
Sign up to save your podcasts
Or
จากท่านผู้ฟังที่ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์อานิสงส์ของศีลแปดแบบผู้ครองเรือนและแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่ตนได้รับจากการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน โดยได้กล่าวถึงพระสูตรข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ที่ได้รับฟังในรายการทำให้นึกถึงศีลที่ตนได้ปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นข้อธรรมตรงกันข้ามกัน แล้วเปลี่ยนจากการดื่มสุราและเมรัยในข้อสุดท้ายมาเป็นสัมมาอาชีวะ เราเรียกข้อปฏิบัตินี้ว่า อาชีวัฏฐมกศีล คือ ศีลมีอาชีพเป็นที่ 8 ได้แก่ กายกรรม (3) วจีกรรม (4) อาชีวะ (1) ซึ่งเป็นการรักษาศีลแปดแบบไม่ต้องประพฤติพรหมจรรย์และปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปด้วยศีลแปดแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ทำให้ได้รับอานิสงส์ที่เห็นได้ทางกายภาพ คือ มีสุขภาพที่ดีขึ้น
*การรักษาศีลแปดมีอานิสงส์มาก นอกจากความสุขอย่างสามัญแล้วยังเป็นไปเพื่อสมาธิและปัญญา เป็นทางแห่งการบรรลุธรรม
มาต่อกันที่สี่พระสูตรสุดท้ายในโคตมีวรรค ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลผู้ที่ควรบูชา ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ข้อที่ #57_ปฐมอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 1 ผู้ประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย (ทาน) ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา (ทำบุญให้ผู้ล่วงลับ) ควรแก่การทำอัญชลี (กราบไหว้) เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกได้แก่
1. เป็นผู้มีศีล
2. เป็นพหูสูต (ฟังมาก จำได้ขึ้นใจ แทงตลอดได้ดีด้วยปัญญา)
3. มีมิตรดี (มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง)
4. เป็นสัมมาทิฏฐิ
5. เป็นผู้ได้ฌาน 4
6. ระลึกชาติก่อนได้
7. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ (เคลื่อน) กำลังเกิด
8. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ข้อที่ #58_ทุติยอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 2 มีข้อธรรมที่เหมือนกันกับพระสูตรที่ 1 แตกต่างกันในข้อที่ 3, 4, 5 และ 6 ดังนี้
3. เป็นผู้ปรารภความเพียร
4. อยู่ป่าเป็นวัตร อาศัยเสนาสนะที่สงัด
5. อดทนต่อความยินร้ายและความยินดีได้
6. อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ (กิเลส)
ข้อที่ #59_ปฐมปุคคลสูตร และ ข้อที่ #60_ ทุติยปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง อริยบุคคล 8 จำพวก (4 คู่ แบ่งเป็นขั้นมรรคและขั้นผล) เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย ฯลฯ ได้แก่
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต โคตมีวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
5
11 ratings
จากท่านผู้ฟังที่ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์อานิสงส์ของศีลแปดแบบผู้ครองเรือนและแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่ตนได้รับจากการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน โดยได้กล่าวถึงพระสูตรข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ที่ได้รับฟังในรายการทำให้นึกถึงศีลที่ตนได้ปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นข้อธรรมตรงกันข้ามกัน แล้วเปลี่ยนจากการดื่มสุราและเมรัยในข้อสุดท้ายมาเป็นสัมมาอาชีวะ เราเรียกข้อปฏิบัตินี้ว่า อาชีวัฏฐมกศีล คือ ศีลมีอาชีพเป็นที่ 8 ได้แก่ กายกรรม (3) วจีกรรม (4) อาชีวะ (1) ซึ่งเป็นการรักษาศีลแปดแบบไม่ต้องประพฤติพรหมจรรย์และปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปด้วยศีลแปดแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ทำให้ได้รับอานิสงส์ที่เห็นได้ทางกายภาพ คือ มีสุขภาพที่ดีขึ้น
*การรักษาศีลแปดมีอานิสงส์มาก นอกจากความสุขอย่างสามัญแล้วยังเป็นไปเพื่อสมาธิและปัญญา เป็นทางแห่งการบรรลุธรรม
มาต่อกันที่สี่พระสูตรสุดท้ายในโคตมีวรรค ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลผู้ที่ควรบูชา ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ข้อที่ #57_ปฐมอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 1 ผู้ประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย (ทาน) ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา (ทำบุญให้ผู้ล่วงลับ) ควรแก่การทำอัญชลี (กราบไหว้) เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกได้แก่
1. เป็นผู้มีศีล
2. เป็นพหูสูต (ฟังมาก จำได้ขึ้นใจ แทงตลอดได้ดีด้วยปัญญา)
3. มีมิตรดี (มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง)
4. เป็นสัมมาทิฏฐิ
5. เป็นผู้ได้ฌาน 4
6. ระลึกชาติก่อนได้
7. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ (เคลื่อน) กำลังเกิด
8. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ข้อที่ #58_ทุติยอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 2 มีข้อธรรมที่เหมือนกันกับพระสูตรที่ 1 แตกต่างกันในข้อที่ 3, 4, 5 และ 6 ดังนี้
3. เป็นผู้ปรารภความเพียร
4. อยู่ป่าเป็นวัตร อาศัยเสนาสนะที่สงัด
5. อดทนต่อความยินร้ายและความยินดีได้
6. อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ (กิเลส)
ข้อที่ #59_ปฐมปุคคลสูตร และ ข้อที่ #60_ ทุติยปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง อริยบุคคล 8 จำพวก (4 คู่ แบ่งเป็นขั้นมรรคและขั้นผล) เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย ฯลฯ ได้แก่
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต โคตมีวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
2 Listeners
4 Listeners
2 Listeners
2 Listeners
2 Listeners
1 Listeners
10 Listeners
64 Listeners
9 Listeners
6 Listeners
18 Listeners
4 Listeners
0 Listeners
1 Listeners
5 Listeners
0 Listeners
0 Listeners
0 Listeners
2 Listeners