Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.
January 10, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 10 ม.ค.2566ไต้หวันมุ่งสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ผลักดันผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลผสมไฮโดรเจน หรือผสมแอมโมเนียบริษัท ไฟฟ้า ไต้หวัน (Taiwan Power Company - Taipower) แถลงข่าวในเดือนธันวาคม 2022 ว่า ได้มีการลงนามความร่วมมือเทคโนโลยีเชื้อเพลิงน้ำมันผสมแอมโมเนีย กับฝ่ายธุรกิจพลังงานไฟฟ้า บริษัท Mitsubishi Heavy Industry โดยที่เมื่อเมษายนปี 2022 ได้เคยแถลงการณ์ร่วมมือกับ บริษัท Siemens ความร่วมมือพัฒนาเชื้อเพลิงผสมไฮโดรเจนไปแล้วเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ปี 2050 Taipower ดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านซัพพลาย (การผลิตกระแสไฟฟ้า), ด้านเครือข่ายการส่งกระแสไฟฟ้า และด้านดีมานด์(การใช้กระแสไฟฟ้า) ในด้านซัพพลายยึดหลักเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการใช้ถ่านหินหันไปใช้แก๊สธรรมชาติ ได้ปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ไฮโดรเจน แอมโมเนีย เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นการทดแทนถ่านหินและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการจับคาร์บอนและการกักเก็บคาร์บอนการใช้เชื้อเพลิงผสมฟอสซิลผสมแอมโมเนีย หรือไฮโดรเจน ถือว่าสอดคล้องกับกระแสโลกซึ่งกำลังมีความตื่นตัวมากTaipower แถลงว่า ค่าความร้อนจากแอมโมเนียใกล้เคียงกับถ่านหินสามารถทดแทนกันได้แบบสัดส่วน 1:1 สำหรับค่าความร้อนไฮโดรเจนต่ำกว่าแก๊สธรรมชาติ และความหนาแน่นต่ำกว่า ดังนั้นในการผสมจะต้องเพิ่มปริมาณการใช้ไฮโดรเจนที่มากขึ้นจึงจะได้ปริมาณกระแสไฟฟ้าเท่ากับการใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยที่แอมโมเนียและไฮโดรเจนไม่มีส่วนผสมของคาร์บอน จึงไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในกระบวนการเผาไหม้ จึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าได้Taipower จากมุมมองการวิจัยการผสมแอมโมเนีย หรือการผสมไฮโดรเจน มีความเป็นไปได้ ในอนาคตจะทำการเพิ่มสัดส่วนการผสมให้สูงขึ้น ถือเป็นความคืบหน้าก้าวใหญ่ในการก้าวเข้าสู่ยุคการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์...more15minPlay
January 03, 2023ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 3 ม.ค.2566 จงหัวเทเลคอม แม่ข่ายโทรศัพท์รายใหญ่ของไต้หวัน พัฒนาระบบท่าเรืออัจฉริยะ 5G ได้รับรางวัล Asia Communication Awards ปี 2022 ในประเภท Smart Place Project of the Year เป็นบริษัทแม่ข่ายโทรศัพท์หนึ่งเดียวในไต้หวัน ที่ได้รับรางวัลนี้ ทั้งนี้ การมอบรางวัล Asia Communication Awards (ACA) เริ่มขึ้นในปี 2011 เป็นการเชิดชูผู้ให้บริการด้านการสื่อสารและผู้ให้บริการโทรคมนาคมในเอเชีย รวมตัวแทนการผลิต ผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชัน และผู้ให้บริการอื่น ๆ ที่อยู่ในภูมิภาค เซี่ยจี้เม่า ประธาน จงหัวเทเลคอม เซี่ยจี้เม่า (謝繼茂) ประธาน จงหัว เทเลคอม บอกว่า Asia Communication Award จัดโดย Total Telecom สื่อเฉพาะด้านการสื่อสารของอังกฤษ แต่ละปีจะเชิญแม่ข่ายโทรศัพท์ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology:ICT) เข้าร่วมประกวด