ปัญหาการเดินทางสัญจรต้องแก้ด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ดีก่อน หรือแก้ที่ตัวเราก่อน?
รู้ไหมว่าเราอยู่ในสังคมที่เมื่อโตพอและเงินถึงปั๊บ ก็ซื้อรถยนต์สักคันกันโดยไม่ได้รู้สึกอะไร เป็นค่านิยมที่ถูกปลูกฝังโดยใคร ตั้งแต่เมื่อไหร่ และพาเรามาสู่จุดนี้ได้อย่างไร
รถติดในกรุงเทพฯ เมื่อก่อนเป็นอย่างไร ระบบวรรณะบนท้องถนนคืออะไร สะพานลอยเวิร์กจริงไหม ทางจักรยานล่ะ โครงการรถคันแรกของรัฐบาลก่อนนู้นล่ะ ทางเท้าที่เหมือนกับระเบิดล่ะ ทางด่วนล่ะ รถเมล์ล่ะ ฯลฯ
อะไรที่อยู่เบื้องหลังปัญหาการจราจรเหล่านี้ แล้วรัฐมีความพยายามแค่ไหนในการแก้ปัญหา (บางช่วงเราต้องกระซิบกันเบาๆ)
เสาเสาเสาล้อมวงคุยกับคุยกับสองหนุ่มใหญ่ ลุงกวิ้นและพี่โจ้ สองนักปั่นระดับมงกุฎเพชร และผู้สันทัดเรื่องระบบโลจิสติกส์ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองของรถยนต์ ถนน กับสังคมไทย ว่าทำไมตัวเองตังค์ก็มีใช้ รถก็มีขับ แล้วดันเลือกปั่นสองล้อไปทำงาน และอยากให้เราลองมาเดินทางด้วยทางเลือกอื่นๆ ดูบ้าง
เขียนยาวขนาดนี้นี่ยกม่แค่ส่วนหนึ่งของบทสนทนาสุดเพลินที่มีความยาวทะลุมิติ ย้อนอดีต มองปัจจุบัน ทำนายอนาคตกัน 4 ชั่วโมงครึ่ง!
ฟังแล้วจะรู้ว่าทำไมเราภูมิใจเสนอ!
0:00:00 แนะนำแขกรับเชิญ พี่โจ้และลุงกวิ้น
0:19:00 ย้อนอดีตรถติดกรุงเทพฯ
0:30:00 ทางจักรยานเวิร์กไหม
1:32:00 อีก 4-5 ปีจะเกิดอะไรขึ้น
1:45:00 สังคมรถเมล์รถไฟ และดราม่า ขสมก.
2:00:00 ตัวเลือก-ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
2:20:00 ถนนมีพอกับจำนวนรถหรือยัง
2:25:00 การลดทางจักรยาน และงานของตำรวจ
2:47:00 การเกิดขึ้นของถนน วรรณะของสังคมรถยนต์
3:14:00 การอยู่ร่วมกับสังคมรถยนต์