Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.
May 30, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 30 พ.ค.2566 เมืองไถหนานใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล ทวิน(Digital Twin) เพื่อปรับปรุงการบริหารเมือง ในปี 2022 ได้เปิดตัวโครงการนำร่องที่ป้อมโบราณอันผิงอันมีชื่อเสียง ขณะนี้กำลังจะขยายเข้าสู่ระยะที่สองของการทดลองไปยังเมืองวิทยาศาสตร์พลังงานสีเขียวซาหลุน จะจัดสร้างแพลตฟอร์ม ดิจิทัล ทวิน แสดงสภาพการจราจรและระบบพลังงานในพื้นที่แบบเรียลไทม์ ทั้งนี้ เทคโนโลยี Digital Twin เป็นการผสมผสานระหว่างการสร้างแบบจำลองสามมิติ เทคโนโลยีจำลองโลกจริง เซ็นเซอร์ IoT เทคโนโลยีสารสนเทศ และการประมวลผลความเร็วสูงการทดลอง ดิจิทัล ทวิน ในพื้นที่ป้อมโบราณอันผิง การทดลอง ดิจิทัล ทวิน ในพื้นที่ป้อมโบราณอันผิง เป็นการผสานกับการถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรนและเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ สร้างฉากป้อมโบราณอันผิงเสมือนจริง ทำให้เกิดเป็นฝาแฝดโลกเสมือนและโลกจริง ผสานอุปกรณ์ตรวจจับ IoT การสื่อสาร ICT ใช้ฉากเสมือนจริงนี้เพื่อการบริหารจัดการด้านต่างๆ เช่น การจราจร การดูแลพื้นที่ การวางแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การนำชมด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ ผลลัพธ์ที่แสดงเป็นภาพ ใช้เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจนโยบาย และใช้อ้างอิงสำหรับการสื่อสารระหว่างฝ่ายต่างๆ ในการบริหารจัดการเมือง ในอนาคตจะมีการขยาย ดิจิทัล ทวิน ครอบคลุมพื้นที่เขตการปกครองแต่ละแห่ง นำไปใช้เพื่อการวางผังเมือง การก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ การวางแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การวางแผนนำชมด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ ในขั้นต่อไปหากผสานกับ Generative AI จะสร้างฉากจำลองอดีต และฉากพยากรณ์อนาคตได้ด้วย...more15minPlay
May 23, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 23 พ.ค.2566 นิคมอุตสาหกรรมรถบัสไฟฟ้าแห่งแรกในไต้หวันตั้งอยู่ในสวนวิทยาศาสตร์เอ้อหลิน เมืองจางฮั่ว ผู้ประกอบการหลักคือ Master Transportation Bus Manufacturering Ltd ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถบัสรายใหญ่เก่าแก่ในไต้หวัน มีผู้ถือหุ้นหลักคือ Wistron Corporation, Cathay Private Equity และ Datong และพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานมีจำนวน 47 บริษัท รวมทั้ง Formosa Plastics และ TECO อู๋ติ้งฟา (吳定發) ประธานของ Master Transportation กล่าวว่า เขามีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการรถบัสไฟฟ้าของโลก คาดว่าทางบริษัทฯ จะมีใบสั่งซื้อปีละ 20,000 คันได้ภายในปี 2026 มูลค่าผลผลิตของห่วงโซ่อุปทานโดยรวมของไต้หวันคาดว่าจะ เพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ล้านเหรียญไต้หวัน Master Transportation ลงทุนเขตอุตสาหกรรมรถบัสไฟฟ้าเอ้อหลิน เนื่องจากเห็นว่าอุตสาหกรรมรถบัสไฟฟ้ามีแนวโน้มที่ดี นอกจากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนแล้ว Master Transportation ยังได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทที่เกี่ยวข้องในญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นตลาดส่งออกรถบัสทั้งคันในอนาคต และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในไต้หวันให้ขยายตัวด้วย...more14minPlay