เป็นการยกย่องเชิดชูผู้ประกอบการ ICT และ Start Up ที่โดดเด่น ถือเป็นดัชนีชี้นำของแม่ข่ายโทรศัพท์ ที่มีการประยุกต์ 5G ที่หลากหลาย สร้างสรรค์ใหม่ บริษัทจงหัวเทเลคอมแถลงว่า การพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ 5G มีการใช้ solution ประสานกับบริษัทในเครือ ด้านความปลอดภัยข้อมูลและหุ่นยนต์อัจฉริยะ โดยใช้ท่าเรือจีหลงเป็นสถานที่วิจัยทดลอง มีการใช้อากาศยานไร้คนขับ เรือไร้คนขับ ระบบการขนย้ายสิ่งของ หุ่นยนต์ดำน้ำ ซึ่งหุ่นยนต์ดำน้ำสามารถทำงานแทนนักประดาน้ำลดความเสี่ยงของมนุษย์และไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสภาพภูมิอากาศในการทำงานระบบท่าเรืออัจฉริยะ 5G ของจงหัวเทเลคอม ได้รับรางวัล Asia Communication Awards ในด้านการสำรวจทางอากาศแบบอัจฉริยะ จงหัวเทเลคอม ใช้โดรนตรวจสอบมลภาวะและสภาพแวดล้อมในทะเล ตรวจดูถนน และทรัพย์สินในท่าเรือ มีระบบการลาดตระเวนทางน้ำอัจฉริยะโดยใช้เรือไร้คนขับหรือหุ่นยนต์ลงน้ำ ตรวจดู คราบน้ำมัน ความลึกของน้ำ หน้าผาชันริมทะเล ฯลฯ หากพบสิ่งผิดปกติจะมีการแจ้งเตือน รวมทั้งการการแจ้งเตือนหากพบผู้บุกรุกเข้าไปจับปลาหรือตกปลาในเขตหวงห้าม นอกจาก พัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ 5G ประสานในแนวตั้ง จับมือร่วมกับผู้ประกอบการในไต้หวัน เร่งประยุกต์การใช้งาน 5G แล้ว ยังต้องการขยายต่างประเทศด้วย...more15minPlay
December 27, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 27 ธ.ค.2565 กรมพลังงาน กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน และสำนักงานเนเธอร์แลนด์ประจำไต้หวัน จัดประชุมความร่วมมือพลังงานและนวัตกรรม สมัยที่ 7 ในวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายพลังงานลมนอกชายฝั่ง โซลาร์เซลล์ทุ่นลอย การสร้างสาธารณูปโภคพลังงานไฮโดรเจน และการประยุกต์ใช้งาน โดยในปีหน้าจะเดินทางไปเนเธอร์แลนด์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าและการขนส่งก๊าซไฮโดรเจน เฉินโฉงเสี้ยน (陳崇憲) ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีพลังงานของกรมพลังงานเผยว่า การประชุมพลังงานและนวัตกรรมกับเนเธอร์แลนด์ จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในปีนี้ มีการหารือในประเด็นการรีไซเคิลกังหันลมที่หมดอายุการใช้งาน พลังงานโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ การขนส่งก๊าซไฮโดรเจนสีเขียว การเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้ เนเธอร์แลนด์มีประสบการณ์ด้านสิ่งก่อสร้างในทะเล นโยบายและขั้นตอนพลังงานกังหันลมนอกชายฝั่งเนเธอร์แลนด์แตกต่างกับไต้หวัน มีคุณค่าต่อไต้หวันในการศึกษาเรียนรู้ Metal Industry Research and Development Center ของไต้หวันมีติดต่อแลกเปลี่ยนร่วมมือกับเนเธอร์แลนด์ด้านการบ่มเพาะบุคคลากร Frederik Wisselink ทูตพิเศษพลังงาน กระทรวงนโยบายภูมิอากาศของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า ในด้านความร่วมมือการพัฒนาความยั่งยืนระหว่างไต้หวัน-เนเธอร์แลนด์มีความคืบหน้าเรื่อยมา ตั้งแต่ปี 2019 ได้เริ่มโครงการความร่วมมือ บ่มเพาะบุคลากรกังหันลมนอกชายฝั่ง จนถึงขณะนี้ได้มีการมอบใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมช่างระดับสูง เป็นหลักไมล์ที่สำคัญของการบ่มเพาะบุคลากรกังหันลมนอกชายฝั่งของไต้หวัน คาดหวังสองฝ่ายจะร่วมมือเพื่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป Guido Tielman ผู้แทนเนเธอร์แลนด์ประจำไต้หวันบอกว่า เนเธอร์แลนด์คาดหวังร่วมมือกับไต้หวัน ในด้านต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการยกระดับพลังงาน ยินดีที่ประสบการณ์ของเนเธอร์แลนด์มีประโยชน์ต่อไต้หวัน...more15minPlay
