Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.
March 21, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 21 มี.ค.2566 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไต้หวัน จัดประชุมยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2566 รอง นรม. เจิ้งเหวินชั่น คาดหวังจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สร้างมูลค่าอุตสาหกรรม ทะลุ 3 แสนล้านเหรียญไต้หวันในปี 2025 ทางด้านอู๋เจิ้งจง (吳政忠) ประธานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า ตั้งแต่ปีหน้า(2024) กระทรวงวิทยาศาสตร์จะจัดสรรงบประมาณส่งเสริมผู้ประกอบการลงทุนในเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบุกเบิกโอกาสธุรกิจที่มีขนาดมหาศาล เทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุไม่มีคำจำกัดความที่แน่ชัด โดยหลักก็คือการใช้พลังเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้สูงอายุในด้านปัจจัย 4 ให้มีความสะดวกมากขึ้น เพิ่มความสามารถการใช้อปุกรณ์ดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงวัย หลีกเลี่ยงภาวะไร้ความสามารถด้านดิจิทัล หรือช่วยขยายอายุการทำงานของผู้สูงวัย เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชน ถงจื่อเสียน (童子賢) ประธานบริษัท ASUS กล่าวว่า จะต้องมีการคำนึงด้านกฎหมาย การอุดหนุนจากภาครัฐ การออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องประยุกต์ด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์เซนเซอร์ กล้องถ่ายรูป การจัดการภาพถ่ายและแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย โดยขบคิดว่าจะประสานกันอย่างไร ขณะที่ เจี่ยนลี่โฟง (簡立峰) ประธานบริษัท Appier กล่าวว่า จากการที่ประชากรลดลง ในอนาคตขนาดเศรษฐกิจไต้หวัน จะมีการหดตัว ในอนาคตจะมีการใช้หุ่นยนต์เป็นเพื่อนคนแก่หรือดูแลคนแก่ จะออกแบบ interface อย่างไร ถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ...more15minPlay
March 14, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 14 มี.ค.2566 แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีความหนาแน่นสูงในการสะสมพลังงานไฟฟ้า สูญเสียพลังงานต่ำ นับเป็นแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงมีบทบาทสำคัญในการเก็บพลังงาน แต่ก็มีปัญหาอุณหภูมิร้อนผิดปกติ (thermal runaway) คุกคามความปลอดภัย ที่ผ่านมาเคยเกิดปัญหารถยนต์ไฟฟ้าลุกไหม้ ดับไฟยาก และยังทำให้แบตเตอรี่เสื่อมง่ายด้วย ทีมวิจัย ม. หยางหมิงเจียวทง (NATIONAL YANG MING CHIAO TUNG UNIVERSITY) ดำเนินโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอิเล็กโทรไลต์ ของเหลวไอออนิก สำหรับใช้ในแบตเตอรี่ลิเธียม ดีกว่าวัสดุแบบเก่า มีความปลอดภัยสูงกว่า ไม่ลุกติดไฟง่าย ทนต่อความร้อนเป็นจุดเด่นสำคัญ ศ. จางเหยิงขุย (張仍奎) ทีมวิจัยคณะวิศวกรรมและวัสดุศาสตร์ ม. หยางหมิงเจียวทง ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนโครงการวิจัยเฉพาะด้านระยะยาวของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศแบตเตอรี่ลิเธียมไต้หวัน-เยอรมนี ทำการวิจัยค้นคว้ายาวนานเกินกว่า 12 ปี มีผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ได้ทำการแถลงข่าวเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2566 คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ทีมของ ศ. จางเหยิงขุย ได้พัฒนาอิเล็กโทรไลต์ ไอออนเหลว สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียม ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดไฟฟ้าประจุขั้วบวกขั้วลบ การปล่อยไฟฟ้าและชาร์จไฟฟ้า มีการออกแบบโครงสร้างไอออนขั้วลบที่เป็นของเหลวไอออนิก ด้วยสูตรเกลือลิเธียมและสารละลายที่คัดเลือกเฉพาะ เป็นความสำเร็จโดดเด่น เทคโนโลยีล้ำหน้าในเวทีโลก อิเล็กโทรไลต์ที่พัฒนาใหม่ประสิทธิภาพสูง มีความสเถียรแม้ใช้งานภายใต้แรงดันไฟฟ้าสูง เพิ่มความปลอดภัยต่อแบตเตอรี่ลิเธียมได้มาก...more15minPlay
March 07, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 7 มี.ค.2566 เพื่อรับมือกับการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ และปรับความสมดุลอุปสงค์อุปทานในตลาด รวมทั้งต่อสู้กับวิกฤตด้านอาหาร นครเกาสงเร่งผลักดันจัดตั้งระบบโลจิสติกส์โซ่ความเย็น (Cold Chain Logistics) วางแผนการจัดตั้งโรงคัดบรรจุลิ่วกุย (六龜冷鏈包裝場) โรงงานแปรรูปขนาดใหญ่สหกรณ์ฟาร์มแคลิฟอร์เนีย (California Farm Cooperative Society) เขตสวนจัดจำหน่ายผักผลไม้โลจิสติกส์โซ่ความเย็นต้าสู้(大樹蔬果冷鏈運銷園區) การจัดตั้งองค์กรโลจิสติกส์โซ่ความเย็น 3 แห่งนี้ หวังว่าจะสร้างความยิ่งใหญ่ด้านการเกษตรในไต้หวัน ในขณะเดียวกันสมาคมเกษตรจื่อกวน (梓官) ของนครเกาสงได้ประยุกต์ใช้อุปกรณ์ลดอุณหภูมิผลผลิตเกษตร และรถขนส่งอุณหภูมิต่ำเพื่อรักษาผักผลไม้ให้มีความสด ลดความสูญเสีย กล่าวได้ว่ารัฐบาลและเอกชนในไต้หวันร่วมมือกันจัดตั้งโลจิสติกส์โซ่ความเย็น เพื่อให้นครเกาสงเป็นฐานผลิตสินค้าเกษตรที่แข็งแกร่ง ในการจัดตั้งองค์กรโลจิสติกส์โซ่ความเย็น 3 แห่งของนครเกาสง ประกอบด้วยโรงคัดบรรจุลิ่วกุยตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของนครเกาสง โดยกรมการเกษตรของบประมาณก่อสร้างจากคณะกรรมการการเกษตร 100 ล้านเหรียญไต้หวัน คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2023 นี้ สามารถรับผลผลิตจากบริเวณใกล้เคียง ทำให้การจัดการผลผลิตเพิ่มจากปีละ 3,000 ตัน เป็น 8,000 ตัน ในส่วนตอนกลางมีการจัดตั้งโรงงานแคลิฟอร์เนีย ทำการคัดเกรด ตัด แบ่ง บรรจุ และมีคลังสินค้าอุณหภูมิต่ำ ส่วนเขตโลจิสติกส์ต้าสู้จะสร้างเสร็จในปี 2024 ด้วยงบประมาณ 500 ล้านเหรียญไต้หวัน สามารถจัดการผลผลิตในเขตใกล้เคียงสูงขึ้นถึงวันละ 10,000 ตัน เป็นการเพิ่มความสามารถในการเก็บผลผลิตเกษตร ปรับระดับการจัดเก็บผลผลิตตามภาวะตลาด เพื่อเป็นกลไกในการรักษาสเถียรภาพราคาสินค้า ปรับความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในไต้หวันด้วย...more15minPlay
February 28, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 28 ก.