Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 357 episodes available.
October 21, 2019ไต้หวันผลักดันศูนย์ AI ใหญ่สุดในเอเชีย ที่หลินโข่ว นครนิวไทเป คาดว่าปีค.ศ. 2030 มูลค่าเศรษฐกิจ AI ในเอเชียจะสูงถึง 98 ล้านล้านเหรียญไต้หวัน ก่งหมิงซิน (龔明鑫) รมว. ประจำสภาบริหารเปิดเผยวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมาว่า AI คือโอกาสธุรกิจขนาดใหญ่ของไต้หวัน จึงทุ่มงบประมาณ 700 ล้านเหรียญไต้หวัน จัดตั้งเป็น “อุทยานสตาร์ทอัพ หลินโข่ว”เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม AI เพื่อรวบรวมบุคลากร และทรัยพากรด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่างๆ อยู่ด้วยกัน ผลักดันเป็นศูนย์กลางวิจัยพัฒนาของเอเชีย ดึงดูดบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุน เป็นการขยายโอกาสธุรกิจ AI ของไต้หวันสู่ต่างประเทศเปิดตัวรถยนต์ไร้คนขับ (ขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยระบบ AI ) คันแรกของไต้หวัน...more15minPlay
October 14, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-10-15ไต้หวันไฮเทค - 15 ต.ค. 62- แม่ข่ายโทรศัพท์มือถือในไต้หวัน 5 รายยื่นซองเอกสารประมูลคลื่น 5G พร้อมหน้าไต้หวันกำลังจะเปิดประมูลคลื่นสื่อสารระบบ 5G เริ่มวันที่ 10 ธันวาคม 2562 โดยวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมาเป็นวันสุดท้ายของการปิดรับเอกสาร แม่ขายโทรศัพท์ 5 รายในไต้หวันยื่นเอกสารพร้อมหน้าหลินกั๋วฟง (林國豐) รองผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยี ของบริษัทจงหัวเทเลคอม(รัฐวิสาหกิจ) นำทีมเดินทางไปสำนักงาน คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (NCC) พร้อมด้วยเอกสาร 12 กล่องใหญ่ เพื่อการประมูลคลื่นระบบ 5G ในประเด็นที่ว่าจงหัวเทเลคอมจะประมูลคลื่น 5G ได้เต็ม 100 Mhz หรือไม่ จงหัว เทเลคอมแถลงว่า ได้มีการตั้งเป้าหมายประมูลด้วยราคาที่สมเหตุผลเพื่อได้รับคลื่นที่เหมาะสม เมื่อได้รับการจัดสรรคลื่นจะยื่นหนังสือโครงการธุรกิจ และแผนการโครงข่าย เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วจะดำเนินการติดตั้งเสาสัญญาณเครือข่าย 5G ซึ่งจะประมูลช่วงคลื่นที่มีความสุกงอมคือ 3.5 GHz เป็นเป้าหมายหลัก คาดว่าครึ่งหลังของปีหน้าจะเริ่มเปิดให้บริการคลื่น 5G ได้ ระยะแรกยังคงเน้นการให้บริการทีวีระบบ 4K, AR/VR, ภาพหลายมิติและภาพที่ตื้นลึกหลายระดับ ส่วนการประสานธุรกิจแนวตั้งยังอยู่ระหว่างการพัฒนาทางด้านบริษัท ฟาร์ อีสต์ โทน แถลงว่าได้ยื่นเอกสารการประมูล 5G ตั้งแต่ 25 กันยายน มีความพร้อมและมั่นใจจะได้รับการจัดสรรคลื่นที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเป้าให้บริการ 5g ในเชิงธุรกิจที่เชื่อถือได้บริษัท ไต้หวัน โมบาย บอกว่าได้ยื่นเอกสารตั้งแต่ 1 ตุลาคมแล้ว สำหรับ เอเชีย เทเลคอม แจ้งว่ายื่นเอกสารเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 2 และมั่นใจได้รับการจัดสรรคลื่นอีกบริษัทคือ ไต้หวัน สตาร์ บอกว่าได้ยื่นเอกสารแล้ว มั่นใจจะได้รับการจัดสรรคลื่นในการประมูลคลื่น 5G ครั้งแรก ซึ่งมีการเตรียมเงินทุน 17,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ประมูลคลื่น 3.5 GHz อันจะเป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจที่สำคัญคณะกรรมการการสื่อสาร (NCC) แถลงว่าจะเร่งตรวจสอบเอกสารโดยเร็ว และจะดำเนินการชี้แจงขั้นตอนการประมูลเพื่อเริ่มการประมูลวันที่ 10 ธันวาคม...more16minPlay
October 07, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-10-08ไต้หวันไฮเทค - 08 ต.ค. 62- ลิบร้า คอยน์ของ Facebook จะเริ่มใช้ปีหน้า ผู้ว่าธนาคารกลางชี้ไต้หวันยังไม่รีบร้อนหลังจากที่ Facebook โซเชียลมีเดียอันดับ 1 ประกาศการสร้างสกุลเงินดิจิตอลใหม่ล่าสุดของโลกที่มีชื่อว่า “ลิบร้า (Libra)” จีนแผ่นดินใหญ่และสวีเดนประกาศจะผลักดันสกุลเงินดิจิตอลทางการเช่นกัน ไต้หวันจะทำตามหรือไม่ หยางจิน หลง(楊金龍) ผู้ว่าธนาคารกลางของไต้หวันเห็นว่า ไต้หวันยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน และลิบร้า คอยน์ยังมีข้อกังขาปัญหาการฟอกเงิน ปีหน้าจะมีการเริ่มใช้จริงหรือไม่ อาจจะไม่ราบรื่นหยางจินหลง(楊金龍)ชี้ว่า ปัจจุบันประเทศที่ผลักดันเงินดิจิตอลได้แก่ จีนแผ่นดินใหญ่และสวีเดนโดยเฉพาะจีนมีความกระตือรือร้นแต่ว่าจะใช้เงินสกุลดิจิตอลเมื่อไหร่ยังไม่รู้ ทั้งสองประเทศมีข้อกังวลต่างกัน ยกตัวอย่าง สวีเดนเห็นว่าประชาชนใช้เงินสดน้อยลงเรื่อยๆ สำหรับประเด็น ในอนาคตจะอนุญาตให้ใช้ลิบร้าคอยน์ในไต้หวันหรือไม่ หยางจินหลงบอกว่า Facebook มีผู้ใช้งานมาก มีความแพร่หลายในตลาดโลก หลังการใช้ลิบร้าคอยน์อาจส่งผลกระทบวงกว้าง แต่ยังคงมีปัจจัยความเสี่ยงหลายอย่าง ขณะนี้ทางการทั่วโลก ยังคงมีความกังขาเกี่ยวกับลิบร้าคอยน์ รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ก็เช่นกัน...more15minPlay
September 30, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-10-01ไต้หวันไฮเทค -01 ต.ค. 62- Winbus ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเริ่มทดสอบรับผู้โดยสารศูนย์วิจัยทดสอบยานยนต์ (The Automotive Research & Testing Center -ARTC) ผู้นำทีมพันธมิตรยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ผลักดันการวิจัยพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติคันแรกของไต้หวัน เริ่มทดสอบรับส่งผู้โดยสารแล้วเมื่อวันที่ 24 จากนิคมอุตสาหกรรมจางปิน(彰濱)ไปถึงพิพิธภัณฑ์สุขภาพบริษัทแบรนด์ เป็นต้นรวมโรงงานเชิงท่องเที่ยว 4 แห่ง หวังหุ้ยเหม่ย (王惠美) ผู้ว่าการเมืองจางฮั่วได้ทดลองโดยสารด้วยตนเอง ในอนาคตจะขยายไปถึงลานจอดรถศาลเจ้าเทียนโฮ่วกง (天后宮) ที่ลู่กั่ง(鹿港)ปัจจุบัน 100 กว่าเมืองทั่วโลกได้เริ่มโครงการทดลองยานยนต์ไร้คนขับ โดย 50% เป็นการรับส่งผู้โดยสาร สำหรับในไต้หวันมี 5 เมือง 9 เขตประสงค์จะเปิดบริการ Winbus ยานยนต์ไร้คนขับกลุ่มวิศวกรยานยนต์ ของสหรัฐฯ (SAE) ได้แบ่งระดับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติตั้งแต่ 