
Sign up to save your podcasts
Or
ต้อนรับวันมหาสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ตามคติไทยโบราณ ช่วงเวลาที่ใครหลายคนเดินทางกลับบ้าน เพื่อรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่และทำบุญไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับใครที่มุ่งหน้าไปทางภาคอีสาน รายการอารามบอย และ ต้า-ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล ชวนคุณแวะที่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของภาคอีสาน ศูนย์รวมศรัทธาที่ผูกโยงความเชื่อเรื่อง ‘พญานาค’ ตำนานสมัยพุทธกาล และศิลปะจากหลายยุคสมัย
‘พระธาตุพนม’ คือหนึ่งในพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของไทย เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุส่วนไหปลาร้าของพระพุทธเจ้า และยังเป็นหนึ่งในจอมเจดีย์แห่งสยามที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เลือกไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5
มีตำนานปรากฏใน ตำนานอุรังคธาตุ เล่าถึงในรัชกาลของ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช กษัตริย์องค์สำคัญของล้านช้าง เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จมายังภูกำพร้า และมีพุทธทำนายว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะบรรจุอยู่ที่นี่พร้อมกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในอดีตที่บรรจุอยู่ก่อนแล้ว หลังจากที่พระศาสดาปรินิพพาน พระมหากัสสปะจะนำพระบรมสารีริกธาตุส่วนไหปลาร้า (อุรังคธาตุ) มายังภูกำพร้าจริง ๆ ในคราวนั้น พระยาทั้ง 5 จากแคว้นรอบ ๆ เสด็จมาและร่วมกับสร้าง ‘อูบมุง’ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมสิ่งของมีค่ามากมาย ดังนั้น ผู้คนในแถบลุ่มน้ำโขงจึงเชื่อกันว่าพระธาตุพนมมีอายุเก่ากว่าตามตำนานอุรังคธาตุนั้น
ความพิเศษอีกอย่างที่น้อยคนนักจะรู้ คือการที่พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีวอก หรือ ปีสัน ตามภาษาเหนือ ถือเป็นองค์เดียวในภาคอีสาน เชื่อกันว่าเกี่ยวโยงกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอันแน่นแฟ้นระหว่างลุ่มน้ำโขงกับดินแดนล้านนา และสะท้อนถึงสถานะศูนย์กลางแห่งศรัทธาของกลุ่มวัฒนธรรมลาว-ล้านช้าง
พระธาตุพนมจึงไม่ใช่แค่สถูปโบราณ แต่คือผลรวมของการเดินทางข้ามกาลเวลาผ่านศิลปะจามปา ล้านช้าง และการบูรณะครั้งใหญ่ในยุครัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ทำให้พระธาตุสูงถึง 57.5 เมตร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาติและศาสนา แต่ใน พ.ศ. 2518 หลังฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน พระธาตุพนมถล่มลงมา ชาวบ้านจากทุกสารทิศจึงร่วมแรงร่วมใจรวมบูรณปฏิสังขรณ์จากเศษซากเดิม และใน พ.ศ. 2522 ได้มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกครั้ง โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
อีกหนึ่งเสน่ห์ที่ไม่ควรพลาด คือการชมพระธาตุพนมในช่วงงานนมัสการประจำปี จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 8 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ท่ามกลางบรรยากาศคึกคักไปด้วยขบวนแห่ รำบูชา การห่มผ้าพระธาตุ และพิธีกรรมเก่าแก่ ทำให้เห็นว่าความศรัทธาไม่เคยหายไปจากที่แห่งนี้ ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้ในรายการอารามบอยตอนล่าสุด
ดำเนินรายการ : ต้า-ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล, กุลจิรา มุทขอนแก่น
4
22 ratings
ต้อนรับวันมหาสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ตามคติไทยโบราณ ช่วงเวลาที่ใครหลายคนเดินทางกลับบ้าน เพื่อรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่และทำบุญไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับใครที่มุ่งหน้าไปทางภาคอีสาน รายการอารามบอย และ ต้า-ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล ชวนคุณแวะที่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของภาคอีสาน ศูนย์รวมศรัทธาที่ผูกโยงความเชื่อเรื่อง ‘พญานาค’ ตำนานสมัยพุทธกาล และศิลปะจากหลายยุคสมัย
‘พระธาตุพนม’ คือหนึ่งในพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของไทย เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุส่วนไหปลาร้าของพระพุทธเจ้า และยังเป็นหนึ่งในจอมเจดีย์แห่งสยามที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เลือกไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5
มีตำนานปรากฏใน ตำนานอุรังคธาตุ เล่าถึงในรัชกาลของ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช กษัตริย์องค์สำคัญของล้านช้าง เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จมายังภูกำพร้า และมีพุทธทำนายว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะบรรจุอยู่ที่นี่พร้อมกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในอดีตที่บรรจุอยู่ก่อนแล้ว หลังจากที่พระศาสดาปรินิพพาน พระมหากัสสปะจะนำพระบรมสารีริกธาตุส่วนไหปลาร้า (อุรังคธาตุ) มายังภูกำพร้าจริง ๆ ในคราวนั้น พระยาทั้ง 5 จากแคว้นรอบ ๆ เสด็จมาและร่วมกับสร้าง ‘อูบมุง’ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมสิ่งของมีค่ามากมาย ดังนั้น ผู้คนในแถบลุ่มน้ำโขงจึงเชื่อกันว่าพระธาตุพนมมีอายุเก่ากว่าตามตำนานอุรังคธาตุนั้น
ความพิเศษอีกอย่างที่น้อยคนนักจะรู้ คือการที่พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีวอก หรือ ปีสัน ตามภาษาเหนือ ถือเป็นองค์เดียวในภาคอีสาน เชื่อกันว่าเกี่ยวโยงกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอันแน่นแฟ้นระหว่างลุ่มน้ำโขงกับดินแดนล้านนา และสะท้อนถึงสถานะศูนย์กลางแห่งศรัทธาของกลุ่มวัฒนธรรมลาว-ล้านช้าง
พระธาตุพนมจึงไม่ใช่แค่สถูปโบราณ แต่คือผลรวมของการเดินทางข้ามกาลเวลาผ่านศิลปะจามปา ล้านช้าง และการบูรณะครั้งใหญ่ในยุครัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ทำให้พระธาตุสูงถึง 57.5 เมตร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาติและศาสนา แต่ใน พ.ศ. 2518 หลังฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน พระธาตุพนมถล่มลงมา ชาวบ้านจากทุกสารทิศจึงร่วมแรงร่วมใจรวมบูรณปฏิสังขรณ์จากเศษซากเดิม และใน พ.ศ. 2522 ได้มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกครั้ง โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
อีกหนึ่งเสน่ห์ที่ไม่ควรพลาด คือการชมพระธาตุพนมในช่วงงานนมัสการประจำปี จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 8 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ท่ามกลางบรรยากาศคึกคักไปด้วยขบวนแห่ รำบูชา การห่มผ้าพระธาตุ และพิธีกรรมเก่าแก่ ทำให้เห็นว่าความศรัทธาไม่เคยหายไปจากที่แห่งนี้ ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้ในรายการอารามบอยตอนล่าสุด
ดำเนินรายการ : ต้า-ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล, กุลจิรา มุทขอนแก่น
85 Listeners
40 Listeners
21 Listeners
10 Listeners
16 Listeners
4 Listeners
1 Listeners
2 Listeners
6 Listeners
9 Listeners
6 Listeners
18 Listeners
4 Listeners
5 Listeners
0 Listeners
5 Listeners
5 Listeners