Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 356 episodes available.
April 12, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 12 เม.ย.2565ไต้หวันกำหนด ปี 2050 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ Oหากกล่าวถึงยานยนต์พลังงานทางเลือกในปัจจุบัน หลายคนคงนึกถึงยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ และยังเป็นกระแสที่กำลังเป็นที่สนใจในโลกปัจจุบัน จึงเกิดการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพของยานยนต์ไฟฟ้ามากมาย สำหรับในไต้หวัน รัฐบาลกำหนดเป้าหมายปี 2050 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 0 ได้มีการวางแผนว่าในปี 2040 ยานยนต์ที่จำหน่ายในท้องตลาดจะต้องเป็นยานยนต์ไฟฟ้า 100% อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังไม่เอื้ออำนวย และการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ายังไม่สะดวกมากนัก ยกตัวอย่าง จุดชาร์จไฟไม่เพียงพอ จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่มีความท้าทายอย่างยิ่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ เรียกสั้นๆ ว่า EV(Electric Vehicle) เป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ในการขับเคลื่อน และสามารถชาร์จไฟได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อแบตเตอรี่หมด มีองค์ประกอบหลักสำหรับการขับเคลื่อนคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมบำรุง และค่าพลังงานไฟฟ้าจะมีราคาน้อยกว่าพลังงานเชื้อเพลิง ที่สำคัญไม่มีการปล่อยไอเสียจึงไม่สร้างมลภาวะให้แก่โลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแผนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 0 ของไต้หวัน จะผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบ่งเป็นช่วง กล่าวคือ ปี 2025 รถประจำทางในเขตเมืองมีความแพร่หลาย 35 % ถึงปี 2030 รถประจำทางในเมืองและรถราชการจะต้องเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด โดยที่ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ จะมีรถยนต์ไฟฟ้า 30% รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 35% ถึงปี 2035 รถยนต์ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสัดส่วนเป็น 60% และ 70% ตามลำดับ เมื่อถึงปี 2040 จะบรรลุเป้าหมายยานยนต์ในท้องตลาดยานเป็นยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดนายก่งหมิงซิน(龔明鑫) ประธานสภาพัฒนาแห่งชาติยังบอกด้วยว่า รัฐบาลจะดำเนินมาตรการคือ ประการแรกคือ ทำให้ราคาจำหน่ายต่ำลงโดยจะมีการอุดหนุนประชาชนเพื่อซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ประการที่สองคือ ความสะดวก ถ้าหากว่าสภาพแวดล้อมไม่สะดวก ราคาต่ำก็ไม่มีแรงจูงใจ ดังนั้น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเศรษฐการจะทำงานร่วมกันข้ามกระทรวงเพื่อผลักดันโครงการรถยนต์ไฟฟ้า คาดว่าไม่เพียงแต่ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าสมเหตุสมผลแต่ยังต้องมีความสะดวกด้วย เช่น ติดตั้งจุดชาร์จไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น...more15minPlay
April 05, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 5 เม.ย.2565การผลิตเห็ดอัจฉริยะเห็ดปรุงอาหารรสชาติต่างๆหลากหลาย พบเห็นบ่อยบนโต๊ะอาหาร ปัจจุบันไต้หวันผลิตปีละ 140,000 ตัน มูลค่าการผลิต 13,000 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็น 18 % ของมูลค่าการผลิตผักทั้งหมด แต่การผลิตเห็ดอาศัยกำลังแรงงานมาก ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและเชื้อเห็ดอ่อนแรง รวมทั้งแรงกดดันการขาดแคลนแรงงาน ตั้งแต่ปี 2017 สถาบันวิจัยการเกษตรพัฒนาเครื่องจักรทำงานประสานกับคน ลดกำลังแรงงาน บริษัทเสียงหยวน (翔元) ของไต้หวันได้สร้างเครื่องบรรจุภัณฑ์อัตโนมัติ ต่อมาสถาบันวิจัยการเกษตรได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ ฟาร์มเกษตรไบโอเทค ซวิ่นอิว (蕈優生物科技農場) ผลิตชุดเพาะเชื้อเห็ดหอมในเชิงพาณิชย์ และพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมการเกษตรอัจฉริยะ เชื่อมประสานไปยังแพลตฟอร์มประสานการผลิตและจำหน่าย ผลักดันการจัดตั้งสมาพันธ์เกษตรอัจฉริยะร่วมมือเพื่อการผลิตและจำหน่ายเสถาบันวิจัยพันธุ์พืช ดำเนินโครงการนำร่องการผลิตเห็ด ผู้ผลักดันโครงการ ดร. สือซิ่นเต๋อ (石信德)วิจัยและพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะประสานกับการเชื่อมต่อสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อการแก้ปัญหา สถาบันวิจัยพืชและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหูเหว่ย (虎尾科技大學) ร่วมมือกันส่งเสริม บริษัท (翔元) สร้างอุปกรณ์การบรรจุภัณฑ์อัตโนมัติ กระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีสารสนเทศ, IoT การออกแบบสายการผลิตและการพัฒนาเครื่องจักร ผลิตได้นาทีละ 26 – 30 ถุง ประหยัดแรงงานคนได้ 3-4 คนฟางซื่อเหวิน(方世文)ผู้ก่อตั้งบริษัท ซวิ่นอิว แต่เดิมต้องการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่กระทบต่อเห็ด เดินทางไปญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ ฝรั่งเศสเพื่อชมการเพาะเห็ด ได้เห็นฮอลแลนด์ควบคุมอุณหภูมิที่สม่ำเสมอ แม้ภาวะหิมะตกก็ยังเพาะเห็ดได้ อาศัยห้องปลอดฝุ่นในการเพาะเห็ด โดยควบคุมสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเพาะเห็ดให้สอดคล้องกับการเติบโต จัดสร้างเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิที่สมบูรณ์ ควบคุมความชื้นคาร์บอนไดออกไซด์ มีการถ่ายเทอากาศภายในและภายนอก และมีการจดบันทึกค่าต่างๆ การตรวจจับข้อมูลประสานกับการระบบควบคุมสารสนเทศ มีการวิเคราะห์และยังได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งปกติห้องปลอดฝุ่นเป็นห้องที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ แต่ฟังซื่อเหวิน ทำห้องปลอดฝุ่นเพื่อการเพาะเห็ด เขาเป็นผู้จบการที่ศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และได้เคยทำงานด้านไอที ผันตัวมาเป็นเกษตรกรใช้เทคโนโลยี เป็นผู้ที่ร่วมโครงการเกษตรอัจฉริยะ เป็นผู้ประกอบการดีเด่นที่เข้าร่วมโครงการ ได้จัดสร้างชุมชนเพาะเห็ด และได้เปิดให้เกษตรกรเข้าชม เป็นผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ทางด้านการเพาะเห็ดเห็ดส่วนใหญ่ขายตลาดในประเทศ อนาคตสมาพันธ์เพาะเห็ดอัจฉริยะร่วมมือข้ามสาขา เพื่อขยายตลาดต่างประเทศ...more14minPlay
