Sign up to save your podcastsEmail addressPasswordRegisterOrContinue with GoogleAlready have an account? Log in here.
เรื่องราวเทคโนโลยี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทันสมัยในไต้หวัน ติดตามได้ในรายการ ไต้หวัน Hi-Tech มีอะไรทันสมัยยิ่งกว่าแนะนำมาเลย ... more
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 356 episodes available.
September 13, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 14 กันยายน 2564Starlink ดาวเทียมวงโคจรต่ำ รุกตลาดไต้หวันดาวเทียมวงโคจรต่ำ Starlink จะรุกตลาดตลาดเข้าไต้หวันร่วมมือกับแม่ข่ายโทรศัพท์เป็นพันธมิตรขยายธุรกิจ โดยไม่เป็นคู่แข่งระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้ หลายประเทศทั่วโลกเร่งพัฒนาดาวเทียมวงโคจรต่ำ อาทิเช่น Elon Musk ประธานบริษัท Tesla ผู้ก่อตั้งบริษัทอวกาศ SpaceX ผลักดันโครงการ Starlink ส่วน Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งอเมซอน ผลักดัน Kuiper ขณะที่แคนาดามี Telesat และอังกฤษมี OneWebStarlink ดาวเทียมวงโคจรต่ำ รุกตลาดไต้หวันกระแสข่าวชี้ว่า Starlink จะรุกเข้าสู่ตลาดไต้หวัน บริษัท จงหัว เทเลคอม (อดีตองค์การโทรศัพท์) แม่ขายโทรศัพท์รายใหญ่ในไต้หวันมีความกระตือรือร้นในการติดต่อร่วมมือระหว่างกัน คาดว่าจงหัวเทเลคอมจะเป็นตัวแทนให้บริการในไต้หวัน โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งในเดือนตุลาคม ปี 2020 Starlink โดย SpaceX เริ่มโครงการ better than nothing beta ผู้ใช้บริการจะต้องซื้ออุปกรณ์รับส่งสัญญาณ 499 เหรียญสหรัฐฯ แต่ละเดือนจ่าย 99 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งยังไม่นับรวมค่าขนส่ง ค่าติดตั้งอุปกรณ์เสาอากาศ เพื่อใช้บริการ WiFi ถือว่าค่าบริการค่อนข้างสูงในไต้หวันสัญญาณ 4G และ 5G ครอบคลุม 99 % ของประเทศ อัตราค่าบริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ในไต้หวันจ่ายรายเดือนไม่เกิน 1,000 เหรียญไต้หวันโดยใช้เน็ตไม่อั้น หากเทียบกับ Sarlink ที่ผู้ใช้งานต้องจ่ายค่าเช่าเดือนละ 99 เหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ 2,800 เหรียญไต้หวัน ถือว่าแข่งขันกับแม่ข่ายในไต้หวันไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องบิน เรือ ยังคงมีความต้องการ ใช้ระบบสื่อสารของดาวเทียมวงโคจรต่ำ จึงเชื่อว่าผู้พัฒนาดาวเทียมวงโคจรต่ำต่างประเทศจะไม่แข่งขันกับแม่ข่ายโทรศัพท์ไต้หวัน แต่จะหาทางร่วมมือกันเป็นพันธมิตรเพื่อให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าเฉพาะStarlink ดาวเทียมวงโคจรต่ำ รุกตลาดไต้หวันคณะกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม (NCC) ของไต้หวันชี้ว่า ตลาดการสื่อสารไร้สายในไต้หวัน ณ. เดือนมิถุนายนปี 2021 มีผู้ใช้งาน 29.51 ล้านบัญชี เทียบกับประชากร 23 ล้านคน จะเห็นว่าจำนวนอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มีมากเกินจำนวนประชากร จากการประเมินของบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลสื่อสาร Tefficient ปี 2020 ไต้หวันมีปริมาณสื่อสารสูงอันดับ 2 ของโลกเป็นรองจากฟินแลนด์ ซึ่งทาง NCC ชี้ว่า ในภาวะปัจจุบันไต้หวันยังคงเน้นการสื่อสาร 5 G ภาคพื้นดิน ยังไม่มีความต้องการดาวเทียมวงโคจรต่ำ แต่สามารถเสริมกับแม่ข่ายโทรศัพท์ในไต้หวันโดยเป็นพันธมิตรกัน อาจจะทำการวิจัยพัฒนาวางแผนสำหรับการสื่อสารยุคหน้าคือยุค 6G...more15minPlay
September 06, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 7 กันยายน 2564ทีมนักศึกษา ม.