พ.2566 สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไต้หวัน (Industrial Technology Research Institute – ITRI) ส่งเสริมผู้ประกอบการชาร์จแบตเตอรี่ eTreego (起而行綠能) ร่วมมือกับ Hotai Motor (和泰集團) และ Shihlin Electric (士林電機) จัดตั้ง บริษัท Gochabar (充壩) บริษัทซอฟต์แวร์ชาร์จแบตเตอรี่รายแรกในไต้หวัน ให้บริการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟ การบริหารจัดการชาร์จไฟอัจฉริยะ การซ่อมบำรุง เป็นบริการที่ครบวงจร เจาะกลุ่มลูกค้าอาคารที่พักอาศัย องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานรัฐบาล ครอบคลุมตลาดทั้ง 3 ส่วน eTreego ผู้ประกอบธุรกิจชาร์จแบตเตอรี่ถือเป็น 1 ใน 3 รายใหญ่ในไต้หวัน ครองส่วนแบ่งตลาด 60% มีความแข็งแกร่งในธุรกิจเป็นพื้นฐานเดิม ได้ร่วมมือจัดตั้งชงป้า ทุนจดทะเบียน 120 ล้านเหรียญไต้หวัน สัดส่วนการลงทุนคือeTreego และ Hotai Motor ถือหุ้นรายละ 40% ส่วน Shihlin Electric ถือหุ้น 20% ชิวฉิวหุ้ย (邱求慧) ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยี กระทรวงเศรษฐการเปิดเผยว่า สำนักเทคโนโลยีดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระยะยาว ช่วยเหลือผู้ประกอบการยกระดับกิจการ ได้ทุ่มเทการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2008 มีสิทธิบัตรยานยนต์อัตโนมัติ และยานยนต์ไฟฟ้าเกินกว่า 1,000 รายการ ได้เล็งเห็นว่าการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟในสถานที่สาธารณะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ตามการรายงานของ Reportlinker ปี 2022 ทั่วโลกมีเครื่องชาร์จไฟ 2.354 ล้านเครื่อง ถึงปี 2027 จะเพิ่มเท่าตัวเป็น 14.62 ล้านเครื่อง จึงได้ทำการส่งเสริมผู้ประกอบการไต้หวันจัดตั้งบริษัทให้บริการชาร์จไฟแบตเตอรี่แบบครบวงจร หูจู๋เซิง (胡竹生) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ITRI บอกว่า eTreego ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการชาร์จแบบเร็วประสิทธิภาพสูงแล้ว นอกจากสร้างโอกาสธุรกิจในไต้หวันในอนาคตยังสามารถขยายตลาดไปต่างประเทศผ่านบริษัท Gochbar เข้าสู่ตลาดในยุโรป ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา...more15minPlay
February 21, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 21 ก.พ.2566 ChatGPT เป็นแชตบอต พัฒนาโดย OpenAI ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft การใช้งาน ChatGPT ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่สร้างความประทับใจต่อผู้ใช้งานระดับสูง ทั้งนี้ ผู้ใช้งานเพียงป้อนคำถามหรือคำสั่งเข้าสู่ระบบ จะได้รับการตอบกลับเป็นข้อความภาษาเขียนที่มีความเป็นธรรมชาติคล้ายคำพูดของมนุษย์ สามารถเล่าเรื่องตลก หรือแต่งบทกวีก็ได้ หลังเปิดตัวเมื่อพฤศจิกายน ปี 2022 โดยเลือกใช้งานได้แบบจ่ายเงินหรือใช้งานฟรี กลายเป็นไวรัล มีผู้ใช้งานมหาศาล ตามการวิจัยของธนาคารสวิสซ์ UBS Group AG ชี้ว่าจำนวนบัญชีที่เข้าใช้งาน ChatGPT ในเดือนมกราคม 2023 สูง ถึง 100 ล้านบัญชี นับเป็นซอฟต์แวร์ที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ จากการที่บริษัทใหญ่ทั่วโลกให้ความสนใจ Generative AI บริษัท ASUS ยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ในไต้หวันเกาะกระแสฮิต โดยเปิดให้บริการ AI 2.0 บนเว็บไซต์ Taiwan Web Service บริการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งให้บริการประมวลผล AI, AIHPC และ LLM ช่วยให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้างรูปแบบธุรกิจหรือการประยุกต์แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างรวดเร็ว Taiwan Web Service ระบุว่า ChatGPT เป็น chatbot ที่ใช้ AI โมเดลการประมวลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) มีพารามิเตอร์นับแสนล้านตัว เพื่อประมวลภาษามนุษย์ เป็นการประยุกต์ใช้งาน AI สร้างแชตบอตที่มีความสามารถในการสรุปสาระสำคัญ เขียนโปรแกรม ทดสอบโครงสร้างโปรตีน หรือทดสอบคุณสมบัติอนุภาคสิ่งมีชีวิต เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาโมเดลการประมวลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ที่น่าสนใจอีกค่ายหนึ่งคือ BLOOM ถือเป็น LLM ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในขณะนี้ เนื่องจากมีพารามิเตอร์ 176,000 ล้านตัว ประกอบด้วย 46 ภาษามนุษย์ และ 13 ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การมีทรัพยากรและโมเดลขนาดใหญ่ ทำให้การดูแลบำรุง การฝึกฝน AI มีความยากลำบาก บริษัททั่วไปไม่สามารถที่จะประยุกต์เพื่อการใช้งานได้โดยง่าย Taiwan Web Service มี AIHPC ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับโลก สามารถให้บริการการฝึกฝน โมเดลภาษาขนาดใหญ่ของ BLOOM โดยการเทียบเคียงและนำมาประมวลผลอย่างรวดเร็วบนแพลตฟอร์ม TWCCใน AI Cloud ของไต้หวัน(Taiwan Computing Cloud) เวลาการฝึกฝนจะรวดเร็วขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาได้อย่างมาก ลดต้นทุน ลดความเสี่ยงในการพัฒนาเทคโนโลยี ประหยัดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และกำลังคน การใช้บริการของ Taiwan Web Service สามารถลดต้นทุนได้นับล้านดอลลาร์สหรัฐ...more15minPlay
February 14, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 14 ก.พ.2566 คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (NCC) รายงานภาวะตลาดบริการสื่อสารไร้สายไต้หวัน ปี 2022 ระบุว่า ผลประกอบการแม่ขายโทรศัพท์ ปี 2012 มีมูลค่า 225,400 ล้านเหรียญไต้หวัน ถึงปี 2020 ลดเหลือ 153,700 ล้านเหรียญไต้หวัน หลังจากไต้หวันเปิดบริการระบบ 5G ในช่วงครึ่งหลังปี 2020 ประชาชนอัพเกรดใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้น มีการจ่ายค่าบริการสื่อสารไร้สายเพิ่มขึ้น ทำให้ผลประกอบการของแม่ข่ายโทรศัพท์ในไต้หวัน ปี 2021 เพิ่มเป็น 155,000 ล้านเหรียญไต้หวัน สำหรับไตรมาส 3 ปี 2022 มูลค่า 120,000 ล้านเหรียญไต้หวัน คาดว่าผลประกอบการทั้งปีจะสูงกว่าปี 2021 สำหรับจำนวนผู้ใช้บริการสื่อสารไร้สายปี 2020 เท่ากับ 29.29 ล้านราย ถึงปี 2021 เพิ่มเป็น 29.58 ล้านราย ไตรมาส 3 ปี 2022 เพิ่มเป็น 29.94 ล้านราย คาดว่าในปี 2022 จะทะลุ 30 ล้านราย ซึ่งทาง NCC ชี้ว่า ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวันดำเนินการทำการสำรวจ แนวโน้มการพัฒนาตลาดบริการสื่อสารโทรคมนาคม ปี 2022 พบพฤติกรรม เกินกว่า 50% ของผู้บริโภคชาวไต้หวันอายุ 16 ปีขึ้นไป ใช้บริการสื่อสารไร้สายในที่พัก ในจำนวนนี้ เกินกว่า 70 % ยังไม่เปลี่ยนจาก 4G เป็น 5G เนื่องจากเห็นว่าบริการ 4G เพียงพออยู่แล้ว ในด้านความพอใจการใช้บริการ 4G และ 5G ประชาชนเห็นว่าเครือข่าย 5G ดีกว่า 4G แต่รัศมีครอบคลุมยังไม่เพียงพอนอกจากนี้ 90% ของผู้บริโภค ใช้อินเทอร์เน็ตในที่พัก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้เป็นแบบสื่อสารไร้สายมากกว่า fix network 80% ของประชาชนบอกว่าขึ้นอินเทอร์เน็ตเพื่อการใช้ search engine หาข้อมูล ส่วนในด้านการรับชม content ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไปบอกว่ายังคงใช้เคเบิลทีวี รองลงมาคือ OTT TV โดยที่ 50% ของกลุ่มที่ดู OTT TV บอกว่าไม่เคยดู Cable TV อีก 40% บอกว่าแต่เดิมดู Cable TV แต่ตอนนี้หันมาดู OTT TV สาเหตุที่เปลี่ยน เนื่องจากว่า Cable TV เก็บค่าบริการสูงกว่า รายงานการสำรวจอีกชิ้นหนึ่งของ NCC ระบุว่า ชาวไต้หวันดู content ภาพเสียงวันละ 106 นาที Netflix ครองอันดับ 1 กล่าวได้ว่าความเคยชินในการชม content เปลี่ยนไป ผู้ที่ยินดีจ่าย OTT Streaming TV เพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีนับจากปี 2017 ถึง 2022 ทั่วประเทศมีสัดส่วนการบอกรับเป็นสมาชิก OTT TV เพิ่มขึ้น จาก 19.8% เพิ่มเป็น 49.8% ซึ่งตามการสำรวจของ NCC ปี 2022 ทั่วไต้หวันผู้ใช้บริการ OTT TV มีความนิยม Netfix เป็นอันดับ 1 สัดส่วน 44.8% อันดับ 2 Dsney+ 15.2% อันดับ 3 คือ iQIYI 2.2% รองลงมาคือ Hami Video 2.2% และอีก 1% เป็น KKTV、Apple TV、HBO GO、LiTV、CatchPlay...more15minPlay
February 07, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 7 ก.พ.2566 บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก เช่น Tesla และ Xiaomi พากันลงทุนมหาศาลเพื่อวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ หุ่นยนต์รูปร่างมนุษย์ที่จินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้า ความแม่นยำการประมวลผลของ AI และความรวดเร็วเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้บริษัทรายใหญ่ในไต้หวันเร่งการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์เช่นกัน เช่น บริษัท Foxconn, Quanta Computer, Wistron, Compal Electronics ระดับชั้นนำของไต้หวันเหล่านี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์บริการ ทำให้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไต้หวันกำลังทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลบริษัทวิจัยการตลาด Mordor Intelligence ประเมินว่า อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ทั่วโลกปี 2026 มูลค่า 74,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2.3 ล้านล้านเหรียญไต้หวัน สมาพันธ์หุ่นยนต์ระหว่างประเทศ (IFR) ประเมินว่า ปี 2021 โรงงานทั่วโลกติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 517,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นรายปี 30% เป็นสถิติสูงสุด จนถึงปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีการใช้งานหุ่นยนต์ 3.5 ล้านเครื่องแล้ว 10 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคทองการขยายตัวของหุ่นยนต์ที่รวดเร็ว หราวต๋าเหริน (饒達仁) ผู้อำนวยการสำนักเครื่องกลไฟฟ้า สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) ของไต้หวันกล่าวว่า ในไต้หวันมีการพัฒนาฮาร์ดแวร์ถึงระดับหนึ่งแล้ว ซอฟต์แวร์และบริการด้านการผลิตล้วนมีความสุกงอม ไต้หวันมีศักยภาพไม่แพ้ประเทศอื่น...more16minPlay