December 20, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 20 ธ.ค.2565ไต้หวันอุดหนุนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานอีกแล้ว หวังเหม่ยฮัว(王美花) รวม กระทรวงเกษตรการแถลงว่า การประหยัดพลังงาน เป็นนโยบายสำคัญ ปีหน้ากระทรวงเศรษฐการจัดสรรงบประมาณ 2 ส่วนคือ ส่วนแรก 2,000 ล้านเหรียญไต้หวัน อุดหนุนครัวเรือนซื้อเครื่องไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ที่ประหยัดพลังงานระดับ 1 และเป็นการซื้อเครื่องใหม่เพื่อทดแทนเครื่องเก่า ซึ่งจะให้การอุดหนุน เครื่องละ 3,000 เหรียญไต้หวัน อีก 10,000 เหรียญไต้หวัน ให้การอุดหนุนผู้ประกอบการร้านค้าและภาคบริการ ปรับปรุงอุปกรณ์ประหยัดพลังงานไต้หวันให้เงินอุดหนุนซื้อเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน 3,000 TWD/เครื่องหวังเหม่ยฮัว บอกว่าการประหยัดพลังงานก็คือการเพิ่มแหล่งพลังงานอย่างหนึ่ง ไต้หวันอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลจำนวนมาก หากสามารถประหยัดพลังงานได้ดี ก็จะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากด้วย ในไต้หวันมีตู้เย็น เครื่อง ปรับอากาศ ใช้งานเกิน 10 ปี จำนวน 7.07 ล้านเครื่อง ในฤดูร้อนเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นทำงาน 5 ชั่วโมงขึ้นไปมีจำนวนมาก หากเปลี่ยนใช้เครื่องไฟฟ้าประหยัดพลังงาน แต่ละวันจะสามารถประหยัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างมากการดำเนินโครงการปี 2023 คาดว่าจะมีการอุดหนุนซื้อตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ 600,000 กว่าเครื่อง สามารถประหยัดกระแสไฟฟ้าได้ 383 ล้านหน่วย งบประมาณผ่านการพิจารณาส่งให้คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจกลั่นกรอง เพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติอนุมัติต่อไป คาดว่าจะมีผลตั้งแต่มกราคม 2023เครื่องหมายประหยัดพลังงานระดับ 1 ประหยัดไฟฟ้ามากที่สุดการดำเนินโครงการอุดหนุนซื้อเครื่องไฟฟ้าประหยัดพลังงานของกระทรวงเกษตรการในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ 3 โดยโครงการแรกดำเนินการในปี 2019 – 2020 เป็นการร่วมมือระหว่างกระทรวงเศรษฐการกับเทศบาลท้องถิ่น โครงการที่ 2 ยังดำเนินการอยู่ โดยกระทรวงการคลังอุดหนุนการซื้อตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องดูดความชื้น ติดฉลากประหยัดพลังงานระดับ 1 และ ระดับ 2 จะได้ลดภาษีสรรพสามิต 500 - 2,000 เหรียญไต้หวัน โครงการจะสิ้นสุด มิถุนายน ปีหน้า(2023) หากกระทรวงเศรษฐการอนุมัติโครงการปี 2023 แล้ว ผู้ที่ซื้อตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ ก่อน 30 มิถุนายน 2023 หากนับรวมการอุดหนุนภาษีสรรพสามิตของกระทรวงการคลังมีโอกาสได้รับการอุดหนุนสูงสุด 5,000 เหรียญไต้หวัน ส่วนการอุดหนุนผู้ประกอบการ 3,000 ล้านเหรียญไต้หวัน เป็นการส่งเสริมให้ร้านค้าและกิจการบริการใช้เครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงานและหลอดไฟ LED โดยกรมพัฒนาธุรกิจเป็นผู้ดำเนินการ แต่ละราย มีโอกาสได้รับอุดหนุนสูงสุด 5,000,000 เหรียญไต้หวัน...more15minPlay
