Share Good Mind | The Cloud Podcast |
Share to email
Share to Facebook
Share to X
By The Cloud Podcast
5
11 ratings
The podcast currently has 26 episodes available.
Good Mind อีพีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ ‘The Cloud Golden Week : Happy Young Old’ ที่ The Cloud จับมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เปิดรับวัยอิสระอายุ 45 ปีขึ้นไป ทั้งนักเขียน ช่างภาพ และผู้ดำเนินรายการพอดแคสต์ มารวมพลัง ‘เล่าเรื่อง’ ผ่านสื่อดิจิทัลบนก้อนเมฆเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ภายใต้ธีม ‘การเตรียมตัวเข้าสู่วัยอิสระ’ และ ‘การดำเนินชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข’
เนื่องจาก พี่ปุ๊ก-จารุพัชร อาชวะสมิต ผู้เป็นทั้งอาจารย์ ศิลปิน และนักออกแบบสิ่งทอ กำลังสนใจเรื่องสภาวะจิตใจที่เปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น เลยมานั่งเก้าอี้พิธีกรพิเศษ ชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาอธิบายเรื่อง ‘การบริหารความสุข’ สำหรับวัยกลางคน และเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณอย่างมั่นคง พร้อมให้แนวทางการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดสัญญาณไม่ดีกับตัวเองหรือคนรอบข้าง
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, จารุพัชร อาชวะสมิต
บางทีการจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทีมงานเพื่อแบ่งเบาภาระ ก็เป็นเรื่องที่หัวหน้างานทั้งหลายกล้า ๆ กลัว ๆ เพราะไม่รู้ว่าความช่วยเหลือนั้นจะเป็นประโยชน์หรือทำให้ทีมงานลำบากมากกว่ากัน
ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา เลยชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้หลัก 2 C 1 S เพื่อใช้ประเมินสถานการณ์ก่อนให้ความช่วยเหลือ
ขั้นแรก Connect แบบยังไม่ต้องลงมือทำอะไร เข้าไปดูก่อนว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร อ่านบรรยากาศก่อน ลำดับต่อมาคือ Clear หมายถึงการทำความเข้าใจก่อนว่าเขาต้องการความช่วยเหลือไหม เขาวางแผนอะไรไว้อยู่แล้วหรือเปล่า และสุดท้ายคือ Support เมื่อเขาต้องการ
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
บทบาทของแม่ที่ต้องทำงานไปด้วยมีความกดดันหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาที่ต้องแบ่งให้ทั้งการทุ่มเทกับงานและการดูแลครอบครัว หรือความรู้สึกผิดที่เกิดจากการขัดกันของสิ่งที่ตัวเองอยากทำกับความคาดหวังจากคนรอบข้าง
คุณพ่อผู้เคยเห็นภรรยารับมือกับเรื่องนี้อย่าง ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา เลยชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้หลักคิดกับคุณแม่ที่เป็น Working Mom เรื่องการสร้างสมดุลระหว่างบทบาทในบ้าน นอกบ้าน การดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อใจที่แข็งแรง และการไม่ลืมที่จะหาเวลาอยู่กับตัวเอง
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
คำว่า พื้นที่ปลอดภัย หรือ Safe Zone ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ที่ใช้ขังตัวเองเพื่อให้ไม่ต้องเสี่ยงอะไรเท่านั้น แต่ยังหมายถึงพื้นที่สำคัญที่จะทำให้รู้สึกเป็นอิสระ มีความสุข และใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่
เป็นสภาวะที่เราพร้อมมีความคิดสร้างสรรค์และอนุญาตให้ตัวเองได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น