เฉิงกง คณะวิศวกรรมเครื่องกลและการต่อเรือ ซุ่มสร้างเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังแรงกาย ปีหน้าจะเข้าร่วมการแข่งขันเรือดำน้ำนานาชาติที่ยุโรปมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง(National Cheng Kung University) ถือเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ที่นครไถหนานของไต้หวัน สร้างขึ้นในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองไต้หวัน เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงการวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์และวัสดุศาสตร์ที่ได้รับรางวัลมาการันตีมากมาย เป็นมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนรัฐบาล ตามนโยบายไต้หวันจะสร้างเรือดำน้ำด้วยตนเอง ทางมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่เปิดสอนทั้งในส่วนของเทคโนโลยีเรือดำน้ำ วิชากลศาสตร์ แนวความคิดในการออกแบบ เป็นต้น มีหลักสูตรขั้นพื้นฐานจนถึงหลักสูตรขั้นสูง ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกี่ยวกับการต่อเรือที่มีความสมบูรณ์ซึ่งหาได้น้อยในทั่วโลก ทั้งนี้ ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิอเมริกากลางและใต้ใน ปี 1968 และได้จัดตั้งคณะต่อเรือขึ้นในปี 1970 ยังถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญตอบสนองโครงการไต้หวันในการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ 10 รายการ ในปี 1990 ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรการออกแบบเรือดำน้ำปริญญาโทเป็นแห่งแรกของไต้หวัน และมีการจัดทำตำราภาษาจีนเล่มแรกเกี่ยวกับเรือดำน้ำ ศต.ลู่ผันอัน( 陸磐安)ซึ่งปลดเกษียณแล้วและเคยไปศึกษาต่อที่อังกฤษในปี 1985 ได้นำเอาความรู้ตำราต่างๆ กลับมาพัฒนาหลักสูตรในไต้หวัน ในปี 1998 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาโทหลี่ซั่งเสวีย( 李尚學) ทำวิทยานิพนธ์เล่มแรกเกี่ยวกับการออกแบบเรือดำน้ำ และโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเฉิงกง ตีพิมพ์หนังสือเฉพาะทาง แนวคิดการออกเบบเรือดำน้ำเมื่อปี 2002ทีมนศ.ม.เฉิงกง ซุ่มสร้างเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังแรงกายล่าสุด นักศึกษามหาวิทยาลัยเฉิงกง คณะวิศวกรรมเครื่องกลและการต่อเรือ (Department of System Engineering and Naval Architecture, National Cheng Kung University) ฟอร์มทีมสร้างเรือดำน้ำ โดยมีนายหวังพีเฉิง(王丕丞) นักศึกษาปี 4 เป็นหัวหน้าทีม เกิดแรงบันดาลใจในการต่อเรือดำน้ำลำแรกตั้งแต่กันยายนปี 2020 หลังจากได้เห็นเรือเร็วที่นักศึกษารุ่นพี่ได้ทำการสร้างขึ้น โดยเริ่มออกแบบในเดือนพฤศจิกายน 2020 ในเดือนมกราคม ปี 2021 เริ่มสร้างเรือ ทำการทดสอบในร่องน้ำลากจูงเรือของมหาวิทยาลัย ในปี 2022จะส่งเข้าแข่งขันเรือดำน้ำนานาชาติยุโรป(Europe International Submarine Races) ซึ่งนับเป็นทีมแรกของเอเชียที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้ การแข่งขันเรือดำน้ำนานาชาติยุโรปจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2012 มีการจัดทุก 2 ปี เป็นเวทีสำหรับนักศึกษาทั่วโลกในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบเอง การแข่งขันจะต้องขับในเส้นทางตรง เลี้ยวโค้งรัศมี 25 เมตร อ้อมผ่านสิ่งกีดขวาง การตัดสินแบ่งเกณฑ์ ความเร็วในการขับเคลื่อน และการออกแบบสร้างสรรค์ใหม่ทีมนศ.ม.เฉิงกง ซุ่มสร้างเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังแรงกายนศ.มหาวิทยาลัยเฉิงกง จัดตั้งทีมภายใต้การแนะนำของอาจารย์และวิศวกรในวงการอาชีพ ทำการสร้างเรือโดยใช้วัสดุ FRP ในการขับเรือ ใช้แรงกายคน โดยผู้ขับเรือสวมชุดประดาน้ำติดตั้งถังออกซิเจน ขับเคลื่อนเรือดำน้ำโดยใช้วิธีการถีบใบจักร ซึ่งอยู่ส่วนท้ายของเรือ และใช้สายดึงรั้งปีกเรือเพื่อบังคับทิศทาง การสร้างเรือในครั้งนี้ได้รับเงินสนับสนุนและวัสดุจากหลายฝ่าย ในส่วนของภาคเอกชน อย่างบริษัท Horizon Yachts สนับสนุนวัสดุ FRP เพื่อการสร้างตัวเรือ ในส่วนของเงินสนับสนุนได้รับจากคณะวิศวะ จากชมรมศิษย์เก่าของคณะ มีการรับสมัครทีมงานเพิ่มขึ้น ทำการสร้างต้นแบบแม่พิมพ์เรือโดยใช้เครื่องจักร CNC ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ในเดือนมีนาคมเริ่มรับสมัครนักกีฬาที่จะเป็นผู้ขับเรือดำน้ำ โดยได้คัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ในการปั่นจักรยาน เป็นนักศึกษา 2 คนจากคณะอวกาศและอากาศยาน ของมหาวิทยาลัยเฉิงกง แม้ประสบปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 และการต้องเข้าชั้นเรียนปกติ ทำให้การก่อสร้างค่อนข้างล่าช้า แต่นักศึกษาได้อาศัยช่วงปิดภาคฤดูร้อนเร่งงานให้เร็วขึ้น ขณะนี้เริ่มทำการปรับปรุงชิ้นส่วนและจะสร้างเสร็จในปลายเดือนกันยายนนี้ทีมนศ.ม.เฉิงกง ซุ่มสร้างเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังแรงกาย...more15minPlay