December 13, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 13 ธ.ค.2565มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Advanced Metering Infrastructure) หรือ Smart Meter มีข้อดีกว่า มิเตอร์ไฟฟ้าแบบเดิมคือ สามารถส่งข้อมูลสื่อสารระหว่างตัวมิเตอร์กับศูนย์ควบคุม ตรวจดูปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องแบบเรียลไทม์ หรือตรวจสอบระบบการจ่ายไฟ เพื่อใช้เป็นข้อมูลแก้ปัญหาข้อบกพร่อง พร้อมทั้งรองรับ Application ต่างๆ ได้ตามแผนส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และการลดก๊าซคาร์บอนของไต้หวัน กระทรวงเศรษฐการอนุมัติโครงการ ระบบสาธารณูปโภค มิเตอร์อัจฉริยะ (Advanced Metering Infrastructure, AMI) เมื่อ 23 มิถุนายน 2010 ทุ่มงบประมาณ 15,000 ล้านเหรียญไต้หวันติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าแรงต่ำ 3 ล้านราย ภายใปปี 2024 การติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ AMI ในไต้หวัน แบ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าแรงสูงและไฟฟ้าแรงต่ำ ไฟฟ้าแรงสูงเป็นไฟฟ้าอุตสาหกรรม ทั่วไต้หวันมี 24,000 ราย คิดเป็นสัดส่วนการใช้ไฟฟ้า 60% ตั้งติดตั้งมิเตอร์อัจริยะครบแล้วตั้งแต่ปี 2013 ไฟฟ้าแรงต่ำจำนวน 13 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนใช้ไฟฟ้า 40% ตามข้อมูล บริษัทไทพาวเวอร์ สิ้นสุด 31 สิงหาคม 2022 ทั่วไต้หวัน ติดตั้งแล้ว 1.747 ล้านรายมิเตอร์อัจฉริยะโดยตัวของมันเองไม่มีคุณสมบัติช่วยประหยัดกระแสไฟฟ้า แต่อาศัยข้อมูลที่บริษัท Taipower(การไฟฟ้าไต้หวัน) บันทึกไว้และส่งให้ผู้ใช้งาน สามารถดูได้จาก App หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Taipower ผู้ใช้ไฟฟ้าตรวจดูประวัติการใช้ พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า เป็นข้อมูลบริหารการใช้ไฟฟ้าเพื่อความประหยัดได้ หากมีการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากก็สามารถทำสัญญากับบริษัทไทพาวเวอร์ กำหนดอัตราค่ากระแสไฟฟ้าช่วง peak และ off-peak ผู้ใช้เลือกใช้กระแสไฟฟ้าในช่วง off-peak จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามีการติดตั้ง Home Energy Management System (HEMS) มิเตอร์อัจฉริยะสามารถส่งข้อมูลให้กับ ระบบ HEMS เพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือน เป็นระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ...more4minPlay
December 06, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 6 ธ.ค.2565ประเทศต่างๆ พากันพัฒนาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รับมือต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบัน ทั่วโลกเผชิญปัญหาเงินเฟ้อ สงครามรัสเซียยูเครน โรคระบาด ความต้องการกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ไฟฟ้า การสื่อสารเทคโนโลยี 5G ในภาวะเช่นนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่นคงด้านการป้อนกระแสไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ทำให้โอกาสธุรกิจการผลิตไฟฟ้าสีเขียวขยายตัวอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์กลายเป็นสิ่งที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว ถือเป็นทางเลือกดีที่สุดในการผลิตกระแสไฟฟ้า ทั่วโลกกำลังมุ่งที่จะติดตั้งพลังงานโซลาร์เซลล์ในยุโรป REPowerEU ตั้งเป้าว่า เมื่อถึงปี 2030 จะต้องลดการใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า วางแผนติดตั้งโซลาร์เซลล์ 320 GW ภายในปี 2025 และเพิ่มเป็น 600 GW ภายในปี 2030 สหรัฐอเมริกาวางแผนพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ และรับมือกับภาวะโลกร้อน กำหนด ส่งเสริมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ คาดหวังภายในปี 2035 การผลิตไฟฟ้าในประเทศ จะไม่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลอีกต่อไป ในภาวะที่ประเทศต่างๆทั่วโลกมุ่งผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์จะเป็นผลดีต่อไต้หวันในการขยายตลาดชิ้นส่วนและอุปกรณ์โซลาร์เซลล์เข้าสู่ตลาดโลก...more15minPlay
November 29, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 29 พ.ย.2565สับปะรดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไต้หวัน ในปี 2020 ส่งออก 46,000 ตัน มูลค่าสูงถึง 8,570 ล้านเหรียญไต้หวันตลาดส่งออกสำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หลังจีนระงับการนำเข้าสับปะรดไต้หวันตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2021 ตลาดส่งออกหลักมุ่งไปที่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ผู้ประกอบการเร่งขยายตลาดไปยัง เกาหลีใต้ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อีกด้วย เนื่องจากระยะทางขนส่งไกล จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีรักษาความสดของสับปะรด ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ซึ่งการส่งออกสับปะรดของไต้หวันส่วนใหญ่เป็นพันธุ์จินจ้วน (ไถหนง เบอร์ 17) รสชาติหวาน เนื้อละเอียด แกนอ่อนนิ่ม กรดน้ำตาลต่ำ แต่มีข้อเสียคือสุกเร็ว เก็บไว้ไม่นาน เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการส่งออก ทั้งนี้ ฤดูเก็บเกี่ยวสับปะรดไต้หวันคือ เดือนเมษายน อุณหภูมิผลสับปะรดในไร่ ตอนเช้า 35°C ขึ้นไป ตอนบ่ายอุณหภูมิอาจสูงถึง 40°C ขึ้นไป ขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมในการเก็บรักษาคือ 13°C จึงต้องหาทางบริหารเพื่อลดอุณหภูมิและมีความแม่นยำ เพื่อการส่งออกได้อย่างราบรื่นสับปะรดที่ส่งออกจะต้องทำให้อุณหภูมิเย็นลงโดยเร็วการทำให้อุณหภูมิผลสับปะรดเย็นลงโดยเร็ว ถือเป็นกระบวนการสำคัญใน Cold Chain Logistics ต้องหาทางลดอุณหภูมิในโรงเก็บสับปะรด ขั้นตอนคือ เก็บสับปะรดจากไร่แล้วต้องรีบส่งเข้าโรงคัดบรรจุ ใช้พัดลม พ่นไอน้ำ ลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 30°C ป้องกันไม่ให้สับปะรดสุกเร็ว จากนั้นรีบคัดแยกบรรจุกล่อง นำเข้าห้องเย็น ลดเวลาอยู่ในอุณหภูมิปกติให้สั้นที่สุด อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชี้ว่า สับปะรดอุณหภูมิ 28°C ใส่ในกล่องบรรจุวางเรียงบนพาเลท เก็บในห้องเย็น ตั้งอุณหภูมิ 12°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง อุณหภูมิสับปะรดจะลดเหลือ 17°C เท่านั้น แต่ว่าการเตรียมส่งออกมีเวลาอยู่ในห้องเย็น 10-13 