Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 356 episodes available.
September 28, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-09-29ไต้หวันไฮเทค -29 ก.ย. 63- ไต้หวันพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ AI ดูแลฟาร์มเกษตรบริษัท จงหัว เทคเลคอม ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ของไต้หวันได้รับรางวัลการสร้างสรรค์เมืองอัจฉริยะ 2020 กัวสุ่ยอี้ (郭水義) ผู้จัดการใหญ่รับรางวัล ในพิธีเปิดงานนิทรรศการออนไลน์เมืองอัจฉริยะ ปี 2020กัวสุ่ยอี้บอกว่า จงหัว เทเลคอม พัฒนาการเกษตรอัจฉริยะ ระบบดูแลฟาร์มเกษตร NB-IoT และ AI เป็นการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ตรวจวัด เทคโนโลยี NB -IoT และ แพล็ตฟอร์ม AI เป็นโซลูชั่นการเกษตรอัจฉริยะที่ครบวงจรกัวสุ่ยอี้ บอกว่าอุปกรณ์ตรวจวัดทำหน้าที่เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯส่งข้อมูลผ่านระบบโครงข่ายที่ใช้พลังงานต่ำ NB-IoT เป็นระบบเชื่อมต่อที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างและส่งข้อมูลในปริมาณมากผ่านเครือข่ายสื่อสารของ บริษัทจงหัว เทเลคอม สะสมข้อมูลไว้เพื่อการวิเคราะห์ ช่วยเหลือเกษตรกรปรับปรุงวิธีการเพาะปลูก ลดกำลังคน ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงในการผลิต...more15minPlay
September 21, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-09-22ไต้หวันไฮเทค -22 ก.ย. 63-นครไถหนานเร่งทดลองรถยนต์อัฉริยะ คาดหวังให้บริการรถเมล์ขับเคลื่อนอัตโนมัติรายแรกในไต้หวันรถเมล์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของนครไถหนานสายแรกเริ่มทดลองวิ่งโดยไม่รับผู้โดยสารที่สวนวิทยาศาสตร์ภาคใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา คาดว่าในปีนี้ไตรมาส 4 จะเริ่มทดลองวิ่งแบบรับผู้โดยสาร ทีมผู้วิจัยพัฒนาทำการประเมินความเป็นไปได้ในการใช้รถเมล์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแทนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มุ่งเป้าส่งออกด้วย เนื่องจากหลายประเทศมีข้อจำกัดด้านก่อสร้างระบบราง หากใช้รถเมล์ขับขี่อัตโนมัติเป็นจะเป็นตัวเลือกที่ประหยัด และรวดเร็วในการก่อสร้างพิธีเปิดการทดลองรถบัสขับเคลื่อนอัตโนมัติสายแรกของนครไถหนาน มีบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลร่วมงาน ได้แก่ ก่งหมิงซิน (龔明鑫) ประธานสภาเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ อู๋เจิ้งจง (吳政忠) รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์ หวังเหว่ยเจ๋อ (黃偉哲) ผู้ว่าการนครไถหนาน เป็นต้นได้มาร่วมงานโครงการรถบัสขับเคลื่อนอัตโนมัติของนครไถหนาน เป็นโครงการความร่วมมือกับบริษัท ลีลี (LILEE SYSTEMS) ของไต้หวันปัจจุบันได้กำหนดเส้นทางไว้ 2 เส้น ได้แก่ เส้นทางวนรอบสวนวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร ซึ่งให้บริการในวันหยุด และเส้นทางวนรอบเขตซาหลุน (沙崙) ระยะทาง 3.9 กม. นครไถหนานแถลงว่า รถบัสขับเคลื่อนอัตโนมัติมีการติดตั้งกล้องถ่ายรูปความละเอียดสูง 6 ตัว และมีเรดาร์ 4 ชุด ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับบนถนนสื่อสารกับระบบ AI ตอบโต้แบบฉับพลันได้ ติดตามสภาวะถนนตลอดเวลาก่งหมิงซินบอกว่า การผลักดันรถบัสขับเคลื่อนอัตโนมัติจะต้องมีการผ่อนคลายกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องและทีมเทคนิคจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อทดลองอุปกรณ์ในพื้นที่ นครไถหนานดำเนินการประสบความสำเร็จก้าวใหญ่ ก่งหมิงซิน บอกด้วยว่ารัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 50,000 ล้านเหรียญไต้หวันเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ 5G ครอบคลุมการจัดสรรเพื่อการส่งเสริมรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการจราจรอัจฉริยะ นครไถหนานกำลังประเมินความเป็นไปได้ ในการใช้รถบัสขับเคลื่อนอัตโนมัติแทนระบบขนส่งมวลชนรางเบา จะช่วยประหยัดงบประมาณได้ และยังให้บริการประชาชนได้มากขึ้นด้วยประเทศกำลังพัฒนามักจะขาดแคลนงบประมาณในการสร้างระบบขนส่งมวลชน รถบัสขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากทำการดัดแปลงรถที่มีอยู่ ไม่ต้องสร้างขบวนรถขึ้นใหม่ และวิ่งบนเส้นทางที่มีอยู่เดิม ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง ประสิทธิภาพไม่แพ้ BRT ของประเทศอื่นๆ ที่ใช้กันอยู่ ...more15minPlay
September 14, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-09-15ไต้หวันไฮเทค -15 ก.ย. 63- เทคโนโลยีเสียง แนวโน้มแห่งอนาคตบริษัท Relajet สตาร์ทอัพของไต้หวัน ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจำแนกเสียงหรือแยกเสียงได้ ในสภาพแวดล้อมที่มีแหล่งเสียงหลากหลาย หรือมีผู้คนพูดพร้อมๆ กันหลายคน ในที่มีเสียงอึกทึก อุปกรณ์จะจำแนกเสียง ทำการขจัดเสียงรบกวน ขยายเสียงจากแหล่งเสียงหลัก ส่งเสียงผ่านเครื่องช่วยฟังเพื่อให้ผู้พิการทางหู ได้ยินเสียงที่ต้องการฟังได้อย่างชัดเจน อุปกรณ์ช่วยจำแนกเสียงสามารถค้นหาเสียงหลักได้ภายในช่วงเวลาแค่ 0.01 วินาที เท่านั้น ช่วงเวลา 0.01 วินาทีถือว่าสำคัญ หากใช้เวลามากกว่านี้ ผู้ฟังเสียงจะเกิดความสับสน เพราะเกิดความล่าช้าต่อสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่อุปกรณ์หูฟังที่จำแนกเสียงได้ที่ บริษัท Relajet พัฒนายังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ ใช้พลังงานเพียงแค่ 0.5 mA เท่านั้นในสภาพการเปิดเครื่องแบบเต็มประสิทธิภาพ ใช้งานได้ยาวนานถึง 15 ชั่วโมง ผลสำเร็จจากการวิจัยพัฒนาไม่เพียงแต่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผู้พิการทางการได้ยินเท่านั้น คนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาได้ บริษัทผู้ผลิตหูฟัง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อตัดเสียงรบกวนทำให้คุณภาพเสียงที่ฟังดีขึ้น และช่วยยืดเวลาการใช้งานของหูฟังให้ยาวนานขึ้น ด้วยความสำเร็จในการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำสามารถขยายเวลาการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้นอุปกรณ์จำแนกเสียงสามารถวิเคราะห์แหล่งเสียงที่หลากหลายสามารถ ติดตามแหล่งสิ่งที่ต้องการฟัง เพื่อใช้ในเรื่องของ Speech To Text การเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้กลายเป็นตัวอักษร จะมีประโยชน์ในเรื่องของการถอดเสียงให้กลายเป็นอักษร ขยายไปใช้งานในเรื่องของการบันทึกการประชุม ปกติแล้วเวลาที่จะบันทึกการประชุมนั้นหากจะบันทึกในรูปแบบของอักษร จะต้องอาศัยคนในการฟังและพิมพ์ ถ้าหากว่าใช้เทคโนโลยีในการจำแนกเสียง แปลงเสียงให้เป็นอักษรสามารถ จับเสียงของคนทุกคนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว...more15minPlay
