่านั้น แม้ว่าไม้ปิงปองอัจฉริยะที่ผลิตโดยนักวิจัยชาวไต้หวันนี้ยังไม่สามารถใช้งานในขณะลงแข่งขันจริงได้ แต่สามารถนำมาใช้ในการจำลองการแข่งขันและฝึกซ้อมรายวันได้ นี่ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคนิคการตีปิงปองระดับโลก...more14minPlay
August 06, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 6 ส.ค.2567การวิจัยพัฒนาพื้นรองเท้าตรวจจับแรงกดอัจฉริยะ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) ของไต้หวัน พัฒนาวัสดุมาโครโพลิเมอร์ที่ไวต่อแรงกดใช้ร่วมกับอิเล็กโทรดแบบ interdigitated สำหรับการตรวจจับแรงกดและผสานรวมกับวงจรการคำนวณเพื่อบันทึกการกระจายแรงกดบนเท้าซ้ายและขวาของผู้สวมใส่ อัตราส่วนน้ำหนักของร่างกายต่อเท้าซ้ายและขวา การเดิน และความถี่ในการก้าว รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงกดของเท้าระหว่างการเคลื่อนไหว เช่น จุดศูนย์กลางแรงกด (COP) เมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว ข้อมูลจะถูกส่งแบบไร้สายและสามารถแสดงผลแบบเรียลไทม์ผ่านแอพ ทำให้สามารถมองเห็นข้อมูลข้างต้นได้ ปัจจุบันมีเซ็นเซอร์วัดแรงกดเท้าในท้องตลาดวัดได้เพียงไม่กี่จุด (น้อยกว่า 10 จุด) ส่วนใหญ่การจำลองอัลกอริทึม ยังไม่สามารถบันทึกข้อมูลจริงของผู้เข้ารับการตรวจวัดได้ครบถ้วน ในขณะที่การมีข้อมูลจริงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ประโยชน์ทางการกีฬาหรือการแพทย์ ดังนั้น ITRI จึงรวมเซ็นเซอร์แรงกดแบบหลายจุดด้วยรอยพิมพ์เครือข่าย ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลจริงและละเอียด ต้นทุนต่ำ ความไวในการตรวจจับแรงกดสูง และมีความเร็วในการเก็บข้อมูล สามารถปรับแต่งจำนวนเซ็นเซอร์แรงกดตามความต้องการได้ เป็นการขยายขอบเขตประโยชน์การใช้งาน การกระจายแรงกดของเท้ามีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ รูปร่างของเท้า ท่าเดิน (วิ่ง) ส่งผลต่อสภาพร่างกายและการเปลี่ยนแปลงของกระดูก รวมถึงประสิทธิภาพและขีดจำกัดของนักกีฬา เทคโนโลยีการตรวจจับแรงกดฝ่าเท้าอัจฉริยะที่พัฒนาโดย ITRI ทำลายข้อจำกัดเดิมที่ว่ามีเพียงนักกีฬาชั้นนำเท่านั้นจึงจะได้รับการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากต้นทุนต่ำลงทำให้กีฬาทั่วไปสามารถได้รับการตรวจวิเคราะห์การเคลื่อนไหว มีการเปิดแพลตฟอร์มข้อมูล ช่วยให้นักกีฬาต่างๆ สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวและประสิทธิภาพการออกแรงกดเท้า เป็นการพัฒนาอัลกอริธึมและ APP ต่างๆ ไขปริศนาการเคลื่อนไหวและท่าทางของมนุษย์ ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์เดินสองเท้าด้วย...more15minPlay
July 30, 2024ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 30 ก.ค.2567ไต้หวันวิจัยเทคโนโลยีการกีฬาช่วยนักกีฬาคว้าเหรียญรางวัล อู๋เฉิงเหวิน (吳誠文) รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์ อดีตนักเบสบอลระดับชาติ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกในวันที่ 17 กรกฎาคม 2024 ได้มีการรายงานผลการส่งเสริมวิจัยเทคโนโลยีการกีฬา ช่วยเหลือนักกีฬาระดับชาติคว้าเหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในอนาคตจะช่วยเสริมสมรรถนะการแบกเกี้ยวในพิธีแห่เจ้าแม่มาจู่ศาลเจ้าไป๋ซาถุน (白沙屯) จะพิจารณาว่ามีเทคโนโลยีอะไรช่วยเพิ่มพลังในการเดินแบกเกี้ยวระยะทางไกลได้ กระทรวงวิทยาศาสตร์แห่งชาติจัดการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 11 มีการรายงาน "ผลการส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา" รายงานผลการดำเนินงานในปัจจุบันและแผนงานสำหรับกีฬาในสังคมอย่างครบวงจร อู๋เฉิงเหวิน แถลงข่าวหลังการประชุมว่ากีฬาถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมของชาติ ในอนาคต "แผนโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ความแม่นยำด้านการกีฬา” จะอาศัยพื้นฐานของกีฬาและเทคโนโลยี ส่งเสริมสุขภาพประชาชน วัฒนธรรมที่ดีต่อสุขภาพ และอุตสาหกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ชาวไต้หวันมีสุขภาพดี" ซูซั่วปิน (蘇碩斌) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ชี้ว่า เพื่อสนับสนุนนักกีฬาโอลิมปิก รัฐบาลได้ผลักดัน "แผนโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ความแม่นยำด้านการกีฬา" ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2018 โดยระยะแรกของแผนโครงการเริ่ม 2018 – 2022 ได้อุดหนุนทีมวิจัยทั้งหมด 8 ทีม โดยมุ่งเน้น 5 กีฬาที่ไต้หวันได้เปรียบและมีศักยภาพ ได้แก่ เบสบอล แบดมินตัน ปิงปอง ยกน้ำหนัก และปั่นจักรยาน ประสบความสำเร็จในการพัฒนา พื้นรองเท้าวัดแรงกดเท้าแบบเซนเซ่อร์ไร้สาย, KarmaZone สไตร์คโซนเบสบอล, ระบบอัจฉริยะวิเคราะห์การเทคนิคตีลูกปิงปอง ซู่ซั่วปินกล่าวว่าาแผนโครงการระยะที่ 2 ปี 2023 - 2026 หวังที่จะขยายขอบเขตตามความต้องการของประชาชน อุดหนุนทีมวิจัย 12 ทีม ครอบคลุมฟุตบอล ยิมนาสติก เบสบอล มวย ว่ายน้ำ แบดมินตัน วอลเลย์บอล เทเบิลเทนนิส ไตรกีฬา และยกน้ำหนัก รวม 10 รายการ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ แอปพลิเคชันใหม่ และรูปแบบธุรกิจใหม่ หวังส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการกีฬาและสุขภาพของประชาชน ซูชั่วปิน ยกตัวอย่างผลการวิจัยโครงการ "วิธีการและอุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งสไตร์คโซนกีฬาเบสบอล" ที่พัฒนาโดยทีมงานของ ศ. หม่าสีปิน (馬席彬) ม. ชิงหัว ได้วิจัยพัฒนาอุปกรณ์และวิธีการตรวจหาตำแหน่งไม้ตีและจุดตีลูกที่ดีที่สุด ได้จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาและไต้หวันแล้ว รวมทั้งเครื่องจ่ายบอลอัจฉริยะที่สามารถควบคุมความเร็วของลูก จุดลงของลูก และประเภทของลูกได้โดยอัตโนมัติและแม่นยำ ซูซั่วปินชี้ว่า ผลการวิจัยโครงการที่ผ่านมา ได้ช่วยเหลือนักกีฬาระดับชาติ เช่น กัวซิ่งฉุน (郭婞淳), ไต้จืออิ่ง (戴資穎), หลินหยุนหรู (林昀儒), เจิ้งอี๋จิ้ง (鄭怡靜), เฉินป๋อเอี้ยน (陳柏諺), หวังก้วนหง (王冠閎), เฉินเนี่ยนฉิน(陳念琴) และถังเจียหง (唐嘉鴻) บรรลุผลที่ดีในการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เกมส์อันเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไต้หวัน เมื่อมองไปข้างหน้าในอนาคต ซูซั่วปิน กล่าวว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการกีฬาในเชิงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไต้หวัน เช่น การแห่เจ้าแม่มาจู่ของศาลเจ้าไป๋ซาถุน จะพิจารณาว่ามีเทคโนโลยีการกีฬาใดบ้างที่สามารถช่วยเหลือ ผู้แบกเกี้ยวเจ้าแม่มาจู่เดินทางระยะไกล...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.