ชั่วโมงก่อนบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ ดังนั้นจะต้องหาวิธีการลดอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพสูงการติดตั้งพัดลมดูดอากาศสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งการติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่ด้านบนขณะเก็บสับปะรดในห้องเย็น เป็นการดึงความเย็นจากอากาศด้านล่างเข้าไปสู่กล่องบรรจุ โดยรูปแบบการติดตั้งพัดลมมีหลายอย่าง เช่น แบบอุโมงค์ แบบดูดจากด้านบน และแบบดูดเข้ากำแพง ซึ่งพบว่การดูดด้านบนใช้งานได้ยืดหยุ่นที่สุด แต่ต้องเจาะรูกล่องบรรจุเป็นแนวตรงให้อากาศผ่านทะลุได้ตลอด เมื่อวางกล่องบนแผ่นพาเลทจะต้องวางเรียงให้รูระบายอากาศทะลุผ่านกล่องทุกชั้นได้ ซึ่งอุปกรณ์ทำให้เย็นแบบดูดอากาศที่ด้านบนมีการจดสิทธิบัตร M592654 ของไต้หวันแล้ว โดยคณะกรรมการการเกษตร มี ศ. หวงจ้าวเจีย (黃肇家) เป็นผู้วิจัย ที่แต่เดิมใช้ในการลดอุณหภูมิกล้วยไม้ฟาแลน หลังทดสอบแล้ว เหมาะกับการใช้ลดอุณหภูมิได้สับปะรดที่ส่งออกจะต้องทำให้อุณหภูมิเย็นลงโดยเร็วการดูดอากาศจากด้านบน ควรจะทำความคราวละ 1 พาเลท รูปแบบที่ใช้ในเชิงพาณิชย์คือ การติดตั้งตัวดูดไว้ด้านบน จากการทดลองเมื่อผลไม้ ส่งเข้าสู่โรงคัดบรรจุอุณหภูมิ 34°C ใช้พัดลมเป่าและบรรจุกล่องแล้วลดเหลือ 28 °C วางเรียงบนพาเลทโดยใช้สับปะรด 48 กล่อง(นน. 480 กก.) เก็บเข้าห้องเย็นตั้งอุณหภูมิ 12°C เวลา 2 ชั่วโมง อุณหภูมิลดจาก 28°C เหลือ 20°C หากเทียบกับในห้องเย็นเดียวกันแต่ใช้วิธีวางเรียงเข้าไปไม่ได้ใช้พัดลมดูด 2 ชั่วโมงอุณหภูมิยังอยู่ที่ 26°C ถือว่าวิธีการนี้มีประสิทธิภาพสูง...more14minPlay
November 22, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 22 พ.ย.2565ดาวเทียมพยากรณ์อากาศดวงแรกที่ไต้หวันออกแบบและประกอบติดตั้งเอง Triton (獵風者 - Formosat 7R) ดำเนินการโดยศูนย์อวกาศแห่งชาติ (National Space Organization – NSPO) หน่วยงานภายใต้ ห้องปฏิบัติการวิจัยเชิงประยุกต์แห่งชาติ (National Applied Research Laboratories - NARLabs) อยู่ระหว่างการทดสอบขั้นตอนสุดท้าย ตรวจสอบฟังก์ชันการใช้งานทั้งหมดนรม. ซูเจินชาง ของไต้หวัน ได้ไปตรวจเยี่ยมที่ศูนย์อวกาศแห่งชาติในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า ผู้ประกอบการไต้หวันต้องผนึกกำลังและเทคโนโลยีสร้างความสุดยอดด้านเซมิคอนดักเตอร์ และ ICT แม้ดาวเทียมพยากรณ์อากาศยังไล่หลังประเทศอื่น แต่ยังคงยืดหยัดในเวทีโลกให้ได้อู๋เจิ้งจง (吳政忠) รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Council of Science and Technology) บอกว่าปีนี้เป็นปีเริ่มต้นแห่งอุตสาหกรรมอวกาศของไต้หวัน ที่ผ่านมาไต้หวันมีความสามารถในการผลิตดาวเทียม Remote Sensing ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ และดาวเทียมวงโคจรต่ำ สำหรับดาวเทียม Triton เป็นความร่วมมือของผู้ประกอบการ 20 ราย ชิ้นส่วนที่ไต้หวันผลิตเองมีสัดส่วน 82% หลังส่งขึ้นอวกาศแล้ว จะเป็นการยืนยันความสามารถวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและชิ้นส่วนที่สำคัญของไต้หวัน ขยายอุตสาหกรรมอวกาศของไต้หวันเข้าสู่เวทีโลกTriton เป็นดาวเทียม ต่อจาก Formosat 5 เป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ที่ไต้หวันดำเนินการเอง หากจะกล่าวว่า Formosat 5 