0-5 โดยระดับ 5 เป็นระดับขับขี่อัตโนมัติโดยสมบูรณ์ สำหรับ Winbus อยู่ในระดับ 4 สามารถเดินรถในจุดที่กำหนดในสนามแบบปิด ตรวจจับสภาพแวดล้อมโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ขับขี่ภายใต้ความสนับสนุนของสำนักเทคโนโลยีกระทรวงเศรษฐการไต้หวัน กลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติได้วิจัยพัฒนา Winbus คันแรก หวงหลงโจว (黃隆洲) ประธาน ARTC บอกว่า Winbus ต้นทุนผลิตประมาณ 30 ล้านเหรียญไต้หวัน ในอนาคตเมื่อผลิตในเชิงพาณิชย์จะกดราคาให้เท่ากับรถบัสเล็กซึ่งราคาตลาดโลกคันละประมาณ 13 ถึง 14 ล้านเหรียญไต้หวัน เพื่อให้มีศักยภาพส่งออกไปต่างประเทศการพัฒนา Winbus ได้รวมกลุ่มอุตสาหกรรมระดับบน กลางและล่างของไต้หวัน ARTC แถลงว่ามีบริษัทชั้นนำหลายรายเข้าร่วมทีมซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ประกอบรถยนต์ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไอที เป็นต้น รวม 18 บริษัท...more15minPlay
September 23, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-09-24ไต้หวันไฮเทค - 24 ก.ย. 62- นาข้าวอัจฉริยะ มีระบบช่วยวางแผนการเพาะปลูกเขตผลิตและจำหน่ายข้าวต้าเฉียว (大橋) เมืองจางฮั่วของบริษัทโซ่วหมี่อู (壽米屋) หรือ Rice House ติดตั้งจุดตรวจวัดภูมิอากาศกลางทุ่งนา ชาวนาเปิดแอปจากมือถือตรวจดูสภาพแวดล้อมทุ่งนาได้แบบเรียลไทม์ในยุคดิจิตอลที่กำลังเฟื่องฟู เทคโนโลยีอัจฉริยะได้ปฏิวัติการเพาะปลูกของชาวนาในไต้หวันด้วยความล้ำสมัย ติดตั้งระบบช่วยกำหนดนโยบายการเพาะปลูก ซึ่งจะช่วยชาวนาวางแผนผลิต ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการเพาะปลูกสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริงในแต่ละวันจะมีข้อมูลจำนวนมากส่งเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างต่อเนื่อง เป็นการเก็บข้อมูลไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อการบริหารงาน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของระบบการเพาะปลูกอัจฉริยะประมวลข้อมูลโดยอาศัยประวัติการผลิต ประสานกับ Big Data เพื่อช่วยกำหนดนโยบายและบริหารจัดการการเพาะปลูกข้าวเฉินจ้าวเฮ่า(陳肇浩) ผู้จัดการ Rice House ซึ่งเป็นผู้บริหารเขตผลิตและจำหน่ายข้าวต้าเฉียวบอกว่า เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์บริหารการเพาะปลูกอัจฉริยะด้วยคอมพิวเตอร์ในห้องทำงาน สามารถเห็นข้อมูลการติดตามภาวะพื้นที่นาแต่ละผืน และยังสามารถดูระบบช่วยกำหนดนโยบาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาด้วยตนเอง ทำให้รู้ภาวะตลาดของปีหน้า มีข้อมูลสำหรับการประกอบธุรกิจ การผลิตข้าวในอนาคต จะต้องพัฒนายกระดับเป็นการเกษตรแบบแม่นยำ ซึ่งต้องมีการใช้เทคโนโลยีตั้งระบบเพื่อช่วยกำหนดนโยบายการเพาะปลูก...more15minPlay