March 29, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 29 มี.ค.2565ไต้หวันพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกกล้วยไม้ออนซิเดียมอัจฉริยะ ยกระดับคุณภาพ รุกตลาดฮอลแลนด์คณะกรรมการการเกษตรร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และกระทรวงเศรษฐการร่วมกันส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะในเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกกล้วยไม้อัจฉริยะ สามารถบุกเบิกส่งออกไปยังตลาดยุโรปจนกลายเป็นตลาดส่งออกกล้วยไม้ออนซิเดียมใหญ่ อันดับ 2 ของไต้หวัน ทั้งนี้ ฮอลแลนด์เป็นตลาดไม้ดอกที่ใหญ่ที่สุดของโลก กล้วยไม้ออนซิเดียมไต้หวันจะเข้าสู่ตลาดยุโรป ต้องผ่านตลาดประมูลที่ฮอลแลนด์จะเป็นทางลัดในการเจาะตลาดยุโรปที่เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ปริมาณและคุณภาพยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการตลาด เป็นอุปสรรคในการขยายตลาดไม้ดอกของไต้หวัน เพื่อให้ออนซิเดียมไต้หวันมีศักยภาพ ศูนย์วิจัยไม้ดอกได้ประสานกับหน่วยงานวิจัยและผู้ประกอบการด้านไอที เพื่อประยุกต์ใช้ IoT (internet of things) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การวิเคราะห์ big data และภาพถ่ายที่ได้จากการตรวจจับสภาพแวดล้อม ช่วยเหลือจัดตั้งมาตรฐานการผลิต เป็นการจัดตั้งห่วงโซ่การผลิต ที่มีการบริหารจัดการที่ดี มีการตรวจสอบการผลิตที่แม่นยำและควบคุมคุณภาพให้มีมาตรฐาน และผ่านการรับรองจากองค์กรระหว่างประเทศการปลูกกล้วยไม้ออนซิเดียมส่วนใหญ่ปลูกในโรงเรือนหลังคาตาข่าย ทำให้คุณภาพไม่สม่ำเสมอออนซิเดียม หนึ่งในสินค้าไม้ดอกที่สำคัญของไต้หวันส่งออกไปญี่ปุ่นครองสัดส่วนอันดับ 1 ปริมาณส่งออกปีละ 20 ล้านก้าน ไต้ถิงเอิน (戴廷恩) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไม้ดอกไม้ประดับ สถาบันวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชไต้หวันบอกว่า การจำหน่ายกล้วยไม้ออนซิเดียมของไต้หวันในประเทศและส่งออก มีสัดส่วนในแต่ละปีไม่แน่นอนอยู่ในระดับประมาณ 7 ต่อ 3 หรือ 6 ต่อ 4 เนื่องจากต้องพึ่งพาตลาดญี่ปุ่นสูงเกินกว่า 90% เกษตรกรจึงพยายามกระจายการส่งออกไปตลาดประเทศอื่น และเคยได้รับใบสั่งซื้อจากออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง ฮ่องกง สิงคโปร์ แต่การสั่งซื้อไม่สม่ำเสมอ ยังส่งออกได้น้อย แม้ว่ากล้วยไม้ออนซิเดียมไต้หวันแม้จะมีศักยภาพในตลาดโลก แต่สภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปรทำให้ผลผลิตออกมามากเฉพาะช่วง ไม่สามารถปรับผลผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด การควบคุมคุณภาพยังไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถประกันช่วงเวลาความคงทนสำหรับการปักแจกัน กลายเป็นปัญหาหนักในเรื่องการบริหารจัดการเพาะปลูก ไต้หวันจึงต้องพยายามพัฒนาการเพาะปลูกอัจฉริยะยกระดับคุณภาพกล้วยไม้เป้าหมายออนซิเดียมไต้หวัน รุกตลาดฮอลแลนด์ ตลาดไม้ดอกใหญ่ที่สุดของโลก กล้วยไม้ออนซิเดียมสีเหลือง ได้รับฉายาว่าเป็นกล้วยไม้เต้นระบำ เนื่องจากเวลาโดนลมพัดเบาๆ ดอกจะไหวตัวคล้ายคนใส่กระโปรงกว้าง ๆ แล้วเต้นระบำ บางครั้งเรียกว่า “ตุ๊กตาเต้นระบำ” หรือ “นางฟ้าเต้นระบำ” กล้วยไม้ออนซิเดียมของไต้หวันเคยถูกใช้เป็นกล้วยไม้หลักประดับในงานมหกรรมพืชสวนโลกไทจงในปี 2018(Taichung World Flora Exposition) ภาพกล้วยไม้ออกซิเดียมสีเหลืองที่ใช้ตกแต่งในงาน World Flora Expo ที่ผ่านมา เป็นการสะท้อนให้โลกรู้ว่า ไต้หวันไม่เพียงเป็นราชากล้วยไม้ แต่ยังเป็นผู้ผลิตกล้วยไม้ออนซิเดียมรายใหญ่สุดของโลก...more14minPlay