เป็นดาวเทียมสำรวจระยะไกล( Remote Sensing satellite) ดวงแรกที่ไต้หวันดำเนินการเอง Triton ก็จะเป็นดาวเทียมพยากรณ์อากาศดวงแรกที่ไต้หวันดำเนินการเองเช่นกัน ซึ่งการออกแบบดาวเทียม Triton ในเบื้องต้นเริ่มขึ้นเมื่อ ปี 2014 ต่อมาได้ทำการออกแบบชิ้นส่วนสำคัญในปี 2015 เริ่มประกอบเมื่อปี 2017 เสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 2022 จากนั้นได้ทำการทดสอบทางด้านต่างๆ ขณะนี้ได้มีการทดสอบในสภาพเคลื่อนไหว และกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายการตรวจสอบฟังก์ชันการใช้งานทั้งหมด คาดว่าจะทดสอบเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2022 หากทุกอย่างมีความพร้อม จะส่งไปที่ประเทศกายอานา เพื่อยิงเข้าสู่อวกาศในเดือน มีนาคม ปี 2023ข้อมูลจำเพาะดาวเทียม Triton เป็นดาวเทียมพยากรณ์อากาศดวงแรกของไต้หวัน เก็บข้อมูล การสัญญาณสะท้อนบนผิวทะเลของดาวเทียมระบบนำทาง ใช้หลักการทางฟิสิกส์เกี่ยวกับสัญญาณสะท้อนเพื่อคำนวนความเร็วลม เพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์ไต้ฝุ่น อุปกรณ์ที่ติดตั้ง : ตัวรับ-ส่ง สัญญานสะท้อนระบบดาวเทียมนำทาง Global Navigation Satellite System (GNSS-R) รับส่งข้อมูลได้ 8 รายการ ดีกว่าประเทศอื่น ในปัจจุบันมีอุปกรณ์เพียง 4 ชุด ชิ้นส่วนที่ไต้หวันผลิตเอง : คอมพิวเตอร์ดาวเทียม ระบบไฟฟ้า Fibre-optic gyroscope เครื่องรับส่งสัญญาณนำวิถี GNSS-R อายุใช้งาน 5 ปี จะส่งเข้าสู่อวกาศเดือนมีนาคม ปี 2023...more4minPlay
November 15, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 15 พ.ย.2565การเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในพื้นที่ทะเลกว้างใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจมูลค่าสูง คณะกรรมการการเกษตรเน้นส่งเสริมการผลิต การเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังนอกทะเลห่างชายฝั่งมีความท้าทายต่อสภาพภูมิอากาศต้องใช้กำลังแรงงานและต้นทุนค่าอาหารมากขึ้น กรมประมงมอบหมายมหาวิทยาลัยโอเชียน พัฒนากระชังเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ ในภาวะไต้ฝุ่นมาจมสู่ใต้น้ำหลบภัยได้ และยังมีระบบการป้อนอาหารแม่นยำ ลดต้นทุนอาหาร 20% กำลังแรงงาน 30% และประหยัดเวลา มีระบบเตือนตรวจจับเวลาล้างตาข่าย หรือเวลาซ่อมรูรั่ว มีระบบวิเคราะห์คอยเฝ้าดูฝูงปลา ดูความเปลี่ยนแปลง เพื่อติอตามสุขภาพ ความแข็งแรง ลดการสูญเสียจากปลาติดเชื้อโรคหรือมีพยาธิกรมประมงไต้หวันมอบหมายให้ ม โอเชียน วิจัยกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะยกระดับการผลิตมหาวิทยาลัยโอเชียนแห่งชาติไต้หวัน (NTOU-National Taiwan Ocean University) ได้ใช้อุปกรณ์อัตโนมัติเข้าสู่ระบบการเพาะเลี้ยงในกระชัง ใช้ ICT(Information and Communication Technology : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร), เทคโนโลยี AIOTเป็น AI (ปัญญาประดิษฐ์) จัดทำกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะรูปแบบการบริหารจัดการ รองอธิการบดี ม โอเชียน สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มอบหมาย ศ. หรั่นฝันหัว (冉繁華) บอกว่า การเลี้ยงห่างชายฝั่งจะต้องป้องกันภัยจากภูมิอากาศ อยู่ใต้ทะเล 10-15 เมตรจึงจะไม่ถูกผลกระทบจากไต้ฝุ่น ดังนั้นจึงได้พัฒนากระชังจมลงใต้น้ำ และยังเป็นกระชังที่ผลิตในไต้หวันที่มีเส้นรอบวง 100 เมตร จมลงใต้น้ำระดับน้ำ 15 เมตร ภายใน 40 นาที ลอยขึ้นมาใหม่ ใช้เวลา 30 นาทีกรมประมงไต้หวันมอบหมายให้ ม โอเชียน วิจัยกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะยกระดับการผลิตการเลี้ยงปลาในกระชังของไต้หวัน ปริมาณ 3,000 ตัน มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญไต้หวัน อยู่ในเกาะเผิงหู, เมืองผิงตงเป็นหลัก และส่วนใหญ่เลี้ยงปลาเก๋า ปลาช่อนทะเล หมึกทะเล ปลาจะละเม็ด ซึ่งเป็นปลามูลค่าสูง กรมประมงวางแผนใช้เทคโนโลยีการบริหารที่แม่นยำ ส่งเสริมการเลี้ยงปลาสอดคล้องกับภาวะตลาด ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้ยกระดับปริมาณการเลี้ยงในกระชังเป็น 15,000 ตัน รวมทั้งการเลี้ยงปลาบนบก เช่น ปลานวลจันทร์ ปลากระพง ปลานิลไต้หวัน( 臺灣鯛) ฯลฯ โดยมีการเลี้ยงควบคู่กันเพื่อสร้างอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำไต้หวันให้โดดเด่น...more15minPlay
November 09, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 8 พ.ย.2565ศาลารอรถเมล์นครไทจง มีการติดตั้งแผงปุ่มตัวเลขเหมือนกับแผงปุ่มตัวเลขลิฟต์ขึ้นลงอาคาร ผู้คนเห็นแล้วเกิดความสงสัย เป็นประเด็นในโซเชียลมีเดีย สงสัยว่ามีลิฟต์ขึ้นลงหรือไม่ สำนักคมนาคมแจ้งว่าเป็นการปรับปรุงปุ่มกดเรียกรถเมล์ให้จอด ออกแบบสำหรับให้บริการกลุ่มผู้ทุพพลภาพ,สตรี,คนชราในขณะรอรถเมล์ ตัวเลขแต่ละปุ่มก็คือหมายเลขเส้นทางรถเมล์ที่ต้องการเรียกให้จอด เมื่อกดปุ่ม แล้วสัญญาณตัวเลขจะปรากฏขึ้นบนหลังคาศาลา พนักงานขับรถเห็นก็จะแวะจอดรับผู้โดยสารสำนักคมนาคม นครไทจง แถลงว่าในปีนี้ได้จัดสรรงบประมาณ ติดตั้ง 100 ศาลา เน้นบริเวณที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่ เพื่อให้ผู้ไปรับการรักษาโดยสารรถเมล์ได้สะดวกขึ้น เยี่ยเจาฝู่(葉昭甫) ผู้อำนวยการสำนักคมนาคมชี้ว่า เนื่องจากผู้นั่งรถเข็นผู้สูงวัยมีความต้องการใช้งาน ตั้งแต่ปี 2014 ศาลารอรถเมล์ที่ถนนฟงซื่อเขตสือกัง และซาเถียน( 石岡區豐勢路及海線沙田路) มีการติดตั้งอุปกรณ์เรียกรถเมล์ ผู้ต้องการขึ้นรถกดปุ่ม จะมีสัญญานไฟปรากฎบนหลังคาศาลา พนักงานขับรถเห็นก็จะจอดรับ ไม่ขับรถข้ามเลยไป และลดความเสี่ยงของผู้โดยสารรถเมล์ที่ต้องลงไปโบกรถบนพื้นถนน อาจมีอันตรายถูกรถเฉี่ยวชน ซึ่งขณะนี้มีการขยายติดตั้งไปยังเขตอื่นๆ ได้แก่ จงชิง,เป่ยถุน,โฉงเต๋อ,เหวินซิน,จงหมิง,ฟู่ซิง และอู่เฉวียน รวมรถเมล์ 7 สาย ทั้งหมด 136 แห่ง สำนักคมนาคมแถลงว่า ปุ่มกดเรียกรถเมล์ สามารถเลือกสายรถเมล์ได้ เมื่อกดปุ่มแล้วหมายเลขรถเมล์จะปรากฏบนแผงที่อยู่บนหลังคาศาลา ในศาลามีปุ่มตัวเลข และสัญลักษณ์ Accessible แผงสัญญาณไฟบนหลังคาปรากฎหมายเลขสายรถเมล์ เพื่อให้พนักงานขับรถเห็นและจอดรับผู้โดยสารทั้งนี้ หลังเปิดให้บริการก่อนหน้านี้แล้วประชาชนมีความชื่นชอบ ทางนครไทจงจึงได้ปรับปรุงบริการ 2.0 ปรับปรุงรุ่นที่ 1 ซึ่งไม่สามารถแสดงตัวเลขสายรถเมล์ ให้สามารถระบุหมายเลขสายรถเมล์ได้ โครงการนี้ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology: ICT) รวมกับ APP รถเมล์นครไทจง ผู้รถรถเมล์ ใช้ APP ที่มือถือ กดเลือกหมายเลขรถเมล์ที่ต้องการขึ้นได้โดยไม่ต้องสัมผัสแผงปุ่มตัวเลขที่ศาลาก็ได้ เป็นการลดความเสี่ยงโรคติดต่อ...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 355 episodes available.