August 30, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2564 ทีมวิจัย ม. NTNU ของไต้หวัน พบว่าสารแคทีชิน (catechins) ที่สกัดจากชาเขียวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยับยั้งโควิด-19 ได้ เครื่องดื่มชาให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เป็นเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับในใบชาสดหรือชาเขียวที่มีฤทธิ์ทางยาที่สำคัญที่ชื่อว่า แคทีชิน (catechins) นักวิทยาศาสตร์พบว่า มีฤทธิ์ต้านโรคภัยได้มากมาย สามารถจับกับอนุมูลอิสระได้หลายชนิดและขัดขวางการปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้ ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา โดยชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆ ก่อนแห้ง หรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า "ชาเขียว" และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ ทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสองศ. เจิ้งเจี้ยนถิง ใช้เวลา 17 ปี วิจัยสารแคทีชิน ขณะนี้ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยซือต้า (National Taiwan Normal University -NTNU) ค้นพบสารแคทีชิน ซึ่งเป็นสารประกอบ Polyphenols ในชาเขียว มีสรรพคุณต้านเชื้อไวรัสโควิค-19 เสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดปัญหาปอดถูกทำลายเฉียบพลัน ผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์ใน “Antioxidants” วารสารระดับโลกเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยศาสตราจารย์เจิ้งเจี้ยนถิง (鄭劍廷) อาจารย์พิเศษ School of Life Science (วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต) ม. ซือต้า ทำการวิจัยสารแคทีชิน ตั้งแต่เกิดการระบาดโรคซาร์สใน ปี 2003 โดยทำการทดลองมาตลอด ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 17 ปีพบว่า สารแคทีชินมีสรรพคุณ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านไวรัส ต้านเชื้อโรค และล่าสุดยังพบว่าสามารถต้านเชื้อโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ได้ด้วย ซึ่งในการทดลองพบว่า สารแคทีชินที่มีความเข้มข้น 195 ไมโครกรัม จะยับยั้งการขยายตัวหรือการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 และนอกจากนี้ ยังสามารถป้องการการแพร่ขยายหรือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ศ. เจิ้งเจี้ยนถิงยังกล่าวว่า แม้สารแคทีชินสามารถได้รับจากการดื่มชาเขียวทั่วไป แต่ว่าปริมาณของสารแคทีชินไม่เพียงพอต่อการยับยั้งเชื้อไวรัส จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการสกัดที่เชี่ยวชาญ และต้องขจัดสารคาเฟอีนออกไปก่อน จะไม่เหมือนกับสารแคทีชินในชาเขียวที่ขายในท้องตลาด แต่ถ้าดื่มชาเขียวเพื่อต้านโควิด 19 ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 50 ก.ก. ให้รับประทานสารแคทีชิน วันละ 2.5 กรัม โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 1.25 กรัม หรือ 3 ครั้ง ครั้งละ 0.83 กรัม ก็ได้ จะทำให้สารแคทีชินอยู่ในการแสเลือดในปริมาณที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการขยายตัวของไวรัสโควิดได้ทีมวิจัย ม. NTNU ของไต้หวัน พบสารแคทีชินที่สกัดจากชาเขียวยับยั้งโควิด-19 ได้ ซึ่งผลงานนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสารระดับโลก ผู้ร่วมเขียนวิทยานิพนธ์ลำดับที่ 1 นายหยางจือชิง (楊芝青) ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานอาหารและยาของไต้หวันระบุว่า ทั่วโลกกำลังถูกคุกคามจากโควิด-19 ในต่างประเทศมีข่าวผู้รับวัคซีนโควิด 2 เข็มแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคโควิด การใช้สารแคทีชินช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน จะต้านการระบาดของโควิด-19 ได้ ผู้ร่วมเขียนวิทยานิพนธ์อีกท่าน นายอู๋จางเจ๋อ (吳彰哲) คณบดี คณะวิทยาศาสตร์การอาหาร ม. National Taiwan Ocean University บอกว่า ที่ผ่านมานั้นมีการยืนยันว่าแคทีชินสามารถต่อต้านไวรัสไข้หวัดได้ ผลการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายับยั้งโควิด-19 ได้ ยังช่วยลดอาการปอดถูกทำลาย เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคโควิด...more15minPlay