September 16, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-09-17ไต้หวันไฮเทค - 17 ก.ย. 62- ทีมแพทย์ในไต้หวันร่วมมือกับต่างประเทศไขปริศนา อาการแพ้ยาการวิจัยทางการแพทย์ที่ผ่านมาพบว่า การแพ้ยาอาจเกิดจากผู้ป่วยมียีนชนิดพิเศษ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่มียีนชนิดพิเศษยังคงมีอาการแพ้ยาอย่างหนัก เพื่อไขปริศนาโรงพยาบาลฉางเกิง(長庚) ของไต้หวันร่วมกับทีมนักวิจัยในไต้หวัน ยุโรปและอเมริกา ใช้เวลา 5 ปี ในที่สุดได้ไขปริศนากลไกแพ้ยาที่ซับซ้อนโดยพบว่า เซลล์รับรู้ของ T Cell หรือ TCR ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเป็นตัวกำหนดและกระตุ้น T Cell ปล่อยสารเคมีที่มีพิษจึงเกิดการตอบสนองกลายเป็นอาการแพ้ยาอย่างหนัก เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของการเกิดโรค SJS หรือ TENนพ. จงเหวินหง (鐘文宏) ผู้อำนวยการแผนกโรคผิวหนังของ รพ. ฉางเกิงกล่าวว่า โรค SJS (Stevens-Johnson Syndrome - กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน) และ โรคทีอีเอ็น (TEN - toxic epidermal necrolysis) ถือเป็นโรคแพ้ยาที่น่ากลัวที่สุด นอกจากมีการเป็นตุ่มแดง อาจทำให้เยื่อบุผิวหนังทั้งร่างการเป็นแผลผุพอง ท้ายทีสุดจะเกิดอาการอวัยวะล้มเหลวหรือโรคโลหิตเป็นพิษการพัฒนายาในอนาคตจะต้องคำนึงถึง โครงสร้างเฉพาะของ HLA และ TCR สำหรับมนุษย์ชาติพันธุ์ต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพดีแต่ทำให้เกิดอาหารแพ้หรือผลข้างเคียง ทางด้าน ศ. หงซุ่นหยิ่ว (洪舜郁) ของห้องปฏิบัติการวัคซีนมะเร็งและเซลล์ภูมิคุ้มกันของไต้หวัน บอกว่า ผลสำเร็จชิ้นนี้ ทำให้พวกเขาเกิดความคิดนำไปประยุกต์ อาศัยกลไกทำลายสิ่งแปลกปลอมของ T Cell ที่มีประสิทธิภาพในกรณีคล้ายคลึงกับโรค SJS / TEN แต่ชี้นำให้ T Cell ทำลายแต่เซลล์มะเร็งเท่านั้น...more13minPlay
September 09, 2019วัสดุทางการแพทย์จากผิวหนังสุกร มูลค่ากว่า 300 ล้าน TWD/ตัว บริษัท ACRO Biomedical (亞果生醫) บริษัทแนวหน้าด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูของไต้หวัน ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพและวัสดุการแพทย์ต่างๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจในวงการคือ กระจกตาเทียม ได้มีการจำหน่ายเทคโนโลยีให้แก่ออสเตรเลีย ตลอดจนได้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายวัสดุทางการแพทย์ผลิตจากผิวสุกรในญี่ปุ่น นพ.เซี่ยต๋าเหริน (謝達仁) ประธานบริหาร ACRO Biomedical ชี้ว่า อวัยวะต่างๆ ของสุกร สามารถนำมาใช้ในเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ เพียงเฉพาะส่วนหนังของหัวสุกรสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึง 4 กิโลกรัม โดยสกัดเป็นคอลลาเจนมากถึง 200 ลิตร ปัจจุบันสุกรทั้งตัวสามารถนำมาผลิตวัสดุการแพทย์ อาทิเช่น เนื้อเยื่อโปรตีน คอลลาเจนที่ใช้ในสาขาทันตกรรม ผลิตเป็นวัสดุเสริมกระดูก ผงกระดูกและชิ้นกระดูก หากคำนวณแล้วสุกรตัวหนึ่งสามารถสร้างมูลค่าวัสดุการแพทย์สูงถึง 300 ล้านเหรียญไต้หวัน ปี 2016 ACRO Biomedical ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดกระจกตาให้แก่สุนัขชิวาวา