March 22, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 22 มี.ค.2565โดรนกับการเกษตรอัจฉริยะเมื่อพูดถึงโดรน หลายคนจะนึกถึงโดรนที่ใช้ทางการทหารหรือการถ่ายภาพทางอากาศ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแนวความคิดเรื่อง IoT (Internet of Things) ได้ขยายเข้าไปสู่สาขาต่างๆ และภาคธุรกิจ อย่างเช่น โลจิสติกส์ การติดตามสภาพแวดล้อม การกู้ภัย ในภาคการเกษตรมีการประยุกต์ใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้นเช่นกัน มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคหนอนแมลง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โดรนอารักขาพืชการใช้ประโยชน์โดรนการการพ่นสารเคมีการเกษตรมี ส่วนข้อดีคือ ลดความเสี่ยงเกษตรกรในการสัมผัสสารพิษ มีความปลอดภัย สถิติสหประชาชาติในปี 2017 รายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนชี้ว่า ในแต่ละปีมีมีผู้เสียชีวิตเฉียบพลันจากสารเคมีเกษตร 200,000 คนการเกษตรเป็นงานต้องใช้แรงกายหนักเหนื่อย เหงื่อไหลไคลย้อย คนรุ่นใหม่ไม่ชอบทำการเกษตร ถ้าใช้โดรนช่วยทุนแรง จะทำให้การใส่ปุ๋ย การสำรวจไร่นา การพ่นยาหรือสารเคมี กลายเป็นเรื่องง่าย โดรนกำลังพลิกโฉมการเกษตร ให้บินทะยานเข้าสู่การเกษตรอัจฉริยะ ราวกับว่าเกษตรกรนั่งอยู่ในบ้าน รอให้โชคลาภหล่นลงมาจากท้องฟ้า...more15minPlay
March 15, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 15 มี.ค.2565เศรษฐกิจหมุนเวียน เสื้อเก่าทำเป็นเสื้อใหม่แฟชั่นเสื้อผ้าเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ผู้คนพากันเกาะติดกระแสนิยม เห็นเสื้อถูกใจก็จะซื้อ ใส่ยังมีทันเบื่อ บางทียังไม่ทันเปลี่ยนฤดูก็จะทิ้งไป ในไต้หวันประชากรอายุ 20 ถึง 45 ปี มีเสื้อผ้าเฉลี่ยคนละ 75 ชิ้น ในจำนวนนี้ 20% ที่ไม่เคยนำมาสวมใส่เลยก็ยังมีเสื้อผ้ามีราคาถูก ถูกนำไปทิ้งโดยไม่เหลียวแล หรือไม่รู้สึกเสียดายจึงมีจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้คนไม่สนใจที่จะเลือกเสื้อผ้าคุณภาพสูงที่มีความทนทานเพื่อเก็บไว้ใช้นานๆ จากสถิติชี้ว่า ใน 2021 ปีที่ผ่านมา ปริมาณขยะเสื้อผ้าเก่ามีมากถึง 70,000 ตัน เสื้อผ้าถูกทิ้งเฉลี่ย นาทีละ 437 ตัว ตัวเลขนี้กำลังพุ่งทะยานขึ้น เสื้อผ้าเก่าเหล่านี้ย่อยสลายยากในธรรมชาติก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นปัญหามลภาวะทีมออกแบบ T8K ของไต้หวันที่ตระหนักถึงปัญหาแฟชั่นขยะเหล่านี้ และเพื่อต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ทำการวิจัยพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตเส้นใยที่ใช้เสื้อผ้าเก่าเป็นวัตถุดิบ ทำการแยกเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ขจัดสี จากนั้นจึงรวมเส้นใยขึ้นมาใหม่ เป็นการทำเสื้อผ้าเก่าให้กลายเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเสื้อผ้าใหม่ ถือเป็นการลดการใช้พลาสติกในอุตสหกรรมปิโตรเคมี และแก้ปัญหาขยะด้วย...more15minPlay