August 23, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นแหล่งแบตเตอรี่สำรอง ไต้หวันทดลองปลั๊กชาร์จไฟอัจฉริยะแห่งแรกจากการที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีประจุไฟฟ้ามากขึ้นทำให้รถยนต์วิ่งได้ไกลขึ้น ขณะเดียวกันในไต้หวันมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีมากกว่า 15,000 คัน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นแหล่งแบตเตอรี่สำรองเคลื่อนที่ โดยสามารถปล่อยไฟกลับเข้าระบบปิดเหรือแม้แต่ชาร์ตเข้าโครงข่ายไฟฟ้าพื่อป้อนไฟฟ้าในยามฉุกเฉินได้ บริษัทไต้หวันพาวเวอร์ (อดีตการไฟฟ้าไต้หวัน) ได้ติดตั้งจุดชาร์จแบตเตอรี่อัจฉริยะทดลองใช้งาน 2 จุดในกรุงไทเป บริเวณมหาวิทยาลัยไถต้า (NTU) และ มหาวิทยาลัยไถเคอต้า (NTUSC) การติดตั้งจุดชาร์จไฟอัจฉริยะ 50 kw 2 ชุด มีความสามารถชาร์จแบตเตอรี่และปล่อยไฟกลับเข้าโครงข่ายไฟฟ้าได้ ใช้มาตรฐานสหรัฐฯ CCS1 และมาตรฐานญี่ปุ่น CHAdeMO อินเตอเฟซการชาร์จไฟ 2 ชนิด ใช้งานกับรถยี่ห้อต่างๆ ได้ อย่าง รถยนต์เทสล่าโมเดล 3 ชาร์จไฟ 90 นาที ชาร์จได้ความจุ 80% ขณะที่ Nissan LEAF 1 ชั่วโมงชาร์จได้เต็ม นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้เปิดระบบบริหารไฟฟ้าอัจฉริยะจุดชาร์จไฟ V2G โดยนำเอารถไฟฟ้า 3 คัน Tesla Model 3、Nissan LEAF และAudi e-tron มาทดลองการชาร์จไฟ V2Gบริษัทไต้หวันพาวเวอร์ยังบอกด้วยว่า ในปีนี้ได้ผลักดันระบบไฟฟ้าอัจฉริยะไฟฟ้า IoT การประยุกต์ระบบใหม่ ปีที่แล้ว ที่เกาะจินเหมินมีการติดตั้งจุดทดลองชาร์จไฟอัจฉริยะประสานการผลิตไฟฟ้า การเก็บไฟฟ้า และการใช้พลังงานไฟฟ้า ถือเป็นเกาะทดลองคาร์บอนต่ำอัจฉริยะ ปัจจุบันได้ร่วมมือกับ แม่ข่ายโทรศัพท์ Far East Tone ติดตั้งศูนย์ทดลอง ตอนนี้ในไต้หวันนอกจากจะเชื่อมต่อเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะแล้ว ยังจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และการชาร์จไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ยังเป็นระบบการชาร์จจากเครือข่ายไฟฟ้าเข้าไปที่รถยนต์ แต่ไต้หวันพาวเวอร์กำลังทดลองติดตั้งจุดชาร์จไฟ 50kw หัวชาร์ตไฟกระแสตรง กระบอกชาร์จ 2 ตัว แต่ละครั้งชาร์จรถยนต์ 4 คัน เป็นการชาร์จไฟ และปล่อยไฟ แบบสองทาง อย่างเช่น Nissan LEAF ในยามที่เครือข่ายไฟมีความต้องการ จะปล่อยไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์กลับไปที่เครือข่ายได้ถึง 15 kw เป็นแหล่งไฟสำรองได้อย่างดีนอกจากนี้ยังมีระบบ energy management system EMS อาศัย การควบคุมชาร์จไฟจากทางไกล เพื่อความปลอดภัยจากการชาร์จไฟและยังปรับระบบชาร์จไฟอัจฉริยะ กำหนดตั้งเวลาการชาร์จไฟหลีกเลี่ยงช่วงพีค เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเสถียรให้แก่เครือข่าย ยังปรับเปลี่ยน EMS ให้สอดคล้องกับช่วงเวลา off peak ของบริษัทไต้หวันพาวเวอร์ นอกจากชาร์ฟได้เต็ม ยังได้ส่วนลดการชาร์จไฟช่วง off peak และในปีนี้ยังเปิดให้ประชาชนทดลองชาร์จไฟฟรีในวันปกติ ระหว่างเวลา 08:00 น ถึง 17:00 น แต่จะต้องทำการลงทะเบียนที่จุดบริการชั้น 1 ของบริษัทก่อน...more15minPlay
August 16, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2564Windows 11 มาแล้ว ตลาด PC คึกคัก สื่อไต้หวันเตือน ติดตั้ง windows 11 ระวังมีโฆษณาไวรัสจากโปรแกรมปลอมไมโครซอฟท์เปิดตัว windows 11 เกิดกระแสความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ บริษัท Asus เชื่อว่าตลาด PC ไม่หดตัว แถมจะขยายตัวจนถึงต้นปีหน้า ขณะที่สื่อในไต้หวันเตือน ติดตั้ง windows 11 ระวังมีโฆษณาไวรัสจากโปรแกรมปลอม และหลังจากที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 11 แล้ว ทำให้มีความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ PC ที่ผ่านมานั้น นักวิเคราะห์มองว่าตลาด PCไตรมาส 4 อาจจะหดตัว แต่บริษัท Asus ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในไต้หวันเห็นว่าตลาด PC