Share Democracy X Innovations
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By Infinity Podcast (ประเทศไทย)
The podcast currently has 225 episodes available.
มีรายงานว่า วัยรุ่น Gen Z นั้นมีแนวโน้มที่จะลาออกจากงานประจำ เนื่องจากไม่ต้องการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานหรือแม้แต่หัวหน้า ไม่ชอบการบังคับ และต้องการอิสระในการทำงาน และอาจมุ่งสู่อาชีพอิสระ เพราะต้องการ "ความเป็นอิสระในการทำงาน" ที่มากกว่าแต่ไม่สนใจ "ความมั่นคง" ในการทำงาน? เราจึงมาทบทวนว่า ในรอบวัฏจักรของการปฏิวัติอุตสาหกรรม [และเทคโนโลยี] ในรอบนี้ ทำให้การรับรู้และการใช้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ประกอบกับการลดลงของประชากร เนื่องจากวัยรุ่น Gen Z นั้นมีแนวโน้มที่จะสืบพันธุ์ลดลง ทำให้เกิดปัญหาประชากรในอนาคต มนุษย์จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ประกอบกับหากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ จนต้องการมนุษย์น้อยลง จะทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร หรือเฟสต่อไปของการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะไม่มีมนุษย์อยู่ในสมการ?
ในชั้นของกรรมาธิการ สว. (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่..) พ.ศ… ไม่เห็นด้วยกับร่างของ สส. ที่ต้องการให้เปลี่ยนกติกาการลงประชามติจากเสียงข้างมากสองชั้น (Double Majority) ไปเป็นเสียงข้างมากธรรมดา ทั้งที่มีการลงคะแนนให้แล้วในวาระ 1-2 ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใด การแก้ไข พรบ.ประชามติ ถึงมาล่มเอาตอนนี้ เนื่องจากมีการวาง timeline มาเป็นช่วงเวลาหนึ่งแล้ว และหากล่าช้า ก็จะทำให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ ตามที่ได้มีการสัญญาเอาไว้ล่าช้าลงไปอีก ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการใช้ความไม่เป็นการเมือง (ซึ่งไม่แน่ใจว่าการพยายามไม่ให้ สว. มาจากกลุ่มทางการเมืองนั้นเป็นการไม่ต้องการให้ สว. เป็นนักการเมืองหรือไม่) เล่นการเมือง ทำให้ฝ่ายการเมืองนั้นไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ซ้ำการพยายามปิดไม่ให้เกิดการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายสำคัญที่มีผลให้ความเป็นไปทางการเมืองเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสัญญาณปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตหรือไม่
ช่วงนี้เงินบาทแข็งค่ามาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพราะผลกระทบจากสถานการณ์โลกหรืออย่างไร แต่แน่นอนว่ามีคนได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบ ฟากฝั่งรัฐบาลเห็นว่าควรลดค่าเงินบาท ให้การส่งออกดีขึ้น ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าคงไว้ได้ จึงเกิดเป็นวาทะที่ต่างวาระกันผ่านสื่อของทั่งสองฝั่ง ทำให้เกิดการถกเถียงว่า การเพิ่มหรือลดค่าเงินบาทนั้นดีกว่ากัน มากไปกว่านั้น นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่องค์กรในลักษณะที่เป็น “อิสระ” มีอำนาจมากในการคานกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นี่จะเป็นข้อดีหรือข้อเสียกันแน่ เพราะผลประโยชน์ของประชาชนนั้นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในลักษณะนี้ไม่มากก็น้อย ขณะเดียวกัน เกมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยเลือกที่จะถอยในเรื่องการแก้ไขในจริยธรรมเนื่องจากพรรคร่วมไม่เห็นด้วย และให้เหตุผลว่า ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ซึ่งเราได้อภิปรายถึงเรื่องการชั่งน้ำหนักของการนำเรื่องจริยธรรมมาเป็นกฎหมาย แล้วสุดท้ายเกิดความสะดุดลงโดยการหลุดจากตำแหน่ง ก็จะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ได้ด้วยเช่นกัน
สภาได้มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ของทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน เพื่อทำให้รัฐธรรมนูญมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสังคมไทยมากขึ้น เราจึงมาชวนคุยเรื่องอัตลักษณ์รัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญกับบริบททางสังคมของประเทศต่าง ๆ ว่าเหตุใดกฎหมายจึงเป็นผลผลิตของสังคมนั้น ๆ
จากการที่มีการโปรดเกล้าฯ ครม. ของนายกฯแพทองธาร แล้ว ซึ่งเป็นการตั้ง ครม. ตามเอกสิทธิ์ของนายกฯ ที่ต้องระมัดระวังในการตั้งคนที่มีคุณสมบัติไม่ครบ จึงต้องเปลี่ยนมาตั้งบุคคลอื่น แต่บุคคลอื่นเหล่านั้น ดันมีนามสกุลที่คล้ายกับนักการเมืองรุ่นก่อน จนเกิดกระแสที่กล่าวว่า เป็น ครม. สืบสันดาน แต่แล้ว ครม.สืบสันดานนั้น จะเป็นวาทะ คล้ายกับ "สภาผัวเมีย" หรือ "เผด็จการรัฐสภา" ในอดีตหรือไม่ จนเป็นวาทะเด็ดในการโค่นล้มและลดความชอบธรรมให้กับระบอบประชาธิปไตยตัวแทน จนเรียกร้องระบอบรัฐธรรมนูญ เหมือนที่เคยผ่านมาในอดีตในปี 2549 และ 2557 หรือไม่?