September 07, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-09-08ไต้หวันไฮเทค -08 ก.ย. 63- Relajet ผู้พัฒนาเทคโนโลยจำแนกเสียง (voice recognition technologies) ช่วยให้ฟังเสียงได้อย่างชัดเจนRelajet บริษัทสตร์ทอัพของไต้หวัน พัฒนาอุปกรณ์จำแนกคลื่นเสียง เฉินป๋อหรู่ (陳柏儒) ผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้ที่มีความพิการทางการได้ยิน เขาได้ร่วมมือกับพี่ชาย เฉินโหย่วเริ่น (陳宥任) ประดิษฐ์อุปกรณ์จำแนกเสียง เพื่อตัดเสียงรบกวนและทำให้ผู้พิการทางการได้ยิน ได้ฟังเสียงจากแหล่งเสียงหลักได้ชัดเจนมากขึ้นผู้ที่มีความพิการทางการได้ยินระดับรุนแรงแรงตั้งแต่เกิดนั้นในไต้หวัน มีการเก็บสถิติ มีสัดส่วน 1 ในพันคนของทารกที่เกิด แต่หากรวมผู้ที่พิการระดับกลางและระดับเบาหรือผู้ที่พิการหูข้างเดียว สัดส่วนจะสูงขึ้นเป็น 3 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนั้นการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้นผู้ที่พิการทางการได้ยินนั้น มีโอกาสได้รับรักษาหายตั้งแต่ระยะแรกที่เป็นทารก แต่ว่าในกรณีของเฉินป๋อหรู่ กว่าจะตรวจพบนั้น เขาอายุ 4 ขวบแล้ว ถือว่าได้ผ่านช่วงทองของการรักษา จึงทำให้เขาต้องประสบอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษาความสามารถในการได้ยินของมนุษย์จะเกิดขึ้นหลังจากที่คลอดออกมาแล้วช่วงหนึ่ง สมองจะได้รับการกระตุ้นจากเสียงรอบด้าน ทำให้มีการพัฒนาเรื่องการได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ที่พิการทางได้ยินจะไม่ได้ยินเสียงที่เข้าไปกระตุ้นสมองส่วนกลาง จึงเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษาการใช้ชีวิตของผู้พิการทางการได้ยินมีความยากลำบาก ยกตัวอย่าง คนทั่วไปนั้นเวลาที่เราได้ยินเสียงแตรรถ หรือเสียงเสียงรถพยาบาล เราก็จะสามารถจำแนกได้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางใด แต่สำหรับเฉินป๋อหรู่ ในขณะที่เดินอยู่บนถนนหรือว่าในขณะที่ขับรถ ถ้าได้ยินเสียงแตรรถหรือว่าได้ยินเสียงรถพยาบาล เขาไม่สามารถรู้ว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นอยู่ทางไหนต้องรีบมองซ้ายมองขวามองหน้ามองหลังเพื่อดูว่าแหล่งที่มาของเสียงนั้นมาจากไหนนอกจากนี้แล้วในยามที่มีคนพูด พร้อมกันหลายคนมีเสียงอึกทึกผู้ที่พิการทางการได้ยินไม่สามารถจำแนกเสียงของคนที่อยู่รอบข้างไม่รู้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงของใคร การเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้พิการทางการได้ยินมีอุปสรรคอย่างมากต้องอาศัยการอ่านริมฝีปากคือสังเกตการขยับของริมฝีปากประกอบกับการฟังเสียงด้วยความทุ่มเทผ่านมาหลายสิบปี Relajet ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจำแนกหรือแยกเสียงสามารถจำแนกเสียงจากแหล่งต่างๆ ได้ในสภาพที่มีผู้คนพูดพร้อมๆ กันหลายคน ในที่มีเสียงอึกทึก อุปกรณ์จะจำแนกเสียง ทำการขจัดเสียงรบกวน ขยายเสียงจากแหล่งเสียงหลัก ส่งเสียงผ่านเครื่องช่วยฟังเพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินเสียงที่ต้องการฟัง อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้พิการได้ในระดับหนึ่งคือฟังเสียงที่ต้องการฟังได้อย่างชัดเจน แต่การรู้ทิศทางหรือมิติของเสียงระดับอื่นๆ คงจะต้องรอการพัฒนาต่อไป...more15minPlay
August 31, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-09-01ไต้หวันไฮเทค -01 ก.