May 17, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 16 พ.ค.2566 "ห่วงโซ่ความเย็น" หมายถึง การควบคุม การเก็บรักษาอาหารหรือผลิตภัณฑ์ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ ตั้งแต่การผลิตจนถึงมือผู้บริโภค เป็นการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ประมงและปศุสัตว์ อาหารแช่แข็ง เคมีภัณฑ์ และยา ฯลฯ ให้มีความสดใหม่และมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคไต้หวันพัฒนาและยกระดับโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นสินค้าเกษตร ตามรายงานที่เผยแพร่โดย REPORTOCEAN สถาบันวิจัยของสหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคม 2022 ชี้ว่าโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นทั่วโลกขยายตัว ปีละ 14.7% จาก 31,880 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2021 เพิ่มเป็น 79,270 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 เป็นผลจากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ประเทศต่างๆ พากันลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของห่วงโซ่ความเย็น อีกทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการป้องกันอาหารสูญเสีย ประเทศตลาดใหม่ตื่นตัวต้องการผลิตภัณฑ์ควบคุมอุณหภูมิสินค้ามากขึ้น เป็นต้น การลงทุนสูงอุปกรณ์ห่วงโซ่ความเย็นมีต้นทุนสูง จึงควรมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง และทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูง จะเป็นแรงจูงใจของผู้ประกอบการในการจัดสร้างระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะต้องยกระดับห่วงโซ่ความเย็นให้สอดคล้องกับความตื่นตัวทั่วโลกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแบบดั้งเดิมจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มประสิทธิภาพเช่นกัน เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถเติบโตต่อไปได้ไต้หวันพัฒนาและยกระดับโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นสินค้าเกษตร ลดใช้กำลังคน เพื่อตอบสนองแนวโน้มที่กล่าวถึงข้างต้น สภาบริหารไต้หวันได้อนุมัติ "การสร้างระบบสาธิตสำหรับโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นและการรักษาคุณภาพสินค้าเกษตร" ตั้งแต่ปี 2021 ถึง 2024 โดยมอบหมายให้สภาการเกษตร (COA) เร่งจัดตั้งระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นสินค้าเกษตร หวังลดความสูญเสีย เพิ่มอัตราสินค้าดีที่ขายได้ ยืดอายุการถนอมความสดของสินค้า และเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อปรับสมดุลการผลิตและการขาย...more15minPlay
May 09, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 9 พ.ค. 2566 ในช่วงต้นเดือน พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา นายกัวไถหมิง (Terry Gou) ผู้ก่อตั้งบริษัทหงไห่ พริซิชั่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท ฟอกซ์คอนน์ (Foxconn) เสนอให้ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กในเมืองต่างๆ เช่น ที่เชิงเขาปั่นผิง (半屏) ในนครเกาสง ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นายไช่จงเยว่ (蔡中岳) ผู้อำนวยการบริหารของ Citizen of the Earth, Taiwan ชี้ว่ากัวไถหมิง เสนอตัวเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ด้วยข้อมูลที่ผิดพลาด เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แม้จะมองแนวโน้มการลดคาร์บอนของไต้หวันที่สอดคล้องกับทั่วโลก แต่จะต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาของไต้หวัน บางพื้นที่ของไต้หวันอยู่ในบริเวณรอยเลื่อนเปลือกโลก มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ ตาม "รายงานสถานะอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์โลกปี 2022" ระบุว่ารัสเซียมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโมดูลาร์ 