ทีม ACRO Biomedical ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยปกติสุนัขทั่วไปต่อต้านการปลูกถ่ายอวัยวะจากภายนอกทั้งหมด แต่ผลการทดลองกลับพบว่าสุนัขชิวาวายอมรับกระจกตาที่ผลิตจากสุกรได้ ความสำเร็จในครั้งนั้น ทำให้ OculusBioMed โรงงานจากออสเตรเลียติดต่อขออนุญาตใช้สิทธิบัตร เนื่องจากกฎหมายออสเตรเลียเปิดโอกาสนำไปทดลองในมนุษย์และสามารถพัฒนาการใช้กระจกตาจากสุกรในเชิงพาณิชย์ได้ ปัจจุบัน ACRO Biomedical ผลิตสินค้าวิศวกรรมเนื้อเยื่อมากมาย ได้แก่ ผิวเทียมหรือวัสดุปกคลุมคอลลาเจนที่ทำจากหนังสุกร เนื้อเยื่อชีวภาพ สารเติมแต่งผิวหนัง สารเสริมกระดูก/กระดูกอ่อน สิ่งต่างๆเหล่านี้ทางทีมวิจัยของโรงพยาบาลทหาร 3 เหล่าทัพ, โรงพยาบาลทหารผ่านศึกเกาสงในไต้หวันได้มาเจรจาร่วมมือกับทางบริษัท นพ.เซี่ยต๋าเหรินบอกว่า ทั้งในแผนกจักษุ ทันตกรรม ทรวงอก ระบบหายใจ ระบบปัสสาวะ ล้วนแต่ ใช้ประโยชน์จากอวัยวะสุกรปลูกถ่ายสู่มนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายวัสุดที่ผลิตจากสุกรเข้าตลาดมุสลิมยังคงเป็นเรื่องยาก นพ. เซี่ยต๋าเหรินชี้ว่า ปัจจุบันกำลังมีแนวความคิดใช้โคแทนสุกร แต่จะต้องรอขั้นตอนการยื่นตรวจสอบ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งหนังสุกรสามารถนำไปผลิตวัสดุทางการแพทย์ได้มากมาย...more13minPlay
September 02, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-09-03ไต้หวันไฮเทค - 03 ก.ย. 62- ไต้หวันพัฒนา รถบัสเล็กไร้คนขับ WinBusทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคยานขับขี่อัตโนมัติ สำนักเทคโนโลยีกระทรวงเศรษฐการ ดำเนินโครงการส่งเสริมศูนย์ยานยนต์ของไต้หวันทำการวิจัยพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ เปิดตัว WinBus รถบัสเล็กขับขี่อัตโนมัติ ปรากฏโฉมครั้งแรก เซิ่นหรงจิน รมว. กระทรวงเศรษฐการเปิดเผยว่า ไตรมาส 4 ของปีนี้ ทีมผู้ประกอบการไต้หวันจะทำการทดลองที่ นิคมอุตสาหกรรม จางปิน(彰濱工業) เป็นการตรวจสอบรูปแบบการใช้งาน ตั้งเป้าหมาย 2 ปี เริ่มใช้เชิงพาณิชย์กระทรวงเศรษฐการแถลงว่า WinBus ผลิตโดยทีมผู้ประกอบการไต้หวัน นำโดย ARTC (ศูนย์ทดสอบวิจัยยานยนต์)ประสานกับผู้ประกอบการผลิตตัวถังรถยนต์ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ผลิตชิ้นส่วนและโมล์ด ในไต้หวันเกินกว่า 20 ราย เงินลงทุนเกินกว่า 40 ล้านเหรียญไต้หวันรถดังกล่าวมีจุดเด่นที่สำคัญคือ ขับขี่ได้ 2 ทาง ไม่จำเป็นต้องถอยหลังกลับรถ มีการตรวจจับด้วยรูปภาพ และยังใช้ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ตรวจระยะห่างของรถและ อุปกรณ์ข้างถนน ความแม่นยำคลาดเคลื่อนไม่เกิน 20 ซ.ม. ซึ่งดีกว่าต่างประเทศซึ่งทำได้ไม่เกิน 30 ซ.ม. ภายใน 2 ปีข้างหน้าจะใช้งานเชิงพาณิชย์ให้บริการเป็นยานพาหนะขนส่งมวลชน...more15minPlay