January 31, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 31 ม.ค.2566 ศ. หลี่อี๋เจีย (李宜家) แผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ไต้หวัน (รพ. ไถต้า) บอกว่า ในไต้หวันมีผู้ตรวจส่องกล้องกระเพาะปีละ 1,000,000 คน ภาพถ่ายกระเพาะเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะที่เกิดจากแบคทีเรีย H. Pylori (เอชไพโลไร) ซึ่งเป็นสาเหตุกระเพาะอักเสบเรื้อรัง กระเพาะหดเล็กลง แผลในกระเพาะ กระเพาะเปลี่ยนรูปร่าง และเป็นสาเหตุของมะเร็ง การวินิจฉัยโรคแบบเดิมต้องใช้แพทย์ที่มีความชำนาญในการตรวจดูภาพถ่ายด้วยตา จะต้องใช้เวลานาน และยังมีปัญหาขาดแคลนผู้ที่มีความชำนาญ โดยเฉพาะในชนบทห่างไกลที่ขาดแคลนแพทย์ จึงเป็นปัญหาด้านการรักษาพยาบาล เพื่อแก้ไขปัญหาดังล่าว โรงพยาบาลไถต้า จัดทำระบบการรักษาพยาบาล AI วินิจฉัยกระเพาะด้วยรูปภาพ รู้ผลภายใน 9 นาที ตั้งแต่ปี 2016 โรงพยาบาลไถต้า และโรงพยาบาลในเครือ 10 กว่าแห่ง ได้ทำการเก็บรวบรวมภาพถ่ายกระเพาะ และฝึกฝน AI ในการวินิจฉัย ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในการรักษาทางไกลที่เกาะมาจู่ ทั้งนี้ แต่เดิมจะต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเดินทางไปที่มาจู่ หรือทำการตัดเนื้อเยื่อส่งกลับมาที่ไทเป ตรวจวิเคราะห์ใช้เวลา 1 เดือน ปัจจุบันใช้ AI ตรวจภาพรู้ผลภายในในเวลา 9 วินาที ความแม่นยำสูงถึง 90% เฉินฉวนจง (陳權忠) ผู้อำนวยการฝ่าย IT รพ. ไถต้า บอกว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับการส่องกล้อง จะมีการอัพโหลดภาพถ่ายเข้าสู่แพลตฟอร์ม แพทย์เลือกภาพที่ต้องการตรวจจากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังระบบ AI ของโรงพยาบาลไถต้า เมื่อ AI ประมวลผลแล้ว จะส่งผลลัพธ์กลับไปทันที และในไต้หวันมีผู้ป่วยด้วยโรค เอช. ไพโลไร สัดส่วน 31.4% คิดเป็นประชากร 5.9 ล้านคน แต่ 10% ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้...more4minPlay
January 24, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 24 ม.ค.2566กระทรวงเศรษฐการและสมาคมพัฒนาพลังงานใต้พิภพไต้หวัน จัดประชุมพลังงานใต้พิภพนานาชาติไต้หวันปี 2023 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2023 เจิงเหวินเซิง (曾文生) รมช. กระทรวงเศรษฐการกล่าวว่า ด้วยความร่วมมือระหว่างกิจการรัฐและเอกชน หวังว่าการบุกเบิกพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพจะก้าวรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใต้การวางแผนและการชี้นำของรัฐบาลโดยกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน ในปี 2023 นี้ กล่าวได้ว่าจะเป็นปีเริ่มต้นของการเร่งบุกเบิกแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าของไต้หวันเจิงเหวินเซิง กล่าวว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมากิจการของรัฐคือ ไชน่า ปิโตรเลียม และบริษัทไฟฟ้าไต้หวัน ร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือกับในภาคเอกชนทั้งในไต้หวันและต่างประเทศ มีกลุ่มพันธมิตรต่างๆ เร่งบุกเบิกแหล่งพลังงานใต้พิภพให้เหมือนกับการบุกเบิกแหล่งพลังงานลมที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในเวลาสั้นๆกระทรวงเศรษฐการแถลงว่า การสำรวจทางธรณีไต้หวันพบว่ามีศักยภาพในการบุกเบิกแหล่งความร้อนเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ในระยะต้นคาดว่าจะดำเนินโครงการ 10 แห่ง เป้าหมายระยะสั้น ถึงปี 2050 ผลิต ไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ 3 – 6.2 GW คาดว่าไต้หวันมีศักยภาพบุกเบิกแหล่งความร้อนใต้พิภพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 