ย. 63- ไต้หวันพัฒนา สนามแข่งขันกีฬาอัจฉริยะOSENSE สตาร์ทอัพ ไต้หวัน พัฒนา Smart Stadium Solution สนามแข่งขันกีฬาอัจฉริยะ เป็นผู้บุกเบิกการชมกีฬาในรูปแบบใหม่ ประสานกับเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) การเชื่อมต่อวัตถุผ่านอินเทอร์เน็ต ICT เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งในร่ม VBIP(Vision Based Indoor Positioning) ที่ทาง OSENSE พัฒนาขึ้นเอง เป็นการกำหนดตำแหน่งโดยไม่ต้องอาศัย Beacon หรือระบบไวไฟ ในสถานภาพที่ไม่มี GPS ที่ใช้ในการนำทาง ก็สามารถกำหนดตำแหน่งได้ถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการรับรู้แบบรอบด้านการพัฒนาสนามกีฬาอัจฉริยะมีแนวความคิดที่ว่า การเข้าไปชมบอลของแฟนบอลนั้น ส่วนใหญ่มักมีความเคยชินที่ว่าในระหว่างการชมบอลอยู่ในสนาม ผู้ชมชอบที่จะดูการถ่ายทอดสดพร้อมกันไปด้วย (อาจเป็นLive TV, FB หรือ YouTube) จะมีนักวิจารณ์ให้ข้อมูลเพิ่ม เพราะฉะนั้นในระหว่างที่แฟนบอลชมกีฬาอยู่ในสนามกีฬา จะดู Smartphone เพื่อที่จะฟังการวิจารณ์หรือแม้แต่จะชมภาพ Replay ช็อตเด็ดๆ ระหว่างการแข่งขันผู้พัฒนาระบบเห็นว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะกระทำในสนามกีฬาได้เลยไม่ต้องไปทำการดูร้ายถ่ายทอดสด ดังนั้น ในอนาคต ผู้ชมเพียงแค่นำเอาสมาร์ทโฟนส่องไปยังจุดที่เขาอยากจะดูข้อมูลเพิ่ม ส่องไปยังจุดต่างๆ ของสนามกีฬา อย่างเช่น อาจจะส่องไปจุดที่เคยมีภาพช็อตเด็ด ก็สามารถเห็นภาพ Replay ของการเตะฟุตบอลที่เป็นช็อตเด็ด หรือส่องไปที่ตัวนักกีฬาก็จะได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนักกีฬา แสดงออกมาใน smartphone ทันที เป็นการประสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ในขณะเดียวกัน นอกจากนี้แฟนบอลยังสามารถที่จะสั่งซื้ออาหารเครื่องดื่มหรือว่าสั่งซื้อของที่ระลึกจาก App บนมือถือได้ในทันทีในขณะที่กำลังชมการแข่งขัน เป็นการตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างทันที จะช่วยสร้างโอกาสธุรกิจที่มหาศาล...more13minPlay
August 24, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-08-25ไต้หวันไฮเทค -25 ส.ค. 63- ไต้หวันพัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะ ผลสำเร็จน่าพอใจข้อมูลสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (International Federation of Robotics – IFR) ชี้ว่าในภาวะการระบาดโควิด-19 กิจการต่างๆ พากันทบทวนการประเมินความเสี่ยงการบริหารห่วงโซ่การผลิต มีการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกิจการมากขึ้น เพื่อช่วยฟื้นฟูการผลิต พัฒนาระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติและการผลิตอัจฉริยะ คาดว่าปี 2020 - 2022 จะมีหุ่นยนต์ 4 ล้านตัวเข้าสู่ภาคการผลิตของโลก เป็นการช่วยผู้ประกอบการรับมือต่อความท้าทายของตลาดและการพัฒนาเศรษฐกิจหูจู๋เซิง (胡竹生) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยระบบเครื่องกลและเครื่องกลไฟฟ้า สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของไต้หวัน (Industrial Technology Research Institute – ITRI) บอกว่า ยุคผ่านพ้นการระบาดโควิด-19 ผู้ประกอบการมีแนวโน้วกระจายฐานการผลิตออกไปหลายแห่ง มุ่งสู่การผลิตอัจฉริยะการผลิตอัตโนมัติ ลดการพึ่งพากำลังคน ปรับตัวตอบสนอความต้องการลูกค้าเฉพาะรายเพื่อรับมือกับห่วงโซ่การผลิตที่ก่อตัวขึ้นใหม่ จะเน้นการผลิตรูปแบบหลากหลายในปริมาณน้อย และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน มีแนวโน้มการวิจัยพัฒนาข้ามแขนงประสานเครื่องจักร ICT และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัจฉริยะอเนกประสงค์ หุ่นยนต์ประสานกับ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ระบบ 5G ระบบคลาวด์ เป็นต้น ยกระดับเข้าสู่การผลิตดิจิตอลและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นITRI เปิดเผยความสำเร็จหุ่นยนต์อัจฉริยะหลายรายการ ได้แก่ การประยุกต์ AI จำแนกฉลาก ทำการเก็บข้อมูลและจำแนกฉลากป้ายโดยอัตโนมัติ ทำการฝึกฝน AI ให้จำแนกรูปภาพ เพื่อให้ AI หยิบชิ้นส่วนหรือวัสดุได้ถูกต้อง เทียบกับการทำงานโดยคนงาน 25 ชิ้น ต่อ ชั่วโมงซึ่งเป็นขีดจำกัดสูงสุด หุ่นยนต์ AI จะทำได้มากถึง 1 หมื่นชิ้น ต่อ ชั่วโมง เร็วกว่าถึง 400 เท่าITRI ยังได้พัฒนาระบบการบดโม่อัตโนมัติ ที่มีความคลาดเคลื่อนเพียง 1 ม.