March 08, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 8 มี.ค. 2565เฟซบุ๊กยังคงเป็นโซเชียลมีเดียยอดนิยมที่สุดในไต้หวันโซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคนยุคใหม่ บริษัทที่ปรึกษาการตลาด PILOT GROUP ร่วมมือกับ OpView รายงานความนิยมสื่อโซเชียลมีเดียในไต้หวัน ระบุว่า แม้จำนวนผู้ใช้ FB ทั่วโลกในแต่ละวันจะมีจำนวนลดลงและกลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัย (สว.) แต่ผลการสำรวจในไต้หวันชี้ว่า FB ยังคงเป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่ผู้คนนิยมมากที่สุด ในปี 2021 มีจำนวนการปฏิสัมพันธ์บน FB 700 ล้านครั้ง มากที่สุดในบรรดา 5 สื่อโซเชียลหลักในไต้หวัน ซึ่งประกอบด้วย FB, PTT, YouTube, Dcard, instagramอย่างไรก็ตาม Dcard มีอัตราการเติบโตสูงสุด ในปี 2021 มีจำนวน 34 ล้าน comments เพิ่มขึ้น 34.4% เนื่องจากในภาวะโรคโควิด-19 ระบาด มีผู้เข้าไปใน Dcard สอบถามเกี่ยวกับการดูแลเด็กเพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการจัดกิจกรรมชิงรางวัลมากในปี 2021ในปี 2021 ผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียในไต้หวันมีความสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกัน กลุ่มผู้นิยม FB สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร เครื่องสำอาง ผู้ใช้ PTT จะสนใจด้านการแพทย์ กีฬา อุปกรณ์ 3C (เครื่องไฟฟ้าและไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์) สื่อ YouTube กลายเป็นช่องทางถ่ายทอดสดของรายการข่าวทีวี (ช่องข่าวของสถานโทรทัศน์ได้พากัน Live ผ่านทาง YouTube) ผู้ชม YouTube สนใจเรื่องโรคระบาดมากที่สุด ผู้ใช้ Dcard สนใจเรื่องโอลิมปิกโตเกียวเกม ภาวะโรคระบาด เรื่องการตั้งครรภ์ การดูแลเด็ก ปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ และ กลุ่มผู้ใช้ Instagram ชอบเรื่องการแพทย์ กีฬา เช่นโอลิมปิกโตเกียวเกม เป็นต้น...more15minPlay
March 01, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 1 มี.ค.2565นาข้าวอัจฉริยะในภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบและความเสียหายต่อการเกษตรรุนแรงขึ้น การปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวไต้หวัน ตามสถิติระบุว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การปลูกข้าวของไต้หวันได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศคิดเป็นมูลค่าเกือบ 10,000 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งการปลูกข้าวแบบดั้งเดิมจะต้องอาศัยความชำนาญของเกษตรกรในการดูสภาพต่างๆ ด้วยตาและตัดสินใจแก้ไขด้วยประสบการณ์ไต้หวันเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน ส่งผลต่อการผลิตข้าวถดถอยนอกจากนี้ ในปัจจุบันไต้หวันกำลังเผชิญกับภาวะประชากรสูงวัยและการมีบุตรน้อย จำนวนผู้ยึดอาชีพเกษตรกร การทำนาลดลง อีกทั้งเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ประกอบกับเกษตรกรรุ่นใหม่ขาดความรู้ความชำนาญ ส่งผลต่อการผลิตข้าวของไต้หวันอยู่ในภาวะถดถอย จึงต้องอาศัยเทคโนโลยี ICT(Information and Communication Technology) ประสานกับอุปกรณ์ตรวจวัดและอุปกรณ์เซ็นเซอร์ เครื่องจักรการเกษตร พัฒนาเป็นนาข้าวอัจฉริยะ มีการควบคุมการผลิต โดยใช้โดรนถ่ายภาพเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และบริหารจัดการนาข้าว ติดตามสภาพนาข้าวได้อย่างแม่นยำ เป็นการประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลาเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเร่งด่วนไต้หวันเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องพัฒนาเป็นนาข้าวอัจฉริยะการพัฒนานาข้าวอัจฉริยะของไต้หวัน แบ่งย่อยเป็นระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบการขนส่งต้นกล้า การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเคลือบผงเหล็ก บริหารจัดการป้องกันแมลง การตรวจดูนาข้าวการจัดการน้ำ และการให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว การบริหารยุ้งข้าว ได้ใช้ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะจนประสบความสำเร็จ การปลูกข้าวในไต้หวันส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการเพาะต้นกล้า แล้วจึงย้ายไปปลูกในนาข้าว กระบวนการเพาะต้นกล้าแม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรใช้อัตโนมัติและใช้สายพานลำเลียง แต่ในขั้นตอนการนำกระบะเมล็ดพันธุ์ข้าววางบนแปลงดิน เพื่อเพาะให้งอกเป็นต้นกล้าจนเติบโตได้ขนาดแล้ว จะต้องทำการเก็บต้นกล้าในกระบะโดยม้วนให้กลายเป็นแท่งกลม แล้วจึงยกวางขึ้นบนสายพานเพื่อลำเลียงส่งไปใช้ปักดำในนาข้าวต่อไป กระบวนการที่กล่าวมานี้ต้องอาศัยแรงงานคน ในภาวะที่ไต้หวันขาดแคลนแรงงาน คณะกรรมการการเกษตรจึงได้พัฒนาแขนกลหยิบจับเพื่อทำให้ขั้นตอนต่างๆ ดำเนินไปโดยอัตโนมัติ ในอนาคตการทำงานในแปลงต้นกล้า เกษตรกรเพียงคนเดียวก็สามารถทำหน้าที่คุมเครื่องจักรได้เอง กระบวนการทุกอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้กำลังคนก้มๆ เงยๆ อีกต่อไป ประหยัดคน ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมไต้หวันวิจัยพัฒนาแขนกล ใช้หยิบจับในกระบวนการเพาะต้นกล้า...more15minPlay
February 22, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565การเข้ามาของเทคโนโลยีส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเทคโนโลยีช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การสอน การสั่งซื้อสินค้า การใช้บริการทางการเงิน หรือแม้แต่การยืมหนังสือในห้องสมุด ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงทุกที่ ทุกเวลา โดยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ,แท็บเล็ต,คอมพิวเตอร์ หรือผ่านทางแอปพลิเคชันต่างๆ อย่างเมื่อก่อนผู้ใช้บริการจะเข้าห้องสมุดเพื่อนั่งอ่านหนังสือเงียบๆ หรือยืมหนังสือเป็นเล่มๆ ออกจากห้องสมุด แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผู้ใช้บริการจึงมีทางเลือกในการสืบค้นข้อมูลจากสื่อดิจิทัล เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)ได้ง่ายขึ้นหอสมุดแห่งชาติไต้หวันแถลงว่า การยืม E-Book ในปี 2020 มีจำนวน 210,000 เล่ม ปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 680,000 เล่ม ถือว่าแซงหน้าหนังสือกระดาษเป็นครั้งแรก หัวข้อที่ชอบได้แก่ การพัฒนาตนเอง,ภาวะต่างประเทศ,การตลาด,การบริหารธุรกิจ ซึ่งในปี 2021 ที่ผ่านมา เนื่องจากไต้หวันดำเนินมาตรการป้องกันโรคระบาดระดับ 3 หอสมุดแห่งชาติไต้หวันเปิดบริการน้อยกว่าปี 2020 จำนวน 28 วัน มีผู้เข้ารับบริการ 1.01 ล้านคน เทียบกับปีก่อนหน้าลดลง 770,000 คนหลี่ซิ่วฟ่ง (李秀鳳) ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติไต้หวันบอกว่า ผู้คนไปใช้บริการที่หอสมุดลดลง