ยังคงมีอนาคตที่ดี คาดว่าบรรดาร้านค้าสินค้า ไอที จะทำการสั่งสินค้าเพิ่ม คาดว่ายอดขาย PC ปี 2021 นี้ มีจำนวน 24 ล้านเครื่อง ในปีหน้าก็ยังมีโอกาสขยายตัวเพิ่มได้หลังการระบาดโรคโควิด-19 ซือโฉงถัง (施崇棠) ผู้อำนวยการบริหาร Asus กล่าวว่า การทำงานและการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป การทำงานในยุคดิจิตอลจะก้าวไปข้างหน้าไม่มีการถอยหลังกลับทำให้ความต้องการเครื่อง PC ที่มีการใช้งานสะดวกขยายตัวขึ้น นำมาซึ่งโอกาสธุรกิจที่ขยายตัวอย่างมหาศาลทางด้านสื่อในไต้หวันเตือนว่า Microsoft เปิดตัว windows 11 เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 คาดว่า จะเปิดให้ดาวโหลดอย่างเป็นทางการในฤดูหนาวปี 2564นี้ ในขณะนี้เปิดให้ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นทดลอง มิจฉาชีพฉวยโอกาสปลอมแปลง windows 11 แฝงโฆษณาและไวรัสโทรจัน ผู้เชี่ยวชาญเตือนจะต้องดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ทางการของ Microsoft เท่านั้นกลุ่มมิจฉาชีพถือโอกาสแฝงโปรแกรมโฆษณาหรือไวรัส ยกตัวอย่างไฟล์ 86307_windows 11 build 21996.1 x64 activator.exe ขนาด 1.75 GB ดูแล้วก็ไม่มีข้อสงสัย แต่ข้างในเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ มีโฆษณาที่สร้างความรำคาญ และยังมีไวรัสโทรจันซึ่งจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา ขโมย user name และ password มีพิษสารพัดอย่าง...more4minPlay
August 09, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564การขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (E-Mobility)เตรียมพร้อมเพื่ออนาคตปี 2021 เป็นปีที่ทั่วโลกมุ่งพัฒนา EV (Electric Vehicle) ยานยนต์ไฟฟ้า อย่างกระตือรือร้น ทุ่มเทกันอย่างเต็มที่ ไต้หวันมี Gogoro รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีหงไห่พรีซิชั่น นำทีมรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งการเปลี่ยนเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้าเหมือนกับเป็นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่อาจสู้โดยบริษัทเดียวแต่จะต้องรวมทีมกัน ไต้หวันจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับยุคยานยนต์ไฟฟ้าประเทศต่างๆ ตื่นตัวการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอร์เวย์ เยอรมนี อังกฤษ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เป็นต้น ได้ประกาศหยุดใช้รถยนต์น้ำมันและผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า กำหนดตารางเวลาการให้เงินอุดหนุน EU ดำเนินมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซที่เข้มงวด ตั้งแต่มกราคม ปี 2021 ประเทศสมาชิกเยอรมนี และฝรั่งเศสเพิ่มการอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ขึ้นดำรงตำแหน่งได้ให้คำมั่นจะทำการเปลี่ยนรถยนต์รัฐบาล 650,000 คัน เปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในอนาคตจะทุ่มงบประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าเมื่อถึงปี 2050 บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์ ยกระดับเข้าสู่ยุคพลังงานสะอาด 100 %กระทรวงเศรษฐการของญี่ปุ่นได้กำหนดว่า กลางปี 2030 ห้ามจำหน่ายรถยนต์น้ำมัน จำหน่ายได้เฉพาะรถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า แม้จีนยังไม่กำหนดเวลาแน่ชัดในการหยุดจำหน่ายรถยนต์น้ำมัน แต่ก็มีการตื่นตัวใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น อินเดียกำหนด ปี 2025 รถมอเตอร์ไซค์ทั้งหมดต้องเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า เริ่มปี 2030 จำหน่ายได้เฉพาะรถน้ำมัน โดยรวมการหยุดใช้รถน้ำมันถือเป็นนโยบายประเทศต่างๆในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าโอกาสและความท้าทายของไต้หวันหงไห่พริซิชั่น จัดตั้ง platform MIH เป็นการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้า เปิดยุคการรวมทีมก้าวเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้าของไต้หวัน ที่ผ่านมานั้น ไต้หวันเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับ Tesla เช่น ชุดสายไฟแบตเตอรี่ เกียร์และฟันเฟือง เป็นต้น จากนั้นขยายเข้าสู่การผลิตแผ่นแบตเตอรี่ลิเธียม วัสดุแบตเตอรี่ขั้วบวก พัดลมระบายความร้อน ไฟ LED กระจกรถยนต์ แผงควบคุม แผงหน้าปัด หัวชาร์จแบตเตอรี่ คอมพิวเตอร์ควบคุมระบบรถยนต์ เป็นต้น ไต้หวันผลิตทั้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ ตัวถังรถยนต์ แบตเตอรี่ ระบบชาร์จแบตเตอรี่ มอเตอร์ เป็นต้นแพลตฟอร์ม MIH จัดตั้งขึ้นโดยหงไห่พริซิชั่น ร่วมมือกับ Yulon ถือเป็นการร่วมมือสองขั้วหลัก คือค่ายผลิตอิเล็กทรอนิกส์และค่ายรถยนต์ผสานผนึกกำลังพัฒนาด้านเทคโนโลยีและชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นการออกจากขีดจำกัดการต่อสู้เพียงลำพัง แต่ผนึกกำลังระหว่างหลายบริษัทการร่วมกลุ่มพันธมิตรยานยนต์ไฟฟ้าประสบผลสำเร็จดี หลิวหยางเหว่ย (劉揚偉) ประธานของหงไห่พริซิชั่นกล่าวว่า วันที่ 16 ตุลาคมปี 2020 การจัดตั้ง MIH เป็นสัญญาณรวมพลังการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของไต้หวันเข้าสู่ยุคการร่วมมือกันหลายบริษัท เพื่อเข้าสู่เวทีโลก ภายในเวลา 3 เดือนกว่า แพลตฟอร์ม MIH ดึงดูดบริษัทต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมเป็นพันธมิตร 635 ราย...more15minPlay
August 02, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2564ไต้หวันพัฒนายาต้านโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ประสบผลสำเร็จในเบื้องต้นล่าสุด บริษัทหยวนจางไบโอเทคโนโลยี (YuangChang Biotechnology) ของไต้หวัน แถลงในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ทำการวิจัยพัฒนายาต้านโคโรนาไวรัส ตั้งชื่อว่า Yuan-03 ได้มอบหมายให้ทีมแพทย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ไต้หวัน (ไถต้า) ทำการทดลอง ได้ผลในการยับยั้งไวรัสเกือบ 100% ถือว่าประสบความสำเร็จในเบื้องต้นบริษัทหยวนจาง ก่อตั้งผ่านมา 3 ปี ได้ทยอยวิจัยพัฒนายาต้านไวรัสชนิดใหม่หลายรายการ สำหรับ Yuan-03 พัฒนาจากการสกัดเชื้อราจากสมุนไพรในไต้หวัน เป็นยาปฏิชีวนะต้านไวรัสโควิด-19 ตัวแรกที่ไต้หวันพัฒนาขึ้นเองในลำดับต่อไปจะทดลอง Yuan-03 กับสายพันธุ์ไวรัสโควิดสายพันธุ์แอลฟาและเดลตา หากสำเร็จจะทดลองกับสัตว์ต่อไป ในอนาคตจะร่วมมือกับบริษัทยาในต่างประเทศหวังว่าปลายปีนี้จะมีโอกาสทดลองในมนุษย์ทีมวิจัยพัฒนายาต้านไวรัสของบริษัทหยวนจาง...more15minPlay
July 26, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 27 กรกฏาคม 2564 เสาวรส (passion fruit) นอกจากรับประทานเป็นผลไม้สดแล้ว ยังคั้นเป็นน้ำผลไม้ได้ เหมาะกับการไปนำผสมน้ำผลไม้อื่นๆ แม้แต่ร้านขายเครื่องดื่มมือเขย่าหรือโส่วเหยาอิ่นเลี่ยว (手搖飲料) ปัจจุบันการควักเนื้อจากผลเสาวรสต้องใช้แรงงานคน ทำให้เกิดความสูญเสีย 20 ถึง 30 % ต้นทุนค่าแรงสูง ศูนย์วิจัยการเกษตรในไต้หวัน พัฒนาเครื่องดูดเนื้อเสาวรส ประสิทธิภาพสูงดูดน้ำเสาวรสได้ 98 เปอร์เซ็นต์ ในอดีต การแปรรูปเสาวรสจะใช้เครื่องบีบ วิธีนี้ทำให้เปลือกแตกรสชาติฝาดขม หากเปลือกมีสิ่งสกปรกหรือยาฆ่าแมลงจะทำให้ปนเปื้อนในน้ำผลไม้ มีปัญหาด้านสุขอนามัย ต่อมาในวงการจึงเปลี่ยนใช้แรงงานคนควักเนื้อออกมาต้นทุน การควักน้ำเสาวรส กก. ละ 11 เหรียญไต้หวัน ดังนั้นค่าแรงคนงานคิดเป็นสัดส่วน 15 ถึง 20% ของการแปรรูปศูนย์วิจัยการเกษตรได้พัฒนาเครื่องดูดเนื้อเสาวรสรุ่นใหม่ ใช้วิธีการเจาะรูที่ผลเสาวรส จากนั้นใช้หัวดูดแบบสุญญากาศ อาศัยแรงดันอากาศนอกเปลือกบีบผลเสาวรส ทำให้เนื้อเสาวรสแยกตัวร่อนจากเปลือก สามารถดูดน้ำได้หมดจรดมากกว่า และแก้ปัญหาปนเปื้อนด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันการใช้คนงานในการควักน้ำเสาวรส จะใช้วิธีเฉือนเสาวรสออกส่วนหนึ่ง จากนั้นทำการควักเนื้อ ส่วนที่เฉือนทิ้งเกิดความสูญเสีย 20-30% แต่หัวดูดจะดูดเนื้อเสาวรสได้ถึง 98 % มีประสิทธิภาพสูงกว่า และการใช้เครื่องดูดเนื้อ เสาวรสแต่ละผลใช้เวลา 20 วินาที ขณะที่คนงานควักเนื้อเสาวรสใช้เวลาผลละ 5 วินาที แต่ถ้าเพิ่มท่อดูด 4 ท่อก็จะมีความเร็วเท่ากับแรงงาน 1 คน ท่อดูดสามารถเพิ่มมากขึ้นได้อีก เครื่องจักรปอกผลฟัก ช่วยแก้ปัญหาผิวหนังคัน คนทั่วไปอาจคิดว่าการปอกเผือกจะทำให้มือคันเป็นอันตรายต่อผิวหนัง