2 เครื่องในโลก ประสิทธิภาพย่ำแย่มาก ในปัจจุบัน อุปกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR ล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงเกินกว่าจะแข่งขันได้ กากนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นสูงกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิมถึง 2 - 30 เท่าหรือมากกว่านั้นและจัดการได้ยาก ทางด้าน เยี่ยจงกวง (葉宗洸) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ของมหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สือเต่าวัน ( 石島灣) ในมณฑลซานตง ประเทศจีน เป็นกรณีของการใช้ SMR เชิงพาณิชย์ที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ฯลฯ ต่างก็พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็กของตนเอง สหรัฐอเมริกาติดตั้งหนึ่งในฐานทัพอากาศอะแลสกา และคาดว่าจะส่งเชิงพาณิชย์ในปี 2027 นอกจากนี้ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริกของสหรัฐฯ ยังได้ติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์หน่วยขนาดเล็กขนาด 300 เมกะวัตต์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะ นำออกจำหน่ายในปี 2028 เยี่ยจงกวง ชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างมากที่สุดระหว่าง SMR และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่แบบดั้งเดิมคือ กำลังการผลิตติดตั้งสูงสุดของ SMR คือ 300 MW และสามารถปิดการใช้งานได้อย่างปลอดภัยในกรณีระบบหล่อเย็นขัดข้อง นอกจากนี้ SMR ใช้เวลาก่อสร้างสั้นกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปัจจุบันต้องปิดซ่อมแซม เป็นเวลาหนึ่งเดือน ในทุกๆ 18 เดือน แต่ SMR สามารถทำงานได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี และอัตราการผลิตไฟฟ้าโดยรวมสูงกว่ามาก...more15minPlay
May 02, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 2 พ.ค.2566 มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นดำเนินโครงการ "การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบ AI ยานใต้น้ำไร้คนขับ" ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสบความสำเร็จในการผสานเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก AI Deep Learning, การสื่อสาร, เซมิคอนดักเตอร์, นับเป็นยานใต้น้ำอัจฉริยะไร้คนขับเครื่องแรกที่สร้างในไต้หวัน 100% ในอนาคตสามารถนำไปใช้เพื่อการสำรวจและการศึกษาความเข้าใจโลกใต้น้ำมากขึ้น ประยุกต์ด้านการป้องกันประเทศ พลังงานสีเขียว การค้นหาและกู้ภัย การก่อสร้างใต้น้ำ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯลฯ ศ. หวังเฉาชิน (王朝欽) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้แถลงว่า ยานยนต์ไร้คนขับเครื่องนี้มีจุดเด่นคือ มีการจัดตั้งข้อมูลภาพที่สมบูรณ์ กำหนดตำแหน่งได้ มีระบบนำทางหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางได้ การชาร์จไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เป็น AUV (Autonomous Underwater Vehicle) อัจฉริยะ มีความแม่นยำในการจำแนกสิ่งของใต้น้ำได้มากกว่า 80% ความเร็วในการจำแนกวัตถุใกล้เคียงกับสายตามนุษย์ ด้วยประสิทธิภาพ 20 ภาพต่อวินาที จำแนกสิ่งของได้มากกว่า 20 ชนิด เช่น ขวดแก้ว ขวด PET ยางรถยนต์ นักดำน้ำ ปลาสิงโต เต่าทะเล ฉลาม และปลากระเบน ฯลฯ ศ. หวังเฉาชิน ชี้ว่า ยานยนต์ใต้น้ำไร้คนขับต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงกว่าโดรนในอากาศ ทีมวิจัยได้พัฒนาอัลกอริธึมโครงข่ายประสาทเทียมน้ำหนักเบาประสิทธิภาพสูง และตัวเร่งความเร็วฮาร์ดแวร์ที่ใช้พลังงานต่ำ มีการใช้เทคโนโลยี AI สำหรับการขจัดหมอกบนภาพ การปรับปรุงสีของภาพให้เหมือนสภาพจริง และ LED เพิ่มแสงอัจฉริยะ ล้วนเป็นส่วนสำคัญในเพิ่มความแม่นยำในการจำแนกภาพ...more4minPlay