August 26, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-08-27ไต้หวันไฮเทค - 27 ส.ค. 62- โรงพยาบาลฉางเกิง ของไต้หวันรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้ผลดี ต่างประเทศขอดูงานภาวะหัวใจล้มเหลวพบมากในหมู่ผู้สูงวัย มักจะมีอาการหอบ แน่นหน้าอก บวมน้ำ การดูแลผู้ป่วยประเภทนี้มักทำให้คนในครอบครัวมีความเครียดหนัก โรงพยาบาลฉางเกิงของไต้หวันพัฒนาวิธีดูแลข้ามแผนก สอนให้ผู้ป่วยเรียนรู้เทคนิกการดูแลตนเอง จึงลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลซ้ำ หลายประเทศมาขอดูงาน โรงพยาบาลฉางเกิงแถลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า คณะตัวแทนด้านการแพทย์จากฟิลิปปินส์ จีนแผ่นดินใหญ่เป็นต้น 20 กว่าคน มาเยี่ยมเยือนเพื่อชมศูนย์รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ขอดูห้องผู้ป่วย ศูนย์ฟื้นฟูหัวใจและคลินิกหัวใจล้มเหลว ฉู่ป๋อเสี่ยน (褚柏顯) ผู้อำนวยการแผนกอายุรกรรมหัวใจ โรงพยาบาลฉางเกิง บอกว่าเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นโรคที่มีความซับซ้อน การรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว จะต้องยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง จะต้องดูแลในส่วนของร่างกาย จิตใจ สังคม ต้องมีการประเมินรอบด้าน ดังนั้นโรงพยาบาลฉางเกิงจึงจัดตั้งศูนย์หัวใจล้มเหลวตั้งแต่ปี 2013 ผ่านมา 6 ปีสะสมประสบการณ์มากมายทั้งทางด้านคลินิก และวิชาการ ในขณะเดียวกันได้ผลักดันโครงการบันทึกข้อมูล ภาวะหัวใจล้มเหลวเพื่อเข้าใจสภาพในไต้หวันปัจจุบัน และใช้เป็นข้อมูลเพื่อส่งเสริมการรักษาที่เป็นมาตรฐานของศูนย์หัวใจล้มเหลวฉู๋ป๋อเสี่ยนบอกว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหัวใจล้มเหลว ก็จะมีคณะรักษาพยาบาลให้การดูแลทำงานเป็นทีม จัดทำ ขั้นตอนดูแลที่เหมาะสม ตลอดจนให้การพักรักษาที่โรงพยาบาลและเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วจะไปเยี่ยมที่บ้านต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมักจะมีอาการแทรกซ้อน จึงต้องควบคุมด้านด้านอาหาร เครื่องดื่มกิจกรรมชีวิตประจำวันซึ่งจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ในขณะที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จะให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและความรับผิดชอบในการดูแลตนเองของผู้ป่วย ในขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนในครอบครัวที่ต้องดูแลผู้ป่วย ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้อัตราการกลับเข้าโรงพยาบาลภายใน 1 เดือน ลดจาก 10% ลดเหลือต่ำกว่า 5% นายแพทย์ฉู๋ป๋อเสี่ยนบอกว่าที่ผ่านมาเคยพบผู้ป่วยคนหนึ่งอายุ 30 กว่าปีหลังจาก ได้รับการวินิจฉัยมีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวไปหาหมอหลายแห่ง หมอบอกว่าไม่มีทางรักษารักษา ทำให้เขารู้สึกผิดหวังมากแต่ทีมแพทย์ของโรงพยาบาลฉางเกิงดูแลรักษาได้ผลด้วยการทำงานประสานกัน อาการของผู้ป่วยดีขึ้นจนถึงกลับไปทำงานได้ เรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ฉู๋ป๋อเสี่ยนเน้นว่า โรคหัวใจล้มเหลว จะต้องกลับไปพบแพทย์ที่คลินิกเป็นระยะ ผู้ป่วยบางส่วนรักษาแล้ว