40 GWเฉินโฉงเสี้ยน (陳崇憲) ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยี กรมพลังงานกล่าวว่า รัฐบาลวางแผนโดยรวม ผลักดันการบุกเบิกแหล่งความร้อนใต้พิภพ 3 ประการ 1) เร่งการผลิตไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพดั้งเดิม 2) วางแผนและอุดหนุนเอกชนทำการสำรวจแหล่งความร้อนใต้พิภพ 3) วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อการสำรวจ ประเมินเทคโนโลยีสำรวจที่ทันสมัย EGS (Engineered or Enhanced Geothermal Systems), AGS (Advanced Geothermal System) และ SGS (Super-hot-rock geothermal) มีความเหมาะสมกับไต้หวันหรือไม่ นอกจากนี้ จะดำเนินมาตรการให้แรงจูงใจที่เหมาะสม ได้แก่ การประกันรับซื้อกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องอย่างน้อย 20 ปี กำหนดอัตรามาตรฐาน โดย 10 ปีแรกรับซื้ออัตราสูง10ปี หลังรับซื้อัตราต่ำ เพื่อให้ภาคเอกชนมีสภาพคล่องสูงในช่วงแรก เป็นการประกันผลประโยชน์ ลดความเสี่ยงการลงทุน ประการที่ 2 จะลดขั้นตอนในการยื่นเรื่อง...more15minPlay
January 17, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 17 ม.ค.2566สภาวิจัยแห่งชาติไต้หวัน (Academia Sinica) จัดทำรายงานเสนอแนะนโยบายการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีมุ่งสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 เสนอให้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญคือ ไฮโดรเจนสีเขียว พลังความร้อนใต้พิภพ พลังมหาสมุทร พลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง และ Carbon Sink รวม 5 ประการสภาวิจัยแห่งชาติได้รวบรวมความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ จากการประชุมหารือในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเสนอรายงานที่มีความหนา 400 หน้า จากมุมมองเทคโนโลยีมี การวิเคราะห์ รวบรวมความคิดเห็น และเสนอมาตรการต่างๆAcademia Sinica รวบรวมความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เสนอมาตรการต่างๆเฉินอวี๋เกา (陳于高) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หน่วยงานภายใต้สภาวิจัยแห่งชาติบอกว่า ไฮโดรเจนสีเขียวไม่เพียงเป็นที่ต้องการในไต้หวัน ทั่วโลกต้องการมากเช่นกัน มีโอกาสธุรกิจสูง เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างการกระบวนการพัฒนามีโอกาสส่งออกได้เป็นการมองตลาดโลกเฉินอวี๋เกาชี้ว่า ในปี 2050 ความต้องการพลังงานในรูปกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มสูงมาก มีความเร่งด่วนที่จะต้องหาทางผลิตกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ จะต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่ และเร่งโครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่กำลังดำเนินการให้สำเร็จโดยเร็ว ขณะนี้ก๊าซเรือนกระจกที่เป็นการปล่อยออกมาจากภาคพลังงานมีสัดส่วนสูงถึง 90% ในจำนวนนี้เป็นปล่อยจากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า 48% หากสามารถลดก๊าซคาร์บอนในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากพอ ก็จะทำให้เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เป็นจริงได้...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.