April 25, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 25 เม.ย.2566ผลิตไฟใช้เอง กรุงไทเปส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายพื้นที่ ให้เอกชนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ลดการพึ่งพาโรงงานไฟฟ้า ราคาไฟฟ้าปรับขึ้นในเดือนเมษายน ช่วงพีคการใช้ไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนกำลังมาถึง ประเด็นเรื่องไฟฟ้าเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ในปีนี้สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงไทเปเร่งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้ากระจายหลายพื้นที่ “ผลิตเองใช้เอง” ลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าแบบศูนย์รวมในโรงไฟฟ้า ในวันที่ 23 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดใช้งาน “เขตสาธิตการผลิตและเก็บไฟฟ้า” ที่ Shanshuilu Eco Park (山水綠生態公園) จัดแสดงระบบผลิตไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และ เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน รวม 3 วิธี สำนักสิ่งแวดล้อมหวังส่งเสริมแนวคิดให้ครัวเรือน “ผลิตไฟฟ้าใช้เอง ถ้าไม่พอ จึงใช้จากโรงไฟฟ้า” หากไฟฟ้าดับจะได้มีไฟฟ้าใช้ยามฉุกเฉิน ซึ่งจะดำเนินโครงการอุดหนุนประชาชนติดตั้งโซล่าร์เซลล์Shanshuilu Eco Park (山水綠生態公園) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงไทเปเกือบ 76% มาจากภาคที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า การใช้ไฟฟ้าก่อให้เกิดการปลอ่ยก๊าซคาร์บอน การใช้ไฟฟ้าทุกหน่วย เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.5 กิโลกรัม ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีของกรุงไทเป 15,986 ล้านหน่วย อู๋เซิ้งจง (吳盛忠) ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม ชี้ว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 การประหยัดพลังงานสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยลงได้ แต่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซสุทธิจนเป็นศูนย์ จึงจำเป็นต้องพัฒนาการผลิตไฟฟ้าพลังงานสีเขียวและการกักเก็บพลังงาน การผลิตกระแสไฟฟ้าและการกักเก็บไฟฟ้าในปัจจุบันดำเนินการโดยโรงไฟฟ้าที่เป็นศูนย์รวม ปัจจุบันกรุงไทเปต้องการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายในชุมชน บ้าน และอาคารพาณิชย์ โดยหวังว่าจะบรรลุเป้าหมายของการผลิตไฟฟ้าแบบพึ่งพาตนเอง...more14minPlay
April 18, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 18 เม.ย.2566 กระทรวงเศรษฐการไต้หวันจัดแสดงผลสำเร็จ 18 โครงการเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและระบบอัจฉริยะใน Taiwan Mobile R&D Alliance Pavilion งาน 2035 E-Mobility Taiwan ซึ่งจัดแสดงที่ Nangang Exhibition Center กรุงไทเป ช่วง 12 – 15 เมษายน 2023 แสดงผลสำเร็จความร่วมมือกับผู้ประกอบการ 28 ราย ในไต้หวันและต่างประเทศ เช่น LIO HO MACHINE WORKS LTD., CHINA-MOTOR, MASTER TRANSPORTATION BUS MANUFACTURING LTD, CUBTEK, KWANG YANG MOTOR CO., LTD. – KYMCO ทำให้เกิดบริษัทสตาร์ทอัพ 3 แห่ง ประสบความสำเร็จในการขยายตลาดทั้งในในไต้หวันและต่างประเทศ และขยายรุกเข้าสู่ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะได้ จางเหนิงไข่ (張能凱) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักเทคโนโลยี กระทรวงเศรษฐการกล่าวว่า ทั่วโลกตื่นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามข้อมูลของหน่วยงานวิจัยการตลาดมูลค่าการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่ในปี 