ทำให้การยืมหนังสือกระดาษลดลงเกือบ 300,000 เล่ม ยืมเพียง 469,004 เล่ม ลดลง 38.91% อย่างไรก็ตาม ความต้องการอ่านของประชาชนไม่ได้ลดลง เพียงแต่ว่ารูปแบบการอ่านหนังสือเปลี่ยนจากการยืมหนังสือกระดาษกลายเป็นยืม E-Book ซึ่งการยืม E-Book มีจำนวนมากถึง 679,090 เล่ม เพิ่มขึ้น 44.68% เทียบกับปี 2019 ถือว่าเติบโตมากถึง 3 เท่า และแซงหน้าหนังสือกระดาษเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ การสมัครเป็นสมาชิกผ่านห้องสมุดเสมือนจริง (Virtual) ได้รับความนิยมมากขึ้น ในปี 2021 มีผู้สมัครเป็นสมาชิกเพิ่ม 25,334 คน...more15minPlay
February 15, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ทีมวิจัยคณะวิศวกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง(National Cheng Kung University:NCKU) ซึ่งตั้งอยู่ที่นครไถหนาน ทางภาคใต้ของไต้หวัน ประดิษฐ์ดาวเทียม ขนาดเล็ก IRIS-A ยิงเข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2022 โดยจรวจ Falcon 9 ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ระดับความสูง 500 กว่ากิโลเมตรม. เฉิงกง แถลงข่าวในวันที่ 27 มกราคม 2022 ว่า ทีมนักศึกษาภายใต้การดูแลของ ศ. จวงจื้อชิง (莊智清) สาขาวิศวกรรมเครื่องกลไฟฟ้า ได้ประดิษฐ์ดาวเทียมน้ำหนัก 2 กิโลกรัม กว้าง ยาว สูง 10cm x 10cm x 20 cm เป็นโครงการต่อเนื่องจากดาวเทียมขนาดเล็ก Phoenix ที่ประสบความสำเร็จในการยิงเข้าสู่วงโคจรเมื่อปี 2017 ทั้งนี้ ดาวเทียม Phoenix ใช้งานตั้งแต่ปี 2017 หลังจากใช้งานเป็นเวลา 2 ปี ได้หยุดใช้งานเมื่อปี 2019 ทางมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ของไต้หวัน จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาดาวเทียมต่อเนื่อง สร้างดาวเทียมขนาดเล็ก IRIS มีชื่อเต็ม Intelligent Remote sensing and Internet Satellite เป็นดาวเทียมอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกล มีความสามารถสนับสนุนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) ซึ่งโครงการดาวเทียม IRIS ประกอบด้วยดาวเทียม 3 ดวง โดยดวงแรกประสบความสำเร็จในการยิงเข้าสู่วงโคจรและเชื่อมต่อมายังภาคพื้นโลก แสดงให้เห็นว่าระบบดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นและฟังก์ชันการทำงานต่างๆ มีความสุกงอมใช้งานได้จริง คาดว่าดาวเทียม IRIS จะมีอายุการใช้งานนาน 6-7 ปีทีมวิจัยคณะวิศวกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ม.เฉิงกง นำโดย ศ.จวงจื้องชิง(ภาพกลาง)ศ. จวง บอกด้วยว่า การพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กมีข้อดีคือ สร้างสำเร็จได้ในเวลาสั้นและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีส่วนช่วยในการพัฒนาการสื่อสารระบบดาวเทียมเชื่อมต่อกับเขตชนบทห่างไกล ในทะเล และยังสามารถใช้ในการช่วยเหลือกู้ภัยการติดตามคนและสิ่งของ เป็นต้น ประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้การเชื่อมต่อระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความราบรื่นไร้รอยตะเข็บดาวเทียม IRIS ที่ยิงเข้าสู่วงโคจรเคลื่อนตัวแบบวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit : SSO) การเคลื่อนมาอยู่เหนือน่านฟ้าไต้หวันไม่มีกำหนดเวลาประจำ แต่สามารถคำนวณเวลาที่จะเคลื่อนตัวมาถึงได้ และจะเคลื่อนผ่านสถานีภาคพื้นดินวิทยาเขตกุยเหริน (歸仁) ของ ม. เฉิงกง วันละ 4 ครั้ง ซึ่งขณะนี้ ทางทีมวิจัยกำลังพัฒนา IRIS –B และ IRIS-C เป็นลำดับต่อไป คาดว่าจะยิงเข้าสู่วงโคจรในปี 2023 โดยวัตถุประสงค์การพัฒนาดาวเทียม IRIS-B เพื่อจัดการข้อมูลกาการวิเคราะห์และจดจำภาพประสานกับ AI ส่วน IRIC-C จะเน้นการพัฒนาทดสอบสมรรถนะแท้จริงของอปุกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ ในสภาวะไร้น้ำหนักขณะอยู่ในอวกาศ ชิ้นส่วน IRIS-A ก่อนการติดตั้ง...more15minPlay
February 08, 2022ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565ไต้หวันพัฒนาแผ่นชิป AI ทำให้โดรนบินได้เองราวกับแมลงวันทีมวิจัย มหาวิทยาลัยชิงหัว (National Tsing Hua University) ประสานการวิจัยข้ามสาขาระหว่างเครื่องกลกับชีววิทยาสร้างแผ่นชิป AI เลียนแบบประสาทการมองของแมลงวันผลไม้ ทำให้โดรนบินได้เองราวกับแมลงวัน สำหรับโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายรูปทำงานร่วมกับแผ่นชิปดังกล่าว สามารถจำแนกวัตถุสิ่งของ หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ในขณะบินด้วยความเร็วสูง ในอนาคตจะประยุกต์ใช้ในการกู้ภัยและใช้ในระบบการควบคุมอัจฉริยะ เป็นต้นศ. เจิ้งกุ้ยจง (鄭桂忠) คณะวิศวกรรมเครื่องกลไฟฟ้า แถลงในวันที่ 27 มกราคม 2022 ว่า ปัจจุบันการมองภาพเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ (Computer Vision) จะต้องอาศัยการถ่ายภาพนิ่งหลายภาพติดต่อกัน จากนั้นส่งเข้าระบบประมวลผลในคอมพิวเตอร์ ที่มี Big Data ภาพถ่ายจำนวนมหาศาล เพื่อการวิเคราะห์ภาพ จึงไม่เหมาะที่จะติดตั้งในโดรน เพราะคอมพิวเตอร์แบบนี้มีน้ำหนักมาก ทำให้โดรนเคลื่อนตัวช้า สิ้นเปลืองพลังงานมาก จึงบินได้ไม่ไกลทีมวิจัย ม.ชิงหัว พัฒนาแผ่นชิป AI ทำให้โดรนบินได้เองราวกับแมลงวันเพื่อทลายขีดจำกัดดังกล่าว ทีมวิจัยของ ม. ชิงหัว นำโดย ศ. เจิ้งกุ้ยจง ได้ร่วมมือกับ ศ. หลัวจงเฉวียน(羅中泉) คณะชีววิทยา ประสบความสำเร็จเบื้องต้นในการผลิตแผ่นชิป AI เลียนแบบประสาทการมองของแมลงวันผลไม้ ศ. หลัวจงเฉวียนเป็นผู้ค้นคว้าวิจัยการมองของแมลงบอกว่า การวิจัยระบบประสาทของแมลงวันผลไม้ตัวเล็กๆ หรือผึ้ง พบว่าพวกมันใช้หลักการเดินทางของแสง หรือ Optical Flow Method ทำให้รู้ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ รู้ระยะห่างระยะใกล้-ไกล และรู้ความเร็วในการเคลื่อนไหว ด้วยการจับภาพเค้าโครงร่างรูปทรงเรขาคณิตของสิ่งต่างๆ เพื่อทำการจำแนกสิ่งกีดขวางศ.เจิ้งกุ้ยจงยังบอกด้วยว่า แผ่นชิปที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้ใช้วิธีการประมวลผลโดยเลียนแบบเครือข่ายประสาทสมองของแมลงวันผลไม้ โดยขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น การกำหนดดัชนีถ่วงน้ำหนักภาพฉากหลักเป็น 0 จึงทำให้ทีมวิจัยจึงมีความสำเร็จก้าวหน้าอย่างมากในการค้นคว้าวิจัย computer vision ที่ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งประหยัดพลังงานอีกด้วย ซึ่งในอนาคตทางทีมวิจัยคาดหวังว่า จะนำเทคโนโลยีใหม่นี้ไปสู่การผลิตโดรนที่มีขนาดเล็กเท่ากับตัวผึ้ง บินไปช่วยเหลือกู้ภัยในเวลาเกิดแผ่นดินไหว เข้าไปช่วยเหลือค้นหามนุษย์ได้ อีกทั้งพัฒนาเป็นโดรนที่อำพรางตัวได้อีกด้วย...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 356 episodes available.