งานที่มั่นคง เงินดี อาจไม่ใช่งานที่ให้ความปลอดภัยทางอารมณ์ และการทำอะไรตามกิจวัตร การไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอาจไม่ใช่ Safe Zone อย่างแท้จริง แต่เป็นแค่เกราะป้องกันใจก็ได้
องค์กรที่ทำให้คนกล้าที่จะผิดพลาด สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับทีมงาน จะทำให้พนักงานแสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา และ หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ เลยมาคุยกันเรื่องทักษะของผู้นำที่อยากเป็นพื้นที่ปลอดภัย คือต้องฟังให้เป็น เข้าใจคน และสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือการสร้างความสัมพันธ์แบบระยะยาว
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
ขอบีบมือลูกพี่ทุกคนแรง ๆ ที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและลาจากของลูกน้องในทีมครั้งแล้วครั้งเล่า บางคนถึงกับบอกว่า ลูกน้องลาออกเสียใจกว่าแฟนบอกเลิกเสียอีก เจ้านายบางคนรู้สึกผิด ทำไม่ดีพอหรือดูแลไม่ดีพอหรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนต้องมีความเปลี่ยนแปลง
ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา จึงชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาคุยกันเรื่องนี้ว่า การลาออกของใครบางคนไม่เกี่ยวกับคุณค่าในตัวเรา อาจจะแค่ถึงเวลาของเขาแล้วไม่ได้มีใครผิด การที่คนเข้า-ออกไม่ได้เป็นตัวบอกว่าเราโอเคหรือไม่โอเค เป็นเจ้านายที่ดีหรือไม่ดี แต่เขาจะอยู่กับเรานานแค่ไหนก็ไม่สำคัญเท่าเวลาที่อยู่ด้วยกันเขาได้โชว์ศักยภาพ หรือชอบตัวเองในเวลาที่เขาอยู่ที่นี่
และคนที่ทำท่าจะลาออก เป็นการ Call for Help ไม่รู้ว่าตัวเองจะมีหนทางสื่อสารยังไง เลยสื่อสารออกมาในรูปแบบว่าอยากจะลาออก แค่ได้คุยหรือถาม ให้เขาได้เล่า เขาอาจจะเปลี่ยนใจก็ได้
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
เรื่องยากติดอันดับต้น ๆ ของคนเป็นผู้นำเรื่องหนึ่ง คือการต้องทำความรู้จักกับผู้ที่มาสมัครงาน ผ่านการสัมภาษณ์เพียงไม่กี่นาที ซึ่งเวลาไม่นานเหล่านั้นจะส่งผลต่อการตัดสินใจที่มีทั้งค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาสสำหรับทั้งองค์กรและผู้สมัคร
การทำความรู้จักเรื่องผลงานและประสบการณ์นั้นไม่ยาก แต่การจะรู้ทักษะเรื่อง Soft Skills ของแต่ละคนที่จะส่งผลต่อผู้ร่วมงานนั้นทั้งยากและละเอียดอ่อน ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา เลยชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาคุยกันว่า จะลดอัตราการสูญเสียจากการที่คนเข้ามาทำงานแล้วไม่มีความสุข หรือไม่เหมาะกับองค์กรได้อย่างไรบ้าง
หมอเอิ้นแนะนำสิ่งที่ต้องเตรียมและไม่ต้องเตรียมไปก่อนสัมภาษณ์ พร้อมทั้งให้แนวทางคำถามในการสัมภาษณ์งานให้ได้คนที่ใช่เอาไว้ด้วยนะ
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
บางครั้งคนที่เป็นคู่ชีวิตหรือคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมาก ๆ ก็เป็นคนเดียวกันกับเพื่อนร่วมงานคนสำคัญในโลกธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นคู่ชีวิต คนรัก พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน หรือญาติสนิท ความสัมพันธ์ที่จำเป็นต้องมีพื้นที่ทับซ้อนแบบนี้ บางทีความขัดแย้งจากที่ทำงานก็ตามมาถึงในบ้าน ทำให้คนที่ควรจะเป็นจุดพักใจ กลายเป็นคนทำให้ปวดใจแทน
ปัญหาเหล่านี้หากไม่รับมือให้ดี อาจจะลามไปถึงความสัมพันธ์อื่น ๆ ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา เลยชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาบอกเคล็ดลับการเคลียร์พื้นที่ทับซ้อนระหว่างงานกับเรื่องส่วนตัว ที่ต้องรู้แก่นความสำคัญของชีวิตอีกฝ่าย แบ่งพื้นที่ และการเปิดใจทำข้อตกลงให้ชัดเจน
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ ยังไงก็เป็นสัตว์สังคมที่กลัวความโดดเดี่ยว แต่ในตำแหน่งผู้นำองค์กรกลับมีความโดดเดี่ยวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีคำพูดที่มักพูดถึงสิ่งที่ผู้นำต้องเจอว่า “ยิ่งสูงยิ่งหนาว”
คำว่าหนาว ไม่ใช่แค่เรื่องเชิงพฤติกรรม แต่เป็นเรื่องความรู้สึกในใจด้วย นอกจากทางออกเบื้องต้นคือการหาคนที่เป็นเพื่อนคู่คิดที่ไว้ใจได้แล้ว การดูแลเรื่องความสัมพันธ์ทั้งเพื่อนฝูง ครอบครัว ที่ทำงาน ก็เป็นเรื่องที่ผู้นำที่ไม่อยากโดดเดี่ยวใช้เพิ่มอุณหภูมิความอุุ่นให้หัวใจ ทั้งในวันที่อยู่บนที่สูง และวันที่ต้องก้าวลงจากยอดพีระมิดได้
ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา ชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาคุยให้ฟังเรื่องการเป็นคนธรรมดาที่ต้องอ่อนแอให้เป็น เป็นผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ และการดูแลความสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้นำหนาวน้อยลงอีกนิด
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
ภาวะหมดไฟ มักมีความรู้สึกหมดใจเป็นสาเหตุ และถ้าปล่อยให้ไฟมอดอยู่เนิ่นนานไม่ได้รับการเยียวยา ก็อาจเป็นสาเหตุของการทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและความรู้สึกห่อเหี่ยวแบบเรื้อรังได้ Good Mind EP. นี้ ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา จึงชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้ความรู้เพื่อให้เหล่าหัวหน้าคอยสังเกตสมาชิก โดยเฉพาะช่วงที่มีความสุ่มเสี่ยงอย่างช่วงที่งานเยอะ ว่าให้เฝ้าระวัง 3 สัญญาณบอกลางหมดไฟมากเป็นพิเศษ คือ หนึ่ง เห็นว่าเขาดูว่างเปล่า เบื่อหน่าย ไม่แอ็กทีฟอย่างที่เคย สอง เขาเริ่มมีความอดทนน้อยลง เรื่องที่เคยไม่เป็นปัญหาก็ดูจะกลายมาเป็นปัญหา และสาม ประสิทธิภาพงานลดลง รวมทั้งแชร์วิธีการรับมือให้มีประสิทธิภาพ การแนะนำให้พักผ่อนเพื่อสะสมพลัง เทคนิคการชมให้ผู้ฟังรู้สึกได้ว่าจริงใจ รวมทั้งการดูแลสุขภาพกายเพื่อป้องกันภาวะหมดไฟ
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
ถามหมอเอิ้นเรื่อง ‘ทำยังไงให้ไม่รู้สึกผิดเวลาอยากเลิกงานตรงเวลา’ หมอเอิ้นบอกว่าไม่มีอะไรยาก แค่จริงใจ สื่อสาร และวางแผน คนเราจะรู้สึกผิดเมื่อคิดว่ายังทำอะไรได้ไม่ดีพอ หมอเอิ้นจึงชวนให้กลับมาทบทวนว่าเราทำงานของวันนั้น ๆ ลุล่วงแล้วหรือไม่ งานบางอย่างทำเสร็จได้ในวันเดียว แต่งานหลายอย่างที่ทำยังไงก็ไม่เสร็จ การวางแผนตั้ง Small Win ให้แต่ละวันจะช่วยลดความรู้สึกผิดได้
EP นี้มีเคล็ดลับให้ทั้งเจ้านายและลูกน้อง ที่ต้องร่วมมือกันทำให้การกลับบ้านตรงเวลาไม่ใช่เรื่องผิดและแปลก ด้วยการพิจารณาและคุยกันที่ผลลัพธ์ของงาน มากกว่าระยะเวลาการทำงาน ที่สำคัญคือหัวหน้าต้องทำให้เป็นตัวอย่าง เอื้ออำนวยให้เขาใช้เวลาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทก็จะประหยัดทั้งค่าโอที ค่าแอร์ ค่าที่จอดรถ ลูกน้องก็ได้ไปใช้ชีวิตหลังเลิกงาน มีแต่ Win กับ Win!
ดำเนินรายการ : พิยะดา หาชัยภูมิ, ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา
The podcast currently has 26 episodes available.
43 Listeners
19 Listeners
9 Listeners
13 Listeners
22 Listeners
2 Listeners
8 Listeners
2 Listeners
5 Listeners
2 Listeners
3 Listeners
13 Listeners
3 Listeners
4 Listeners
5 Listeners