2022 เพิ่มขึ้น 63.6 % เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคาดว่ายอดขายยานยนต์ไฟฟ้าจะแซงหน้ายานยนต์เชื้อเพลิงในปี 2037 โดยมูลค่าอุตสาหกรรมทั่วโลกอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาชี้ว่า สำนักเทคโนโลยีส่งเสริมโครงการความร่วมมือทางเทคโนโลยี 300 โครงการในปี 2022 มูลค่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเกิน 1 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน ในอีก 4 ปีข้างหน้า มีแผนจะลงทุน 5 พันล้านเหรียญไต้หวัน อุดหนุนองค์กรและผู้ประกอบการ ในการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์อัจฉริยะช่วยเหลือผู้ประกอบการในการเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของโลก...more15minPlay
April 11, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 11 เม.ย.2566 การพัฒนาสารเคมีทางการเกษตรเพื่อนำเข้าสู่ตลาด โดยทั่วไปจะต้องทำการทดสอบความเป็นพิษผ่านการทดลองกับสัตว์ ทำให้หนูทดลองต้องเสียชีวิตจำนวนมาก การทำเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่เรียกร้องให้ลดการใช้สัตว์ทดลอง ดังนั้น หน่วยงานในไต้หวันคือ สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรและสารพิษ สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้ร่วมมือกันพัฒนา " "แพลตฟอร์มอัลกอริทึม AI สำหรับการประเมินความเสี่ยงของการเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง" " เป็นการลดการใช้สัตว์ทดลอง ในการประเมินความปลอดภัยสารเคมีทางการเกษตรในอนาคต แพลตฟอร์มนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสารเคมีทางการเกษตร โดยมีการป้อนข้อมูลสารเคมีจำนวนมากเข้าไปในระบบ จากนั้นใช้ระบบค้นหาโครงสร้างเคมีที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการแพ้ หลังจากนั้นจะใช้วิธีทดสอบเซลล์ภายนอกร่างกาย(การทดสอบในหลอดแก้ว) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ วิธีการเช่นนี้ สามารถประหยัดเวลาในการตรวจสอบความเป็นพิษของสารเคมีได้ถึง 80% เป็นแพลตฟอร์มการตรวจสอบที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการประเมินสารเคมีทางการเกษตรเป็นครั้งแรกของโลก ความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้มีการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติแล้ว และสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตรฯ กำลังหารือกับกรมตรวจสอบสุขอนามัยและการกักกันพืชและสัตว์ของไต้หวัน เพื่อส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตรในไต้หวันโดยเร็ว การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการประเมินความอ่อนไหวต่อการแพ้สารเคมีเกษตร ทนแทนการใช้สัตว์ทดลองได้ สอดคล้องกับการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ เนื่องจากการทดสอบในสัตว์แต่ละครั้งทำให้หนูตะเภาต้องเสียชีวิตประมาณ 30 ตัว การช่วยเหลือของ AI ลดการสูญเสียชีวิตของหนูตะเภาได้...more15minPlay
April 04, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 4 เม.ย.2566 โดรนมีบทบาทสำคัญในสงครามรัสเซีย-ยูเครน หลายประเทศให้ความสนใจและติดตามข้อมูลการรบเพื่อนำมาพัฒนาเพิ่มความสามารถทางการทหารของตน ในภาวะช่องแคบไต้หวันมีความตึงเครียด กองทัพไต้หวันให้ความสนใจเช่นกัน และต้องการเรียนรู้ว่ายูเครนใช้โดรนต่อต้านรัสเซียที่มีความเข้มแข็งมากกว่าได้อย่างไร กระทรวงกลาโหมของไต้หวันแถลงว่าได้มอบหมายสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจงซัน NCSIST พัฒนาโดรนทางการทหาร ฉีลี่ผิง (齊立平) ผู้อำนวยการสถาบันฯ เปิดเผยว่ามีการร่วมมือกับเอกชนหลายรายทุ่มเทการวิจัยพัฒนา ซึ่งทางด้าน ซุนลี่ฟัง (孫立方) โฆษกกระทรวงกลาโหม ไต้หวันเผยว่า ไต้หวันกำลังเร่งการวิจัยพัฒนาและผลิตโดรนทางการทหาร โดยมองว่าการใช้โดรนสามารถลดกำลังพล ลดความสูญเสียในสงคราม เป็นการเสริมกำลังไต้หวันที่เสียเปรียบต่อจีน และทำให้คานอำนาจจีนได้ NCSIST มีการร่วมมือกับเอกชนในการพัฒนาโดรน 5 แบบได้แก่ โดรนขนส่ง(carrier-launched drones), โดรนสำรวจภาคพื้นดิน (land-based surveillance drones), โดรนค้นหาเป้าหมาย (drones with target-acquisition capabilities), โดรนสำรวจเพื่อการเฝ้าระวัง (surveillance drones) และโดรนขนาดเล็ก (miniature drones) การร่วมมือกับเอกชนผลดีคือ ประหยัดเวลาในการวิจัยพัฒนาและลดต้นทุนได้ ทั้งนี้หากกองทัพจะต้องดำเนินการตามมาตรฐานทางการทหารจะต้องใช้เวลา 4-5 ปีจึงจะบรรลุเป้าหมาย แต่การร่วมมือกับภาคเอกชนที่พัฒนาโดรนเพื่อการพาณิชย์ สามารถปรับปรุงโดรนที่ผลิตโดยภาคเอกชนนำไปทดสอบ คาดว่าจะประสบความสำเร็จได้ภายใน 1 ปี และนำมาใช้งานในทางการทหารได้ โดยที่การร่วมมือกับบริษัทเอกชนจะต้องมีการคัดกรองว่าไม่มีทุนจีนแทรกแซงอยู่ และไม่สามารถใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในจีน...more15minPlay
March 28, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 28 มี.ค.2566 บริษัทตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษาธุรกิจ PWC รายงาน ความคืบหน้าการซื้อขายกระแสไฟฟ้าพลังงานสีเขียวในไต้หวันระบุว่า การติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของไต้หวันปี 2022 มีกำลังผลิตรวมเท่ากับ 23,800 ล้านหน่วยกระแสไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 36% จากปีก่อน ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าสีเขียวป้อนเข้าโครงข่าย เพิ่มขึ้น 60% จากปีก่อน โดยเฉพาะกำลังลมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วน 60% ของการผลิตโดยรวม ผู้ประกอบการไต้หวันเร่งพัฒนาการใช้ประโยชน์พลังงานหมุนเวียน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลความต้องการซื้อไฟฟ้าสีเขียวมีปริมาณเพิ่มขึ้น PWC ชี้ว่า ไต้หวันมีการแก้ไขกฎหมายกิจการพลังงานไฟฟ้าในปี 2017 เป็นการวางรากฐานการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ ส่งผลให้มีการลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า มีการจัดตั้งกลไกการซื้อขายกระแสไฟฟ้าสีเขียวอย่างอิสระเริ่ม ตั้งแต่ปี 2020 สิ้นสุด กุมภาพันธ์ 2023 ในไต้หวันมีกิจการไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 40 รายที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมพลังงานของไต้หวัน กิจการเหล่านี้ยังได้รับช่วยเหลือในการจับคู่ธุรกิจกับผู้ต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย สถิติ ปี 2022 ในไต้หวันมีการติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าสูงถึง 62 GW ในจำนวนนี้เป็นพลังงานหมุนเวียน 14 GW คิดเป็น 23% ของอุปกรณ์ทั้งหมด ในปี 2022 กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของไต้หวัน เท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้า 23,800 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้น 36% เทียบกับปี 2021 ซึ่งมีจำนวน 17,400 ล้านหน่วย PWC ชี้ว่า การพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนของไต้หวันกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในบรรดาประเภทพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนในไต้หวัน นั้น พลังงานแสงอาทิตย์มีบทบาทสำคัญที่สุดกำลังผลิต ในปี 2022 เท่ากับ 9.7 GW คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 10,700 ล้านหน่วย...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.