ม. และแม่นยำสูงถึง 80% และการพัฒนาแขนกล 7 แกน ความแม่นยำสูง น้ำหนักแขนกลเพียง 15 ก.ก. สัดส่วนรับน้ำหนัก 0.3 หากประสานกับ AI และตัวหยิบจับจำแนกภาพได้ หุ่นยนต์จะมีความสามารถในการจำแนกสิ่งของ หยิบจับสิ่งของได้แม่นยำ หุ่นยนต์แขนกลจะทำงานหลากหลายมากขึ้น ทั้งในอุตสาหกรรมเบาหรือแม้แต่การทำงานภาคบริการในโรงพยาบาลหรือการดูแลผู้เจ็บป่วยผลสำเร็จการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ของ ITRI จัดแสดงในงานแสดงสินค้าหุ่นยนต์และการผลิตอัจฉริยะ (TAIROS) ที่อาคารแสดงสินค้าหนันกั่ง กรุงไทเป เริ่ม 19 -22 สิงหาคม 2563...more15minPlay
August 17, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-08-18ไต้หวันไฮเทค -18 ส.ค. 63- OSENSE สตาร์ทอัพไต้หวัน วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งในอาคารOSENSE สตาร์ทอัพ ไต้หวัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2017 มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ วิชวล กับ AI พัฒนาการประมวลผลระดับล่าง เพื่อ ให้ AI สามารถ จำแนกและเข้าใจสภาพของพื้นที่ ผ่านกล้องถ่ายภาพ ทีมงานของบริษัท พัฒนาเทคโนโลยี ภาพคอมพิวเตอร์ VBIP(Vision Based Indoor Positioning) เป็นการจำแนกอัตลักษณ์ของตำแหน่ง ประสาน สัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กโลก Bluetooth และคลื่นสัญญาณอื่นๆ เพื่อการกำหนดตำแหน่งที่แม่นยำสัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กโลก และอัตลักษณ์ของภาพเป็นจุดสำคัญใช้ในการจำแนกและกำหนดตำแหน่ง หวังอิ่วกวง (王友光 ) ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ OSENSE ได้พัฒนาระบบ VBIP กำหนดตำแหน่งได้โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรม Beacon หรือระบบไวไฟ ในห้อง ในสถานภาพที่ไม่มี GPS ที่ใช้ในการนำทาง ก็สามารถกำหนดตำแหน่งได้ถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการรับรู้แบบรอบด้านเทคโนโลยีการรับรู้แบบรอบด้าน ก็คือเมื่อผู้ใช้งาน ใช้อุปกรณ์ของ OSENSE จะสามารถ รับรู้ตำแหน่งต่างๆ ได้ โดยการประสานกับสัญญาณสนามแม่เหล็กโลก และอัตลักษณ์จุดสำคัญในพื้นที่ เพื่อจำแนกบุคคล และสถานที่ เชื่อมโยง กับ AI ( ปัญญาประดิษฐ์)...more13minPlay
August 10, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-08-11ไต้หวันไฮเทค -11 ส.ค. 63 -ยุคสื่อสาร 5G ในไต้หวัน โอกาสและความท้าทาย ตอนที่ 2ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไอที ในไต้หวันร่วมกันประชุมสัมมนาทิศทางโอกาสและความท้าทาย ในยุค 5G ของไต้หวัน มีสาระสำคัญที่น่าสนใจคือ ในท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ทำให้การพัฒนาดิจิตอลของทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการต้องคิดว่าในยุคนี้จะทำการปรับเปลี่ยนหรือว่าจะยกระดับผลิตภัณฑ์อย่างไรให้ทันกับยุคสมัย มีหลักการที่สำคัญ 3 ประการ อย่างแรกจะต้องตอบสนองต่อการทำงานที่มีความสัมพันธ์กัน ตอบสนองต่อพนักงานที่ต้องทำงานแบบร่วมมือกันหรือการแชร์ไฟล์ การใช้ไฟล์ไฟล์เดียวกันในการทำงานพร้อมกัน ประการที่สอง คือการตอบสนองต่อลูกค้าที่ติดต่อกับบริษัท จะต้องสามารถจัดทำระบบในการติดตามประวัติหรือรายละเอียดย้อนกลับได้ ประการที่ 3 เป็นเรื่องของ Big Data กับ AI เชื่อมโยงระบบราบรื่นมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จะต้องจัดการใน 3 สิ่งนี้ให้ได้ จึงจะประสบความสำเร็จในการยกระดับกิจการหรือว่ายกระดับผลิตภัณฑ์การมีเทคโนโลยีที่ดี 100% แต่ถ้าหากเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ถือว่าไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นจะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า เป็นสำคัญในยุค 5G นั้น การประยุกต์เทคโนโลยีมีหลากหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะมีความสำคัญมากก็คือเรื่องของ SDN (software defined networking) เครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ สำหรับผู้ดูแลเครือข่าย ปัญหาหนึ่งที่มักจะพบกันอยู่เสมอก็คือเรื่องของการตั้งค่าอุปกรณ์ มักจะมีความแตกต่างกัน ปัญหานี้ย่อมหมายถึงความปวดหัวของผู้ที่ดูแลเครือข่าย ที่จะมีภาระในการจัดการอุปกรณ์ที่แตกต่างกันแต่จะต้องให้ทำงานร่วมกันให้ได้ จึงต้องอาศัยซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยจัดการการช่วยเหลือสนับสนุนต่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม เพื่อทำการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ รายเล็กและรายย่อยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในยุค 5G นั้น คงต้องคำนึงว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถประสานการผลิตในแนวตั้งได้ เป็นสิ่งที่ยังเห็นได้ยังไม่ชัดเจน และมีความหลากหลายมากและยังไม่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างแน่ชัด เพราะฉะนั้นต้องพยายามหาทางสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละราย เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสำหรับลูกค้าซึ่งเหมาะกับแต่ละรายไม่สามารถที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อย่างเดียวแต่ว่าใช้กับทุกคนได้ ต้องรู้ว่าปัญหาแต่ละคนคืออะไร พยายามช่วยเหลือในการแก้ปัญหาให้ตรงจุดนั้น...more15minPlay
August 03, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-08-04ไต้หวันไฮเทค -04 ส.ค. 63- ยุคคลื่นสื่อสาร 5G ในไต้หวัน โอกาสและความท้าทาย ตอนที่ 1ในไต้หวัน ปลายเดือน กรกฎาคม 2563 มีความตื่นตัวในเรื่องของการสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ 5G ในไต้หวัน หน่วยงานของราชการและเอกชนได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น นายหลินเจียหลง(林佳龍) รมว. กระทรวงคมนาคมของไต้หวันได้บอกว่าการพัฒนาในอนาคตจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบอัจฉริยะต่างๆ อย่างเช่น การจราจรอัจฉริยะได้กำหนดเขตทดลองที่ตั้นสุ่ย ในชุมชนสร้างใหม่ทางตอนเหนือของนครนิวไทเป ในอนาคตนั้นยังจะขยายความอัจฉริยะในด้านท่าเรือ ท่าอากาศยาน มีความทันสมัย ผู้ประกอบการในไต้หวันเห็นว่า AI และระบบอัจฉริยะต่างๆ มีบทบาทที่สำคัญเช่นกัน...more15minPlay
July 27, 2020ไต้หวันไฮเทค - 2020-07-28ไต้หวันไฮเทค -28 ก.ค. 63- ไต้หวันเริมการติดตั้งฟาร์มกังหันลมเฟสที่ 3การพัฒนาพลังงานกังหันลมของไต้หวันเข้าสู่เฟสที่ 3 ในปีนี้ ผู้ลงทุนบริษัทพัฒนาพลังงานลม พากันรับสมัครวิศวกรและบุคคลการที่เกี่ยวข้องกระทรวงเศรษฐการแถลงว่า เมื่อถึงปี 2025 ตั้งเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง 5.7 GW จะทำให้มูลค่าการลงทุนสะสมสูงเกินกว่า 1 ล้านเหรียญไต้หวัน และสร้างโอกาสงาน ประมาณ 20000 ตำแหน่ง...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 356 episodes available.