มักเห็นว่าอาการดีขึ้นจึงไม่กลับมารักษาที่คลินิกอีก ผ่านไปช่วงหนึ่งก็จะมีปัญหาทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลซ้ำ จึงขอเตือนผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว จะต้องทำตามคำแนะนำกลับมาพบแพทย์ตามนัด และออกกำลังกาย ใช้ชีวิตที่ปกติ ไม่นอนดึก ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ไม่รับประทานอาหารรสชาติเค็มเกินไป...more15minPlay
August 19, 2019ไต้หวันไฮเทค - 2019-08-20ไต้หวันไฮเทค - 20 ส.ค. 62- แพทย์ไต้หวันใช้ AI หาตำแหน่งเนื้องอกสมอง ใช้เวลาเพียง 30 วินาทีเนื้องอกสมองขนาดเล็กมักจะมีหลายตำแหน่ง อยู่ในบริเวณลึก ในการรักษามักจะใช้รังสีศัลยกรรม เป็นการลดความเสี่ยงจากการใช้มีดผ่าตัดได้ แต่แพทย์จะต้องใช้เวลานานในการหาตำแหน่งเนื้องอกโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ไต้หวัน(NTUH) แถลงข่าวในวันที่ 14 สิงหาคม ประสบความสำเร็จในการใช้ระบบ AI เพียง 30 วินาที หาตำแหน่งเนื้องอกได้ มีความแม่นยำเกินกว่า 90%นพ. เซียวฝู่เหริน (蕭輔仁) แพทย์ศัลยกรรมประสาท ของ NTUH บอกว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ทำให้มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปส่วนอื่นมากขึ้นด้วย เป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกสมองที่แพร่จากที่อื่น นอกจากนี้ยังมีเนื้องอกเยื้อสมอง และเนื้องอกระบบประสาทการได้ยิน เนื้องอกทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นเนื้องอกขนาดเล็กที่พบบ่อย นพ. เซียวบอกว่า เนื้องอกขนาดเล็กกว่า 3.5 ซ.ม. มักอยู่ในตำแหน่งลึก และมีหลายจุด หากผ่าตัดด้วยวิธีเปิดกะโหลกมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรม หรือเรียกว่ามีดคอมพิวเตอร์ เป็นการรักษาโดยการฉายรังสีซึ่งมีความแม่นยำสูง เป็นการผ่าตัดแบบบอบช้ำน้อย ปัจจุบัน NTUH ใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยเกินกว่า 3,150 รายแล้วนพ. สวี่โฟงหมิง (許峰銘) แพทย์แผนกเนื้องอก ของ NTUH บอกว่า ก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มข้นสูง (MRI) และการเอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ CT Scan เพื่อหาตำแหน่งเนื้องอกและทำการวงกลมกำหนดขอบเขต จากนั้นจึงใช้เครื่องใช้รังสีศัลยกรรมตามขอบเขตที่กำหนดไว้ นพ. สวี่ บอกว่าการกำหนดตำแหน่งเนื้องอก แพทย์จะต้องมองภาพ ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ จะต้องสังเกตุอย่างละเอียด แต่เนื้องอกมีหลายจุดและมีขนาดเล็ก จึงมีโอกาสหลุดรอดสายตาได้ การพัฒนาระบบ AI ซึ่งประสานกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ฝึกฝน AI เรียนรู้ภาพทางการแพทย์ ทำการกำหนดวงล้อมรอบตำแหน่งได้ผลเหมือนกับทีมแพทย์ประชุมเพื่อกำหนดตำแหน่งร่วมกัน ระบบดังกล่าวมีการให้คะแนนจุดเนื้องอก หากคะแนนยิ่งสูง โอกาสเป็นเนื้อร้ายสูงตามไปด้วย ...more13minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 357 episodes available.