ผ่านไปแล้วกับการเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ได้นายกฯอุ๊งอิ๊ง เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ และการถูกโจมตีจากสินค้าราคาถูกจากจีน นายกฯมีแผนจะแก้ปัญหาอย่างไร
มากไปกว่านั้น ครม. ใหม่ ที่ดูจะเป็นประเด็นทางการเมืองอย่างร้อนแรง กระแสการเทียบเชิญ-ขับออก จากพรรคร่วมฯ จะสั่นสะเทือนเพียงใด จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงการล้างแค้นทางการเมือง
สุดท้าย นโยบายการสร้าง Entertainment Complex ที่ดูจะเป็นการดึงดูดการท่องเที่ยวและการลงทุนในไทย จะพาไทยไปถึงฝั่งฝันได้หรือไม่ ท่ามกลางเสียงคัดค้านของนักวิชาการต่าง ๆ ประกอบกับการพัฒนาประเทศตามวิสัยทัศน์ของอดีตนายกฯ จะทำให้ไทยรอดพ้นวิกฤตข้างต้น ได้อย่างไร
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า นายกรัฐมนตรีสามารถพ้นจากตำแหน่งได้ด้วยกรณีจริยธรรมในการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ขาดคุณสมบัติ คำถามต่อมาคือ นายกรัฐมนตรี ที่อย่างน้อย มีเสียงสนับสนุนจากประชาชนนับล้านเสียง สามารถพ้นจากตำแหน่งได้ง่าย ๆ เพียงเท่านี้เลยหรือ? คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญย้อนหลัง ในการพ้นตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ก็เป็นที่ประจักษ์ ว่าไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต่างจากการยุบพรรคการเมือง เหตุการณ์ดังกล่าว จึงควรต้องกลับมาพิจารณา ถึงบทบาทและอำนาจขององค์กรอิสระ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ว่าควรจะมีเพียงใด เพื่อให้สมดุลกับการปกครองที่ควรจะได้ชื่อว่า เป็นประชาธิปไตย
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล ทำให้นอกจากที่นั่ง สส. ในรัฐสภาเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังมีผลพวงที่ตามมาหลายอย่างมาก เช่น ความเป็นไปได้ของ สส. ในการย้ายพรรค แนวทางการดำเนินงานภายใต้งานที่ รองประธานฯ ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพต่อ หรือจะเป็นการโหวตเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคต รวมไปถึง พรบ.ประชามติ และการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังมีกรณ๊ของนายกรัฐมนตรี ที่จะมีการตัดสินในวันที่ 14 สค. นี้ ว่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ การเมืองไทย จะเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหลังจากสัปดาห์หน้า หรือไม่...
ที่ผ่านมาเพิ่งมีการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรไป ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของพรรคแรงงาน นับเป็นการได้รับชัยชนะแบบ landslide ในรอบหลายปี.เป็นที่น่าสนใจว่า การเปลี่ยนขั้วครั้งนี้ เป็นเรื่องของอุดมการณ์หรือแค่เบื่อจึงเปลี่ยนพรรคการเมือง ประกอบกับการใช้เวลาอันสั้น เพียงหลังจากการเลือกตั้งเพียงไม่กี่วันและได้รัฐบาลใหม่ การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด และมีการลอบยิงกัน และการเลือกตั้งในฝรั่งเศสที่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากไม่มีฝ่ายใดได้รับคะแนนสูงสุด จากนั้นจึงมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ว่าทำไมการเลือกตั้งของเราจึงออกมาหน้าตาแบบนี้
การเลือก สว. ของไทยเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญได้สิ้นสุดลงแล้ว หน้าตาของว่าที่ สว. ชุดใหม่ทั้ง 200 ท่าน ก็ได้ผ่านหน้าสื่อกันไปแล้ว ทว่า มีถึง 12 จังหวัด ที่ไม่มี สว. เลย แต่มีบางจังหวัด ที่มีจำนวน สว. มากถึง 14 ท่าน! ระบบการเลือกในลักษณะนี้ มีการออกแบบอย่างทั่วถึงตั้งแต่ระดับอำเภอ แต่เปิดโอกาสให้ท้ายที่สุดไม่จำเป็นต้องครอบคลุมพื้นที่ก็ได้? จึงเกิดคำถามตามมาว่า กติกาการเลือกแบบนี้ ทำให้ สว. เป็นตัวแทนใคร? รวมถึงเอกสารปกขาว ที่ทางสถาบันพระปกเกล้าได้รวบรวมจากการลงพื้นที่รับฟังเสียงประชาชนร่วมกับ TPBS ว่าประชาชนต้องการและอยากฝากให้ สว. ทำหน้าที่อย่างไร ซึ่งจะเปิดตัวในวันปฐมนิเทศ สว. ที่จะถึงนี้เช่นกัน
The podcast currently has 225 episodes available.