น้อยคนจะรู้ว่าการปอกฟักก็ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้เช่นกัน ผู้ที่ทำงานปอกผลฟักเป็นเวลานานมักมีปัญหาผิวหนัง ศูนย์วิจัยการเกษตรนครเถาหยวน ได้พัฒนาเครื่องปอกผลฟักอัตโนมัติ ใช้เวลาประมาณ 3 นาที / ผล ซึ่งปกติการปอกผลฟักโดยใช้แรงงานคนต้องใช้เวลาผลละ 3 นาที แต่เครื่องปอกทำงานอัตโนมัติ คนงานเพียงแค่นำผลฟักตั้งบนแท่นเครื่องจักรก็สามารถไปทำงานอื่นต่อได้ จึงเป็นการประหยัดแรงงานคนศูนย์วิจัยการเกษตรชี้ว่า ในต่างประเทศมีเครื่องจักรทำนองเดียวกันแต่ยังไม่มีการนำเข้า จึงได้ทำการวิจัยพัฒนาเครื่องปอกผลฟัก ออกแบบมีดปอกเปลือกแบบพิเศษทำงานได้คล่องแคล่วและปรับระดับความหนาหรือบางของเปลือกได้ ผลฟักมีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ รูปร่างไม่สมดุล แต่แท่นเครื่องปอกหมุนไปเรื่อยๆ มีดปอกจะยืดหดได้ตามรูปทรงของผลฟัก สามารถปรับเปลี่ยนความเร็วให้เหมาะสมตามสภาพของผลฟัก และยังสามารถนำมาปอกเปลือกแตงโมได้ด้วยเครื่องจักรปอกเปลือกฟักนำมาใช้กับแตงโมได้...more15minPlay
July 19, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 20 กรกฏาคม 2564ในไต้หวันไต้หวันมี WIFI ฟรี 5 ประเภท สำหรับผู้ใช้งานในท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติที่เดินทางมาเยือน ปกติการเชื่อมต่ออินเตอร์ไร้สาย เรามักจะคุ้นเคยกับการใช้ระบบ 4G หรือ 5G สมาร์ทโฟนที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้จะใช้กันเป็นปกติ แต่ในสำหรับบางคนที่ต้องการประหยัดค่าอินเตอร์เน็ต หรือช่าวต่างชาติที่เดินทางมาไต้หวันยังไม่มีซีมโทรศัพท์ท้องถิ่นหรือยังไม่ได้ซื้อบริการเชื่อมต่ออินเตอร์อาจจะใช้ WIFI ฟรีได้ ในไต้หวันมีอยู่ 5 ประเภทด้วยกันอย่างแรกคือเครือข่าย WiFi ของรัฐบาลเช่น iTaiwan, TPE-Free, TPE-Free_CHT, iTaichung, tainanอย่างที่ 2 คือWiFi ที่มีโฆษณาเช่น Free WiFiอย่างที่ 3 คือ WiFi ของร้านสะดวกซื้อ 7-11, Family Mart, Hi-Life เป็นต้นอย่างที่ 4 คือ WiFi ของแม่ข่ายโทรศัพท์ต่างๆ Chunghwa Telecom, Taiwan Mobile, Far EasTone เป็นต้น ล้วนแต่มีจุดบริการไวไฟฟรี อาจขึ้นกับเงื่อนไขการจ่ายค่ารายเดือนด้วยอย่างที่ 5 คือ WiFi ที่สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือบนขบวนรถ การใช้งานไวไฟ ฟรีแต่ละชนิด จะต้องอยู่ในรัศมีที่มีสัญญานไวไฟ เช่น ตามสถานที่ราชการ ในเขตเมืองบางแห่ง บนรถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ เมื่อเลือกเครือข่ายที่จะใช้งานแล้ว โดยปกติในครั้งแรกจะต้องมีการลงทะเบียนใส่ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ตั้งรหัสลับ ฯลฯ จากนั้นจึงจะเข้าใช้งานได้ ส่วนไวไฟที่ต้องดูโฆษณา ไม่ต้องลงทะเบียนเพียงแตะภาพโฆษณา จากนั้นจะใช้งานได้เลย เพราะเป็นอินเตอร์เน็ตแบบเปิด การเชื่อมอินเตอร์เน็ตแบบนี้จึงต้องระมัดระวังอย่าทำธุรกรรมธนาคาร สั่งซื้อสินค้า หรืออื่นๆ ที่มีความเสี่ยง ต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานที่ต้องใส่หมายเลขบัญชี รหัสลับ โดยเฉพาะรหัสของบัตรเครดิตหรือ ข้อมูลธนาคาร ควรใช้ในการอ่านข่าว ดูข้อมูลทั่วไป เล่นเกม เพื่อป้องกันปัญหาเดือดร้อนในภายหลัง WiFi เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ ล่าสุด บริษัทด้าน IT ของไต้หวันชื่อ Realtek Semiconductor เล็งเห็นโอกาสธุรกิจ WiFi6E ที่กำลังขยายตัวสืบเนื่องจากการทำงานจากที่บ้าน(work from home) การเรียนทางไกล และสินค้าบริการส่งถึงบ้านมีความต้องการเพิ่มขึ้น ส่งผลยอดขาย Notebook เครื่อง Router ที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตพุ่งสูงขึ้น คาดว่าในปี 2021 อัตราการขยายตัวจะเพิ่มขึ้น 30% เทียบกับปี 2020 เพิ่มขึ้น 2 เท่า แหล่งข่าวชี้ว่า Realtek จำหน่ายแผ่นชิป WiFi 6 ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก และในช่วงปลายปีนี้จะผลักดัน WiFi 6 E เข้าสู่ตลาดมากขึ้นและจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักในปี 2022บริษัท Realtek Semiconductor จัดตั้งเมื่อตุลาคมปี 1987 เป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ที่ไม่มีโรงงานผลิตฮาร์ดแวร์แต่เป็นผู้ออกแบบ IC ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกและเป็นผู้ออกแบบ IC รายใหญ่อันดับ 3 ในไต้หวัน Realtek เริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 2 ล้านเหรียญไต้หวัน ในตอนแรกเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ต่อมาได้ทำการวิจัยพัฒนา LAN Card, แผ่นชิปสำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ในปี 1991 ผลิต Lan Card Ethernet ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เด่นชิ้นแรกของบริษัทWi-Fi 6E ถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุง Wi-Fi 6 ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีการเชื่อมต่อเป็นจำนวนมาก เช่น ในสถานที่อย่างห้างสรรพสินค้า สถานีขนส่ง สนามกีฬา หรือโรงงาน รวมไปจนถึงการสตรีมวิดีโอระดับ 4K หรือสูงกว่า และการใช้งานด้าน AR/VR เป็นต้น Wi-Fi 6E เป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาจากรุ่นก่อน การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายของ Wi-Fi เป็นชื่อรหัส 802.11 ตามมาตรฐานของ IEEE ต่อมาในปี 2018 ทาง Wi-Fi Alliance จึงได้ทำการตั้งชื่อย่อ เรียงตามหมายเลข เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ใช้แบ่งเป็นเจเนอเรชันเพื่อให้เข้าใจง่าย มี 6 ประเภท คือ Wi-Fi 1: 802.11b (1999), Wi-Fi 2: 802.11a (1999), Wi-Fi 3: 802.11g (2003), Wi-Fi 4: 802.11n (2009), Wi-Fi 5: 802.11ac (2014), Wi-Fi 6: 802.11ax (2019) WiFi ใช้ง่ายสะดวก รวดเร็ว...more15minPlay
July 12, 2021ไต้หวันไฮเทค วันอังคารที่ 13 กรกฏาคม 2564โซลาร์ฟาร์มใหญ่ที่สุดในไต้หวันของบริษัทไต้หวันชูการ์ตั้งอยู่ที่เขตชีกู่ (七股)ของนครไถหนาน ซึ่งมีกำลังผลิต 181 MW เริ่มป้อนกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน 2564 ถือเป็นแหล่งผลิตไฟสำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความต้องการไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนปีนี้ โซลาร์ฟาร์มดังกล่าวยังสามารถขยายกำลังผลิตเป็น 216 MW ถึงตอนนั้นจะสามารถป้อนไฟฟ้าปีละ 300 ล้านหน่วย หรือเท่ากับการป้อนกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 83,000 ครัวเรือนต่อปีไต้หวันชูการ์ได้พัฒนาพื้นที่ 189 เฮกตาร์ ซึ่งไม่เหมาะกับการเกษตร จัดตั้งเป็นพื้นที่ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ในเขตชีกู่มีปัญหาดินเค็ม เคยเป็นแหล่งผลิตเกลือมาก่อนไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก และยังมีปัญหาแผ่นดินทรุด บางส่วนเคยเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยแต่เนื่องจากได้ผลผลิตไม่ดี อีกทั้งทำการปลูกพืชอย่างอื่นๆ ก็ได้ผลไม่ดีเช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงนับเป็นพื้นที่แห่งแรกของบริษัทไต้หวันชูการ์ที่พัฒนาเป็นโซลาร์ฟาร์ม มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา และเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบจ่ายไฟ มีกำลังไฟฟ้า 181 MW นอกจากนี้ เมื่อถึงสิ้นปียังขยายการผลิตได้อีก 35 MW หากติดตั้งเสร็จแล้วจะมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งหมด 216 MW ถือเป็นแหล่งป้อนกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้มากเลยทีเดียวปัจจุบัน พื้นที่เขตผลิตไฟฟ้าชีกู่ของบริษัทไต้หวันชูการ์ ถือเป็นโซลาฟาร์มใหญ่ที่สุดในไต้หวัน สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150,000 ตันต่อปี หรือเท่ากับการปลูกป่าไม้ขนาด 15,000 เฮกตาร์(93,750 ไร่) โดยที่ผ่านมานั้น โซลาร์ฟาร์มใหญ่ที่สุดของไต้หวันเป็นของบริษัทไต้หวันพาวเวอร์ที่ตั้งอยู่ในนาเกลือชีกู่ สร้างบนพื้นที่นาเกลือเก่า 214 เฮกตาร์ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 480,000 แผง กำลังผลิต 150 MW เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 14 กันยายน 2020 จนถึง 12 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ผลิตกระแสไฟฟ้าไปแล้ว 100 ล้านหน่วย...more15minPlay
FAQs about ไต้หวันไฮเทค:How many episodes does ไต้หวันไฮเทค have?The podcast currently has 356 episodes available.